ความสําคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการศึกษา

ความสำคัญความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีการนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการดำเนินงาน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันประกอบกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีความก้าวหน้ามาก ทำให้ข้อมูลข่าวสารเกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศและการสื่อสารอย่างไร้ขีดจำกัด ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลยั่งยืน ซึ่งในการดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและทัดเทียมสู่ระดับสากลได้นั้น จำเป็นต้องพัฒนาทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการผลักดันและขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพ

สุพรรณี  สมบุญธรรม (2551) กล่าวการศึกษาด้านเทคโนโลยีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดังนี้

               1)  แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการศึกษาในระบบ เปิด (Open Courseware & Open Education)

ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าการศึกษาในอนาคตที่อาจจะพัฒนาไปไม่ทัน ตลอดจนนักเรียนนักศึกษามีพฤติกรรมการ  เรียนรู้ที่แตกต่างไปตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีครูผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นการเรียนรู้ แบบผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนดัวยและผู้เรียนก็มีพฤติกรรมต้องการเรียนรู้ในสิ่งที่ตน เองกำหนดด้วยครูผู้สอนไม่จำเป็นต้องจัดเตรียมเนื้อหาเองแล้วอาจจะแสวงหาได้อย่างหลากหลายในอินเตอร์เน็ตมี open courseware อยู่มากมาย ซึ่งอาจจะดีกว่าสร้างเองและ ประหยัดกว่าด้วย ขณะนี้ Web 2.0 ซึ่งกำลังได้รับ ความนิยมมากขึ้น และการจัดการศึกษาแบบ e-Learning ต้องปรับสู่ e-Learning 2.0 ครูผู้สอนต้องสร้างนวัตกรรมการศึกษาขึ้นมาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว (Lucifer Chu. 2005 : online)

ในประเด็นสำคัญเรื่องสื่อเรียนรู้ (Learning Object) ควรจัดสร้างให้เป็นสื่อการศึกษาที่เปิด กว้าง (Open Educational Resources) ใช้ง่ายมีการใช้ซ้ำได้และ แบ่งปันกันใช้ มีความ เหมาะสมกับบริบทของแต่ละสังคมผู้ใช้ต้องไม่ถูกครอบงำทางความคิดจากสื่อเรียนรู้ที่จัดสร้างจากที่อื่นในโลกเรื่องการนำเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองมาใช้งานต้องมีการขออนุญาตอย่างเป็นทางการ ซึ่งใช้ระยะเวลาและใช้เงินจำนวนมากให้ไม่สะดวกต่อการจัดทำสื่อการเรียนการสอนซึ่งบางครั้งต้องการความรวดเร็วในการทำงานอีกทั้งงบประมาณที่มีอยู่ก็ไม่เพียงพอต่อค่าลิขสิทธิ์ที่จะเกิดขึ้นหรือ แม้จะเพียงพอแต่ก็ไม่คุ้มค่าที่จะซื้อลิขสิทธิ์มาทั้งหมดเพราะเนื้อหาที่จะเอามาใช้จริงๆมีเพียงส่วน หนึ่งของผลงานชิ้นนั้นเท่านั้น จึงได้เสนอให้มีระบบการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ผลงานส่วนย่อย (Micropayment System) สอน (David Wiley. 2005 : online)

ผลการสำรวจบ่งชี้ว่าอีก 3-5 ปี mobile technology จะเป็นปัจจัยที่ทรงพลังในการศึกษา มาก ความท้าทายสำคัญของสถาบัน การศึกษา คือ การออกแบบ การเข้าถึงคอนเทนท์ที่มี ประสิทธิผล และการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ซึ่ง ต้องคำนึงถึงประโยชน์จากวิวัฒนาการ mobile learning ได้แก่ collaborative sharing และ contextual learning (Insook Lee. 2005 : online)

เทคโนโลยีไร้สายกำลังก้าวเข้ามาแทนที่ระบบมีสายในปัจจุบันระบบใหม่ที่เกิดขึ้นทำให้ เกิดการสื่อสารแบบ multicast ซึ่งช่วยลดการเวลาการรอการตอบสนองของระบบและนักศึกษา จำนวนมากสามารถเข้าถึงระบบได้พร้อมกันการขยายระบบไปสู่สถาบันการศึกษามีเป้าหมาย ขยายขอบเขตการศึกษาออกไปนอกสถาบันซึ่งสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และ   กระแสการให้บริการการศึกษาของโลกปัจจุบัน (Yoshida Masami. 2005 : online)

อุปกรณ์ไร้สายกำลังเป็นเทคโนโลยีทำให้การเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้น ระบบการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนจากครูเป็นผู้ป้อนความรู้ให้นักเรียนเป็นระบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนกำหนดการเรียนรู้เอง และเรียนรู้แบบ project-based มากขึ้น ลักษณะการเรียนรู้ เปลี่ยนเป็นเน้นแสงและเสียง การรับความคิดเห็น การทำงานเป็นกลุ่มและการใช้ตรรกะ ของเกมมาปรับใช้ในการเรียนการสอน (Daniel Tan. 2005 : online)

โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเปลี่ยนจากระบบ analog เป็น digital เปลี่ยนจากแยกอิสระเป็นเชื่อมโยงเปลี่ยนจากเชื่อมต่อด้วยสายเป็นไร้สายมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น แทนที่จะบริโภคอย่างเดียวก็ผลิตด้วยและเปลี่ยนจากปิดเป็นเปิดกว้างการศึกษาไม่จำกัดอยู่แต่ในมหาวิทยาลัยและห้องสมุดเท่านั้น สภาวการณ์เช่นนี้ส่งผลให้เนื้อหาในการศึกษาต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันโลกการเปิดกว้างของเนื้อหาควรถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญหลักในการศึกษา โดยอาจารย์และสถาบันมีบทบาทในการเปิดกว้างเนื้อหาการเรียนการสอน (David Wiley. 2005 :online)

               2)  แนวโน้มการใช้ซอฟแวร์โอเพ่นซอร์สเพื่อการบริหารจัดการและการดำเนินการด้าน E-Learning  

ซอฟแวร์โอเพ่นซอร์ส คือ  ซอร์ฟแวร์ที่ให้รหัสต้นฉบับ (source code) มาด้วยทำให้ผู้ใช้ สามารถนำไปพัฒนาเพิ่มเติม  ปรับเปลี่ยนตามความต้องการหรือแจกจ่ายต่อไปได้ ในขณะที่ ซอฟแวร์ลิขสิทธิ์ ไม่อนุญาตให้ทำเช่นนี้  ความสำคัญของซอฟแวร์โอเพ่นซอร์สทำให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะ  ผู้พัฒนาเข้าไปร่วมในชุมชนการพัฒนาด้วยเหตุนี้  เกิดการแบ่งปันความรู้แก่ผู้อื่น เกิดโอกาสทางอาชีพและธุรกิจ เช่นโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจ การจ้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาทักษะนักเรียนนักศึกษา สร้างมูลค่าเพิ่มโดยไม่ต้องจ่าย ค่าใบอนุญาตดังนี้ระบบอื่น  ซึ่งมีข้อยืนยันจากกรณีศึกษาในประเทศอเมริกา อาร์เจนตินา  โดยเฉพาะบราซิลและอินเดียใช้ ซอฟแวร์โอเพ่นซอร์สเกือบทั้งหมด ซอฟแวร์โอเพ่นซอร์สหลายโปรแกรมมีคุณภาพดีหรือ ดีกว่าซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์ เนื่องจากได้รับการ พัฒนาจากคนกลุ่มใหญ่ทั่วโลก (ไพฑูรย์ บุตรศรี. 2550 : 21-23)

ในการใช้ Open Source Software ได้พัฒนาจากลีนุกซ์ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้ได้ดี โดยใช้ภาษา JAVA, C++, Fortan, BASIC การมีโอเพ่นซอร์สสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้และทดลอง นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนผู้พัฒนาลีนุกซ์ด้วย  ตัวอย่างวิชาที่นำโอเพ่นซอร์สมาใช้คือ การจัดการองค์ความรู้ โดยนำ Wiki, Freemind, blog มาใช้ (มหาวิทยาลัยบูรพา)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใช้โอเพ่นซอร์สในการทำServerเป็นส่วนใหญ่ และมักพัฒนาเอง เช่นระบบบัญชีงานบุคคลการสร้างและพัฒนางานด้านสื่อและการศึกษาและมหาวิทยาลัยต้องพัฒนาระบบต่างๆใช้ เอง ทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

Open Source Softwares ยอดนิยมระดับโลกที่เป็น Content Management System (CMS) คือ Moodle ซึ่งได้รับการออกแบบเป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนการสอนในสภาพแวดล้อมของการ ร่วมคิดร่วมทำ (Collaborative Environment) ปัจจุบัน Moodle กำลังเติบโตอย่างมหาศาลใน 188 ประเทศทั่วโลกแปลเป็นภาษาต่างประเทศ  75  ภาษา สัดส่วนของสมาชิกแบ่งเป็นครู 35% โปรแกรม เมอร์/ผู้บริหารระบบ 22% ผู้บริหารสถาบันการศึกษา 16%  และนักวิจัย 11% ( Michael Break,2005 : online)

ในส่วนการพัฒนา Moodle มีข้อได้เปรียบตรงที่การมีส่วนร่วมในชุมชนทั่วโลกของ Moodle ประกอบด้วย การเปิดกว้างรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะขนาดของโครงการ พัฒนาซอฟต์แวร์ใหญ่มาก( ประเมินมูลค่าพัฒนา Moodle สูงถึง17.4  ล้านเหรียญ) การให้ข้อเสนอ แนะและความคิดเห็นของสมาชิกมีประโยชน์กับชุมชนอย่างกว้างขวางและเป็นการสร้างการเชื่อม โยงระหว่างสถาบันการศึกษาทั่วโลก (James Robert and Pratt. 2005 : online)

ความสำเร็จในการนำ Moodle มาใช้งานคือ Moodle เป็น Open Source Software ที่ช่วย ในการจัดระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บด้วยกิจกรรม สนับสนุนมากมาย แนวคิดของ Moodle คือนักเรียนก็เป็นครูได้ ฉะนั้นผู้เรียนสามารถออกแบบหลักสูตรและประมวลรายวิชาได้ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ส่วนครูมีหน้าที่เป็น facilitator

ผลงานวิจัยกับนักเรียนมัธยมต้นที่โรงเรียนสตรีวิทยา2  ซึ่งได้รับการทดสอบ กับซอฟต์แวร์ การจัดการเรียนการสอนแบบเดียวกับที่ใช้อบรมครูผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้ประจักษ์ ถึงประโยชน์อย่างมหาศาลในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเรียนรู้ และวิธีการ ทดสอบ (ไพฑูรย์ ศรีฟ้าและปรัชญนันท์ นิลสุข. 2550 : ออนไลน์)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้พัฒนา Moodle มาใช้งานในชื่อ CMU-Online มีการฝึกอบรม คณาจารย์และบุคลากรในการใช้ CMU-Online และสร้างคู่มือใช้งาน สร้างระบบเชื่อมต่อกับ ระบบของสำนักทะเบียนคุณลักษณะของระบบมีหลายประการ เช่น ข้อมูลสถิติการเข้าใช้ งานส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน (เพิ่มการเข้าถึง) electronic self-access learning, clipart gallery ฯลฯ ล่าสุด จากผลงานการพัฒนาระบบ e-Learning และ MC-Moodle มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพิ่งได้รับการเสนอชื่อจาก SIPA ให้เป็นตัวแทนไปแข่งขันที่ WSA Grand Jury 2007 (ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2549)

มหาวิทยาลัยสุรนารีมีการพัฒนาต่อยอด Moodle  ริเริ่มโครงการวิจัยโปรแกรม การประเมิน ผลการเรียน e-Learning ซึ่งเรียกว่า Edinoโดยมีวัตถุประสงค์คือ ถ่ายโอนข้อมูลจาก Edinoซึ่งใช้JAVA (application software)และPHP (web application) ซึ่งออกแบบให้ทำงาน ร่วมกับ Moodle รายงานประเมินผล Edimoแสดงสถิติการใช้งาน แบ่งเป็นหมวด/ประเภท และภาค การศึกษามีการแสดงผลเป็นกราฟ การประมวลผลแสดงเป็นรายสัปดาห์ สำนักวิชา และสาขาแนว ทางการพัฒนา ต่อไปคือ ต่อยอดให้ทำงานร่วมกับ Moodle ได้ทุกเวอร์ชัน และจัดอบรมเชิงปฏิบัติ การเรื่อง การใช้โปรแกรมประเมินผลการเรียนe-Learning(คะชา ชาญศิลป์และศุภชานันท์ วนภู อ้างถึงใน สุพรรณี  สมบุญธรรม. 2551)

               3)  แนวโน้มการแบ่งปัน สื่อและทรัพยากรการศึกษาในระบบ e-Learning “Sharablee-Learning Resource in Thailand Aspect”

ปัญหาการใช้สื่อและเนื้อหา e-Learning ในประเทศไทยคือเนื้อหามีความหลากหลายรวบรวมยากและ ไม่เป็นระบบเดียวกันมีหลายมาตรฐานใช้ไม่คุ้มลงทุนสูงควรมีความร่วมมือกัน ระหว่างหน่วยงานของไทยเป็นเครือข่ายเทคโนโลยี เหมือนที่มีในหลายแห่งในโลกที่เรียก Worldwide Networking for Learning Technology ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อ บริหารจัดการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น EDUCAUSE Institutional Management System Project (IMS) Advanced Distributed Learning (ADL) ยุโรป มีองค์กร Alliance of Remote Institutional Authoring and Distribution Network for Europe (ARIADNE) ญี่ปุ่นมีองค์กร Advanced Learning Infrastructure Consortium (ALIC) การเรียนรู้พื้นฐาน และองค์กร e-Learning Consortium Japan (eLC)

ด้วยความหลากหลายทางด้านภูมิภาคจึงทำให้มาตรฐานการจัดการเทคโนโลยีมีความแตก ต่างกันตามไปด้วยแต่มาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันในขณะนี้ก็คือ SCORM ของสหรัฐ อเมริกาโดยทาง NECTEC เองก็พยายามปรับปรุงให้ได้มาตรฐานของ SCORM นี้เช่นกัน ซึ่งในอนาคตเชื่อว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นคงต้องอาศัยมาตรฐาน SCORM เป็นตัวชี้วัด

แนวความคิดของการจัดตั้งศูนย์ e-Learning Resource Center จะเป็นแหล่งรวบรวม Inventory ต่างๆ เพื่อให้บุคลากรที่ผลิตสื่อการสอนสามารถเข้ามาใช้ได้ (Authoring tools, LMS) เนื้อหาส่วนใหญ่จะเก็บรวบรวมเอาไว้จะเป็นข้อมูลที่มีอยู่แล้วในอินเทอร์เน็ตหรือในสถานศึกษา นอกจากนี้ NECTEC ยังมี Road map สำหรับ e-Learning Resource Center

ในส่วนของระบบ  e-Learning  มีคุณภาพและไม่เสียค่าใช้จ่าย เรียนได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และสามารถเข้าถึงรวดเร็ว คนพิการสามารถเข้าถึงได้ มีความปลอดภัยสูง เนื้อหา e-Learning  มีเครื่องมือสำหรับสร้างสื่อได้ง่ายและให้ฟรีแบบเรียนเข้าใจง่ายชัดเจนมีมาตรฐานและคุณภาพสูงในแง่การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนใช้กันได้มีคลังเก็บเป็นระบบมีระบบสืบค้นมีระบบป้องกันการละเมิดลิขสิทธ์ (วิรัช ศรเลิศล้ำวานิช. 2550 : 73-77)

               4)  แนวโน้มการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้บนอินเตอร์เน็ตในรูปแบบการใช้ Social Software

การสื่อสารในรูปแบบร่วมกันเล่าเรื่องราวโดยใช้ Social Software กำลังเป็นเรื่อง แพร่หลายซึ่งนำมาเป็นโอกาสในการจัดการความรู้ในแบบ เวปเบสได้ดีดังกรณีศึกษาการใช้ Weblog เพื่อการจัดการความรู้ที่ประสบความสำเร็จของ GotoKnow.org และ learners.in.th โดย GotoKnow.org  Blog หรือ Weblog ทำหน้าที่ เสมือนเป็นสมุดบันทึกอิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละบุคคล เอาไว้บอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์หรือ  ความรู้ที่มีอยู่โดยการโพสข้อความในบล็อกนั้นจะเรียง ลำดับตามวันเวลาที่ทำการโพส ในบล็อกสามารถเอาลิงค์ที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับบล็อก นั้นๆหรือเห็นว่าน่าสนใจ เอามาใส่ไว้ในบล็อกของเราได้ เนื้อหาที่โพสลงในบล็อกสามารถจัด แบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ อีกทั้งยังสามารถรับข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้อ่าน บล็อกได้ด้วยยกตัวอย่างเว็บไซต์ GotoKnow.org ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้คนที่ทำงานแล้ว ได้เข้ามาโพสเรื่องราวประสบการณ์ของตัวเอง กิจกรรมที่เคยทำมาปัญหาอุปสรรคและ แนวทางในการแก้ไข ไฟล์งานรูปภาพเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความรู้จากประสบการณ์ ซึ่งผู้ที่เข้ามาอ่านสามารถเก็บเอา เนื้อหาในบล็อกนั้นไปสร้างองค์ความรู้ของตัวเองได้

เว็บไซต์ learners.in.th ซึ่งกลุ่มผู้ที่เข้ามาโพสจะแตกต่างจาก GotoKnow.org คือส่วนใหญ่ จะเป็นเยาวชนนักเรียนนักศึกษาซึ่งจุดประสงค์หลักของเว็บไซต์คือเป็นเวทีให้นักเรียนนักศึกษา ได้แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับคนในวัยเดียวกันอีกทั้งได้แสดงให้เห็นมุมมองของตัวเองแก่ อาจารย์  ที่ได้เข้ามาอ่านด้วยซึ่งในสถานการณ์จริงอาจจะไม่กล้าถามหรือพูดในสิ่งที่ตัวเองคิด ในขณะนั้นซึ่งแนวโน้มนี้จะเป็นผลดีต่อการนำมาใช้ในการจัดการศึกษา (“กรณีศึกษาการใช้ Weblog เพื่อการจัดการความรู้ที่ประสบความสำเร็จ GotoKnow.org และ learners.in.th”  (สุนทรี แซ่ตั่น, 2550. 72-73)