ใบงาน การจัดระเบียบทางสังคม

Page 6 - เฉลยชีวิตกับสังคม.indd

P. 6

ใบงาน การจัดระเบียบทางสังคม

6



             ๕.  ขอใดจัดเปนวิถีชาวบานประเภท “สมัยนิยม”   ก.  คนไทยยุคหนึ่งนิยมสวมสรอยลูกปดหิน
             ๖.  ขอใดไมใชลักษณะของบรรทัดฐานประเภท “กฎหมาย”   ข.  ไมเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ
             ๗.  ขอใดจัดเปนเอกลักษณของสังคมไทย   ก.  สยามเมืองยิ้ม
             ๘.  ขอใดเปนสิ่งที่กำหนดบทบาทของบุคคล   ข.  สถานภาพ
             ๙.  ขอใดกลาวถูกตอง   ง.  ถูกทุกขอ
             ๑๐.  “การมอบเกียรติบัตรเรียนดีใหนักเรียนในวันไหวครู จะมีสวนชวยใหนักเรียนคนอื่นๆ เกิดแรงกระตุนใหเรียนดีบาง”
               ขอความขางตนเกี่ยวของกับการควบคุมทางสังคมในขอใด    ค.  การควบคุมโดยงานพิธี



           ตอนที่ ๓  ใหจับคูขอความทางซายมือและขวามือใหสัมพันธกัน
             ข.
           ...........   ๑.  การกำหนดมาตรฐานทางประพฤติปฏิบัติ         ก.  วิถีประชา
             ช.
           ...........   ๒.  ตำแหนงที่ไดจากการเปนสมาชิกในสังคม     ข.  การจัดระเบียบทางสังคม
            ฌ.
           ...........   ๓.  แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกในสังคม        ค.  การควบคุมทางสังคม
                        เห็นวาดีหรือเหมาะสม                          ง.  จารีต
             ง.
           ...........   ๔.  บรรทัดฐานที่เกี่ยวของกับศีลธรรม         จ.  การควบคุมโดยผาน
             ซ.
           ...........   ๕.  บรรทัดฐานที่ใชตัดสินขอพิพาทไดดีที่สุด    ความเปนผูนำ
             ฎ.
           ...........   ๖.  พระสงฆควรมีกิริยาสำรวม                  ฉ.  บทบาท
             ฉ.
           ...........   ๗.  การปฏิบัติตามหนาที่ตามสถานภาพ           ช.  สถานภาพ
             จ.
           ...........   ๘.  ระบอบเทวราชา                             ซ.  กฎหมาย
             ก.
           ...........   ๙.  โทษของการฝาฝนคือถูกติฉินนินทา          ฌ. บรรทัดฐานทางสังคม
             ค.
           ...........  ๑๐.  การมุงใหสมาชิกยอมรับบรรทัดฐานของสังคม  ฎ.  การควบคุมโดยศาสนา


            ใบงานที่ ๒.๑  เรื่อง  บรรทัดฐานทางสังคม

           คำชี้แจง  ใหนักศึกษาพิจารณาภาพตอไปนี้แลวตอบวาเกี่ยวของกับบรรทัดฐานทางสังคมประเภทใด

           ๑.                           ๒.                            ๓.








                     วิถีประชา
                                                     จารีต
                                                                                   จารีต
              ................................................  ................................................  ................................................
           ๔.                           ๕.








                     กฎหมาย
                                                   กฎหมาย
              ................................................  ................................................

จำนวนผู้เยี่ยมชม

หน้าที่พลเมือง

แหล่งเรียนรู้

หน้าที่พลเมือง สาระเพิ่ม ม.1 (วพ)

ใบงาน การจัดระเบียบทางสังคม

ใบความรู้ที่ 03 การจัดระเบียบสังคม

ใบความรู้ที่ 3 

การจัดระเบียบสังคม

  • การจัดระเบียบสังคม หมายถึง กระบวนการที่ควบคุมสมาชิกในสังคมหนึ่งๆ เพื่อให้ทุกคนได้ปฏิบัติในแนวเดียวกัน การจัดระเบียบสังคมนี้จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสังคม ทำให้แต่ละสังคมมีความแตกต่างกันไป ทั้งนี้เป็นผลมาจากความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ประวัติศาสตร์ สภาพภูมิศาสตร์ และบรรทัดฐานของสังคมนั้นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างองค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคม คุณลักษณะขององค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคมสรุปได้ 3 อย่างคือ
    • 1. สถานภาพทางสังคม หมายถึง ตำแหน่งที่บุคคลดำรงชีวิตอยู่ในสังคม หรือเป็นฐานะทางสังคมของบุคคลในชีวิตทางสังคม เป็นตำแหน่งที่บุคคลได้รับจากการเป็นสมาชิก ทุกคนในสังคมย่อมมีสถานภาพตั้งแต่กลุ่มสังคมที่เล็กที่สุดคือครอบครัว จนกระทั่งกลุ่มสังคมที่ใหญ่ที่สุด คือประเทศชาติ สถานภาพนั้นมี 2 ประเภท คือ
      •     1.1 สถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น เพศ ชาติตระกูล เชื้อชาติ และเงื่อนไขทางเครือญาติ เป็นต้น
      •     1.2 สถานภาพที่ได้รับมาภายหลัง ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ 
          • สถานภาพที่ได้มาด้วยความสามารถ เป็นสถานภาพที่เฉพาะตัว เช่น นักกีฬา นักเรียน
          • สถานภาพที่ได้มาด้วยเงื่อนไขทางเครือญาติ เช่น ปู่ ตา พี่ ป้า ฯลฯ เป็นต้น
    • 2.  บทบาททางสังคมหมายถึง สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบที่บุคคลพึงปฏิบัติให้เหมาะสมกับสถานภาพของตน
      • 1. สถานภาพและบทบาทเป็นตัวกำกับซึ่งกันและกัน หากสมาชิกในสังคมใดสามารถแสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะกับสถานภาพก็ย่อมมีผลทำให้สังคมเป็นระเบียบเจริญก้าวหน้าและสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างปกติ เช่น มีสถานภาพเป็นตำรวจก็แสดงบทบาทในการพิทักษ์สันติราษฎร์อย่างเข้มแข็งโดยไม่มีการทุจริตก็อาจทำให้สังคมสงบสุข เป็นต้น
      • 2. บทบาทขัดกัน สมาชิกต้องอยู่ร่วมกันในกลุ่มสังคมหลายกลุ่ม จึงทำให้แต่ละบุคคลต้องมีหลายสถานภาพ และหลายบทบาท บางครั้งอาจนำไปสู่ปัญหาบทบาทที่ขัดแย้งกันแต่ละคนมีบทบาทหลายอย่างในเวลาเดียวกัน และการกระทำในบทบาทหนึ่งอาจจะขัดกับอีกบทบาทหนึ่งได้ เช่น สามีเป็นตำรวจที่มีหน้าที่ปราบปรามการทำผิด แต่ภรรยาเป็นนักเล่นการพนัน ในฐานะสามีต้องดูแลภรรยาให้ดีที่สุด แต่ในฐานเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องจับกุมภรรยาผู้กระทำการผิดกฎหมายจึงทำให้เกิดความอึดอัดใจ เป็นปัญหาที่เกิดจากบทบาทขัดกัน และการขัดกันในบทบาทเกิดขึ้นได้เสมอ สมาชิกในสังคมต้องตัดสินใจตามวาระและโอกาสที่เกิดขึ้น
      • 3. บรรทัดฐานทางสังคม เป็นมาตรฐานความประพฤติที่มนุษย์ในสังคมกำหนดไว้ เพื่อเป็นแนวทางให้สมาชิกของสังคมเพื่อประพฤติปฏิบัติในรูปแบบเดียวกัน ดังนั้นหากสมาชิกในสังคมไม่ประพฤติปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนย่อมมีความผิดถูกลงโทษซึ่งมาตรการในการลงโทษอาจจะรุนแรงมากน้อยต่างกันตามประเภทของบรรทัดฐาน
        • 1. วิถีประชา เป็นมาตรฐานความประพฤติที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความดีความชั่ว แต่เป็นแนวทางที่สมาชิกของสังคมนิยมปฏิบัติกันมาจนเป็นประเพณี เป็นความเคยชินเนื่องจากได้รับการปลูกฝังถ่ายทอดมาตั้งแต่เด็กจนโต เช่น มารยาทในสังคมต่างๆ รวมถึงวิถีในการดำเนินชีวิตซึ่งผู้ที่ล่วงละเมิด จะได้ รับการลงโทษด้วยการติเตียน เยาะเย้ย ถากถาง นินทาจากคนในสังคม
        • 2. กฎศีลธรรมหรือจารีต  เป็นมาตรฐานความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความดีและความชั่ว ความมีคุณธรรมทางจิตใจ เช่น ความซื่อสัตย์ ความกตัญญู สังคมมักเข้มงวดหรือเคร่งครัดกับผู้ละเมิดหรือผู้ไม่ปฏิบัติตามเพราะส่งผลกระทบต่อสมาชิกโดยส่วนรวม มาตรการในการลงโทษรุนแรงกว่าวิถีประชา เช่น การไม่คบหาสมาคมด้วย การนินทา การประจาน หรือการขับไล่ออกจากกลุ่ม ตัวอย่างการกระทำผิดจารีต เช่น การที่ผู้หญิงที่มีสามีแล้วแอบลักลอบมีชู้ เป็นต้น
        • 3. กฎหมาย เป็นมาตรฐานความประพฤติที่รัฐบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการลงโทษอย่างเป็นทางการ มีหน่วยงานควบคุมอย่างชัดเจนและผู้ที่ฝ่าฝืนจะได้รับการลงโทษรุนแรงมากหรือน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับความผิด ซึ่งกฎหมายจะมีพื้นฐานมาจากจารีตประเพณีของประเทศนั้นเป็นสำคัญ ทั้งวิถีประชาและกฎศีลธรรม ไม่มีบทลงโทษที่ตราไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เรียกได้ว่าเป็นการลงโทษทางสังคมหรือการลงโทษอย่างไม่เป็นทางการก็ได้ แต่กฎหมายเป็นการลงโทษอย่างเป็นทางการหรือทางนิตินัย

วิชาหน้าที่พลเมือง 

ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา