โอเปอเรเตอร์ โรงพยาบาล คือ

24 เม.ย. 2564 เวลา 19:15 น.

3 ยักษ์โอเปอเรเตอร์ ระดมกำลังหนุนการทำงานภาคสาธารณสุข รับมือกับวิกฤติโควิด-19 ระลอก 3 เร่งติดตั้งเครือข่ายสื่อสาร ร.พ.สนาม เชื่อมต่อ CCTV เฝ้าระวังผู้ป่วย

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในระลอกที่ 3 ส่งผลกระทบไปยังทุกภาคส่วน ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศยังน่ากังวล ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะองค์กรใหญ่ที่พอมีกำลังจะต้องร่วมมือกัน 

ทั้งนี้เอไอเอสได้เดินหน้าสนับสนุนการทำงานของภาคสาธารณสุขเพื่อรับมือกับวิกฤติโควิด-19 ในการฟื้นฟูประเทศ ผ่านการทำงานด้วยเทคโนโลยีสื่อสารและดิจิทัลเซอร์วิส ใน 4 แกนหลัก คือ 1.โรงพยาบาลสนาม เอไอเอสได้ติดตั้งเครือข่าย AIS 5G ,4G, Free Wifi ในโรงพยาบาลสนามหลักกว่า 31 แห่ง จำนวนมากกว่า 10,000 เตียง ทั่วประเทศ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น เชื่อมต่อระบบ CCTV เพื่อเฝ้าระวังผู้ป่วย, การส่งต่อข้อมูลการแพทย์ ตลอดจนให้ผู้ป่วยที่กักตัวสามารถสื่อสาร ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวให้คลายความกังวล มีกำลังใจในการฟื้นฟูสุขภาพ เนื่องจากรอบนี้สถิติการติดเชื้อมากกว่ารอบแรกและรอบสองมาก

นอกจากนี้ยังมีการสนับ สนุนในด้านที่ 2. การแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine ที่ช่วยลดภาระการทำงานของแพทย์และพยาบาล 3. 5G AI อัจฉริยะ นำ AI CT Scan ปอด เพื่อวิเคราะห์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 4. อสม. โดยเอไอเอสยังคงเสริมขีดความสามารถของ อสม. โดยปัจจุบันมี อสม.มากกว่า 5 แสนรายที่ใช้งานแอพอสม.ออนไลน์

ด้านนายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่า ดีแทคจัดทีมงานปฏิบัติภารกิจด่วน เพิ่มสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายใน 24 ชั่วโมง เน้นโรงพยาบาลสนาม เพื่อสนับสนุน ภาครัฐ หน่วยงานสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องในการรักษาและควบคุมโรคระบาดโควิด-19 ทั้งนี้ดีแทคได้ติดตั้งคลื่น 700 MHz ขยายบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในบริเวณพื้นที่โรงพยาบาลสนามที่จัดตั้งขึ้นภายในศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ 7 รอบพระชนมพรรษา ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเบื้องต้นเตรียมรองรับผู้ติดโควิด-19 จำนวน 280 เตียง ด้วยการนำคลื่น 700 MHz เพิ่มสัญญาณอินเตอร์เน็ตทั้งรูปแบบติดตั้งเพิ่มสถานีฐานนอกอาคาร และเพิ่มโซลูชันรับส่งในอาคาร

นอกจากนี้ ดีแทคยังเพิ่มรถโมบายล์สนับสนุนโรงพยาบาลสนามของหน่วยงานอื่นๆ อาทิ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ที่ 1 จังหวัดกรุงเทพฯ ที่สามารถรองรับผู้ป่วยจำนวน 200 เตียง เป็นต้น นอกจากนั้น ดีแทคยังได้จัดทีมงานในการดูแลโครงข่ายจากห้องปฏิบัติการ (NOC) เพื่อตรวจสอบการทำงานตลอด 24 ชั่วโมงในการปฏิบัติภารกิจในช่วงสำคัญ โดยพร้อมที่จะให้บริการใช้งานมือถือด้วยประสิทธิภาพสูงสุด

ขณะที่การระบาดของไวรัสโควิดระลอก 3 กลุ่มทรู ระดมความช่วยเหลือการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม พระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่กักตัวผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยสามารถรองรับผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่หนักมากได้ 1,500 เตียง โดยส่งทีมวิศวกรลงพื้นที่ติดตั้งรถโมบายล์ชุมสายเคลื่อนที่เร็ว ทรูมูฟ เอช (COW หรือ Cell-On-Wheel) เครือข่ายอัจฉริยะ True5G รวมทั้ง 4G และ WiFi พร้อมสนับสนุน User WiFi แก่แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการสื่อสาร

นอกจากนี้ยังได้ส่งทีมวิศวกรลงพื้นที่ภาคใต้ติดตั้งรถโมบายล์ชุมสายเคลื่อนที่เร็ว ทรูมูฟ เอช (COW หรือ Cell-On-Wheel) เครือข่ายอัจฉริยะ True5G รวมทั้ง 4G และ WiFi ที่โรงพยาบาลสนาม ณ อาคารหอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ซึ่งจะเป็นสถานที่รองรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือใกล้หายเป็นปกติเข้ามากักตัว โดยสามารถรองรับได้ถึง 200 เตียงมอบซิมทรูมูฟ เอช แบบเติมเงิน จำนวน 200 ซิม เพื่อสนับสนุนการทำงานของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด ตลอดจนผู้ติดเชื้อที่กักตัว ได้ใช้งาน WiFi ฟรี นาน 30 วัน

หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,673 วันที่ 25 - 28 เมษายน พ.ศ. 2564

Service Profile

ทีมนำทางคลินิก/หน่วยงานลูกค้าสัมพันธ์

1. บริบท (Context)

ก.   หน้าที่และเป้าหมาย (Purpose Statement)

            ให้บริการงานลูกค้าภายใน ภายนอกด้วยความ ถูกต้อง รวดเร็ว เพื่อสร้างความพึงพอใจ และ ประทับใจ ตลอดจนเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร

ข.   ขอบเขตการให้บริการ

  1. 1.หน่วยต้อนรับด่านหน้า  ให้บริการในวันราชการระหว่างเวลา 7.00 – 15.00 น.

-          ต้อนรับตอบข้อซักถามและอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการผู้ใช้บริการ

-          ตรวจสอบสถานะแฟ้มผู้ป่วย ตรวจสอบสิทธิการรักษาของผู้ป่วย

-          ต้อนรับ /ประสานงาน /อำนวยความสะดวกแขกวีไอพีทุกครั้งที่มาใช้บริการ

-          ดูแลบอร์ดรายนามผู้บริจาคบริเวณชั้น G และปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน

-          ดูแลรับผิดชอบการรับบริจาคร่างกาย

-          รับบริจาคเงินเข้ากองทุนพัฒนาศูนย์การแพทย์

  1. 2. หน่วยโอเปอเรเตอร์ ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

-          ออกประกาศเสียงตามสาย เวลา 07.00 น. – 20.00 น.

-          ให้บริการการรับ-ต่อ-โอนสายโทรศัพท์ทั้งภายในและภายนอก ตลอด 24 ชั่วโมง

-          เปิดสปอตสุขภาพต่าง ๆ ตามที่ได้รับการร้องขอและเพื่อการประชาสัมพันธ์ขององค์กร

-          โทรศัพท์เลื่อนนัดผู้ป่วยตามที่ได้รับการประสานงานจากแผนกผู้ป่วยนอกพร้อมสรุปสถิติ

                         การเลื่อนนัด

-          ปรับปรุงหมายเลขโทรศัพท์ให้เป็นปัจจุบัน ได้แก่ หมายเลขโทรศัพท์ภายใน หมายเลขโทรศัพท์อาจารย์แพทย์ แพทย์ใช้ทุน บุคลากร และปรับปรุงหมายเลขโทรศัพท์หน่วยงานราชการ บริษัท และโรงพยาบาลต่าง ๆ รวบรวมข้อมูลจัดเป็นไฟล์ข้อมูล

  1. 3.หน่วยการตลาดและธุรการ ให้บริการในวันราชการระหว่างเวลา

-          ติดต่อประสานงานกับบริษัทประกันชีวิตเพื่อมาเป็นบริษัทคู่สัญญาเพิ่ม

-          ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อมาเป็นโรงพยาบาลคู่สัญญา (Supra Contractor)

-          งานด้านชุมชนสัมพันธ์การเข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมที่ทางภาครัฐ หน่วยงานอื่นๆ จัดขึ้น

-          ดูแลและประสานงาน กลุ่มบริษัทหรือนักเรียนทุน ที่เข้ามาตรวจสุขภาพ

-          จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชนร่วมกับภาควิชา หน่วยงานต่างๆ

-          ทำการตลาดให้กับหน่วยงาน ที่จัดตั้งขึ้นใหม่และที่เพิ่มเติมภายในองค์กร

ค.   ผู้รับผลงานและความต้องการที่สำคัญ (จำแนกตามกลุ่มผู้รับผลงาน)

            ผู้รับบริการภายนอก

ประเภทผู้รับบริการ

ความต้องการ/ความคาดหวัง
แหล่งที่มาของข้อมูล

1. กลุ่มผู้ป่วย/ญาติ

- สามารถตอบคำถามและให้ข้อมูลได้ตามความต้องการ

- เจ้าหน้าที่มีความรู้เกี่ยวกับกับการให้บริการขององค์กรและสามารถตอบข้อซักถามได้อย่างถูกต้อง

- เจ้าหน้าที่มีความกระตือรือร้น ยิ้มแย้มแจ่มใส มีบุคลิกภาพและพฤติกรรมบริการที่ดี

- รับ- ต่อ-โอนสาย พร้อมตอบข้อซักถามทางโทรศัพท์ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว

- ต้องการความทันสมัยของเครื่องมือ อุปกรณ์ในการให้บริการ

- การประชาสัมพันธ์เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ

- มีการประสานงานหรือสัมพันธภาพที่ดี

-ความพึงพอใจต่อข้อมูลที่ได้รับจากการให้บริการ

-การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ

-การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการให้บริการ

-การให้เกียรติ และได้รับความเสมอภาคและเป็นธรรมในการให้บริการ

- แบบสอบถาม

- การสัมภาษณ์

- การพูดคุยกับผู้รับบริการ

2. คู่ค้า / คู่สัญญา

-บริษัทและโรงพยาบาลคู่สัญญา

- บริษัทประกันชีวิต

- การติดต่อสื่อสาร การประสานงานที่ชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว

-การจัดทำสัญญาที่ถูกต้อง

-ความรวดเร็วในการดำเนินการประสานงานเรื่องสัญญา

-เจ้าหน้าที่ มีอัธยาศัยมัยตรีและสัมพันธภาพที่ดี

และพูดจาสุภาพ

- แบบสอบถาม

- การสัมภาษณ์

- การพูดคุยกับผู้ประสานงาน

ผู้รับบริการภายใน

ประเภทผู้รับบริการ

ความต้องการ/ความคาดหวัง
แหล่งที่มาของข้อมูล
  1. ผู้บริหาร

- รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยใช้ค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด

- ดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบระเบียบ ขององค์กร

- ประเมินผลการดำเนินงานและนำผลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

- กระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานประชาสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์

- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร

- แบบสอบถาม

- การสัมภาษณ์

- การพูดคุยกับผู้บริหาร

2. หน่วยงานคณะแพทยศาสตร์   / หน่วยงานศูนย์ –การแพทย์

- สามารถให้บริการประกาศเสียงตามสายได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว

- สามารถรับ-ต่อ-โอนสายโทรศัพท์ไปยังหน่วยงาน

ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว   และมีประสิทธิภาพ

- เจ้าหน้าที่มีทักษะความรู้เกี่ยวกับการให้บริการขององค์กร

- ต้องการให้เจ้าหน้าที่มีพฤติกรรมบริการที่ดี

- ต้องการความทันสมัยของเครื่องมือ อุปกรณ์

ที่เพียงพอและพร้อมใช้งาน

- ต้องการการประชาสัมพันธ์ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

และสม่ำเสมอ

- มีการประสานงานหรือสัมพันธภาพที่ดีระหว่างหน่วยงาน

- แบบสอบถาม

- การสัมภาษณ์

- การพูดคุยกับผู้ประสานงาน

ง.   ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ

            ให้บริการแก่ลูกค้าภายใน ภายนอก บริษัทและโรงพยาบาลคู่สัญญาให้ได้รับบริการ ด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว พร้อมทั้งสร้างพึงพอใจประทับใจ ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรอย่างสูงสุด

จ. ความท้าทาย ความเสี่ยงสำคัญ

1. การประกาศเสียงตามสาย ผิดพลาด /ล่าช้าส่งผลต่อบริการดูแลรักษารักษา

2. การให้บริการด่านหน้าช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา แนะนำ ยังเป็นแบบเชิงรับเป็นส่วนใหญ่

3. การติดต่อทำสัญญา Contract และ Supra Contractor กับโรงพยาบาลและบริษัทคู่สัญญาล่าช้า

4. พฤติกรรมบริการไม่สุภาพ ในเรื่องของการสื่อสาร การพูดจาตอบข้อซักถามไม่เหมาะสม ขาดความกระตือรือร้นในการให้บริการ

5. พนักงานบริการด่านหน้ามีการลาออกบ่อย ทำให้การฝึกและพัฒนางานเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง

ฉ.   ปริมาณงานและทรัพยากร (คน เทคโนโลยี เครื่องมือ)

                 ภาระงานหลักที่สำคัญ

ปี 2554

ปี 2555

ปี 2556

ปี 2557

1.การให้บริการโอเปอเรเตอร์

       

   -ประกาศเสียงตามสาย

139,002

100,241

97,058

35,073

   -ต่อออกมือถือ

100,378

114,162

100,323

46,987

   -ต่อออกสายนอก

14,899

21,241

13,149

5,258

   -เลื่อนนัดคนไข้

11,011

6,466

3,978

4,090

2.สรุปสถิติการให้บริการต้อนรับ อำนวยความสะดวก ตอบข้อซักถามและข้อสงสัย ให้กับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย บุคคลทั่วไป

-

309,193

317,622

79,526

3.สรุปสถิติการให้บริการแขก VIP

190

245

378

189

4.จำนวนคู่สัญญา โรงพยาบาลและบริษัทคู่สัญญา

29

33

28

38

5.การออกพื้นที่ชุมชนสัมพันธ์

12

12

-

 

6.ทำประชาสัมพันธ์ห้องสวนหัวใจและหลอดเลือด เครื่อง HIFU และการฝังเข็ม

-

-

40 รพ.

 

ด้านผู้ปฏิบัติงาน

          งานการตลาดและลูกค้าสัมพันธ์มีจำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงานทั้งสิ้น จำนวน 16 คน พนักงาน Full Time จำนวน 6 คน พนักงาน Part Time จำนวน 11 คน (พนักงานประชาสัมพันธ์ 3 คน, พนักงานบริการด่านหน้า 7 คน, เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ 1 คน)

ชื่อ – สกุล

วุฒิการศึกษา

ตำแหน่ง

หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก

1.น.ส.สมปอง ประดับมุข

ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ

สาขา การตลาด

หัวหน้างาน

ลูกค้าสัมพันธ์

(นักการตลาด)

-ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

-ควบคุมดูแลและตรวจสอบการให้บริการภายในหน่วยงาน

-จำทำและบริหารโครงการของหน่วยงาน

-ให้คำแนะนำและความรู้ด้านการจัดกิจกรรมการตลาด

-กำกับ ดูแลและติดตามบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์

2.น.ส.รักษิณา สุขสมทิพย์

ปริญญาตรี

ศิลปะศาสตร์

สาขา วัฒนธรรมศึกษา

นักประชาสัมพันธ์

-ดูแล รับผิดชอบงานด้านการตลาด

- ประสานงานโรงพยาบาลและบริษัทคู่สัญญา

-ประสานงานโครงการที่หน่วยงานจัดขึ้น /กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงาน

- ทำประชาสัมพันธ์ในเรื่องใหม่ๆ หรือกิจกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้นในองค์กร

- สรุปกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้น

3.น.ส.กาญจน์สุดา ครุธฉ่ำ

ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ

สาขา การจัดการทั่วไป

พนักงาน

ลูกค้าสัมพันธ์

-ให้บริการต้อนรับด่านหน้า

-ต้อนรับแขก VIP

-ดูแลบอร์ดรายนามผู้บริจาค

-รับบริจาคเงิน/บริจาคร่างกาย

-สรุปสถิติการให้บริการแขก VIP

-ควบคุมดูแล แก้ปัญหาในหน่วยต้อนรับและรับโทรศัพท์

4.น.ส.อรชร มังสังข์

ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ

สาขา การจัดการทั่วไป

ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

-รับผิดชอบการควบคุม ดูแล ประเมินให้คำปรึกษาแนะนำ และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยบริการด่านหน้า

5.น.ส.วันวิสา มูฮำหมัด

ปวส.คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

-ธุรการงานลูกค้าสัมพันธ์

6.นางอนงค์ อ่ำสุด

ปวส. การจัดการทั่วไป

พนักงานรับโทรศัพท์

-ให้บริการ รับ-ต่อ-โอนสายโทรศัพท์และประกาศเสียงตามสายพร้อมทั้งจัดเก็บสถิติ

7.น.ส.น้ำทิพย์ ปุ่นจาด

ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ

สาขา การจัดการทั่วไป

พนักงานประชาสัมพันธ์

8.น.ส.อรพรรณ งามสะอาด

ปวส.คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

9.นางสุพรรษา ขุนทอง

ปวช.คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

10.น.ส.สาริสา   ศรีผา

ปวส. คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

พนักงานประชาสัมพันธ์

-ให้บริการต้อนรับด่านหน้า

-ต้อนรับแขก VIP

-ดูแลบอร์ดรายนามผู้บริจาค

-รับบริจาคเงิน/บริจาคร่างกาย

-สรุปสถิติการให้บริการแขก VIP

11.น.ส.วารุณี มูนิคม

ปวส.บริหารธุรกิจ

พนักงานบริการด่านหน้า

-บริการคนไข้

-แก้ไขปัญหาให้คนไข้

-ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

12.น.ส.จันทนี ปิยะ

ปวส.บัญชี

13.เกษทิพย์ ทองเติม

ปวส.สาขาคอมพิวเตอร์

14.น.ส.ปานวดี นพพวง

ปวส.สาขาการโรงแรมและการบริการ

15. นางสาวฉมาสีนี สิงหะแสนยาพงษ์

ปริญญาตรีสาขาศิลปะศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

16. นางสาวศิริวรรณ แสงนิล

ปวส.สาขาการจัดการ

17. นางสาวศุภรัสมิ์   วิชัยรัตน์                          

ปริญญาตรี

สาขาการปกครอง

           บุคลากรในหน่วยงานทุกคนจะปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจหลักที่มอบหมาย นอกจากนั้นบุคลากรทุกคนยังได้รับการฝึกอบรมความรู้พื้นฐานตามที่โรงพยาบาลจัดขึ้น ทั้งในส่วนของงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้บุคลากรทุกคนมีความรู้ ทักษะ ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตามที่องค์กรกำหนด อีกทั้งทางหน่วยงานได้มีการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพ ด้านการให้บริการโดยจัดไปศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชชนนี ณ ศรีราชา เพื่อให้พนักงานได้มีการนำความรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานประจำของแต่ละส่วนงานมากขึ้น

ด้านศักยภาพเครื่องมือ เทคโนโลยี

หน่วยงานมีเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จำเป็นพื้นฐานในการทำงานเพียงพอต่อการใช้งานในช่วงเช้าของแต่ละวัน แต่ในช่วงบ่ายมีเจ้าหน้าที่เข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงานเพิ่มขึ้น ทำให้เครื่องมือและอุปกรณ์สำนักงานไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และบางครั้งอาจเกิดการติดขัด ใช้การได้เต็มประสิทธิภาพเนื่องจากมีอายุการใช้งานที่นานตามรายละเอียดดังแนบ คือ

ลำดับ

             รายการเครื่องมือ/อุปกรณ์

         จำนวน

         อายุการใช้งาน

   1.

เครื่องโทรศัพท์ระบบ Call Center

5 เครื่อง

อายุการใช้งานประมาณ 5 ปีขึ้นไป

2.

เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบ Call Center

3 เครื่อง

อายุการใช้งานประมาณ 5 ปีขึ้นไป

3.

ไมโครโฟนประกาศเสียงตามสาย

2 อัน

อายุการใช้งานประมาณ 3 ปีขึ้นไป

   4.

เครื่องคอมพิวเตอร์สำนักงาน

3 เครื่อง

อายุการใช้งานประมาณ 5 ปีขึ้นไป

   6.

เครื่องโทรศัพท์สำนักงาน

3 เบอร์

อายุการใช้งานประมาณ 5 ปีขึ้นไป

7.

เครื่องพิมพ์ขาว-ดำ

2 เครื่อง

อายุการใช้งานประมาณ 5 ปีขึ้นไป

8.

เครื่อง Fax

1 เครื่อง

อายุการใช้งานประมาณ 3 ปีขึ้นไป

9.

เครื่องพิมพ์สี All in one

1 เครื่อง

อายุการใช้งานประมาณ 1 ปีขึ้นไป

ข้อจำกัดด้านเครื่องมือ เทคโนโลยี:

      - เครื่องคอมพิวเตอร์                                                         จำนวน 3 เครื่อง

- กล้องถ่ายภาพนิ่ง                                                           จำนวน 1 เครื่อง

2.กระบวนการสำคัญ (Key Processes)

กระบวนการสำคัญ

(Key Processes)

สิ่งที่คาดหวัง

จากกระบวนการ

(Process Requirement)

ความเสี่ยง /ปัญหา /โอกาสพัฒนา

ตัวชี้วัดสำคัญ

(Performance Indicator)

1. การให้บริการประกาศเสียงตามสาย ต่อ โอน สายโทรศัพท์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

- ความถูกต้อง รวดเร็ว เพื่อให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจอย่างสูงสุด

- การต่อเบอร์ผิด การโอนสายผิด การประกาศเสียงตามสายผิดพลาด

- อัตราการถูกต้องในการให้บริการ > 95%

-ระยะเวลาในการต่อ/โอน/ประกาศเสียงตามภายใน 1 นาที70%

2.การให้บริการต้อนรับ ให้คำแนะนำ การตอบข้อซักถาม ให้คำปรึกษา กับผู้รับบริการ

- ความถูกต้อง กระบริการด้วยอัธยาศัยไมตรีที่ดี เพื่อให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจอย่างสูงสุด

- ขาดความกระตือรือร้นและการให้ข้อมูลไม่ชัดเจน / ผิดพลาด

- ความพึงพอใจของผู้รับบริการภายนอกต่อระบบให้บริการด่านหน้า > 90 %

3.การติดต่อทำสัญญา Contract และ Supra Contractor กับโรงพยาบาลและบริษัทคู่สัญญา

- ความถูกต้อง รวดเร็วในการประสานงานกับบริษัทและโรงพยาบาลคู่สัญญา เพื่อรักษาสิทธิของผู้รับบริการอย่างสูงสุด

-การติดต่อประสานงานและการพิจารณารวมถึงจัดทำสัญญาล่าช้า

-ร้อยละการทำสัญญาแล้วเสร็จภายในกำหนด 30 วันนับจากวันรับเอกสารเข้าหน่วยงาน 100 % (ปี2557)

 

3.ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Performance Indicator)

ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

ระดับที่ปฏิบัติได้ (ปีงบประมาณ)

2554

2555

2556

2557

(ต.ค.56-มี.ค.57)

1.อัตราความถูกต้องในการให้บริการ

95 %

92 %

92.93%

97.93 %

92.67%

2.การประกันระยะเวลา การต่อสาย ภายในระยะเวลา 1 นาที

95 %

100 %

3นาที

100 %

3นาที

100 %

3นาที

100 %

1นาที

3.ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อพนักงานบริการด่านหน้า

90%

92%

98%

98.10%

97.71%

4.ร้อยละการทำสัญญาแล้วเสร็จภายในกำหนด 30 วัน

100 %

4 เดือน

4 เดือน

4 เดือน

 

4. กระบวนการหรือระบบงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ

          4.1 ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (อ้างถึง CPG, Care Map, WP, WI)

            - มีการพัฒนาคุณภาพด้านการตรวจสอบความถูกต้องในการให้บริการ ต่อสายและประกาศเสียงตามสาย โดยการให้พนักงานรับโทรศัพท์มีการทวนคำถามเกี่ยวกับ เบอร์โทรและชื่อผู้รับบริการทุกครั้ง

            4.2 การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

            - ทางหน่วยงานกำลังพัฒนาด้านการประกันเวลาการต่อสาย ภายใน 1 นาที โดยให้พนักงานรับโทรศัพท์ตระหนักในหน้าที่ เมื่อรับสายและทวนสอบแก่ผู้รับบริการแล้ว ให้รีบดำเนินการต่อสายให้ถูกต้องและรวดเร็ว และลงสถิติการรับโทรศัพท์เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานต่อไป

            - ทางหน่วยงานกำลังพัฒนาด้านการให้บริการของพนักงานบริการด่านหน้า โดยการให้พนักงานเดินเข้าหาผู้รับบริการเพื่อสอบถามและให้ความช่วยเหลือ และมีพนักงานประจำเคาร์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่ เวลา 08.00 น.- 16.00 น. เพื่อคอยให้ความช่วยและให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการ

5.แผนการพัฒนาต่อเนื่อง (เพื่อตอบสนอง 1. ตัวชี้วัดที่ไม่บรรลุเป้าหมาย, ความท้าทายสำคัญของหน่วยงาน, ความเสี่ยงสำคัญที่ยังเป็นปัญหา)

                - ทางหน่วยงานมีการจัดทำ CQI เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำสัญญา Supra Contractor 2/2557 ซึ่งจากการทบทวนการทำสัญญาที่รอบปีที่ผ่านมาพบว่า ยังมีความล่าช้า ทางหน่วยงานจึงมีการจัดทำ CQI เรื่องนี้ขึ้นโดยจะมีการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการทำสัญญาให้มีความถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 30 วันนับจากวันที่รับหนังสือเข้าหน่วยงาน.