พิธีเจริญพระพุทธมนต์ งานแต่ง

การจัดพิธีแต่งงานแบบไทย

การแต่งงานเป็นงานมงคลงานหนึ่งของชีวิต เป็นการประกาศอย่างเป็นทางการว่าคู่รักจะเริ่มต้นใช้ชีวิตร่วมกันนับจากนี้ จึงเป็นงานที่มีความสำคัญมาก และงานแต่งงานแต่ละแบบก็มีรายละเอียดแตกต่างกันส่วนใหญ่อิงตามศาสนาที่บ่าวสาวนับถือ รวมถึงประเพณีของชนชาตินั้นๆ ซึ่งการจัดพิธีแต่งงานแบบไทย มีพิธีทางศาสนาพุทธเพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย และคู่บ่าวสาวจะแต่งชุดไทยตามประเพณี ทำให้การจัดพิธีแต่งงานแบบไทยเป็นงานที่มีเสน่ห์ มีความละเอียดลออ โดยมีประเพณีและขั้นตอนดังนี้

ประเพณีและขั้นตอนการจัดพิธีแต่งงานแบบไทย

1.พิธีสงฆ์ช่วงเช้า

พิธีเจริญพระพุทธมนต์และตักบาตร หรือพิธีสงฆ์ช่วงเช้า จะทำในช่วงเช้าหรือช่วง 11 โมงเพื่อเลี้ยงพระฉันเพลก็ได้ แล้วแต่ฤกษ์ยามที่ต้องการ  โดยจะทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ก่อน เป็นการกราบไหว้พระสงฆ์และสวดมนต์ และพระสงฆ์จะทำน้ำพระพุทธมนต์ ตามด้วยถวายภัตตารหารแด่พระสงฆ์ จากนั้นเมื่อพระฉันเสร็จจะมีการประพรมน้ำมนต์และเจิมหน้าผากเจ้าบ่าวจ้าวสาว

2.พิธีแห่ขันหมาก

พิธีแห่ขันหมาก ฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดขันหมากและเคลื่อนขบวนขันหมาก เพื่อสู่ขอเจ้าสาว การแห่ขันหมากจะเริ่มแห่ตามฤกษ์ยามที่กำหนดไว้ ส่วนฝ่ายเจ้าสาวจะมีตัวแทนถือพานเชิญขันหมาก เพื่อต้อนรับขบวนขันหมากของเจ้าบ่าว แต่บางท้องที่เจ้าบ่าวอาจรอที่บ้านฝ่ายหญิงอยู่ก่อนแล้วเพื่อทำพิธีไหว้ผีงานแต่ง หรือ เซ่นผีงานแต่ง

3.พิธีตรวจนับสินสอด

การให้สินสอด ฝ่ายเจ้าบ่าวจะมีการมอบสินสอดให้กับครอบครัวฝ่ายหญิง เพื่อเป็นการขอบคุณที่ครอบครัวได้เลี้ยงดูฝ่ายหญิงมาตลอด และแสดงให้เห็นว่าเจ้าบ่าวสามารถดูแลเจ้าสาวได้ โดยทางฝ่ายหญิงจะเตรียมผ้าแดง หรือผ้าเงิน ผ้าทอง เพื่อนำมาเป็นผ้าห่อสินสอด พร้อมกับนำผ้ามาห่อพานรับสินสอดไว้ด้วย ตามด้วยการเตรียมข้าวตอก ถั่ว งา ดอกดาวเรือง และดอกบานไม่รู้โรย ในส่วนของลำดับขั้นตอน เริ่มจากการที่เถ้าแก่ฝ่ายชายแกะผ้าห่อพาน ฝ่ายหญิงนำผ้าห่อสินสอดวางบนพาน แล้วเถ้าแก่ฝ่ายชายจึงหยิบใบเงิน ใบทอง ใบนากวางเรียงไว้ และวางธนบัตร แก้ว แหวน และทองลงไปตามลำดับ จากนั้นจะเริ่มทำการตรวจนับสินสอดตามธรรมเนียม ซึ่งฝ่ายชายนิยมใส่สินสอดเกินจากที่ตกลงกันไว้ เพื่อเป็นเคล็ดให้บ่าวสาวอยู่ด้วยกันแล้วเงินงอกเงย ปิดท้ายด้วยการโปรยถั่ว งา ข้าวตอก ดอกไม้ ใบเงิน ใบทอง ลงบนสินสอดเพื่อเป็นการอวยพรให้บ่าวสาว

4.พิธีสวมแหวน

พิธีสวมแหวน เจ้าบ่าวเจ้าสาวแลกแหวนแต่งงานเมื่อถึงฤกษ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่เหมาะกับการถ่ายรูปเป็นที่ระลึก เพราะเป็นการสวมแหวนท่ามกลางแขกเหรื่อที่มาร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีมงคลสมรส ส่วนวิธีการคือเจ้าบ่าวสวมแหวนให้เจ้าสาวก่อน เมื่อสวมแล้วเจ้าสาวก้มกราบเจ้าบ่าว จากนั้นฝ่ายหญิงสวมแหวนให้เจ้าบ่าว แล้วทั้งคู่ก้มกราบบิดามารดา

5.พิธีรดน้ำสังข์

พิธีรดน้ำสังข์ บ่าวสาวต้องนั่งที่ตั่ง โดยเจ้าสาวต้องนั่งฝั่งซ้ายของเจ้าบ่าว มีการสวมมงคลแฝดบนศีรษะของบ่าวสาวและเจิมหน้าผาก จากนั้นแขกจะร่วมพิธีรดน้ำสังข์ตามลำดับความอาวุโส และมอบคำอวยพรให้กับเจ้าบ่าว และเจ้าสาว

6.พิธีส่งตัว

พิธีส่งตัว ผู้ใหญ่จะมาทำพิธีปูที่นอนในเรือนหอให้ บนเตียงจะมีหมอนสองใบและข้าวของประกอบพิธี คือ หินบดยา ฟักเขียว พานใส่ถุงข้าวเปลือก งา ขันใส่น้ำฝน เป็นอันเสร็จพิธี แล้วจึงเป็นการเลี้ยงอาหารแขกที่มาร่วมงานมงคลสมรส

ปัจจุบันอาจมีการลดทอนรายละเอียดบางอย่างลงเพื่อให้เข้ากับงบประมาณ แต่ยังคงพิธีสงฆ์เพื่อให้เป็นสิริมงคลไว้

รายละเอียดแพ็คเกจงานแต่งงานแบบไทย

แพ็คเกจงานหมั้นแบบไทย 79,000.- บาท
จำนวนผู้ร่วมงานสูงสุด 50 ท่าน
(หากจำนวนผู้เข้าร่วมงานเกิน 50 ท่าน มีค่าใช้จ่ายท่านละ 600 บาทต่อคน)

แพ็คเกจงานหมั้นแบบไทย ครอบคลุมบริการดังต่อไปนี้

  • โซฟาตั้งบนเวทีสำหรับ 8 ท่าน
  • โต๊ะสำหรับวางขันหมาก
  • การจัดที่นั่งสำหรับแขก
  • สแตนด์ตกแต่งดอกไม้ 2 อัน
  • ช่อดอกไม้สำหรับเจ้าสาว
  • เข็มกลัดติดหน้าอกสำหรับครอบครัวและแขก VIP 8 ท่าน
  • ฉากหลังมาตรฐานบนเวทีพร้อมป้ายชื่อโลโก้บ่าวสาว
  • ระบบเสียงตามมาตรฐาน (ดนตรีประกอบและไมโครโฟน)
  • อภินันทนาการห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าในสถานที่
  • กาแฟ ชา และเครื่องดื่มสมุนไพร 1 ชนิด สำหรับ 50 ท่าน 
  • ของว่าง 3 รายการ สำหรับ 50 ท่าน
  • พักฟรี 1 คืนในห้อง Superior รวมอาหารเช้าสำหรับ 2 ท่านและการตกแต่งห้องสำหรับคู่บ่าวสาว

หมายเหตุ

  • เวลาในการใช้ห้องระหว่างเวลา 06:00 น. – 12:00 น.
  • ราคาข้างต้นรวมค่าบริการ 10% และภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลบังคับใช้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 7%

ดาวน์โหลดแพ็คเกจแต่งงาน

พิธีเจริญพระพุทธมนต์ งานแต่ง

พิธีสงฆ์งานแต่ง ทําอะไรบ้าง

08:00 น. พิธีแห่ขันหมาก 08:30 น. พิธีหมั้น และกราบผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย 09:00 น. พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ (โดยใช้น้ำพระพุทธมนต์จากพระสงฆ์ในช่วงเช้า) 09:30 น. เสร็จพิธี ญาติ เพื่อนฝูงที่มาช่วยงาน รับประทานอาหารตามอัธยาศัย

พิธีสงฆ์ในงานแต่งต้องเตรียมอะไรบ้าง

- ชุดโต๊ะหมู่บูชา - แจกันดอกไม้ 2 ชุด ธูป 3 ดอก เทียนสีเหลือง 2 เล่ม เทียนต่อ 1 เล่ม - เชิงเทียน และกระถางธูป - ด้ายสายสิญจน์สำหรับทำพิธี และสายสิญจน์ที่ทำเป็นมงคลคู่ หรือมงคลแฝด

พิธีของสงฆ์ มีอะไรบ้าง

สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์มีขั้นตอนดังนี้ เมื่อพระสงฆ์มาถึงและนั่งที่อาสนะแล้ว คู่บ่าวสาวจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย (เจ้าบ่าวนั่งทางฝั่งขวามือของเจ้าสาว) อาราธนาศีล และรับศีล 5 รวมไปจนถึงการถวายขันและเทียนเพื่อให้พระสงฆ์ทำน้ำพระพุทธมนต์.
พิธีแห่ขันหมาก ... .
พิธีสู่ขอและตรวจนับสินสอด ... .
พิธีหมั้น.

ตักบาตรงานแต่งตอนไหน

1. พิธีสงฆ์ เพื่อเริ่มต้นชีวิตคู่ด้วยความเป็นสิริมงคลโดยถือคติ “ทำบุญร่วมชาติ ตักบาตรร่วมขัน” สำหรับพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และตักบาตร จะทำในช่วงเช้า หรือ ช่วง 11 โมง และเลี้ยงพระฉันท์เพลก็ได้ แล้วแต่เวลาฤกษ์ยาม ส่วนขั้นตอนพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ในลำดับพิธีงานแต่งงาน มีดังนี้