พระอานนท์เกี่ยวข้องกับการทําสังคายนาอย่างไร 1 คะแนน

ประวัติ พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร

          พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระสุกโกทนะ ผู้เป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดานามว่า พระนางกีสาโคตมี มีศักดิ์เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา (พระราชโอรสของพระเจ้าอา) ออกบวชพร้อมกับเจ้าชายอนุรุทธะและอุบาลี (ศึกษาประวัติเบื้องต้นในประวัติของพระอนุรุทธเถระ) เมื่อท่านบวชแล้ว ได้ฟังโอวาทจากพระปุณณมันตานี ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

พระอานนท์ได้รับเลือกเป็นพุทธอุปัฎฐาก

          ในช่วงปฐมโพธิกาลหลังจากตรัสรู้แล้ว 20 พรรษานั้น ยังไม่มีพระภิกษุใดปฏิบัติรับใช้พระพุทธองค์เป็นประจำ มีแต่พระภิกษุผลัดเปลี่ยนวาระกันปฏิบัติ เช่น พระนาคสมาละ พระนาคิตะ พระอุปวาณะ พระสาคตะ และพระเมฆิยะ เป็นต้น บางคราวการผลัดเปลี่ยนบกพร่อง องค์ที่ปฏิบัติอยู่ออกไป แต่องค์ใหม่ยังไม่มาแทน ทำให้พระพุทธองค์ต้องประทับอยู่ตามลำพังขาดผู้ปฏิบัติ บางครั้งพระภิกษุผู้ปฏิบัติ ก็ดื้อดึงขัดรับสั่งของพระพุทธองค์ เช่น ครั้งหนึ่ง เป็นวาระของพระนาคสมาลเถระ ท่านได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปทางไกล พอถึงทาง 2 แพร่ง พระเถระทราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์เสด็จไปทางนี้เถิด พระเจ้าข้า” “อย่าเลย นาคสมาละ ไปอีกทางหนึ่งจะดีกว่า” พระนาคสมาละ ไม่ยอมเชื่อฟังพระดำรัส ขอแยกทางกับพระพุทธองค์ ทำท่าจะวางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคที่พื้นดิน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “นาคสมาละ เธอจงส่งบาตรและจีวรมาให้ตถาคตเถิด” พระนาคสมาละ ถวายบาตรและจีวรแด่พระพุทธองค์แล้วแยกทางเดินไปตามที่ตนต้องการ ไปได้ไม่ไกลนักก็ถูกพวกโจรทำร้ายจนศีรษะแตกแล้วแย่งชิงเอาบาตรและจีวรไป ทั้งที่เลือดอาบหน้ารีบกลับมาเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลเล่าเรื่องให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “อย่าเสียใจไปเลย นาคสมาละ ตถาคตห้ามเธอก็เพราะเหตุนี้”

พระพุทธองค์ ได้รับความลำบากพระวรกายเพราะถูกปล่อยให้ประทับอยู่ตามลำพังหลายครั้ง จึงมีพระดำรัสรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์เลือกสรรภิกษุทำหน้าที่ปฏิบัติพระองค์เป็นประจำ ภิกษุทั้งหลายมีฉันทามติมอบหมายให้พระอานนท์เถระรับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยเห็นว่าท่านเป็นผู้มีสติปัญญา ขยัน อดทน รอบคอบ และเป็นพระญาติใกล้ชิด ย่อมจะทราบพระอัธยาศัยเป็นอย่างดี

พระเถระทูลขอพร 8 ประการ

          แต่ก่อนที่พระเถระจะตอบรับทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากนั้น ท่านได้กราบทูลขอพร 8 ประการ ดังนี้:-

1. ขออย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์

2. ขออย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์

3. ขอได้โปรดอย่าให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์

4. ขอได้โปรดอย่าพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์

5. ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ ที่ข้าพระองค์รับไว้

6. ขอให้ข้าพระองค์พาบริษัทที่มาจากแดนไกลเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาถึงแล้ว

7. ถ้าข้าพระองค์เกิดความสงสัยขึ้นเมื่อใดขอให้ข้าพระองค์เข้าเฝ้าทูลถามความสงสัยได้เมื่อนั้น

8. ถ้าพระองค์แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ขอได้โปรดตรัสพระธรรมเทศนาเรื่องนั้น แก่ข้าพระองค์อีกครั้ง

พระพุทธองค์ตรัสถามคุณและโทษของพร 8 ประการ

          พระบรมศาสดา ได้สดับคำกราบทูลขอพรของพระอานนท์เถระแล้ว ได้ตรัสถามถึงคุณและโทษของพร 8 ประการว่า:-

“ดูก่อนอานนท์ เธอเห็นคุณและโทษอย่างไร จึงขออย่างนั้น ?”

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ 1-4 ข้างต้น ก็จะมีคนพูดติฉินนินทา ได้ว่า พระอานนท์ ปฏิบัติบำรุงอุปัฏฐากพระบรมศาสดา จึงได้ลาภสักการะมากมายอย่างนี้ การปฏิบัติอุปัฏฐากมิได้หนักหนาอะไรเลย และถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ 5-7 ก็จะมีคนพูดได้อีกว่าพระอานนท์ จะบำรุงอุปัฏฐากพระบรมศาสดาไปทำไม แม้กิจเพียงเท่านี้ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุเคราะห์ อนึ่ง โดยเฉพาะถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อสุดท้ายแล้ว หากมีผู้มาถามข้าพระองค์ว่า ธรรมข้อนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงที่ไหน ถ้าข้าพระองค์ไม่ทราบ เขาก็จะตำหนิได้ว่า พระอานนท์ ติดตามพระบรมศาสดาไปทุกหนแห่ง ดุจเงาตามพระองค์ แต่เหตุไฉนจึงไม่รู้แม้แต่เรื่องเพียงเท่านี้“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นคุณและโทษ ดังกล่าวมานี้ จึงได้กราบทูลขอพรทั้ง 8 ประการนั้น พระเจ้าข้า”

พระบรมศาสดา เมื่อได้สดับคำชี้แจงของพระอานนท์แล้ว จึงประทานสาธุการ และพระราชทานอนุญาตให้ตามที่ขอทุกประการ ตั้งแต่นั้นมา ท่านพระเถระก็ปฏิบัติหน้าที่บำรุงอุปัฏฐากพระพุทธองค์ตลอดมา ตราบเท่าถึงเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน

ยอมสละชีวิตแทนพระพุทธองค์

          พระเถระ ได้ปฏิบัติหน้าที่อุปัฏฐากพระบรมศาสดาด้วยความอุตสาหะมิได้บกพร่อง อีกทั้งมีความจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ชีวิตของตนก็ยอมสละแทนพระพุทธองค์ได้ เช่น ในคราวที่พระเทวทัตยุยงให้พระเจ้าอชาตศัตรูปล่อยช้างนาฬาคีรี ด้วยหวังจะให้ทำอันตรายพระพุทธองค์ ขณะเสด็จออกบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ในขณะที่ช้างนาฬาคีรีวิ่งตรงเข้าหาพระพุทธองค์นั้น พระอานนท์เถระผู้เปี่ยมล้นด้วยความกตัญญูและความจงรักภักดี ได้ยอมมอบกายถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ได้ออกไปยืนขวางหน้าช้างไว้ หวังจะให้ทำอันตรายตนแทน แต่พระพุทธองค์ได้ทรงแผ่พระเมตตาไปยังช้างนาฬาคีรี ด้วยอำนาจแห่งพระเมตตาบารมี ทำให้ช้างสร่างเมาหมดพยศ ลดความดุร้ายยอมหมอบถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วลุกขึ้นเดินกลับเข้าสู่โรงช้าง ด้วยอาการอันสงบ

ได้รับยกย่องหลายตำแหน่ง

          พระอานนท์เถระ ได้ปฏิบัติพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด มิได้ประมาทพลาดพลั้ง ได้ฟังพระธรรมเทศนาทั้งที่ทรงแสดงแก่ตนและผู้อื่น ทั้งที่แสดงต่อหน้าและลับหลัง อีกทั้งท่านเป็นผู้มีสติปัญญาทรงจำไว้ได้มาก จึงเป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรม พระบรมศาสดาทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งปวง ถึง 5 ประการ คือ พระอานนท์ได้ทำหน้าที่พุทธอุปัฏฐากได้เป็นอย่างดียิ่ง จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) 5 ประการ ได้แก่

1. เป็นพหูสูต (ทรงจำพุทธวจนะได้มากที่สุด)

2. เป็นผู้มีสติ

3. เป็นผู้มีคติ (แนวในการจำพุทธวจนะ)

4. เป็นผู้มีธิติ (ความเพียร)

5. เป็นพุทธอุปัฏฐากผู้เลิศ

ปฐมสังคายนารับหน้าที่สำคัญ

          ในกาลที่พระพุทธองค์ใกล้ปรินิพพาน พระอานนท์เถระมีความน้อยเนื้อต่ำใจที่ตนยังเป็นปุถุชนอยู่ อีกทั้งพระบรมศาสดาบรมครูก็จะเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในอีกไม่ช้า จึงหลีกออกไปยืนร้องไห้แต่เพียงผู้เดียวข้างนอก พระพุทธองค์รับสั่งให้ภิกษุไปเรียกเธอมาแล้ว ตรัสเตือนให้เธอคลายทุกข์โทมนัสพร้อมทั้งตรัสพยากรณ์ว่า....

“อานนท์ เธอจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในวันทำปฐมสังคายนา”

เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระได้นัดประชุมพระอรหันต์ขีณาสพ จำนวน 500 องค์ เพื่อทำปฐมสังคายนา โดยมอบให้พระอานนท์รับหน้าที่วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม แต่เนื่องจากพระอานนท์ยังเป็นปุถุชนอยู่ ท่านจึงเร่งทำความเพียรอย่างหนักแต่ก็ยังไม่สำเร็จจนเกิดความอ่อนเพลีย ท่านจึงปรารภที่จะพักผ่อนอิริยาบถสักครู่ จึงเอนกายลงบนเตียง ในขณะที่เท้าพ้นจากพื้น ศีรษะกำลังจะถึงหมอน ท่านก็สำเร็จเป็นพะอรหันต์ ในระหว่างอิริยาบถทั้ง 4 คือ ไม่ได้อยู่ในอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง 4 อย่าง คือ อิริยาบถยืน เดิน นั่ง หรือนอน นับว่าท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แปลกกว่าพระเถระรูปอื่น ๆ

ปรินิพพานกลางอากาศ

          พระอานนท์เถระ ดำรงอายุสังขารอยู่นานถึง 120 ปี พิจารณาเห็นว่าสมควรที่จะปรินิพพานได้แล้ว ท่านจึงเชิญญาติทั้งฝ่ายศากยะและฝ่ายโกลิยะ ไปที่ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี ซึ่งกั้นเขตแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ ก่อนที่จะปรินิพพาน ท่านเหาะขึ้นไปบนอากาศได้แสดงธรรมสั่งสอนเทวดาและพระประยูรญาติทั้งสองฝ่าย ตลอดทั้งพุทธบริษัทอื่น ๆ เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้วท่านได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า....

          “เมื่ออาตมานิพพานแล้ว ขอให้อัฐิธาตุของอาตมานี้จงแยกออกเป็น 2 ส่วน จงตกลงที่ฝั่งกรุงกบิลพัสดุ์ ของพระประยูรญาติฝ่ายศากยวงศ์ ส่วนหนึ่ง และจงตกที่ฝังกรุงเทวทหะของพระประยูรญาติฝ่ายโกลิยวงศ์ส่วนหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้พระประยูรญาติทั้งสองฝ่ายทะเลาะวิวาทกันเพราะแย่งอัฐิธาตุ”

          ครั้นอธิษฐานเสร็จแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน ณ เบื้องบนอากาศ ในท่ามกลางแม่น้ำโรหิณี นั้น เตโชธาตุก็เกิดขึ้น เผาสรีระของท่านเหลือแต่กระดูกและแยกออกเป็น 2 ส่วน แล้วตกลงบนพื้นดินของ 2 ฝั่งแม่น้ำโรหิณีนั้นสมดังที่ท่านอธิษฐานไว้ทุกประการท่านได้ชื่อว่าเป็นพุทธสาวกที่ได้บรรลุกิเลสนิพพาน และขันธนิพพานแปลกกว่าพระสาวกรูปอื่น ๆ

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

          1. เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาอย่างยิ่ง  จนกลายเป็นพระหูสูตและได้รับสมญานามว่า “ภัณฑาคาริก” ( ขุนคลัง ) หมายถึง  ขุนคลังแห่งความรู้ทางธรรมะ

          2. มีคุณธรรมในด้านต่างๆ ที่ทำให้ท่านได้รับยกย่องให้เป็น “เอตทัคคะ” เช่น  มีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาไม่เผลอเรอ  มีหลักในการจดจำพุทธวจนะจากการแสดงธรรมของพระพุทธองค์เป็นอย่างดี  และมีความเพียรพยายามในการปฏิบัติหน้าที่พุทธสาวกอย่างเข้มแข็ง  เป็นต้น

          3. เป็นผู้รู้จักกาลเทศะอย่างดียิ่ง  ในฐานะที่ทำหน้าที่เป็น “พุทธอุปัฏฐาก”  เป็นผู้คอยปรนนิบัติรับใช้พระพุทธเจ้าเหมือนกับเลขานุการในปัจจุบัน  พระอานนท์จะรู้เวลาไหนควรทำอะไร  เรื่องนั้นจะทำเมื่อไร  ใช้สถานที่ไหน  และจะปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ อย่างไร  เป็นต้น

          4. เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง  พระอานนท์เป็นผู้ทุ่มเทสละเวลาของตนเพื่อปรนนิบัติรับใช้พระพุทธเจ้าอย่างดียิ่ง  แม้จะเสี่ยงชีวิตเพื่อปกป้องพระพุทธองค์ก็กล้าทำได้  ดังตัวอย่างเมื่อครั้งพระเจ้าอชาตศัตรูหลงเชื่อคำยุยงของพระเทวทัตจึงปล่อยพญาช้างให้มาทำร้ายพระพุทธองค์ขณะกำลังเสด็จออกบิณฑบาต  พระอานนท์กล้าออกมายืนขวางพญาช้างไม่ให้ทำร้ายพระพุทธองค์  เป็นต้น

          5. เป็นผู้มีความเมตตากรุณา  ดังตัวอย่างเมื่อครั้งพระนางมหาปชาบดีโคตรมี  ( ผู้เป็นน้าของพระพุทธเจ้า )  ปรารถนาจะขอบวชเป็นพระภิกษุณีแต่พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธทุกครั้ง  พระอานนท์เกิดความสงสารจึงกราบทูลอ้อนวอนขอ  จนในที่สุดพระพุทธเจ้าทรงประทานอนุญาตให้บวชได้  เป็นต้น

          6. เป็นผู้มองการณ์ไกล  พระอานนท์  เป็นผู้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าในข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการแสดงความเคารพและการระลึกถึงพระพุทธองค์ภายหลังเสด็จดับขันธปรินิพพาน  ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่าให้พุทธบริษัททั้ง 4  กราบไหว้บูชา  “สังเวชนียสถานสี่ตำบล”  คือ  สถานที่ประสูติ  ตรัสรู้  แสดงปฐมเทศนาและปรินิพพาน

พระอานนท์มีความเกี่ยวข้องกับการทำสังคายนาอย่างไร

ซึ่งในปฐมสังคายนา พระอานนท์ได้รับมอบหมายหน้าที่สำคัญคือ วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม ในฐานะที่เป็นพุทธอุปฐากคอยรับใช้ใกล้ชิด ท่านได้ฟังธรรมจากพระผู้มีพระภาคเจ้ามากที่สุด และทรงจำพระธรรมเทศนาของพระองค์ได้ทั้งหมด

พระอานนท์เกี่ยวข้องกับการทำสังคายนาครั้งที่เท่าไหร่

การสังคายนาครั้งที่ทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงแล้ว ๓ เดือน ปรารภเรื่องสุภัททภิกษุผู้บวชเมื่อแก่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัยและปรารภที่จะให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่สืบไป พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์มีพระมหากัสสปเถระเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนา (ตอบ) พระวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม ประชุมที่ถ้ำ ...

พระอานนท์ มีความสําคัญอย่างไร

พระอานนท์ เป็นพระสาวกรูปหนึ่งในบรรดาพระสาวกผู้มีความส าคัญใน การเผยแผ่ พระศาสนาเป็นอย่างมาก และมีความโดดเด่นในหลายด้าน ท่านเป็นผู้มีบทบาท ในการส่งเสริมสนับสนุนให้สตรีได้บวชในพระพุทธศาสนา และการแสดงธรรม สนทนาธรรม โต้ตอบปัญหาธรรม แก่ภิกษุ ภิกษุณี แก่อุบาสกอุบาสิกาที่สนใจในหลักค าสอนของ พระพุทธเจ้าเป็นอย่างดียิ่ง

พระอานนท์ทำหน้าที่ใดในการทำสังคายนาครั้งที่1

เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว พระมหากัสสปะประมุขสงฆ์ได้ประกาศให้พระอุบาลีผู้เชี่ยวชาญพระวินัยทำหน้าที่วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์ผู้เป็นพหูสูตทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม โดยตัวท่านเองทำหน้าที่เป็นผู้ซักถามประเด็นต่างๆ มีพระสงฆ์ทั้งปวงช่วยกันสอบทาน