ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

ตัวชี้วัด

ง 3.1    ม.2/1   อธิบายหลักการเบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

จุดประสงค์การเรียนรู้

1) อธิบายลักษณะและหน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดได้ (K)

2) เลือกใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม  (P)

3) มีความรอบคอบ ระมัดระวังและมีความคิดสร้างสรรค์ในการใช้งานอุปกรณ์เครือข่าย  (A)

——————————————————————————————————————————

  1. การ์ดแลน/การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter)

ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายเคเบิล เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้งานเครือข่ายได้ เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่าและควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot  ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

ภาพแสดงตัวอย่าง การ์ดแลน

  1. โมเด็ม (Modem)

โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด
ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

ภาพแสดงตัวอย่างโมเด็ม

  1. ฮับ (Hub)

เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์  Bandwidth (แบนด์วิธ) หรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้ Bandwidth ต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง  หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง  แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง

ฮับเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานในระดับ layer 1 (เลเยอร์ 1) ซึ่งเป็น layer เกี่ยวข้องกับ เรื่องของการส่งสัญญาณออกไปสู่ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสาร รวมไปถึงเรื่องของการเข้ารหัสสัญญาณเพื่อที่จะส่งออกไปเป็นค่าต่างๆในทางไฟฟ้า และ เป็น layer ที่กำหนดถึง การเชื่อมต่อต่างๆที่เป็นไปในทาง physical hub (ฟิสซิเคิล ฮับ) นั้น

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

ภาพแสดงตัวอย่างฮับ

  1. สวิตช์ (Switch)

เป็นอุปกรณ์เครือข่ายเช่นเดียวกันกับฮับ ( hub) และมีหน้าที่คล้ายกับฮับมาก แต่มีความแตกต่างที่ ในแต่ละพอร์ต (port) จะมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้สูงกว่า เช่น สวิตช์ที่มีความเร็ว 10 Mbps นั้น จะหมายความว่า ในแต่ละพอร์ตจะสามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 10 Mbps และนอกจากนั้นเครื่องทุกเครื่องที่ต่อมายังสวิตช์ยังไม่ได้อยู่ใน Collision Domain เดียวกันด้วย (ซึ่งถ้าฮับจะอยู่) นั่นหมายความว่าแต่ละเครื่องจะได้ครอบครองสายสัญญาณแต่เพียงผู้เดียว จะไม่เกิดปัญหาการแย่งสายสัญญาณ และการชนกันของสัญญาณเกิดขึ้น

สวิตช์จะมีความสามารถมากกว่าฮับ แต่ยังมีการใช้งานอยู่ในวงจำกัดเพราะราคายังค่อนข้างสูงกว่าฮับอยู่มาก ดังนั้นจึงมีการนำสวิตช์มาใช้ในระบบเครือข่ายที่ต้องการแบ่งdomain เพื่อเพิ่มความเร็วในการติดต่อกับระบบ โดยอาจนำสวิตช์มาเป็นศูนย์กลาง และใช้ต่อเข้ากับเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อจะได้ส่งข้อมูลได้ทีละมาก ๆ และส่งด้วยความเร็วสูง

 

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

ภาพแสดงตัวอย่างสวิตช์

  1. เราเตอร์ (Router)

เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายแต่ละรูปร่างเข้าด้วยกัน  หรือเครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลได้
เราท์เตอร์เป็นอุปกรณ์จัดหาเส้นทางอัตโนมัติ อาศัยการรับรู้เลขที่อยู่ไอพี ทำให้ส่งข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพที่สุด  เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol:โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้

     

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

โมเด็ม/เร้าเตอร์ ADSL (ADSL Modem/Router)

  1. แอคเซสพอยต์ (Access Point)

ทำหน้าที่คล้ายฮับ ใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ไร้สาย

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

ภาพแสดงตัวอย่าง Wireless Access Point

  1. เกตเวย์ (Gateway)

เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

ภาพแสดงตัวอย่างเกตเวย์

  1. รีพีตเตอร์ (Repeater)

รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆเช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

ภาพแสดงตัวอย่างรีพีตเตอร์

  1. ไฟร์วอลล์ (Firewall)

ไฟร์วอลล์ จะคอยตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ระหว่างเครือข่าย หรือ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งคอยป้องกันการโจมตี สแปม และผู้บุกรุก ต่างๆ ที่ไม่หวังดีต่อระบบไฟร์วอลล์ จะเปรียบเสมือนยามเฝ้าประตู ที่คอยตรวจสอบผู้เข้าออกต่างๆ ในสถานที่นั้นๆ

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

ภาพแสดงตัวอย่างไฟร์วอลล์

  1. บริดจ์ (Bridge)  

เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้แบ่งเครือข่ายออกเป็นเซกเมนต์ที่ไม่เกี่ยวข้องกันแต่ว่าถูกดูแลอยู่ภายใต้เครือข่ายเดียวกัน ซึ่งบริดจ์จำทำหน้าที่ในชั้น Data Link Layer โดยจะมองข้อมูลเป็นเฟรม ซึ่งจะแตกต่างจากฮับหรือรีพีตเตอร์ที่จะมองข้อมูลในระดับบิต นอกจากบริดจ์จะทำหน้าที่แบ่งเครือข่ายออกเป็น 2 เซกเมนแล้วยังทำหน้าที่กลั่นกรองข้อมูลให้อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน มันจะกันไม่ให้เฟรมข้อมูลนั้นไปรบกวนอีกเซกเมนหนึ่ง

หรือจะสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting) ดังนั้น จึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่าย บริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูล ระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่าย ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบLAN และ WAN อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงคือ เราเตอร์ (Router)

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด
ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

ภาพแสดงตัวอย่างบริดจ์

11. 3G หรือ Third Generation

เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3จะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยี ในปัจจุบันเข้าด้วยกัน ใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

ภาพแสดงตัวอย่าง3G หรือ Third Generation

12. สายสัญญาณ

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

สายโทรศัพท์ (มีสายทองแดง 2 คู่)  หัวที่ใช้ต่อเรียกว่า RJ-11

 

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

สายแลน (มีสายทองแดง 4 คู่) หัวที่ใช้ต่อเรียกว่า RJ-45  เป็นสายที่ใช้เชื่อมต่อบนเครือข่ายอีเธอร์เน็ต เรียกสายนี้อีกอย่างหนึ่งว่า UTP (Unshielded Twisted Pair)

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

ลักษณะของหัวข้อของสายโคแอ็กเชียล จะเป็นเหัวต่อแบบ BNC

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

ลักษณะของหัวข้อของไฟเบอร์ออฟติก

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด
ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

หัว SC                                                                                           หัว ST

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด
ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

หัว FC                                                              หัว LC

ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด
ปรับโปรโตคอล protocol เป็นหน้าที่ของอุปกรณ์ใด

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

เว็บไซต์ครูณัฐชา

http://www.datacom2u.com/NetworkDevice.php

Click to access Doc7_7.pdf