บทบาทของอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งในงานด้านต่างๆ มีอะไรบ้าง อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

บทบาทของอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งในงานด้านต่างๆ มีอะไรบ้าง อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

IoT หรือ Internet of Thing เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับธุรกิจและโรงงาน อย่างเช่น Smart Factory ที่ได้นำ IoT มาใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับเครื่องจักรและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลถึงกัน รูปแบบการประยุกต์ใช้งานขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมของผู้พัฒนา

ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง ประโยชน์ 5 ข้อ ของการใช้งาน IoT ว่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างไรบ้าง

1.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

IoT จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากความสามารถในการทำงานและการส่งผ่านข้อมูลของ IoT นั้นสูงกว่าการใช้มนุษย์ทำงาน การทำงานของมนุษย์อาจจะทำให้เกิด Human Error และเกิดข้อจำกัดด้านพลังงาน, เวลา และสถานที่ได้ แต่ IoT มีความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวลผล ส่งผ่าน และแสดงผลได้อย่างรวดเร็วและสามารถรองรับข้อมูลได้เป็นจำนวนมหาศาล

2.ไร้ข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่

IoT สามารถทำงานได้แบบไร้พรมแดน เพราะขับเคลื่อนด้วยอินเทอร์เน็ต อย่างที่เราทราบกันดีว่าอินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมสิ่งที่อยู่ห่างไกล ให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นสามารถติดตามผลการดำเนินงานและเช็คสถานะการผลิตได้ แม้ว่าโรงงานจะอยู่คนละจังหวัดหรือประเทศก็ตาม และ IoT ยังสามารถทำงานได้ตลอดเวลา ต่างจากมนุษย์ที่มีพลังงานจำกัด ต้องการการพักผ่อน สิ่งนี้ทำให้เห็นว่าการใช้ IoT ช่วยทำลายกำแพงด้านเวลาและสถานที่ได้

3.ช่วยลดต้นทุนในหลาย ๆ ด้าน

เนื่องจาก IoT มีความแม่นยำและไรข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ ทำให้ช่วยลดต้นทุนได้หลาย ๆ ด้าน อย่างเช่นต้นทุนการจ้างงาน ต้นทุนค่าเสียโอกาส หรือต้นทุนการผลิต

ตัวอย่างต้นทุนการผลิตที่ลดลง อธิบายได้ง่าย ๆ เช่นถ้าหากว่าเราทราบข้อมูลความต้องการสินค้าอย่างละเอียดและเฉพาะเจาะจง เราะจะสามารถผลิตได้ตามความต้องการของลูกค้าในทันท่วงที ตามจำนวนการสั่ง หรือที่เรียกว่า Just In Time (JIT) การผลิตแบบนี้จะช่วยลดต้นทุนจมในการผลิตที่เกินมาได้อย่างมีนัยสำคัญ

4.อำนวยความสะดวก มีเวลาเหลือในการสรรค์สร้างนวัตกรรม

สิ่งหนึ่งที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าเทคโนโลยีคือ “ความคิดสร้างสรรค์” การให้เทคโนโลยีทำงานด้าน Routine แทนเรา จะทำให้เรามีเวลาในการทำงานสร้างสรรค์ งานนวัตกรรม ทำสิ่งที่ควรทำมากยิ่งขึ้น เพราะแท้ที่จริงแล้วมนุษย์มีศักยภาพที่ซ่อนอยู่มากกว่าจะทำเพียงแค่งาน Routine เท่านั้น การให้เทคโนโลยีทำงานแทนและโยกแรงงานที่ทำงาน Routine มาฝึกฝนเพื่อทำงานที่ซับซ้อนและใช้ไอเดียมากขึ้นจะทำให้กิจการเกิดความก้าวหน้ามากขึ้น

5.ยกระดับกิจการให้ Smart ในสายตานักลงทุน

IoT เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเกิดเป็น Smart Factory หรือ Smart Business และช่วยเสริมให้เกิดข้อดีหลาย ๆ อย่าง เช่นสร้างกำไร, ลดต้นทุน, เพิ่มรายได้และขยายกิจการ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผลประกอบการดีขึ้น มีหน้างบการเงินที่สวย (โดยไม่ต้องตกแต่งตัวเลข) เป็นที่น่าจับตามองของนักลงทุนหรือ Partner ต่าง ๆ ที่จะเข้ามาสนับสนุนธุรกิจของคุณ

Internet of Things (IoT) พัฒนามาจากเทคโนโลยีการระบุตัวตนด้วยคลื่นวิทยุ หรือ Radio-frequency Identification (RFID) โดยพัฒนาเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อระหว่างวัตถุสิ่งของ หรือโครงสร้างทางกายภาพ เข้ากับโครงสร้างด้านดิจิทัล หรือระบบอินเทอร์เน็ตผ่านเซ็นเซอร์ เพื่อให้เกิดการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานและวัตถุในเครือข่าย กล่าวคือ ผู้ใช้งานสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานวัตถุสิ่งของในเครือข่ายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การเปิด-ปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าผ่าน Smart Phone

ในปัจจุบัน วัตถุสิ่งของที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้นั้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะ Smart Phone, Tablet หรือคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์ไฮเทคที่ได้รับการติดตั้งสมองกล เช่น Smart Watch, Smart Glass หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น เครื่องปรับอากาศ ระบบไฟส่องสว่าง เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยี IoT ถูกนำมาประยุกต์ใช้เข้ากับวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์ จนถึงกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น Smart Home หรือการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในบ้านเข้าด้วยกัน และสั่งการจากส่วนกลาง และ Industrial Internet หรือการเชื่อมต่อระบบการผลิตในโรงงานเข้าด้วยกัน และควบคุมสั่งการจากส่วนกลาง โดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT มีแนวโน้มในเชิงจำนวนและความหลากหลายมากขึ้น มีการคาดการณ์จากบริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศว่า จำนวนวัตถุที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบ IoT มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นจำนวนถึง 50,000 ล้านชิ้นภายในปี 2020 ดังแสดงในแผนภาพ

ภาพแสดงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของวัตถุที่สามารถเชื่อมต่อระบบ IoT

บทบาทของอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งในงานด้านต่างๆ มีอะไรบ้าง อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ที่มา: Dzone

ทั้งนี้ ส่วนประกอบของเทคโนโลยี IoT แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้

  • ส่วนรับข้อมูล คือ ส่วนที่ช่วยให้อุปกรณ์ IoT รับรู้ข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เซ็นเซอร์ และ แอคทิเวเตอร์ (Activator)

  • ส่วนสื่อสาร คือ ส่วนที่ช่วยให้อุปกรณ์ IoT มีความสามารถในการสื่อสาร เป็นส่วนที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมคือสมองกลฝังตัวที่ติดไว้กับวัตถุ ซึ่งเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต มีหน้าที่รับข้อมูลความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องจากเซ็นเซอร์แล้วส่งข้อมูลนี้ผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบควบคุมและประเมินผลส่วนกลาง ทั้งนี้ จุดเด่นของสมองกลฝังตัว คือการส่งข้อมูลแบบ Real Time อย่างแม่นยำ

  • ส่วนประมวลผลข้อมูล คือ ส่วนที่ช่วยให้อุปกรณ์ IoT มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับ นับเป็นส่วนที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานในเทคโนโลยี IoT เช่น เทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing)

ทั้งนี้ การที่เทคโนโลยี IoT ได้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้เกิดการรวบรวมข้อมูลเหล่านี้แล้วจัดเก็บเป็นคลังข้อมูลส่วนกลางขนาดใหญ่ของระบบ (Big Data) หรือนำไปผนวกกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลจากคลังส่วนกลางไปใช้วิเคราะห์และทำนายผลการทำงานของบุคคล สิ่งของ หรือองค์กรต่างๆ ที่อยู่ในระบบได้ต่อไป