สภาพแวดล้อมในการ ทำงาน ที่ไม่เหมาะสม มี อะไร บาง

พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง  หากป้องกันไม่รัดกุมไม่เพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน เครื่องจักร อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อเช่นกัน

ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลงตามไปด้วย

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ

การเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากสาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. สภาพการณ์ หรือเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ ไม่ปลอดภัย (hard ware) เช่น เครื่องจักรหรืออุปกรณ์มีการชำรุด มีพื้นที่หรือบริเวณทำงานที่เป็นอันตราย

2. วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (soft ware) เช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน ไม่มี WI

3. ตัวบุคคลประมาท (human ware) พนักงานไม่มีความระมัดระวัง ทำงานด้วยความประมาท ชอบเสี่ยง ไม่ทำตามกฎระเบียบ เป็นต้น

จากข้อ 3. อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

– การทำงานข้ามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอน
– ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
– การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
– ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน
– ปฏิบัติงานโดยไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคค PPE
– ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท , ดัดแปลงหรือแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
– การทำงานโดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ ไม่พร้อมปฏิบัติงาน
– ทำงานด้วยความรีบร้อน เร่งรีบ เป็นต้น

การป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธีคือ

  1. การป้องกันหรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตราย source เป็นแก้ไขแก้ที่ดีที่สุด ตามหลักวิศวกรรม Engineering เพราะได้ทำการจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาด้วยการออกแบบให้เครื่องจักรหรือสถานที่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้มักใช้งบประมาณและต้นทุนมาก เสียเวลา และ ทรัพยากรค่าใช้จ่ายสูง หรือ การแก้ไขทำได้ยาก จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก ส่วนใหญ่เราจะเห็นบริษัทหรือโรงงานใหญ่ๆที่ให้ความสำคัญด้าน safety จริงๆจึงจะยอมลงทุนแก้ไขด้วยวิธีการนี้
  2. การป้องกันที่ทางผ่าน Path เป็นการตัดแยกให้แหล่งอันตรายกับคนทำงานแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น การทำงานกับเครื่องจักรที่มีจุดหนีบ การแก้ไขคือให้ทำการเอาเครื่องกำบังมาครอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มือของพนักงานสามารถเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น
  3. การแก้ไขที่ตัวบุคคล Receivers เป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้โดยง่ายและรวดเร็วประหยัด ทำให้ส่วนใหญ่จะจบด้วยการที่ให้พนักงานทำงานอย่างระมัดระวัง หรือ สวมใส่ PPE แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้ข้อเสียคือมีความปลอดภัยน้อยที่สุดใน 3 วิธีที่กล่าวมาและบ่อยครั้งอุบัติเหตุก็ยังคงเกิดอยู่ซ้ำตามเดิม

การป้องกันอุบัติเหตุและทำงานให้เกิดความปลอดภัยนั้นยังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นเข้ามาช่วย เช่น

  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
  • ติดตั้งการ์ดเครื่องจักร                                                                          
  • สวมใส่เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ไม่ใส่เครื่องประดับ หรือ ปล่อยผมยาวขณะทำงานกับเครื่องจักร
  • จัดให้มีแสงสว่างภายในโรงงานที่เพียงพอตามมาตรฐานพิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า เพื่อให้ความเข้มส่องสว่างบนโต๊ะทำงานที่เพียงพอและไม่เกิดเงาหรือแสงสะท้อน รวมทั้งการเลือกชนิดของหลอดไฟที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน
  • พื้นที่ทำวานมีการระบายอากาศ พิจารณาของการไหลเวียนอากาศเข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย อาทิ ความชื้นสัมพัทธ์อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง กลิ่นควันพิษที่มีอยู่ในอากาศนั้น
  • การจัดสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ หรือทำ 5ส ในบริษัทอย่างจริงจัง เป็นต้น

สรุป: ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้เกิดความปลอดภัยในองค์กรของเราโดยไม่โยนให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่งเพื่อให้เรานั้นทำงานและกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

แหล่งที่มา: [1]

คำนิยาม

         ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน คือ การกระทำหรือสภาพการทำงาน ซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน

         

อันตราย คือ สภาวการณ์ที่มีเหตุอันจะทำให้เกิดความสูญเสีย

         

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย

         

เหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุคือ เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดแล้วไม่มีผลของการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย

         

ประสบอันตราย คือ การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง

อุบัติเหตุจากการทำงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ คือ

         1. สาเหตุจากการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) เป็นการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น

- การใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นเครื่องจักรกลต่าง ๆ โดยพลการหรือไม่ได้รับมอบหมาย

- การทำงานที่มีอัตราเร่งความเร็วของงานและเครื่องจักรเกินกำหนด

- การถอดอุปกรณ์ป้องกันออกจากเครื่องจักรโดยไม่มีเหตุอันสมควรสมควร

- การดูแลซ่อมบำรุงอุปกรณ์เครื่องจักรในขณะที่กำลังทำงาน

- การใช้เครื่องมืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ชำรุดและไม่ถูกวิธี

- ไม่ใส่ใจในคำแนะนำหรือคำเตือนความปลอดภัย

- ทำการเคลื่อนย้ายหรือยกวัสดุที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก ด้วยท่าทางหรือวิธีการที่ไม่ปลอดภัย

- ไม่สวมใสอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

- การคึกคะนองหรือเล่นตลกขณะทำงาน

สภาพแวดล้อมในการ ทำงาน ที่ไม่เหมาะสม มี อะไร บาง


          2. สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) คือสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยโดยรอบตัวของผู้ปฏิบัติงานขณะทำงาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น

- เครื่องจักรไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย

- อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรที่ออกแบบไม่เหมาะสมกับการใช้งาน

- บริเวณพื้นที่ของการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม

- การจัดเก็บวัสดุสิ่งของอย่างไม่ถูกวิธี

- การจัดเก็บสารเคมีหรือสารไวไฟที่เป็นอันตรายไม่ถูกวิธี

- ไม่มีการจัดระเบียบและดูแลความสะดวกของสถานที่ทำงานให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ

- แสงสว่างไม่เพียงพอ

- ไม่มีระบบระบายและถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม

- ไม่มีระบบเตือนภัยที่เหมาะสม

อ้างอิงจาก

  1. มาตฐานการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน,
    สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)
  2. คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร (ปรับปรุง),พ.ศ.๒๕๖๓
    กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
  3. ความปลอดภัยในงานวิศวกรรม,พ.ศ.๒๕๖๓ (สืบค้นออนไลน์)

เข้าถึงได้จาก : http://chuonchoom.blogspot.com/2013/08/blog-post.html

สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสมมีอะไรบ้าง

สภาพการณ์ไม่ปลอดภัยได้แก่ 2.การที่พื้นที่ปฏิบัติงานสกปรก 3.การวางผังโรงงานที่ผิดพลาด 4.การมีแสงสว่างที่ไม่เพียงพอในการทำงาน ซึ่งเป็นผลให้อาจมองไม่เห็นเครื่องจักร 5.เครื่องจักรกล เครื่องมือ อุปกรณ์เซฟตี้ ชำรุดบกพร่อง ซึ่งอาจเกิดจากขาดการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม

สภาพแวดล้อมในการทํางาน มีอะไรบ้าง

สภาพแวดล้อมในการทํางาน หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัวและเอื้ออํานวยให้คนทํางานได้อย่าง มีคุณภาพ ส่วนที่สําคัญคือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่แสง สถานที่ในทํางาน เสียง อุณหภูมิ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่การจัดการ สวัสดิการค่าตอบแทนความสัมพันธ์กับผู้ควบคุมงานและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ( ...

สิ่งแวดล้อมในการทำงานมี 4 ประเภท มีอะไรบ้าง *

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ล้อมรอบตัวผู้ปฏิบัติงานมีองค์ประกอบ 4....
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ... .
สิ่งแวดล้อมทางเคมี (Chemical Environment) ... .
สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment) ... .
สิ่งแวดล้อมทางเออร์กอนอมิคส์ (Ergonomics).

สิ่งแวดล้อมในการทํางานมีความสําคัญอย่างไร

สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ยิ่งจะช่วยทำให้พนักงานเกิดความพึงพอใจในการทำงานและช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานให้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพนักงานสามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรได้ สามารถทำงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน