คัมภีร์พระพุทธศาสนาประเภทสัททาวิเสส เช่น รูปสิทธิ กัจจายนปกรณ์ เป็นคัมภีร์ที่มีเนื้อหาในด้านใด

  1. ในสังคมชมพูทวีป วรรณะใดเป็นคนพื้นถิ่นดั้งเดิมไม่ใช่ชาวอารยัน
    1. ศูทร
    2. แพศย์
    3. กษัตริย์
    4. จัณฑาล
    5. พราหมณ์
  2. การที่พระพุทธเจ้าทรงมอบหมายพระสารีบุตรซึ่งมีความเป็นเลิศทางปัญญาให้รับผิดชอบงานด้านขยายเนื้อความธรรมภาษิต นับว่าพระองค์ทรงเป็นแบบอย่างในด้านใดก
    1. การปกครองคน
    2. การบริหารงานบุคคล
    3. การบริหารสังฆมณฑล
    4. การบริหารจัดวางระบบ
    5. การเป็นนักประชาธิปไตย
  3. นายสมศักดิ์มีความประพฤติถูกต้องตามหลักกายสุจริต ๓ ส่วน นางดวงกมลมีความคิดยึดถือความถูกต้องตามหลักมโนสุจริต ๒ แบบอย่างของคนทั้งสองสอดคล้องกับหลักธรรมใดในมรรคมีองค์ ๘
    1. สัมมากัมมันตะ กับ สัมมาสังกัปปะ
    2. สัมมาวายามะ กับ สัมมาสังกัปปะ
    3. สัมมาอาชีวะ กับ สัมมากัมมันตะ
    4. สัมมาทิฏฐิ กับ สัมมากัมมันตะ
    5. สัมมาสังกัปปะ กับ สัมมาทิฏฐิ
  4. เมื่อต้องการให้เกิดความระลึกถึงกัน มีความสามัคคีและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข สังคมควรเลือกใช้หลักธรรมข้อใดในการดำเนินชีวิต
    1. อธิปไตย ๓
    2. อิทธิบาท ๔
    3. อินทรีย์ ๕ 
    4. อริยวัฑติ ๕
    5. สาราณียธรรม ๖
  5. ทศชาติชาดกคือเรื่องเกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในอดีตชาติ ถ้าเราสนใจศึกษาแนวคิดเรื่องปัญญาบารมีจะต้องศึกษาชาดกเรื่องใด
    1. สุวัณณสามชาดก
    2. เวสสันดรชาดก
    3. มหาชนกชาดก
    4. มโหสถชาดก
    5. เตมียชาดก
  6. ข้อใดอธิบายกระบวนการศึกษาแบบสัมมาทิฏฐิได้ชัดเจนที่สุด
    1. ความคิดเห็นที่ชอบด้วยหลักเหตุผลในวิชาความรู้ต่างๆ
    2. ความรู้ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริง คือ รู้เท่าทันโลกและชีวิต
    3. ความเห็นชอบที่ถูกต้องดีงามเกี่ยวกับความเชื่อ ค่านิยมและทัศนคติ
    4. ความเชื่อที่ยึดถือว่าสิ่งที่รับรู้ เข้าใจ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ชอบด้วยเหตุผล
    5. ความคิดเห็นที่สนับสนุนระเบียบวินัย ความประพฤติที่ดีงามทางสังคม
  7. หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ มีลักษณะคำสอนทีสอดคล้องกับข้อใด

    1. สอนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต ฝึกฝนตน มีความอดทน และเสียสละ

    2. สอนให้มีความรักใคร่ มีความสงสาร มีความยินดี และรู้จักวางใจเป็นกลาง

    3. สอนให้มีความพอใจในสิ่งที่ทำ มีความเพียร เอาจิตฝักใฝ่ และใช้ปัญญาไตร่ตรอง

    4. สอนให้รู้จักการให้ การพูดจาไพเราะ การช่วยเหลือกัน และการเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ

    5. สอนให้ขยันหมั่นเพียร รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้ให้คบคนดี และอยู่อย่างพอเพียง

  8. นิวรณ ๕ เป็นสิ่งที่กีดขวางจิตไม่ให้บรรลุความดี การที่จิตของมนุษย์มีความเซี่องซึมแสดงว่าถูกนิวรณ์ ข้อใดครอบงำ

    1. กามฉันทะ

    2. ถีนมิทธะ

    3. พยาบาท

    4. วิจิกิจฉา

    5. อุทธัจจกุุกกุจจะ

  9. คัมภีร์พระพุทธศาสนาประเภทสัททาวิเสส เช่น รูปสิทธิ กัจจายนปกรณ์ เป็นคัมภีร์ที่มีเนื้อหาในด้านใด

    1. มีเนื้อหาประมวลพระพุทธพจน์ หรือพระสูตร พร้อมกับมีเรื่องประกอบ

    2. มีเนื้อหาอธิบายหลักธรรมที่สำคัญ ยึดตามคำอธิบายในพระไตรปิฏก

    3. มีเนื้อหาในทางไวยากรณ์ เพื่อการศึกษาภาษาบาลในพระไตรปิฏก

    4. มีเนื้อหาอธิบายพระวินัย พระสูตรและพระอภิธรรม

    5. มีเนื้อหาอธิบายอรรถกถาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  10. ในพิธีอุปสมบท ผู้บวชจะต้องเตรียมเครื่องบริขารให้ครบ ข้อใดไม่จัดอยู่ในเครื่องอัฐบริขาร
    1. ร่ม รองเท้า
    2. บาตร จีวร
    3. กล่องเข็ม มีดโกน
    4. ผ้าสบง ผ้าสังฆาฏิ
    5. ผ้ากรองน้ำ กล่องเข็ม
  11. ข้อใดเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ในงานพิธีมงคล

    1. พัดรอง ๔ ด้ามสำหรับพระสวด

    2. พานรองเครื่องทองน้อย

    3. ตู้อภิธรรมพร้อมที่บูชา

    4. ขันน้ำมนต์พร้อมน้ำ

    5. ภูษาโยง

  12. ข้อใดเป็นการปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุดของสังคมที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน

    1. หลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องศาสนาอื่นเพื่อลดการเปรียบเทียบ

    2. งดเว้นการร่วมกิจกรรมทุกอย่างกับผู้ที่นับถือศาสนาต่างจากตน

    3. เชื่อมั่นในศาสนาของตนและไม่ลบหลู่ความคิดหลักในศาสนาอื่น

    4. เชื่อมั่นศรัทธาในศาสนาของตนอย่างเดียวโดยไม่สนใจศึกษาศาสนาอื่น
    5. ประพฤติปฏิบัติตามพิธีกรรมในศาสนาของตนและศาสนาอื่นๆ ในทุกโอกาส

  13. คำว่า จงระลึกถึงวันสะปาโตของพระเจ้าซึ่งถือว่าเป็นวันบริสุทธิ์ เป็นบทบัญญัติของศาสนาใด

    1. พราหมณ์ ฮินดู

    2. คริสต์

    3. อิสลาม

    4. สิกข์

    5. เชน

  14. ข้อใดกล่าวถึงหลักปฏิบัติในศาสนาอิสลามไม่ถูกต้อง
    1. ชาวมุสลิมกล่าวคำปฏิญาณว่า ข้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระผู้เป็นเจ้าอื่นนอกจากอัลลอฮ์และขอปฏิญาณว่าแท้จริงมุฮัมมัดเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์
    2. การถือศีลอด คือการห้ามบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม ห้ามลูบไล้ของหอมและห้ามร่วมประเวณี ตั้งแค่เริ่มมีอรุณขึ้นจนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดิน

    3. การละหมาด คือการขอพรและสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าวันละ ๓ ครั้ง

    4. การบำเพ็ญฮัจญ์ คือ การเดินทางไปประกอบศาสนกิจที่เมืองเมกกะ

    5. การจ่ายซะกาต คือ การบริจาคทานเป็นประจำทุกปี

  15. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับประวัติของพระเยซูคริสต์

    1. พระเยซูคริสต์เคยหนีภัยไปอยู่ที่ประเทศอียิปต์เมื่ออายุ ๑๘ ปี

    2. พระเยซูคริสต์เป็นชาวฮิบรู ประสูติเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๕๔๓

    3. พระเยซูคริสต์เป็นบุตรของโยเซฟ มีมารดาชื่อมาเรีย เกิดที่เมืองเยรูซาเลม

    4. พระเยซูคริสต์ประกาศศาสนาเป็นเวลา ๓ ปี ทรงเลือกชาวยิว ๑๒ คนเป็นอัครสาวก

    5. พระเยซูคริสต์ ถูกทหารโรมันจับตัวไปขึ้นศาลและถูกจับตรึงไม้กางเขน สิ้นพระชนม์เมื่ออายุ ๓๕ ปี

  16. พิธีฮัจญ์ในศาสนาอิสลามจัดอยู่ในช่วงเวลาใด
    1. วันที่ ๘ ถึงวันที่ ๑๒ เดือน ๑๒ ของฮิจญเราะฮ์ศักราช
    2. วันที่ ๒๐ ถึงวันที่ ๒๓ เดือน ๑๑ ของฮิจญเราะฮ์ศักราช
    3. วันที่ ๑๓ ถึงวันที่ ๑๖ เดือน ๙ ของฮิจญเราะฮ์ศักราช
    4. วันที่ ๖ ถึงวันที่ ๙ เดือน ๘ ของฮิจญเราะฮ์ศักราช
    5. วันที่ ๑ ถึงวันที่ ๔ เดือน ๗ ของฮิจญเราะฮ์ศักราช
  17. สภาพสังคมชมพูทวีปสมัยพุทธกาล ตรงกับข้อใดมากที่สุด
    1. ชาวอารยันส่วนใหญ่อยู่ในเขตปัจจันตชนบท
    2. การปกครองแบบศูนย์รวมในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
    3. ระบบวรรณะ มี ๔ วรรณะ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทธ
    4. วรรณะศูทรและวรรณะจัณฑาลถือเป็นชนชั้นที่เป็นวรรณะต่ำเหมือนกัน
    5. พระพรหมเป็นเทพเจ้าที่สำคัญที่สุดในฐานะพระผู้สร้างและทำ
  18. ข้อใดไม่สอดคล้องกับมัชฌิมาปฏิปทา
    1. มรรค ๘
    2. ไตรสิกขา
    3. ข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง
    4. แนวปฏิบัติสู่การพ้นทุกข์
    5. หลักความจริงของชีวิต ๔ ประการ 
  19. วิทยาศาสตร์สอดคล้องกับพระพุทธศาสนาในเรื่องใด
    1. การศึกษาเรื่องจิต
    2. การสนใจจริยธรรม
    3. การศึกษาความจริงเฉพาะทางวัตถุ
    4. การมุ่งประโยชน์ในการดำรงชีวิตของมนุษย์
    5. การแสวงหาความจริงด้วยการพิสูจน์เชิงประจักษ์ 
  20. ธรรมที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน มีความเคารพกัน ช่วยเหลือกัน และสามัคคีพร้อมเพรียงกัน คือธรรมใด
    1. อธิปไตย
    2. อริยวัฑฒิ
    3. สาราณียธรรม
    4. อปริหานิยธรรม
    5. ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม
  21. คุณค่าทางจริยธรรมของนิยาม ๕ มีหลายประการ ยกเว้นข้อใด
    1. ทำให้รู้สภาวะของความทุกข์
    2. ทำให้ใจกว้างตรวจสอบปัญหาหลายๆ ด้าน
    3. ทำให้เข้าใจกฏแห่งกรรมมีผลต่อชีวิตมากทีสุด
    4. ทำให้มองว่าชีวิตประกอบด้วยปัจจัยหลากหลาย
    5. ทำให้เห็นว่าชีวิตเป็นกระบวนการธรรมชาติ ที่มีเหตุปัจจัยต่อเนื่อง
  22. ผู้มีปณิธานอย่างแรงกล้า ที่จะทำให้ผู้นับถือศาสนาต่างๆ ได้เข้าใจหลักธรรมที่ตนนับถือ แล้วสร้างความปรองดองในทุกศาสนาคือใคร
    1. ท่าน ป.อ.ปยุตโต
    2. ท่านพุทธทาสภิกขุ
    3. ท่านปัญญานันทภิกขุ
    4. พระอาจารย์ชา สุภัทโท
    5. พระอาจารย์มั่น ภูริฑัตโต
  23. หากต้องการศึกษาประมวลพระธรรมเทศนา ประวัติและเรื่องราวต่างๆ ควรสืบค้นจากคัมภีร์ใดเป็นหลักฐานชั้นที่ ๑
    1. ฏีกา
    2. วินัยปิฏก
    3. อรรถกถา
    4. สุตตันตปิฏก
    5. อภิธรรมปิฏก
  24. อกุศลกรรมและกุศลกรรม เป็นกรรมประเภทใด
    1. กรรมตามมูลเหตุ
    2. กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่
    3. กรรมตามการแสดงออก
    4. กรรมที่ให้ผลตามกาลเวลา
    5. กรรมที่ให้ผลตามลำดับความแรง
  25. วิธีคิดแบบใดเป็นแบบการคิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม
    1. กอบซื้อรถยนต์คันใหญ่เพราะนั่งโก้สบาย
    2. กุลซื้อรถยนต์เพราะรูปลักษณ์สวยเท่ห์
    3. กานต์ซื้อรถยนต์มือสองเพราะเพื่อนชักชวน
    4. กรซื้อรถยนต์รุ่นเล็ก เพราะใช้ได้ดี ประหยัดน้ำมัน
    5. ก้องซื้อรถยนต์ยี่ห้อดัง เพราะเป็นที่นิยม ขายต่อง่าย
  26. สังฆชยันตี เกิดขึ้นหลังจากพุทธชยันตีเป็นเวลานานเท่าใด
    1. ๒ สัปดาห์
    2. ๔ สัปดาห์
    3. ๖ สัปดาห์
    4. ๘ สัปดาห์
    5. ๓ เดือน
  27. การแบ่งชนชั้นตามระบบวรรณะ ในสมัยพุทธกาลถือเป็นการจำแนกด้านใด
    1. ภาษา
    2. อาชีพ
    3. ถิ่นที่อยู่
    4. เชื้อชาติ
    5. การแต่งกาย
  28. ข้อใดกล่าวถูกต้อง เกีี่ยวกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติหลังการตรัสรูั
    1. ทรงเทศน์เรื่องมงคลสูตรที่เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ
    2. ทรงแสดงธรรมอนัตตลักขณสูตรที่เวฬุวัน แคว้นมคธ
    3. ทรงแสดงธรรมชื่อธัมมจักรกัปปวัตนสูตรแก่ชฏิลสามพี่น้อง
    4. ทรงสอนสาวกเรื่องความไม่ประมาทที่เมืองพาราณาสี
    5. ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่พระสาวกที่เป็นพระอรหันต์ 
  29. โอม หมายถึงอะไรในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
    1. ตรีมูรติ
    2. คัมภีร์พระเวท
    3. พิธีกรรมของฮินดู
    4. พระนารายณ์และพระลักษมี
    5. เทพเจ้าทั้งหมดของพราหมณ์
  30. พระพุทธศาสนาให้อิสรภาพแก่ชาวอินเดียในสมัยพุทธกาลด้านใดมากที่สุด
    1. การเดินทาง
    2. ระบบวรรณะ
    3. ระบบการศึกษา
    4. การนับถือศาสนา
    5. การประกอบอาชีพ
  31. คำว่า สัมมาสัมพุทธ แปลว่าอะไร
    1. ผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
    2. ผู้ค้นพบความจริงจากการปฏิบัติ
    3. ผู้อุทิศตนบำเพ็ญสมาธิเพื่อการตรัสรู้
    4. ผู้ค้นคว้าเล่าเรียนจากผู้รู้จนสำเร็จ
    5. ผู้มีปฏฺิธานมั่นคงว่าจะพบสัจธรรมให้ได้
  32. หลักธรรมะในข้อใดเกี่ยวข้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงน้อยที่สุด
    1. อักโกธะ
    2. สมชีวิตา
    3. ธัมมัญญูตา
    4. มัตตัญญุตา
    5. มัชฌิมปฏิปทา
  33. หลักธรรมอริยสัจ ๔ มีลักษณะอย่างไร
    1. เป็นความจริงที่ยากจะเข้าใจได้
    2. เป็นความจริงที่เป็นเหตุเป็นผลกัน
    3. เป็นความจริงที่ใช้ศรัทธาแก้ปัญหาได้
    4. เป็นความจริงที่เกิดจากการแยกตนอยู่อย่างสันโดษ
    5. เป็นความจริงที่เข้าถึงได้ด้วยกระบวนการไตรลักษณ์
  34. พระสาวกองค์ใดได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นพหูสูตร
    1. พระอัสสชิ
    2. พระอนุรุทธ
    3. พระอานนท์
    4. พระสารีบุตร
    5. พระโกณฑัญญะ
  35. ใครคือผู้นิพนธ์หนังสือเรื่องไตรภูมิพระร่วง
    1. พระเจ้าลิไท
    2. พระเจ้ากือนา
    3. พระเจ้าอโศกมหาราช
    4. พระเจ้าอนุรุทธมหาราช
    5. พ่อขุนรามคำแหง
  36. วันใดคือวันพระธรรม
    1. วันมาฆบูชา
    2. วันวิสาขบูชา
    3. วันอัฏฐมีบูชา
    4. วันธรรมสวนะ
    5. วันอาสาฬหบูชา
  37. หลักคำสอนของแต่ละศาสนาแตกต่างกันในเรื่องใด
    1. การมีความอดทน
    2. การมีความรักและเมตตา
    3. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกัน
    4. การทำความดี ละเว้นการทำความชั่ว
    5. การบรรลุเป้าหมายของศาสนา 
  38. ข้อใดเกี่ยวกับคัมภีร์พราหมณ์ ฮินดูไม่ถูกต้อง
    1. คัมภีร์พราหมณ์ทุกประเภทสอนเรื่องพรหม และอาตมัน
    2. คััมภีร์พระเวทถือว่าได้ยินได้ฟังจากพระเจ้าโดยตรง
    3. คัมภีร์อุปนิสัษเป็นส่วนสรุปของพระเวท ว่าด้วยการคิดค้นทางปรัชญา
    4. คัมภีร์ภควคีตาเน้นเรื่องการกระทำ ที่ปราศจากความต้องการสิ่งตอบแทน
    5. คัมภีร์ธรรมศาสตร์เป็นตำรากฏหมาย วางระเบียบความประพฤติของประชาชนในสังคม
  39. ในศาสนาคริสต์พิธีใดเป็นการชำระล้างบาปกำเนิด
    1. ศีลจุ่ม
    2. ศีลกำลัง
    3. ศีลแก้บาป
    4. ศีลมหาสนิท
    5. ศีลเจิมคนไข้ครั้งสุดท้าย
  40. พิธีใดถือเป็นภารกิจที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติโดยไม่มีการยกเว้น
    1. การละหมาด
    2. การถือศีลอด
    3. การปฏิญาณตน
    4. บริจาคซะกาต
    5. ประกอบพิธีฮัจน์
  41. เพราะเหตุใดพระพุทธศาสนาจึงได้ชื่อว่ามีหลักการและวิธีการที่เป็นสากล
    1. เพราะสอนเรื่องการพ้นทุกข์ของมนุษย์
    2. เพราะผู้คนทั้่งโลกรู้จักและยอมรับนับถือ
    3. เพราะตอบสนองความต้องการของคนทั่วไป
    4. เพราะสอนกฏแห่งความจริงตามธรรมชาติ
    5. เพราะเน้นการเอาชนะหรือควบคุมธรรมชาติได้
  42. ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธตัวอย่างในเรื่องใด
    1. เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
    2. เป็นผู้มีขันติ เข้าใจโลก
    3. เป็นผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย
    4. เป็นผู้มีสติปัญญา ยอมสละชีวิตเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า
    5. เป็นผู้ใจบุญ อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วยศรัทธามั่นคง
  43. กรณีใดตรงกับพุทธศาสนสุภาษิตว่า วาเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา
    1. โสภามีน้ำใจดีเป็นที่รักของทุกคน
    2. สมศักดิ์ทำงานจบแล้ว จึงทำมาหาเลี้ยงตัวเอง
    3. สุพจน์ช่วยแม่ขายของก่อนมาโรงเรียนทุกวัน
    4. สุรางค์มีสมาธิในการทำงานจึงประสบความสำเร็จ
    5. สาวิตรีขยันเรียนเพราะตั้งใจจะสอบเข้าแพทย์ให้ได้ 
  44. ศีลอุโบสถหมายถึงข้อใด
    1. ศีล ๕
    2. ศีล ๘
    3. ศีล ๑๐
    4. ศีล ๒๒๗
    5. ศีล ๓๓๑
  45. ฉลาดเป็นคนฉุนเฉียวง่าย ชอบอาฆาตมาดร้ายแต่หายเร็ว ในเรื่องสติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าเปรียบจิตเช่นนี้อยู่ในประเภทใด
    1. จิตหดหู่
    2. จิตมีราคะ
    3. จิตโทสะ
    4. จิตโมหะ
    5. จิตไม่เป็นใหญ่
  46. พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องความรัก ความเมตตาอยู่ในหลักธรรมใด
    1. วุฒิธรรม ๔
    2. อริยวัฒฑิ ๕
    3. สังคหวัตถุ ๔
    4. พรหมวิหาร ๔
    5. สาราณียธรรม ๖