ข้อใดจัดเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ขั้นปฐมภูมิ

�����ѡ�ҹ�ҧ����ѵ���ʵ�� �繢������ʹյ����ѧ����ҡ���������й������繢������ ����֡�� �˵ء�ó����Դ����ʹյ����Ң����ػ�����������ԧ�ҡ����ش �Ѵ���������»����� ��
��� ����觵���ؤ���� (��ѡ�ҹ��͹����ѵ���ʵ�� ��ѡ�ҹ���»���ѵ���ʵ��)
�����觵���ѡɳС�úѹ�֡ (��ѡ�ҹ��� �����ѹ�֡������ѡɳ��ѡ�� �����ѡ�ҹ���ѹ�֡�� ����ѡɳ��ѡ��)
��� �觵��ਵ������ͧ �������Ǣ�ͧ (��ѡ�ҹ�����·ʹ�����ਵ�� ��ѡ�ҹ�����·ʹ ��ਵ��)
��� �觵���س�����Фس���ѵԢͧ��ѡ�ҹ
��� 1. ��ѡ�ҹ��鹵� (primary sources) ���¶֧ ��ѡ�ҹ���ѹ�֡��к͡�����¼������Ǣ�ͧ �µç �����������˵ء�ó��鹴��µ��ͧ
��� 2. ��ѡ�ҹ����ͧ (secondary sources) ���¶֧ ��úѹ�֡����ͧ��ǵ�ҧ � �ͧ������Ѻ��Һ �˵ء�ó�ҡ�Ӻ͡���Ңͧ�ؤ��˹���ա���˹�� ��������˹ѧ��ͷҧ����ѵ���ʵ�����ռ����¹��� ������� ��ѡ�ҹ��鹵�
����»���ѵ���ʵ����觵���ѡɳС�úѹ�֡����¡���� 2 ���������
��� 1. ��ѡ�ҹ����������ѡɳ��ѡ�� ���¶֧ ��ѡ�ҹ����繵��˹ѧ��� �� ��ѡ���Ҩ��֡ ����Ǵ�� �ӹҹ �������˵� �ѹ�֡�����ç�� ��ó���� �͡��÷ҧ�Ԫҡ�� ��ǻ���ѵ� ˹ѧ��;���� �Ե���� �ѹ�֡����������͡�������ɳ� ����͡����Ҫ��� ��ѡ�ҹ��������� �Ѻ�� ��鹰ҹ����Ӥѭ㹡���֡�һ���ѵ���ʵ����
��� 2. ��ѡ�ҹ���������������ѡɳ��ѡ�� ���� ��ѡ�ҹ�ҧ��ҳ��� ������������ ����ǡѺ �ç���ҧ����Ѳ����� ������������� 2 ���������
��� (1) ��ҳ�ѵ�� �� ��оط��ٻ ���ٻ �ѭ�ѡɳ�ҧ��ʹ� �������ͧ��дѺ ����ͧ��� ����ͧ��
��� (2) ��ҳʶҹ ���� ��觡�����ҧ �½��������������Դ�Ѻ��鹴Թ �� ��ᾧ���ͧ �����ͧ �ٹ�� �Ѵ ਴��� ����ҷ ��� ��й��

Ref : http://www2.se-ed.net/nfed/history/index_his.html 14/02/2008

            หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ร่องรอยการกระทำ การพูด การเขียน การประดิษฐ์ การอยู่อาศัยของมนุษย์ หรือลึกไปกว่าที่ปรากฏอยู่ภายนอก คือ ความคิดอ่าน โลกทัศน์ ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ความรู้สึกของคนในปัจจุบัน สิ่งที่มนุษย์จับต้องและทิ้งร่องรอยไว้ กล่าวได้ว่าอะไรก็ตามที่มาเกี่ยวพันกับมนุษย์ หรือมนุษย์เข้าไปเกี่ยวพันสามารถใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น

1) แบ่งตามยุคสมัย

นักประวัติศาสตร์บางท่านยังได้แบ่งหลักฐานประวัติศาสตร์ออกไปอีกเป็น หลักฐานชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (Tertiary sources) หมายถึง หลักฐานที่เขียนหรือรวบรวมขึ้น จากหลักฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาอ้างอิง เช่น สารานุกรม หนังสือแบบเรียน และบทความทางประวัติศาสตร์ต่างๆ 

ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ 

        ขั้นที่ 1

 กำหนดประเด็นปัญหา เป็นการกำหนดหัวข้อที่เราสนใจจะศึกษา 
        ขั้นที่ 2 รวบรวมหลักฐาน(ไปหาตำราต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ศึกษา) 
        ขั้นที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน 
- การประเมินค่าภายนอก (การวิพากษ์ภายนอก) : ดูว่าหลักฐานจริงหรือปลอม 
- การประเมินค่าภายใน (การวิพากษ์ภายใน) : ดูว่าหลักฐานน่าเชื่อถือได้มาก แค่ใหน
        ขั้นที่ 4 ตีความหลักฐาน 
- ตีความแนวราบ เป็นการตีความตามลำดับเวลา (ค้นคว้าแล้วตีความโดยเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผลเป็นพัฒนาการไปเรื่อยๆ) 
- ตีความแนวดิ่ง เป็นการล้วงลึกลงไปในหลักฐานอย่างถึงลูกถึงคน จริงๆเป็นการ ชำแหละหลักฐานนั้นว่ามี “นัยยะ” อะไรแอบแฝงหรือไม่ 
- ต้องใช้หลักฐานหลายๆประเภทมาประกอบการตีความของเรา 

        ขั้นที่ 5

 เรียบเรียงแล้วนำเสนอ การเรียบเรียงต้องใช้ 2 วิธี คือ 
- วิเคราะห์ = แยกจัดหมวดหมู่ตามประเด็นที่วางไว้ - สังเคราะห์ = ประมวลภาพทั้งหมดที่เราศึกษามาและกำลังจะนำเสนอสิ่งใหม่ๆให้คนอื่นได้รู้

1. หลักฐานประเภทที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ได้แก่หลักฐานประเภทใด
ก. ตำนาน
ข. พงศาวดาร
ค. จารึก
ง. จดหมายเหตุ


2. บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เรียกว่าอะไร
ก. ตำนาน
ข. พงศาวดาร
ค. จารึก
ง. จดหมายเหตุ


3. พระราชพงศาวดารฉบับบริติซมิวเซียม เขียนหรือชำระขึ้นมาในสมัยรัชกาลใด
ก. รัชกาลที่ 1
ข. รัชกาลที่ 2
ค. รัชกาลที่ 3
ง. รัชกาลที่ 4


4. พระราชพงศาวดารที่เขียนหรือชำระขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 คือ ข้อใด
ก. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตเลขา
ข. พระราชพงศาวดารฉบับกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ
ค. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
ง. พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติซมิวเซียม


5. พระราชพงศาวดารสมัยอยุธยาฉบับใดที่นักประวัติศาสตร์ยอมรับว่ามีข้อมูลถูกต้องที่สุด
ก. ฉบับบิติชมิวเซียม
ข. ฉบับจันทนุมาศ (เจิม)
ค. ฉบับสมเด็จพระนพรัตน์
ง. ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์


6. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งมาจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา เรียกว่าอะไร
ก. ตำนาน
ข. พงศาวดาร
ค. จารึก
ง. จดหมายเหตุ


7. หลักฐานประเภทใดที่สามารถสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง
ก. นาฏศิลป์
ข. ดนตรี
ค. เพลงพื้นบ้าน
ง. จิตรกรรม


8. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในข้อใดจัดได้ว่าเป็นหลักฐานชั้นต้น
ก. พระพุทธรูป
ข. พระไตรปิฎก
ค. จดหมายเหตุวันวลิต
ง. เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง


9. วิธีการในข้อใดที่เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ให้เป็นเรื่องราว
ก. การค้นคว้าและการตีความ
ข. การวิเคราะห์และการสังเคราะห์
ค. การตีความและการสังเคราะห์
ง. การรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์


10. ข้อใดจัดลำดับการบันทึกเรื่องราวในอดีตได้อย่างถูกต้อง
ก. พงศาวดาร ตำนาน ประวัติศาสตร์
ข. ตำนาน ประวัติศาสตร์ พงศาวดาร
ค. ตำนาน พงศาวดาร ประวัติศาสตร์
ง. พงศาวดาร ประวัติศาสตร์ ตำนาน


11. ที่กล่าวว่าศิลาจารึกสุโขทัยเป็นหลักฐานปฐมภูมิที่มีคุณค่าเพราะเหตุผลข้อใด
ก. เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด
ข. เป็นบันทึกลายลักษณ์อักษรที่คงทนถาวร
ค. เป็นบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดจากความประสงค์ของพระมหากษัตริย์ในยุคนั้น
ง. เป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ที่มีความสมบูรณ์ไม่ต้องค้นคว้าจากหลักฐานอื่นๆอีก


12. สมชายและสมหญิงใช้ข้อมูลเดียวกันในการเขียนรายงานประวัติศาสตร์เรื่องท้าวสุรนารี ผลปรากฏว่างานของสมชายมีคุณค่ามากกว่างานของสมหญิง เพราะเหตุใด
ก. การตั้งสมมุติฐาน
ข. การคัดเลือกข้อมูล
ค. การวิเคราะห์ข้อมูล
ง. การตรวจสอบข้อมูล


13. ถ้าต้องการวิจัยเรื่อง เรือกับชีวิตชาวเล จะต้องใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในขั้นตอนใด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์
ก. การตั้งประเด็นคำถามเรื่องราวที่อยากรู้
ข. การค้นหาและรวบรวมหลักฐาน
ค. การวิพากษ์และตีความหลักฐาน
ง. การสรุปข้อเท็จจริง


14. ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของจดหมายเหตุ
ก. เป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
ข. เป็นบันทึกจากการบอกเล่าต่อๆกันมา
ค. เป็นข้อมูลที่ปราศจากความคิดเห็นของผู้บันทึก
ง. เป็นบันทึกที่มีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง


15. การวิเคราะห์ตามวิธีการทางประวัติศาสตร์ มีลักษณะอย่างไร
ก. สรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าคืออะไร
ข. การเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามข้อมูลที่มีอยู่
ค. การจัดเรียงลำดับเวลาก่อนหลังของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ง. การหาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ผ่านการตีความอย่างมีเหตุผล


16. ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ก. การค้นหาข้อมูล และรวบรวมหลักฐาน
ข. การตั้งคำถาม และกำหนดประเด็นของการศึกษา
ค. การอธิบายที่มีเหตุผล และมีคำตอบที่ชัดเจน
ง. การแสวงหาความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล


17. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษรข้อใดมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์น้อย
ก. ศิลาจารึก
ข. หนังสือราชการ
ค. เอกสารส่วนบุคคล
ง. ตำนาน


18. หลักฐานประเภทใดที่ทำให้การศึกษาเรื่องอาณาจักรต่างๆในดินแดนประเทศไทยน่าเชื่อถือมากที่สุด
ก. ตำนาน
ข. จารึก
ค. เอกสารจีน
ง. จดหมายเหตุ


19. หลักฐานประเภทใดที่ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อรัฐและระหว่างพลเมืองด้วยกันเอง
ก. กฎหมาย
ข. วรรณกรรม
ค. หนังสือพิมพ์
ง. เอกสารการปกครอง


20. ข้อใด กล่าวไม่ถูกต้อง
ก. บันทึกที่ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลง พ.ศ.2475 เขียนขึ้นถือเป็นหลักฐานชั้นรอง
ข. ตำนานถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
ค. ศุภอักษรถือเป็นหลักฐานชั้นต้น
ง. เครื่องมือหินถือเป็นหลักฐานทางโบราณคดี

หลักประวัติศาสตร์สากล

ตามหลักสากล ยุคประวัติศาสตร์จะเริ่มนับตรงที่มนุษย์เริ่มมีการจดบันทึกเหตุการณ์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนก่อนหน้านั้นก็จะเรียกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตราบจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีอะไรแน่นอน ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่เยอะมาก เพราะมีเพียงแค่หลักฐานทางวัตถุบางชิ้น และก็ไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าไหร่ด้วย

ส่วนยุคประวัติศาสตร์นั้น ค่อนข้างชัดเจนกว่า แต่ก็ใช่ว่าจะทั้งหมด เพราะเมื่อมีการศึกษาประวัติศาสตร์กันมากขึ้น ก็ทำให้รู้ว่าเราเคยเข้าใจผิดอะไรหลาย ๆ อย่างมานาน และต้องเปลี่ยนความเข้าใจทางประวัติศาสตร์กันใหม่อยู่หลายครั้งก็มี

การแบ่งสมัยในยุคประวัติศาสตร์จะแบ่งโดยใช้เหตุการณ์สำคัญที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของยุคสมัยเป็นตัวแบ่ง ซึ่งมีคนแบ่งเอาไว้หลายแนวทาง เพราะมันไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนให้เราเห็น แต่ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น

ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (Ancient History) สมัยนี้นักประวัติศาสตร์มักจะรวมเอาเหตุการณ์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เข้าไปด้วย สมัยนี้ส่วนมากมักจะให้สิ้นสุดลงพร้อมกับการล่มสลายของอาณาจักรโรมันตะวันตก ซึ่งเสียให้แก่เยอรมันในปีค.ศ. 476

ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (Medieval History) เริ่มเมื่อปีค.ศ. 476 แต่ระยะเวลาสิ้นสุดนั้น บางกลุ่มถือเอาตอนที่กรุงสแตนติโนเปิลตกเป็นของพวกเติร์ก ในปีค.ศ.1453 แต่บางกลุ่มก็ถือว่าสิ้นสุดเมื่อมีการค้นพบทวีปอเมริกา ในปีค.ศ. 1492 และบางกลุ่มก็ถือว่าสิ้นสุดลงพร้อมกับการเริ่มต้นการปฏิรูปต่างๆ ในยุโรป

ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Modern History) เริ่มตั้งแต่การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์สมัยกลางจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีบางกลุ่มที่ถือว่าสมัยนี้สิ้นสุดในราวค.ศ. 1900 และได้แบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งคือ ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดประวัติศาสตร์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน เพราะระยะช่วงนี้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ขึ้นมากมาย มีรายละเอียดที่มากจนสามารถแบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งได้

ส่วนเรื่องของหลักฐานทางประวัติศาตร์นั้น มีการแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภทคือ หลักฐานที่เป็นวัตถุ (Material Remains) กับหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written accounts)

ก่อน 4,000 ปีมาแล้ว หรือในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก็จะมีแต่หลักฐานแบบแรกเพียงอย่างเดียว ก็ต้องใช้การสันนิษฐานประกอบเข้าไปจึงจะมองเห็นสภาพของยุคนั้นได้ ในยุคต่อมาคือยุคประวัติศาสตร์ถึงจะมีหลักฐานแบบที่สอง ซึ่งจะชัดเจนถูกต้องหรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้จดบันทึกด้วย

หลักฐานทั้ง 2 ประเภทถ้าเราสามารถหามาประกอบกันได้ก็จะยิ่งทำให้เราสันนิษฐานสภาพทั่วไปและเหตุการณ์ที่เกิดในยุคสมัยนั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ยุคหิน

ยุคหินเก่า (Paleolithic Age หรือ Old Stone Age)

          1. อายุประมาณ 2 ล้านปีก่อนคริสต์ศักราช

          2. ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บผลไม้ป่า

          3. อาศัยตามถ้ำหรือที่พักหยาบๆ

          4. พึ่งพาธรรมชาติและไม่เข้าใจปรากฎการณ์ธรรมชาติ

          5. รู้จักใช้ไฟ

          6. ประกอบพิธีฝังศพอันเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนา

          7. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำตามความเชื่อและพิธีกรรม

 ยุคหินกลาง (Mesolithic Age หรือ Middle Stone Age)

          1. อายุประมาณ 8 พันปีก่อนคริสต์ศักราช

          2. เริ่มรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ

          3. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำมีความซับซ้อนมากขึ้น  จุดมุ่งหมายเพื่อพิธีกรรมความเชื่อเรื่องวิญญาณ

          4. มีพิธีกรรมเกี่ยวกับพระ

ยุคหินใหม่

          1. อายุประมาณ 4 พันปีก่อนคริสต์ศักราช

          2. ผลิตอาหารได้เอง  รู้จักเก็บกักอาหาร  หยุดเร่ร่อน

          3. เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินประณีตขึ้น

       4. รู้จักการทอผ้า  เครื่องปั้นดินเผา  ทำเครื่องทุ่นแรง เช่น การเสียดสีให้เกิดไฟ การประดิษฐ์เรือ

          5. รวมกลุ่มเกษตรกรรมเป็นหมู่บ้าน มีการจัดระเบียบเพื่อควบคุมสังคม มีหัวหน้าชุมชน

          6. อนุสาวรีย์หิน (Stonechenge) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นงานสถาปัตยกรรมของมนุษย์  เชื่อว่าสร้างเพื่อคำนวณทางดาราศาสตร์  พิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยว ข้องกับการเกษตรหรือบูชาพระอาทิตย์

ยุค โบราณ

กรีก

        กรีก เป็นเชื้อสายอินโด ยูโรเปี้ยน เรียกวัฒนธรรมตนเองว่า เฮเลนนีส (Hellenes) เรียกบ้านเมืองตนเองว่า เฉลลัส (Hellas)

        ยุคเฮเลนิค (Hellenic Civilization)

        - มีศูนย์กลางอยู่ที่เอเธนส์ มีการปกครองแบบนครรัฐ  ศูนย์กลางของนครรัฐอยู่ที่   อะโครโปลิส "  มีความเจริญรุ่งเรืองทางการค้ามาก  การเดินทางไปค้าขายกับดินอดนต่างๆ  ทำให้ชาวกรีกมีโลกทัศน์กว้างขวางและรับวัฒนธรรมจากดินแดนต่างๆ ทำให้ชาวกรีกเป็นคนอยากรู้อยากเห็น เชื่อมั่นในเหตุผล เชื่อในดุลพินิจของตน ส่งผลต่อแนวคิดมนุษย์นิยม (Humanism)

        - สนใจในธรรมชาตินิยม (Naturalism) นับถือเทพเจ้าหลายองค์  แต่มีอิสรภาพทางความคิด  เพราะศาสนาไม่มีอิทธิพลวิถีเหนือชีวิตของคนในสังคมมากนัก

        - แนวคิดประชาธิปไตย มนุษย์ปกครองแบบนครรัฐอิสระ เช่น นครรัฐเอเธนส์ ปกครองแบบประชาธิปไตยทางตรง  โดยพลเมืองชายที่เป็นเจ้าของที่ดินและเกิดในนครรัฐจะมีสิทธิในการปกครอง มีสิทธิในการเข้าประชุมสภาราษฎร

        อารยธรรมของกรีกซึ่งเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน ได้แก่

        สถาปัตยกรรม

        - เน้นความยิ่งใหญ่ เรียบง่าย กลมกลืน 

        - ไอโอนิคฅ

        - โดรินเซียน

        ประติมากรรม

        - เป็นการปั้นที่เป็นสัดส่วนและสรีระที่เป็นมนุษย์จริง  การเปลือยกายเป็นการแสดงออกถึงความงามของมนุษย์ตามธรรมชาติ เช่น นักขว้างจักร

     จิตรกรรม

        - จิตรกรรมที่มีชื่อเสียง ได้แก่ การเขียนภาพบนเครื่องปั้นดินเผาลวดลายต่างๆ

        วรรณกรรม

       - มหากาพย์ลีเลียดและโอเดสซีของโฮมเมอร์

        - นิทานอีสปและงานด้านปรัชญาของเพลโต โสเกรตีส อริสโตเติล

        ละคร

        - ละครสุขนาฏกรรม (Comedy)

        - ละครโศกนาฏกรรม (Teagedy)

- การสร้างโรงมหรสพ

        ส่วนสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชนั้นเป็นยุคที่กรีกเผยแพร่วัฒนธรรมของตนไปยังด้านตะวันออก  จนสามารถครอบครองอียิปต์  เปอร์เซียจนถึงตอนเหนือของอินเดีย  จึงมีการผสมผสานศิลปะกรีกกับศิลปะตะวันออก  ทำให้เป็นศิลปะที่เน้นความงดงามแบบหรูหราอลังการ  แสดงถึงอารมณ์อย่างรุนแรง

สมัยกลาง

 เริ่มตั้งแต่อาณาจักรโรมันล่มสลายในปี ค.ศ.476  ศตวรรษที่ 5-15  เนื่องจากการรุกรานของอนารยชนเผ่าติวตัน  อำนาจทางการเมืองกระจัดกระจาย  ความวุ่นวายทางการเมืองทำให้ผู้คนหันมายึดศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และให้ความหวังกับคนในสังคมว่าจะได้ไปเสวยสุขกับพระเจ้าบนสวรรค์หรือมุ่งหวังชีวิตที่ดีกว่าในโลกหน้า 

        คริสต์ศตวรรษที่ 14  ยุโรปมีความตื่นตัวทางด้านการพานิชย์  และแสวงหาดินแดนในโลกอันนำมาซึ่งลัทธิการล่าอาณานิคม  ส่วนในทางวิทยาศาสตร์และการประดิษฐ์  มีการค้นพบระบบสุริยจักรวาลของโคเปอร์นิคัส 

การค้นพบกระบวนการพิมพ์หนังสือของกูเตนเบอร์กและฟุสท์

        ลักษณะสังคม  เป็นสังคมในลัทธิฟิวดัล  ซึ่งคนในสังคมมีความสัมพันธ์ในฐานะเจ้าของที่ดินและทาสติดที่ดิน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

        1. พระ  เป็นผู้มีบทบาทมาก  เพราะเป็นศูนย์ของความเชื่อ  ความศรัทธาในศาสนาของประชาชน  พระสันตปาปาที่กรุงโรมมีอำนาจสูงสุด  พระที่มีฐานะรองลง

มาก็จะทำหน้าที่ต่างๆ  ตามขอบเขตการปกครอง เช่น สั่งสอนประชาชน เก็บภาษีอากร ฯลฯ

        2. ชนชั้นปกครอง  ได้แก่  กษัตริย์  ขุนนาง  และอัศวิน  ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน  มีชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือย

        3. สามัญชน  ได้แก่  ชาวนาและทาสติดที่ดิน  ที่ต้องทำงานหนักหาเลี้ยงชีพภายใต้อำนาจสิทธิ์ขาดและการคุ้มครองจากเจ้าของที่ดิน  ไม่ค่อยมีการปรับปรุงที่ดินเพื่อการเกษตร  ผลผลิตไม่พอเพียงกับความต้องการของชุมชน

วรรณกรรม

        สมัยกลางช่วงต้น   จะเน้นวรรณกรรมศาสนาหรือวรรณกรรมสะท้อนภาพสังคมฟิวดัล  เช่น  The City Of God

        สมัยกลางช่วงปลาย     เน้นวรรณกรรมทางโลกมากขึ้น  เช่น  The Divine Comedy

การศึกษา   เน้นด้านเทววิทยาและขยายการศึกษาไปสู่การจัดตั้งมหาวิทยาลัย

อิทธิพลศิลปะมุสลิม

        - จิตรกรรม  ได้แก่  งานเขียนลวดลายเรขาคณิต  ลวดลายดอกไม้

        - หัตถกรรม  ได้แก่  เครื่องปั้นดินเผา  เครื่องโลหะ  เครื่องทองเหลือง

        - วรรณกรรม  ได้แก่  นิทานอาหรับราตรี  รุไบยาดของโอมาร์ คัยยัม

ศิลปะไบเซนไทน์  ( Bizentine )  การสร้างสรรค์เพื่อพระผู้ไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์ ( ค.ศ.330-1453 )

โบสถ์เซนต์โซเฟีย  ( ค.ศ.532-537 )

ในเมืองฮาร์บิน เมืองหลวงของมณฑลเฮอหลงเจียง   เป็นสถาปัตยกรรมแห่งการผสมผสาน  นับเป็นรวมลักษณะความโดดเด่นของกรีก  โรมัน  และลักษณะตะวันออก  แบบอาหรับหรือเปอร์เซีย  ไว้ในผลงานชิ้นเดียวกันได้อย่ากลมกลืน

 ศิลปะโกธิค

        - เกิดขึ้นในยุโรประหว่างกลางศตวรรษที่ 12   ปลายศตวรรษที่ 15 เป็นศิลปะที่มีความอ่อนโยนคล้ายธรรมชาติและเป็นมนุษย์นิยม  มีอิสระในการแสดงออก  เป็นศิลปะที่หลุดพ้นจากอิทธิพลของกรีก โรมัน  แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาคริสต์

        - ต่างจากศิลปะไบแซนไทน์  ซึ่งเคร่งครัดในกฎเกณฑ์

        -  จุดเด่นของศิลปะโกธิค  ส่วนใหญ่เป็นวิหารทางศาสนาคริสต์  ดัดแปลงจากสมัยโรมาเนสก์ คือ ประตู เพดานและหลังคาโค้งปลายแหลม  ทำให้อาคารดูสง่างาม  ภายในตัวอาคารจะประดับประดาด้วยกระจกสี  ซึ่งเป็นงานยิ่งใหญ่ของ

วิหารแรงส์  ( ค.ศ.1211-1290 )

 เป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองและเป็นวิหารที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวฝรั่งเศส

        -  เกิดขึ้นในยุโรประหว่างกลางศตวรรษที่ 12   ปลายศตวรรษที่ 15 เป็นศิลปะที่มีความอ่อนโยนคล้ายธรรมชาติและเป็นมนุษย์นิยม  มีอิสระในการแสดงออก  เป็นศิลปะที่หลุดพ้นจากอิทธิพลของกรีก โรมัน  แต่ก็ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาคริสต์

        -  ต่างจากศิลปะไบแซนไทน์  ซึ่งเคร่งครัดในกฎเกณฑ์

        -  จุดเด่นของศิลปะโกธิค  ส่วนใหญ่เป็นวิหารทางศาสนาคริสต์  ดัดแปลงจากสมัยโรมาเนสก์ คือ ประตู เพดานและหลังคาโค้งปลายแหลม  ทำให้อาคารดูสง่างาม  ภายในตัวอาคารจะประดับประดาด้วยกระจกสี  ซึ่งเป็นงานยิ่งใหญ่ของศิลปะโกธิค 

ศิลปะสมัยกลาง

ศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ  ( Renaissance )

โบสถ์เซนต์ปีเตอร์  ( ค.ศ.1506-1546 )

               เป็นสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมที่เป็นตัวแทนแห่งยุคสมัยและได้รับการยอมรับว่ามีคุณค่าทางศิลปะ  ผู้ออกแบบและเริ่มดำเนินการสร้าง คือ บรามานเต ( ค.ศ.1506 )  แต่เขาถึงแก่กรมมก่อนงานจะเสร็จ  จึงเป็นภาระหน้าที่ของสถาปนิกอีกหลายคน   จนกระทั่ง ค.ศ.1546  มิเคลันเจโลก็ได้รับการติดต่อจากสันตะปาปาจอห์นปอลที่ 3  ให้เป็นสถาปนิกรับผิดชอบออกแบบก่อสร้างต่อไป  โดยเฉพาะอาคารที่อยู่ตรงกลาง  มิเคลันเจโลได้แรงบันดาลใจมาจากวิหารแพนธีออนของจักวรรดิโรมัน

ภาพโมนาลิซา  ( ค.ศ.1503-1505 )

        เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนผ้า  แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดแบบเลียนแบบธรรมชาติ  การนำธรรมชาติมาเป็นฉากหลังและสร้างมิติใกล้ไกลแบบวิทยาศาสตร์การเห็น  ( ทัศนียภาพ  หรือ  Perspective ) 

        เลโอนาร์โด ดา วินชี  เป็นผู้ริเริ่มการเขียนภาพแบบแสดงค่าตัดกันระหว่างความมืดกับความสว่างที่เรียกว่า  คิอารอสกูโร  ( Chiaroscuro )

ดาวิด  ( ค.ศ.1501-1504 ) 

         เป็นรูปสลักหินอ่อน  มีความสูงถึง 13 ฟุต 5 นิ้ว  เป็นการถ่ายทอดรูปแบบที่มีกรีกและโรมันเป็นแนวทางจึงทำให้รูปดาวิดมีลักษณะทางกายภาพสอคล้องกับอุดมคติของกรีกและโรมันที่เน้นความสมบูรณ์ทางสรีระ 

        -  เป็นยุคสมัยที่มีคุณค่ายิ่งต่อวิวัฒนาการทางจิตรกรรมของโลก  คือ  ความมีอิสระในการสร้างสรรค์ศิลปะของมนุษย์  ความมีลักษณะเฉพาะตัวของศิลปิน  กล้าที่จะคิดและแสดงออกตามแนวความคิดที่ตนเองชอบและต้องการแสวงหา 

        -  งานจิตรกรรมมีความตื่นตัวและเจริญก้าวหน้าทางเทคนิควิธีการเป็นอย่างมาก  ได้มีการคิดค้นการเขียนภาพลายเส้นทัศนียภาพ  ( Linear Perspective )  ซึ่งนำไปสู่การเขียนภาพทิวทัศน์ที่งดงาม 

        -  ศิลปินได้พยายามศึกษากายวิภาคด้วยการผ่าตัดศพ  พร้อมฝึกวาดเส้นสรีระและร่างกายมนุษย์อย่างละเอียด

        -  ความเจริญก้าวหน้าในงานจิตรกรรมสีน้ำมันประสบความสำเร็จอย่างสูงในยุคนี้ด้วย

ศิลปะสมัยกลาง

ศิลปะบาโรก  ( Baroque )  ค.ศ.1580-1750

พระราชวังแวร์ซาย (ค.ศ.1661-1691)

 สร้างขึ้นด้วยหินอ่อน  ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14  ของฝรั่งเศส  ใช้เงินประมาณ  500  ล้านฟรังส์  จุคนได้ประมาณ  10,000  คน  เพื่อประกาศให้นานาประเทศเห็นถึงอำนาจและบารมีของพระองค์

        -  เป็นยุคที่มีการสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อการแสดงออกที่เรียกร้องความสนใจมากเกินไป  มุ่งหวังความสะดุดตาราวกับจะกวักมือเรียกผู้คนให้มาสนใจศาสนา  การประดับตกแต่งมีลักษณะฟุ้งเฟ้อเกินความพอดี

ศิลปะสมัยกลาง

ศิลปะโรโคโค  ( Rococo )   ค.ศ.1700-1789

        -  เป็นผลงานศิลปะที่สะท้อนความโอ่อ่า  หรูหรา  ประดับประดาตกแต่งที่วิจิตร  ละเอียดลออ  ส่งเสริมความรื่นเริงยินดี  ความรัก  กามารมณ์

ศิลปะคลาสสิกใหม่  ( Neoclassic )  ค.ศ.1780-1840

        -  เป็นลัทธิทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด  ได้ฟื้นฟูศิลปะคลาสสิกอันงดงามของกรีกและโรมันกลับมาสร้างใหม่ในปรัชญาที่ว่า  ศิลปะ  คือ  ดวงประทีปของเหตุผล  โดยเน้นความประณีต  ละเอียดอ่อน  นุ่มนวล  และเหมือนจริงด้วยสัดส่วนและแสงเงา

        -  เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของศิลปะสมัยกลางและศิลปะสมัยใหม่  มีผลต่อการคิดค้นสร้างสรรค์ศิลปะอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมาสมัยใหม่

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง

        1. ด้านเศรษฐกิจ  เกิดการตื่นตัวทางการค้า  มีการสำรวจดินแดนใหม่ๆ  (Age of Discovery)

        2. กำเนิดชนชั้นกลาง  คือ  พ่อค้าและปัญญาชน  ความเสื่อมของระบบฟิวดัล  พระและขุนนางถูกลด      

             บทบาท

        3. การปกครองเปลี่ยนไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  เกิดแนวคิดความเป็นรัฐชาติ

        4. การปฏิวัติวิทยาศาสตร์  เรียกยุคนี้ว่า  Age of Reason และ Age of Enlightenment

        5. การปฏิรูปศาสนา  เกิดนิกายโปรเตสแตนท์  โดย มาร์ติน ลูเธอร์

วรรณกรรม   มีการใช้ภาษาถิ่นแทนภาษาละติน

ศิลปะสมัยใหม่  ( Modern Art )

1. ศิลปะจินตนิยม  ( Romanticism )  ค.ศ.1800-1900

        -  ก่อเกิดในอังกฤษและฝรั่งเศสช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน  มีทรรศนะคติที่ต้องการความเป็นอิสระในการแสดงออกที่ศิลปินต้องการมากกว่าการเดินตามกฎเกณฑ์และแบบแผนทางศิลปะ  ดังที่ศิลปินลัทธิคลาสสิกใหม่ยังยึดถืออยู่

        -  เป็นศิลปะที่เน้นอารมณ์อยู่เหนือเหตุผล  มุ่งสร้างสรรค์งานที่ตื่นเต้น  เร้าใจ  ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ

            แก่ผู้ชม

2. ศิลปะสัจนิยม  ( Realisticism )  กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19

        -  ศิลปินในยุคนี้ได้แก่  กุสตาฟ  คูร์เบท์ , ฌอง  ฟรังซัวส์  มิล์เลท์

3. ศิลปะลัทธิประทับใจ  ( Impressionism )  ศิลปะแห่งความงดงามของประกายแสงและสี

        -  แสดงภาพทิวทัศน์บก  ทะเล  ริมฝั่ง  เมืองและชีวิตประจำวันที่รื่นรมย์  เช่น  การสังสรรค์  บัลเลต์  การ

            แข่งม้า  สโมสร  นิยมเขียนภาพนอกห้องปฏิบัติงาน

        -  พยายามแสดงคุณสมบัติของแสงสี  อันเป็นผลมาจากความรู้เกี่ยวกับแสงจากสเปกตรัมและสี  ซึ่งเป็น

             ผลผลิตจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ 

        -  ศิลปินในยุคนี้  ได้แก่  มาเนท์ , โคลด  โมเนท์ , เรอนัวร์ , เดอกาส์ , โรแดง , รอสโซ

4. ศิลปะลัทธิประทับใจใหม่  ( Neo-Impressionism )  สีจากแสงสเปกตรัมมาสู่อนุภาค

        -  เกิดเทคนิคการระบายสีเป็นสีจากจุด  ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อทางฟิสิกส์ว่า  แสง คือ อนุภาค  โดย

            การระบายสีให้เกิดริ้วรอยพู่กันเล็กๆด้วยสีสดใส  จุดสีเล็กๆนี้จะผสานกันในสายตาของผู้ชม  มากกว่า

            การผสมสีอันเกิดจากการผสมบนจานสี

        -  ศิลปินคนสำคัญ  ได้แก่  จอร์จส์ เซอราท์ , คามิลล์ พีส์ซาร์โร , พอล ซิบัค

5. ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง  ( Post-Impressionism )

6. ศิลปะลัทธิบาศกนิยม  ( Cubism )  ค.ศ.1907-1910

7. ศิลปะลัทธิเหนือจริง  ( Surrealism )  ศิลปกรรมที่เปิดเผยความฝันและจิตใต้สำนึก

8. ศิลปะลัทธินามธรรม  ( Abstractionism )  ศิลปะไร้รูปลักษณ์

             พัฒนาการของมนุษย์ยุคใหม่

             ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะดาราศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นผลให้นักเดินเรือสามารถเดินทางและกำหนดเป้าหมายได้อย่างมีระบบ ขยายการค้าและการติดต่อระหว่างตะวันออกกับตะวันตกได้

สาเหตุการสำรวจทางทะเล

            1. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และความรู้ด้านภูมิศาสตร์ แผนที่ของปิโตเลมี

            2. การใช้เข็มทิศและความก้าวหน้าในการต่อเรือเดินสมุทร อย่างมีประสิทธิภาพ

            3. ความต้องการสินค้าและวัตถุดิบจากโลกตะวันออก

                    โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เป็นผู้นำในการเดินเรือ นักสำรวจที่สำคัญ ได้แก่

                           1. นาโธโลนิว ไดแอส สามารถเดินเรือเลียบทวีแอฟริกา อ้อมแหลมกู๊ดโฮป

                           2. วาสโกดา กามา เดินเรือมาทวีปเอเซีย ขึ้นฝั่งที่ประเทศอินเดีย

                           3. คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวอิตาลีค้นพบทวีปอเมริกา

                           4. เฟอร์ดินันด์ แมกเจลแลน นักแสวงโชคผู้สามารถเดินเรือรอบโลกได้เป็นผู้สำเร็จคนแรก

ความก้าวหน้าวิทยาศาสตร์สาขาอื่นนอกจากดาราศาสตร์

            1. ทอร์ริเซลลี นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ประดิษฐ์บารอมิเตอร์เพื่อใช้วัดความกดดันของบรรยากาศ

            2. เกอร์ริก ชาวเยอรมันพิสูจน์ว่าอากาศมีความดกดัน

            3. เซอร์ ไอแซค นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษที่ศึกษาเรื่องการหักเหของแสง และแรงดึงดูดของ โลก

            4. พาราเซลซัส ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับธาตุที่ใช้ในการรักษาโรค

            5. โรเบิร์ต บอยล์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ศึกษาวิธีเตรียมฟอสฟอรัสจากน้ำปัสสาวะกับกระดูก และ

 ให้คำจำกัดความของ "ธาตุ" คือ สารที่จะไม่มีการแปรให้เป็นสิ่งอื่นได้เลย

            6. โรเบิร์ต ฮุค ได้ตั้ง "กฎของบอยล์" ว่า อากาศหรือก๊าซเมื่อถูกความร้อนจะขยายตัว และถ้าอุณหภูมิมี

  ค่าคงที่แล้ว ก๊าซจะมีปริมาณน้อยมากตามปฏิภาคอย่างกลับกับความกดดันของก๊าซนั้น ๆ  ว่าแสงเป็นคลื่นได้

            7. เจมส์ วัตต์ นักประดิษฐ์ชาวสก็อตแลนด์ที่ได้เห็นเครื่องสูบน้ำของนิวโคเมนและได้นำมาพัฒนาเป็น

 เครื่องจักรกล ทำให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมพัฒนาได้เร็วขึ้นกระบวนการเปลี่ยนแปลงในยุคใหม่

 การปฏิวัติวิทยาศาสตร์

หมายถึง วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การตรวจสอบ และการทดลองอย่างมีหลักการและมีเหตุผล เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 16 - 18

นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่

1. กาลิเลโอ ใช้กล้องโทรทรรศน์ยืนยันความถูกต้องของระบบสุริยจักรวาล

2. เซอร์ ไอแซค นิวตัน ค้นพบกฎการโน้มถ่วง แรงดึงดูดของโลก

3. โยฮันเนส เคปเลอร์ ค้นพบวงโคจรของดาวเคราะห์เป็นวงรีไม่ใช่วงกลม

4. เรอเน เดสการ์ต บิดาแห่งเรขาคณิตวิเคราะห์สมัยใหม่

5. ปิโตรเลมี ศึกษาโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

     การปฏิวัติอุตสาหกรรมและผลในด้านต่าง ๆ

           การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต จากการใช้แรงงานคนและสัตว์มาเป็นการใช้เครื่องจักรแทน หรือเปลี่ยนจากการผลิตในครัวเรือนเป็นการผลิตระบบโรงงาน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18

ระยะของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

          การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรก เป็นการใช้พลังไอน้ำในการขับเคลื่อนเครื่องจักรในอุตสาหกรรมทอผ้า และต่อมามีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ประเทศอังกฤษเป็น

ผู้นำอุตสาหกรรมประเทศแรกในการปฏิวัติอุตสาหกรรม

           การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่สอง เป็นช่วงที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้า ก๊าซ และน้ำมันมาใช้แทนถ่านหินหรือเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมเหล็กกล้า มีกระบวนการผลิตแยกส่วนแล้วนำมาประกอบกัน มีโรงงานขนาดใหญ่ขึ้น มีจำนวนคนทำงานในเมืองมากขึ้น เกิดเป็นสังคมเมืองขนาดใหญ่    การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่สาม เป็นสมัยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ มีการประดิษฐ์เครื่องจักรไดนาโมของไมเคิล ฟาราเดย์ เช่น ภาพยนตร์ โทรเลข โทรศัพท์ การพิมพ์

      สาเหตุที่อังกฤษเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรม

1. มีระบบการเงินที่มั่นคง

2. มีวัตถุดิบที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็ก ถ่านหิน

3. มีประชากรเพิ่มขึ้นจากการปฏิวัติเกษตรกรรมทำให้มีแรงงานเพิ่มมากขึ้น

4. มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

5. มีตลาดการค้ากว้างขวางเนื่องจากมีการล่าอาณานิคมมากขึ้น

6. มีการคมนาคมขนส่งสะดวก

ข้อใดจัดเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ขั้นปฐมภูมิ

(1) หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ (Primary sources) หมายถึง หลักฐานที่บันทึก สร้าง หรือจัดทำขึ้น โดย ผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง หรือบ่งบอกให้รู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น สนธิสัญญา บันทึกคำให้การ จดหมายเหตุกฎหมาย ประกาศของทางราชการ ศิลาจารึก จดหมายโต้ตอบ และที่ไม่ ...

หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานชั้นรองมีอะไรบ้าง

๒. หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิเป็นหลักฐานที่เขียนขึ้นโดยบุคคลที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น โดยตรง โดยมีการเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นๆ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของบทความทางวิชาการและหนังสือต่างๆ เช่น พงศาวดาร ตานาน บันทึกคาบอกเล่า ผลงานทางการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ ▪ ลักษณะสาคัญของหลักฐาน ...

ความสําคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีอะไรบ้าง

การศึกษาข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีความส าคัญ ดังนี้ มีรายละเอียดที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา เรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีต เป็นหลักฐานที่น ามาศึกษาเหตุการณ์ ในอดีตแนวทางตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และเป็นสิ่งที่ให้ ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในข้อใดจัดเป็นหลักฐานชั้นต้น

1. หลักฐำนชั้นต้นหรือหลักฐำนปฐมภูมิ เป็นหลักฐานที่มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ โดยมีการบันทึกของผู้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์โดยตรง หรือผู้ที่รู้เหตุการณ์นั้นด้วยตนเอง ดังนั้นหลักฐานช่วง ต้น จึงเป็นหลักฐานที่มีความสาคัญและน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะบันทึกของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ หรือผู้อยู่ในเหตุการณ์ ...