เพลง พื้นบ้าน แต่ละ ภาค มีความ เหมือน หรือ แตก ต่าง กัน อย่างไร

 วงดนตรีพื้นบ้านเป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงในแต่ละท้องถิ่น เป็นกิจกรรมที่มีบทบาทอยู่

เฉพาะในวิถีชีวิตของสังคมและวัฒนธรรมนั้นๆ ซึ่งวงดนตรีพื้นบ้านในแต่ละภาคที่เรารู้จัก มีดังนี้ 

                    1. วงดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ 

          ภาคเหนือมีพื้นที่ครอบคลุม 9 คือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 

จังหวัดแพร่ จังหวัดน่านจังหวัดำปาง จังหวัดำพูน จังหวัดพะเยา แะจังหวัด อุตรดิตถ์ รวมเรียก

ดินแดนแถบนี้ว่า " ล้านนา " 

                             1.1 เครื่องดนตรีและวงดนตรี  วงดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ มีอยู่หายวง เช่น 

วงดนตรีพื้นบ้านล้านนา โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น วงสะล้อซอซึง หรือวงสะล้อซึง วงสะล้อขลุ่ย 

เป็นต้น มีเอกลักษณ์เฉพาะ สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีประเภทสี  ส่วนดนตรีที่ใช้เพื่อการแข่งขันประชัน
เสียง มีกรรมการ เช่น แข่งตีกลองหลวง แข่งวงกลองยาว
                               

                               1.2 องค์ประกอบของดนตรีและบทเพลง  องค์ประกอบของดนตรีพื้นบ้าน

ภาคเหนือจะประกอบด้วยเครื่องดนตรี มีสีสันและมีความแตกต่างกันไปตามแต่ะกลุ่มวัฒนธรรมดนตรี 

บทเพงที่รู้จักกันทั่วไปคือ  เพลงล่องนาน เพลงสาวไหม เพลงแม่หม้ายก้อม เพลงตีมตุ้ม
                               โครงสร้างของดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ ทำนองเพลงเรียบง่าย สั้น ช้า 
โดยเน้นการเคลื่อนที่ของทำนองเพลง เช่น เพลงฟ้อนต่างๆ บางลักษณะเร็วเร้าใจ เช่น วงปี่กลอง 

                                1.3 สำเนียง ภาษา และเนื้อร้อง ลักษณะของดนตรีพื้นบ้านล้านนา

 จะมีสำเนียงเพงที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีท้องถิ่น มีสำเนียงไพเราะ อ่อนหวาน 

นุ่มนวล โปร่งสบาย และเนิบช้า แต่ก็มีการบรรเลงดนตรีที่มีจังหวะตื่นเต้น คึกคัก

   ตัวอย่าง วงสะล้อ ซึง ขลุ่ย

ตัวอย่าง กลองสะบัดชัย

2. วงดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง

          ภาคกลางเป็นดินแดนที่มีพื้นที่กว้างใหญ่  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลองเป็น

จำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนมากมายหลายกลุ่ม ประกอบด้วยเป็นเขตที่อยู่ใกล้

เมืองหลวง เขตความเจริญทางเทคโนโลยี และวิทยาการที่ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก จึงทำให้ดนตรี

แบบแผน มีอิทธิพลต่อดนตรีพื้นบ้านด้วย

                                2.1 เครื่องดนตรีและวงดนตรี เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง 

จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีไทยแบบแผน โดยนิยมเล่นในงาน หรือพิธีกรรมต่างๆ ของชาวบ้าน

 เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเงในวงดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง เช่น ปี่ ขลุ่ย ระนาด ฆ้อง ตะโพน กลองทัด 

กลองแขก กลองมลายู กลองยาว อังกะลุง เป็นต้น เครื่องดนตรีในวงแตรวง เช่น ทรอมโบน 

แซกโซโฟน คลาริเน็ต กลองชุด ฉาบ เป็นต้น  วงดนตรี เช่น วงปี่พาทย์ต่างๆ  วงเครื่องสาย วงมโหรี 
วงอังกะลุง  วงแตรวง  ส่วนดนตรีเพื่อการแข่งขัน ประชันเสียง มีกรรมการ เช่น แข่งวงปี่พาทย์   
แข่งวงแตรวง  แข่งวงกลองยาว

                               2.2 องค์ประกอบของดนตรีและบทเพลง องค์ประกอบของดนตรีพื้นบ้าน

ภาคกลางจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี วงดนตรี ทำนองเพงที่ปรากฏลีลา ทำนอง และจังหวะ

 วัฒนธรรม ดนตรีพื้นบ้านภาคกลางถือว่ามีความสัมพันธ์กับดนตรีแบบแผน
                               โครงสร้างของดนตรีพื้นบ้านกลาง มีทำนองเพลงที่มีความซับซ้อน มีขนาดของ
เพลงยาวกว่าภาคอื่น โดยเฉพาะเพลงของปี่พาทย์  แตรวง เครื่องสาย มโหรี

                               2.3 สำเนียง ภาษา และเนื้อร้อง  โดยโครงสร้างของดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง 

ผู้คนส่วนใหญ่ของภูมิภาคนี้ใช้ภาษาไทยกลางในการสื่อสารกัน แต่มรสำเนียงถิ่นที่บ่งบอกแหล่ง

วัฒนธรรมในด้านภาษา

     ตัวอย่างแตรวง

ตัวอย่าง วงอังกะลุง

3. วงดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

             ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทยที่มีพื้นที่กว้าง พื้นที่ส่วนใหญ่

เป็นที่ราบสูง บางพื้นที่มีเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน  การที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความ

หลากหลายทางวัฒนธรรม ส่งผลให้วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านมีความแตกต่างไปด้วย

                                     3.1 เครื่องดนตรีและวงดนตรี  

เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออเฉียงเหนือ เช่น กลองกันตรึม หลองตุ้ม กลองหาง หมากกั๊บแก๊บ 

แคน ฆ้องน้อย ฆ้องหุ่ย ซอบั้ง ตรัวอู้ ตรัวเอก โดยนำมาผสมผสานเป็นวงดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออก-

เฉียงเหนือ  สำหรับวงดนตรี เช่น วงกันตรึม วงแคนพิณโหวด วงโปงลาง วงตุ้มโมง เป็นต้น 

                                     3.2 องค์ประกอบของดนตรีและบทเพลง  

บทเพลงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะเรียบง่าย มีจังหวะและทำนองที่สนุกสนาน 

เร้าใจ ให้ความสนุกสนา แก่ผู้ฟัง มีการประสานเสียงระหว่างผู้ขับร้องและการบรรเลงดนตรีที่

สนุกสนาน องค์ประกอบพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะประกอบไปด้วย เครื่องดนตรี วงดนตรี 
ทำนองเพลงที่ปรากฏ ลีลา ทำนอง และจังหวะ  ส่วนโครงสร้างของดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียง-
เหนือ คือ ทำนองเพลงค่อนข้างเร็ว โดยมีเครื่องประกอบจังหวะกำกับ แต่วงกันตรึมมีรูปแบบที่
เรียบง่าย   ดนตรีเพื่อการแข่งขันประชันเสียง มีกรรมการ เช่น เส็งกลอง แข่งกลองยาว 
แข่งวงโปงลาง  แข่งหมอลำ  แข่งวงกันตรึม

                                      3.3 สำเนียง ภาษา และเนื้อร้อง  

โครงสร้างของดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สื้อสำเนียงที่เรียบง่าย ถ้าเป็นกลุ่มอีสานเหนือ

จะมีสำเนียงภาษาที่มีสำเนียงคล้ายภาษาลาว

    ตัวอย่าง หมอลำ

ตัวอย่างการร้อง กันตรึม

ตัวอย่าง เพลงโคราช

ตัวอย่าง การฟ้อนภูไท

ตัวอย่าง วงโปงลาง


  4. วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้

       ภาคใต้ มีพื้นที่ทอดยาวจากจังหวัดชุมพรไปยัง 4 จังหวัดชายแดนด้านประเทศมาเลเซีย คือ 

จังหวัดสงขลา ปัตตานี  ยะลา  สตูล และนราธิวาส ดินแดนแถบนี้เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ 

เป็นเส้นทางวัฒนธรรมจากดินแดนตะวันตกฝั่งทะเลอันดามันมายังฝั่งทะเลจีนใต้ ซึ่งชายฝั่งทอดยาว

แนวทะเลด้านอ่าวไทย มีอาณาจักร รัฐ และเมืองสำคัญที่แสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์และ

โบราณคดี เช่น อาณารจักรศรีวิชัย อาณาจักรตามพรลิงค์ เป็นต้น

      ประชาชนภาคใต้มีความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ ซึ่งได้มีการเดินทางของผู้คนในอดีตเพื่อเข้ามา

ตั้งถิ่นฐาน ตามท้องถิ่นต่างๆ โดยอยู่ร่วมกับชาวเมือง เช่น ชาวอินเดีย ชาวเปอร์เซียร์ ชาวโปรตุเกส  

ชาวจีน เป็นต้น ผู้คนต่างถิ่นเหล่านี้ได้นำภาษา วัฒนธรรมประเพณี เข้าไปเผยแพร่และนำศาสนาต่างๆ

ที่ตนนับถือไปเผยแผ่ด้วย

4.1 เครื่องดนตรี  วงดนตรี  เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ที่สำคัญ

เช่น กลองพรก  แกระ (แตระ) กลองโหม่งคู่(ฆ้องคู่)  ฉิ่ง ทับ บานอ(รือบานอ หรือ รำมะนา) ปี่กาหลอ  

ปี่จีน ปี่ต้น ปี่กลาง ปืด โพน  รือบับ ล่อโก๊ะ  ไวโอลีน โหม่ง แอคคอร์เดียน  ลูกแซ็ก  กลองชาตรี

(กลองตุ๊ก) กรือโต๊ะ  เป็นต้น จะสังเกตเห็นได้ว่าเครื่องดนตรีส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องสี ตี เป่า

สำหรับวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ประกอบไปด้วยวงกาหลอ  วงรองเง็ง วงกลองสิงโต 

วงตือรี   วงโต๊ะครึม  วงดนตรีโนรา วงดนตรีหนังตะลุง  วงดนตรีซีละ วงดนตรีมะโย่ง วงดนตรีลิเกป่า

โอกาสที่ใช้บรรเลงนิยมบรรเลงในงานต่างๆ เช่น วงกาหลอนิยมบรรเลงในงานศพ และ วงหนังตะลุง

ใช้ประกอบการแสดงหนังตะลุง เป็นต้น

ดนตรีเพื่อการแข่งขันประชันเสียงมีกรรมการ เช่น แข่งตีกรือโต๊ะ แข่งตีบานอ 

4.2 องค์ประกอบของดนตรีและบทเพลง   องค์ประกอบดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ประกอบ

ด้วยเครื่องดนตรี วงดนตรี ทำนองเพลงที่ปรากฏลีทำนอง และจังหวะ วัฒนธรรมดนตรีภาคใต้ มี 3 

วัฒนธรรมหลัก คือ วัฒนธรรมไทยพุทธ วัฒนธรรมไทยมุสลิม วัฒนธรรมชาวไทยเชื้อสายจีน 

ส่วนวัฒนธรรมชาวไทยที่นับถือศาสนาอื่น มีจำนวนน้อย 

โครงสร้างของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ คือ มีทำนองเพลงกระชับ รวดเร็ว ให้จังหวะที่

หนักแน่น เช่น วงดนตรีโนรา หนังตะลุง วงโต๊ะครึม ส่วนวงรองเง็งเน้นที่ทำนองเพลงและจังหวะที่มี

วัตถุประสงค์เพื่อให้ง่ายต่อการเต้น

4.3 สำเนียง ภาษา เนื้อร้อง  สำเนียงที่ใช้ในภาคใต้มีสำเนียงห้าวและห้วน มีจังหวะ

และทำนองที่คึกคักและหนักแน่น สะท้อนถึงลักษณะของคนภาคใต้ มีลักษณะดนตรีที่หลากหลาย

ให้ความสนุกสนานครื้นเครงแก่ผู้ฟัง เพราะการบรรเลงวงดนตรีส่วนใหญ่จะใช้เครื่องตีและเป่ามีทั้ง

บรรเลงประกอบบการแสดงท้องถิ่น แสดงถึงวัฒนธรรมของชาวใต้ เช่น การบรรเลงดนตรีประกอบ

รำตาลีกีปัต

ตัวอย่างหนังตะลุง

ตัวอย่าง โนรา

ตัวอย่างการบรรเลงกาหลอ

ตัวอย่างวงรองเง็ง

เพลงพื้นบ้านมีความแตกต่างกันอย่างไร

เพลงพื้นบ้านมีลักษณะเฉพาะคือ เป็นงานของกลุ่มชาวบ้านที่สืบทอดจากปากสู่ปาก อาศัยการฟังและจำ ไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพลงที่ไม่มีต้นกำเนิดที่แน่นอน เนื้อร้องใช้คำ สำนวนโวหาร และความเปรียบง่ายๆ ที่ชาวบ้านใช้ ไม่มีศัพท์ยากที่ต้องแปล ส่วนทำนอง จำนวนคำ และสัมผัสไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แต่ให้ความสำคัญกับเสียง และ ...

เพลงพื้นบ้านแต่ละภาคมีอะไรบ้าง

๑. เพลงพื้นบ้านภาคกลาง ๒. เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ ๓. เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน ๔. เพลงพื้นบ้านภาคใต้.
เพลงเรือ.
เพลงเต้นกำ.
เพลงพิษฐาน.
เพลงระบำบ้านไร่.
เพลงอีแซว.
เพลงพวงมาลัย.
เพลงเหย่อย.
เพลงฉ่อย.

พื้นเมืองกับพื้นบ้านแตกต่างกันอย่างไร

พื้นบ้าน หมายถึง ส่วนที่เป็นพื้นของบ้านเรือนซึ่งแต่ก่อนปูด้วยไม้กระดานเป็นแผ่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้วัสดุอื่นแทน เช่น กระเบื้อง ไม้ปาร์เก้. อีกความหมายหนึ่ง พื้นบ้าน หมายถึง เฉพาะถิ่น เช่น บทละครเรื่องไกรทองเดิมเป็นนิทานพื้นบ้านของจังหวัดพิจิตร. คำที่มีความหมายคล้ายกัน คือ พื้นเมือง หมายถึง เฉพาะเมือง เฉพาะท้องที่ เช่น ...

วงดนตรีภาคกลางมีความแตกต่างจากภาคอื่นอย่างไร

เสน่ห์และลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง คือ วงปี่พาทย์ของภาคกลางจะมีการพัฒนาในลักษณะผสมผสานกับดนตรีหลวง โดยมีการพัฒนาจากดนตรีปี่และกลองเป็นหลักมาเป็นระนาดและฆ้องวงพร้อมทั้งเพิ่มเครื่องดนตรี มากขึ้นจนเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งยังมีการขับร้องที่คล้ายคลึงกับปี่พาทย์ของหลวง ซึ่งเป็นผลมาจากการถ่ายโยงทางวัฒนธรรม ...