ความสําคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

   
ความสําคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
 

แกนหลักแห่งความมั่นคงของชาติ
           แกนหลักแห่งความมั่นคงของชาติได้แก่ สถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ความสำคัญของสถาบันทั้งสามปรากฎอยู่ในธงไตรรงค์ซึ่งเป็นธงชาติไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงริเริ่มให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้

ความสําคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ความหมายของธงไตรรงค์ไว้ดังนี้
           แดง คือ โลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษาชาติศาสนา (แดงหมายถึงสถาบันชาติ)
           ขาว คือ บริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายถึงพระไตรรัตน์ และธรรมคุ้มจิตใจ (ขาวหมายถึงสถาบันศาสนา)
           น้ำเงิน คือ สีโสภา อันจอมประชา ธ โปรดเป็นส่วนพระองค์ (น้ำเงินหมายถึงสถาบันพระมหากษํตริย์)
สถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่อาจแยกจากกันได้ ตามคำกล่าวที่ว่า “พระมหากษัตริย์คู่ชาติ พุทศาสน์คู่ไทย”

ความหมายของสถาบันพระมหากษัตริย์

ความสําคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์


           ความหมายของ “พระมหากษัตริย์” ตามรูปศัพท์ หมายถึง “นักรบผู้ยิ่งใหญ่” ถ้าจะถือตามความหมายที่ใช้กันอยู่ทั่วไปและความเข้าใจตามธรรมดาแล้วพระมหากษัตริย์ก็คือ พระเจ้าแผ่นดิน ในภาษาสันสกฤตคำว่า กษัตริย หมายถึงผู้ป้องกันหรือนักรบ มีคำเรียกพระมหากษัตริย์หลายคำเช่น พระราชา หรือราชัน หมายถึง ผู้ชุบน้อมจิตใจของผู้อื่นไว้ด้วยธรรม จักรพรรดิ หมายถึง ผู้ปกครองที่ปวงชนพึงใจและเป็นผู้มีคุณธรรมสูง และใกล้เคียงกับคำว่า ธรรมราชา หมายถึง ผู้รักษาและปฏิบัติธรรมทั้งเป็นต้นเหตุแห่งความยุติธรรมทั้งปวง คำว่าพระเจ้าอยู่หัว หมายถึง พระผู้เป็นผู้นำ หรือประมุขของประเทศ และคำว่า “พระเจ้าแผ่นดิน” หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดิน

           ไม่ว่าจะเลือกใช้คำใด คำว่า “ราชา” “กษัตริย์” “จักรพรรดิ” โดยความหมายแล้วน่าจะใช้เหมือนๆกัน อย่างไรก็ดีในสังคมไทยเรียกพระมหากษัตริย์ว่า “ในหลวง” “พ่อหลวง” “พ่อของแผ่นดิน” ความหมายก็คือเป็นผู้ปกครองที่เปรียบเหมือนพ่ออยู่เหนือเกล้าเหนือชีวิตซึ่งชนชาวไทยมีความจงรักภักดีชั่วกาลนาน

ความสําคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

           จากอดีตจนถึงปัจจุบัน คนไทยเราอยู่และคุ้นเคยกับสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก พระมหากษัตริย์ ไทยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อให้พสกนิกรอยู่เย็นเป็นสุข สถาบันพระมหากษัตริย์จึงหมายถึงสถาบันสูงสุด โดยทรงเป็นพระประมุขของชาติ ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งความจงรักภักดี ทรงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนชาวไทยทั้งชาติ ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมอันประเสริฐ และทรงเป็นที่เคารพรักเทิดทูนอย่างสูงยิ่งของประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ

แนวคิดสถาบันพระมหากษัตริย์

ความสําคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์


           พระมหากษัตริย์แต่เดิมมีแนวคิดสองประการคือ ถือว่าพระมหากษัตริย์คือ หัวหน้าครอบครัวใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือดกับหมู่คณะและประการที่ สองคือ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐในทางการเมืองหรือเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด โดยเฉพาะในยุโรปมีความเชื่อในเรื่องลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine right of King) และถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยและมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ รวมทั้งมีอำนาจโดยสมบูรณ์(Absolute)

           สำหรับประเทศไทยแนวคิดในเรื่องพระมหากษัตริย์เริ่มปรากฏชัดเจนในยุคกรุงสุโขทัยโดยใช้คำว่า “พ่อขุน” ราษฎรมีความใกล้ชิดกับองค์พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นเรียกว่าพ่อขุนก็พร้อมที่จะช่วยประชาชน โดยประชาชนที่ร้อนอกร้อนใจก็สั่นกระดิ่งเพื่อร้องขอให้พิจารณาอรรถคดีต่างๆ ได้ ทุกวันพระก็ชักชวนข้าราชบริพารและหมู่เหล่าปวงชนพร้อมใจกันฟังเทศน์รับพร ประชาชนใกล้ชิดผู้ปกครองใช้หลักครอบครัวมาบริหารรัฐและใช้หลักศาสนาเข้าผูกใจคนให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข ดังนั้นพ่อขุนหรือพระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยนั้นจึงเรียกว่า “อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ” หมาย ถึงพระมหากษัตริย์ที่ประชาชนและเหล่าอำมาตย์เลือกพระองค์ขึ้นปกครองประเทศ อย่างไรก็ดีในช่วงการเปลี่ยนแผ่นดินและศูนย์กลางความเจริญย้ายลงมาทางใต้ อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเริ่มเจริญขึ้นการแพร่ของแนวคิดต่างๆ ที่อยู่รอบๆ อาณาจักรใหม่ทั้งจากชาติตะวันตกที่เข้ามาค้าขายและชนชาติเขมรหรือขอมก็เข้าสู่แนวคิดเรื่องพระมหากษัตริย์ในช่วงนี้ แนวคิดเรื่องพระมหากษัตริย์จึงมีการผสมผสาน ดังนั้น พระมหากษัตริย์จึงไม่ใช่คนธรรมดาอย่างพ่อขุนแต่เป็นบุคคลที่เป็นคนสร้างชาติ รวมแผ่นดิน แนวคิดทั้งฝรั่ง และเขมรจึงทำให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจใจการปกครองสูงสุดดุจได้รับเทวสิทธิ์ และขณะเดียวกันพระมหากษัตริย์ทรงใช้หลักการปกครองโดยมีหลักศาสนากำกับ เพราะพระมหากษัตริย์มีนิติราชประเพณี ทศพิธราชธรรม และทรงมีพระมโนธรรมกำกับ นอกจากนี้พระมหากษัตริย์ไทยยังทรงอยู่คู่กับราษฎรไทยเสมอมา

           ปัจจุบันรัฐธรรมนูญเกือบจะทุกฉบับรับรองฐานะของพระมหากษัตริย์ว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยองค์พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใด ๆ มิได้” ฐานะของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยก็คือ ทรงเป็นประมุขของประเทศและยังทรงใช้อำนาจอำนาจอธิปไตยทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์

ความสําคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์


           ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศตลอดมา พระมหากษัตริย์ของไทยได้ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม ได้ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชน ได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญมั่นคงก้าวหน้าในด้านต่างๆ บางพระองค์ได้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติด้วยความกล้าหาญและเสียสละ อาทิ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บางพระองค์ได้ทรงดำเนินวิเทโศบายที่ชาญฉลาดทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชอธิปไตยไว้ได้จนทุกวันนี้ เช่นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช
           ชาติไทยของเรามีการวิวัฒนาการมาตั้งแต่เริ่มรวมชาติรวมแผ่นเดิน ก่อร่างสร้างเมืองตั้งแต่ อดีต จนมาเป็นประเทศชาติทุกวันนี้ก็เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันพระมหากษัตริย์ยังเป็นสถาบันที่อยู่ในหัวใจของประชาชน เป็นสถาบันที่เคารพ สักการะเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของปวงชนชาวไทยทุกๆ คน ผู้ใดหรือใครจะมาล่วงเกินพระราชอำนาจไม่ได้ ในสมัยสุโขทัยสถาบันพระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนพ่อของประชาชนฐานะของพระองค์ เป็นพ่อขุน มีความใกล้ชิดประชาชน พอเข้าสมัยกรุงศรีอยุธยาฐานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นสมมุติเทพหรือเป็นเทวดาโดยสมมุติและทรงมีพระราชอำนาจในการปกครองทรง เป็นองค์อธิปัตย์สูงสุดในการปกครองบ้านเมือง ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักธรรมะโดยมีทศพิธราชธรรม และธรรมะหลักสำคัญต่างๆ ในการปกครองจนทำให้ไพร่ฟ้าประชาราษฏ์อยู่เย็นเป็นสุข ทรงครองราชย์ป้องเมือง ทำนุบำรุงบ้านเมือง ศาสนา และสังคมมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าประเทศไทยจะมีรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็มิทรงเสื่อมถอย แต่สถาบันพระมหากษัตริย์กลับเป็นที่เคารพสักการะจากประชาชนมากเช่นเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง

ความสําคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ที่มาของภาพ : http://www.chaoprayanews.com/2013/04/12/ความสำคัญของสถาบันพระม/

ความสําคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

   
ความสําคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์