วิธีคิดแบบอริยสัจ4

            ได้มีโอกาส อ่านหนังสือเล่มน้อยเล่มหนึ่งของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ชื่อ "วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม" ท่านเมตตาแจกแจงแสดงหลักการใช้ปัญญา คือวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการไว้ถึง ๑๐ แบบ ด้วยกัน ไล่ตั้งแต่...

            ๑. คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย

            ๒. คิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ

            ๓. คิดแบบสามัญลักษณ์ (ไตรลักษณ์)

            ๔. คิดแบบอริยสัจจ์ (คิดแบบแก้ปัญหาตามเหตุและผล)

            ๕. คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์

            ๖. คิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก

            ๗. คิดแบบรู้จักคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม

            ๘. คิดแบบเร้าคุณธรรม

            ๙. คิดแบบอยู่กับปัจจุบัน

            ๑๐.คิดแบบ วิภัชชวาท (เชิงวิเคราะห์แบบหลายแง่มุมมอง)

           

มันน่าทึ่งไหมครับ กับการโยนิโสมนสิการทั้ง ๑๐ แบบ ลำพังเพียงแค่แบบใดแบบหนึ่ง จากทั้งหมดนั้นก็เพียงพอ สำหรับการแก้ปัญหาชีวิตมนุษย์ได้แล้วครับ เพียงแต่พวกเราจะรู้ซึ้งถึงกระบวนการ และใช้มันเป็นหรือเปล่า เท่านั้นแหละครับ

            ครั้งหนึ่งมหาเศรษฐีชาวอเมริกันคนหนึ่งเกิดกลุ้มใจ แก้ปัญหาธุรกิจของตัวเองไม่ลงตัว กลืนไม่เข้า คายไม่ออก บังเอิญได้เพื่อนสนิทที่เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์คนหนึ่งให้คำแนะนำมาว่าให้ใช้หลักคิด ๔ ขั้นตอนนี้ คือ

            ๑.ถามตัวเองก่อนว่า ปัญหาคืออะไร? (What is the problem?)

            ๒.อะไรคือสาเหตุแห่งปัญหานั้น? (What is the cause of problems?)

            ๓.ระดมมันสมองและความคิดทั้งหมด (ทั้งจากตัวเราและทีมงาน) ถึง แนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ทั้งหมด

           

๔.เลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด  (Select the Best solution.)

            ด้วยความเป็นเพื่อนสนิทกัน นักวางกลยุทธ์จึงไม่ได้คิดเงินค่าป่วยการอะไร แค่ท้าทายเพื่อนมหาเศรษฐีนั้นไว้ว่า
“ให้นายเอาไปใช้ดู หากช่วยแก้ปัญหาให้ได้จริงแล้ว ค่อยพิจารณา เขียนเช็คเป็นค่าสมองภายหลังละกัน”

            (ไม่มีของฟรีหรอกครับ สำหรับภูมิปัญญาของฝรั่งเขาน่ะ)

            หลังจากนั้นอีก ๒ เดือน เศรษฐีคนนี้ก็ตีเช็คให้เพื่อน ซึ่งมีมูลค่าถึง ๒๕,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปัจจุบันก็ราว ๗ แสนกว่าบาทเชียวนะครับ)  หลักการคิดของนักวางกลยุทธ์คนนี้ ไม่ต่างอะไรกับหลักอริยสัจจ์ ที่พระพุทธเจ้าวางไว้เมื่อกว่า ๒,๖๐๐ ปีก่อนเลยครับ (แต่พระพุทธเจ้าประทานให้ฟรีๆ) ซึ่งเป็น ๑ ใน ๑๐ แบบของโยนิโสมนสิการที่ท่านเจ้าคุณประยุทธ์ได้ลำดับไว้ ผมขอนำมาขยายผลต่อ เฉพาะวิธีคิดแบบอริยสัจจ์ นี้นะครับ

            วิธีคิดแบบอริยสัจจ์นี้ มีลักษณะทั่วไป ๒ ประการคือ

            ๑.เป็นวิธีคิดตามเหตุและผล หรือเป็นไปตามเหตุและผล จัดเป็น ๒ คู่คือ

            คู่ที่ ๑ "ทุกข์" เป็นผล เป็นตัวปัญหา กับ "สมุทัย" เป็นเหตุ เป็นที่มาของปัญหา

            คู่ที่ ๒ "นิโรธ" เป็นผล เป็นภาวะสิ้นปัญหา กับ "มรรค" เป็นเหตุ เป็นวิธีการ (ข้อปฏิบัติ)ในการแก้ปัญหา

            ๒.เป็นวิธีคิด ตรงจุดตรงเรื่อง ตรงไปตรงมา (Hit the point) มุ่งตรงต่อสิ่งที่จะต้องทำ ต้องปฏิบัติ ต้องเกี่ยวข้องกับชีวิต ไม่ฟุ้งซ่านออกไปในเรื่องฟุ้งเฟ้อที่สักว่าคิดแต่เพื่อสนองตัณหามานะทิฐิ

            หากเราลองพิจารณาด้วยถ้วนถี่ แล้วนำคำสอนของพระพุทธองค์มาใช้ในชีวิตได้จริงๆ หลักอริยสัจ ๔ นี้เอง จะช่วยทะลุทะลวงปัญหานานาประการให้บรรเทา เบาบางลงได้ กระทั่งหมดสิ้นปัญหาโดยสิ้นเชิงได้เลย อาทิเช่น

            กรณีที่ ๑ ผู้ชายวันเริ่มทำงานใหม่ๆ มักมีปัญหาเรื่องหนี้สินพันตู ส่วนมากก็จะเป็นหนี้บัตรเครดิต ชักหน้าไม่ถึงหลัง หลังจากว้าวุ่นใจอยู่พักใหญ่ เขาก็ได้สตินึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า นำเอาหลักนี้ไปจับ แล้วเริ่มต้นถามตัวเองอย่างซื่อสัตย์ว่า ...

            (๑) ปัญหาคืออะไร? หนี้สิน

            (๒) สาเหตุของปัญหาคืออะไร?  ใช้จ่ายเกินตัว เงินเดือน ๑๒,๐๐๐ บาท แต่กินข้าวหรู มื้อละ ๒-๓๐๐ บาททุกวัน ตบด้วยกาแฟนอกแก้วละ ๑๕๐ บาท วันเว้นวัน, เป็นพวกแฟชั่นตามกระแส บ้าวัตถุนิยม เห็นรัฐหนุนเงิน รถคันแรก ก็ถอยมา ๑ คัน โดยมิได้วางแผนว่า จะผ่อนไหวไหม แค่อยากได้หน้า ว่ามีรถใหม่ เป็นต้น

            (๓) เป้าหมายปลายทาง (ภาวะสิ้นปัญหา) คืออะไร?  ปลดหนี้ปลดสิน หรือ ทำให้หนี้สินสมดุล

            (๑) กระบวนการแก้ปัญหา (Solutions) รู้จักมีความเป็นอยู่ตามฐานะ ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ภาระเกินกำลัง เช่นรถใหม่ ให้ขายต่อเพื่อนไปให้หมด, ท่องคาถาอาจารย์วีระ ธีรภัทร ไว้ว่า... "มีน้อย-ใช้น้อย, มีมาก-(ก็ยัง)ใช้น้อย, ไม่มี-ไม่ใช้, มีเหลือใช้หนี้-หนี้ใหม่ไม่ก่อ-หนี้เก่าใช้ให้หมด, ฯลฯ”
เท่านี้ ปัญหาของหนุ่มน้อยหน้าใหญ่คนนี้ ก็จะหมดไป
กรณีที่ ๒ ภรรยาส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจไปเองว่า สามีไม่รัก

            (๑) ปัญหาคืออะไร?  ทุกข์ เพราะ สามีไม่รัก

            (๒) สาเหตุของปัญหาคืออะไร? กิเลส ความยึดมั่นถือมั่นในความรักว่าจะต้องหอมหวานเช่นเดิม ตลอดไปไม่แปรเปลี่ยน และความคาดหวัง (Expectation) ในตัวสามี ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก อันควบคุมไม่ได้มากเกินไป

            (๓) เป้าหมายปลายทาง (ภาวะสิ้นปัญหา) คืออะไร? ปลดเปลื้องความทุกข์ หาจุดสมดุล เป็นสุขโดยอิสระซึ่งกันและกัน

           

(๔) กระบวนการแก้ปัญหา (Solutions) เลิกเพ่งโทษผู้อื่น หยุดการส่งจิตออกนอก จนอ่อนกำลัง ให้หันมาส่งจิตสู่ด้านใน (หรือพาจิตกลับบ้าน) พิจารณา ให้เห็นซึ่งความไม่เที่ยง (อนิจจัง) เห็นในรายละเอียดของจิตเวลาเป็นทุกข์ (ทุกขัง) และรู้ซึ้งว่า ไม่มีสิ่งใดที่เราจะยึดถือเป็นตัวเป็นตนของเราได้สักอย่างเดียว (อนัตตา) ทั้งสามี หรือ แม้แต่ตัวเราเอง ก็ตาม เมื่อเข้าใจในสามัญลักษณะ ๓ (ไตรลักษณ์) นี้แล้ว จิตก็จะเกิดการ ยอมรับ (accept) ความเป็นเช่นนั้นเอง (ตถาตา) ใจจะสงบ เย็น ว่างเบา มากขึ้นโดยลำดับ

            รู้ถึงกระบวนการการเกิดทุกข์ เพราะไปยึดมั่นถือมั่นก็ปลดล็อก โดยเลิกยึด เลิกอยาก สุดท้ายก็เกิดสันติภาพน้อยๆ ในจิตใจได้ จากนั้นก็ดำเนินมรรคาอันประเสริฐแห่งพุทธองค์ ศีล-สมาธิ-ปัญญา ในชีวิตที่เหลืออยู่ร่วมกับคุณสามีอย่างเป็นกัลยาณมิตรกันสืบไป

            โยนิโสมนสิการ โดยหลักอริยสัจจ์ มันดับทุกข์ได้จริง ดัง ๒ ตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง ดูหนังดูละคร ย้อนดูตัว แล้วหวนกลับมาคิดถึงปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ มันคืออะไรล่ะครับ? รีบๆ ตีกรอบปัญหานั้นซะ (Address the problems) แล้วใช้หลักอริยสัจจ์ไปเป็นโครงสร้างการแก้ปัญหา ถ้ายกแรกยังแก้ไม่จบ ก็ทำซ้ำอีก เรื่อยๆ ท้ายที่สุด ผมรับประกันได้ว่า ทุกปัญหาจะถูกแก้ไขไปด้วยดีทุกประการ ขอเพียงแต่ให้ใช้หลักคิดชาวพุทธ และหลักธรรมเป็นเครื่องมือนะครับ

            แนวทางนี้ มีอานิสงส์มหาศาลจริงๆ อานิสงส์ขั้นต่ำ คือปัญหาชีวิตนั้นๆ จะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ส่วนอานิสงส์ขั้นสูง คือคนคนนั้น จะบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันได้เลยทีเดียว อันมีพุทธพจน์ ที่ผมจะปิดท้ายบทความต่อไปนี้ เป็นเครื่องยืนยันนะครับ

            “ภิกษุนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ทุกข์คือดังนี้; ย่อมมนสิการโดยแยบคาย เหตุเกิดแห่งทุกข์คือดังนี้; ย่อมมนสิการโดยแยบคาย ความดับแห่งทุกข์ คือดังนี้; ย่อมมนสิการโดยแยบคาย ข้อปฏิบัติที่ทำให้ถึงความดับแห่งทุกข์ คือดังนี้; เมื่อเธอมนสิการโดยแยบคาย อยู่อย่างนี้ สังโยชน์ ๓ อย่าง (สังโยชน์ขั้นต้น) คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาส ย่อมถูกละเสียได้”

            และเมื่อสังโยชน์ ๓ ประการ (จากทั้งหมด ๑๐ สังโยชน์) ถูกละลงได้ ก็หมายถึงการตกกระแสแห่งพระนิพพาน เป็นพระโสดาบัน นั่นเองครับ

การคิดแบบอริยสัจ4เป็นวิธีการคิดอย่างไร

โยนิโสมนสิการแนวอริยสัจ หมายถึง วิธีคิดที่เป็นไปตามเหตุและผล สืบสาวจากผลไปหาเหตุ แล้วแก้ไขและท าการที่ต้นเหตุ ที่ตรงจุดตรงเรื่อง โดยมุ่งตรงต่อสิ่งที่จะต้องท า ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มีความส าคัญ คือช่วยให้เห็นจุดเด่น จุดด้อย หรือส่วนดีและส่วนที่ต้องแก้ไขของภารกิจต่างๆ ที่ดาเนินการอยู่ได้ชัดเจน

วิธีคิดแบบอริยสัจ 4 ข้อใดเรียงลําดับถูกต้องที่สุด

ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) ... .
สมุทัย (หลักธรรมที่ควรละ) ... .
นิโรธ (หลักธรรมที่ทำให้บรรลุ) ... .
มรรค (หลักธรรมที่ควรเจริญ หรือทำให้เกิดขึ้น).

เหตุใดจึงกล่าวว่า วิธีคิดแบบอริยสัจ 4 สอดคล้องกับวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์

วิธีการคิดแบบพระพุทธศาสนาและวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์มีความสอดคล้องกัน คือ มีขั้นตอนและรูปแบบวิธีการคิดเหมือนกัน ทุกข์ในวิธีการคิดของอริยสัจ 4 คือ ปัญหา ของวิธีการคิดแบบวิทยาศาสตร์จากนั้นมีการตรวจสอบสาเหตุของทุกข์และปัญหา รวมทั้ง การทดลองเพื่อขจัดปัญหา สุดท้ายนาไปสู่การวิเคราะห์และรู้แจ้งสามารถขจัดปัญหา ดังนั้น จึงกล่าวได้ ...

อริยสัจ 4 หมายถึง มีอะไรบ้าง

อริยสัจ 4 ถือเป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ซึ่งมีประโยชน์ต่อการดับทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ทุกข์ : การมีอยู่ของทุกข์ คือการสำรวจความไม่สบายกายไม่สบายใจของตนเอง