รูป แบบ การจัดพิธี ไหว้ครู แบ่ง ออกเป็น กี่ ลักษณะ

การจัดพิธีไหว้ครูนั้นมักนิยมจัดกันในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครูอันเกี่ยวข้องกับตำนานเทพเจ้าพระพฤหัสบดี ในปัจจุบันบางครั้งก็นิยมจัดกันในวันอาทิตย์ได้อีก 1 วัน แต่ไม่ว่าจะจัดวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์ จะต้องไม่ตรงกับวันพระเพราะถือว่าครูจะไม่ลงมา และหาซื้อเครื่องสังเวยลำบาก เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครูตามแบบโบราณนั้น นิยมประกอบพิธีในเดือนที่เป็นเลขคู่ ยกเว้นเดือน 9 เดือนเดียวที่อนุโลม เพราะถือเป็นเคล็ดว่าเป็นเลขที่ดีก้าวหน้า และมักทำกันในวันข้างขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวันฟู ข้างแรมอันถือว่าเป็นวันจมไม่นิยมประกอบพิธีกัน

ความมุ่งหมายพิธีไหว้ครู
๑. เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ปรมาจารย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ศิษย์
๒. เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียนนาฎศิลป์เป็นอย่างดี เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว
๓. เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ หากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม
๔. เพื่อไว้สำหรับต่อท่ารำที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า เพลงหน้าพาทย์บางเพลงจะต้องต่อท่ารำในพิธีไหว้ครู จึงจะเกิดเป็นสิริมงคลทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
๕. เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ระลึกถึงครู อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม อยู่ในศีลธรรมจรรยา ตั้งตนอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์

ประโยชน์ที่ได้รับจากพิธีไหว้ครู
๑. สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน
๒. สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมา ไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจ โดยไม่ต้องกลัวว่า “ผิดครู”
๓. เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออกไม่เก็บตัว
๔. ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน
๕. เกิดความสบายใจหากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไป ก็จะได้เป็นการขอขมาครูไปด้วย


การตั้งเครื่องบูชาและเครื่องสังเวย

– ที่สำหรับครูปัธยาย จัดเครื่องสังเวยของสุกและเป็นเครื่องคู่ (คือสิ่งละ ๒ ที่)
– ที่สำหรับครูดนตรีอยู่ทางขวามือ จัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องคู่
– ที่องค์พระพิราพทางด้านซ้ายมือ จัดเครื่องสังเวยของดิบเป็นเครื่องคู่
– ที่พระภูมิจัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องเดี่ยว
– ที่ตรงหน้าเครื่องปี่พาทย์วงที่ใช้บรรเลงในพิธี จัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องเดี่ยว

รายละเอียดสังเวย มีดังนี้

บายศรีปากชาม ๔ คู่ หัวหมูสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่
มะพร้าวอ่อน ๔ คู่ เป็ดสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่
กล้วยน้ำ ๔ คู่ ไก่สุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่
ผลไม้ ๗ อย่าง ๔ คู่ กุ้งสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่
อ้อยทั้งเปลือก ๑ คู่ ปลาสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่
เผือก มัน ถั่ว งา นม เนย ๔ คู่ ปูสุก ๓ คู่ ดิบ ๑ คู่
เหล้า ๔ คู่ หัวใจ ตับ หมูดิบ ๑ คู่
เครื่องกระยาบวช ๔ คู่ ไข่ไก่ดิบ ๑ คู่
ขนมต้มแดง ขาว ๔ คู่ หมูหนาม ๔ คู่
เครื่องจิ้ม ๔ คู่ ข้าวเหนียวหน้าเนื้อ หรือมะตะบะ ๑ คู่
หมาก พลู บุหรี่ ไม้ขีดไฟ ๔ คู่ น้ำเย็น ๔ คู่
บุหรี่ กับ ชา ๔ คู่

จัดสิ่งของเหล่านี้ให้ครบไม่ขาดไม่เกิน นอกจากเครื่องบูชาและเครื่องสังเวยแล้ว ยังมีเครื่องกำนล ประกอบด้วย ขัน ๑ ใบ เงิน ๖ บาท ผ้าห่มหรือผ้าเช็ดหน้า ๑ ผืน เทียนขี้ผึ้งขาว ๓ เล่ม ดอกไม้ ธูป บุหรี่ ไม้ขีดไฟ และหมากพลู ๓ คำ ใช้ทั้งประธานในพิธีและผู้เข้าครอบครู

พิธีไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู การไหว้ครูเป็นการแสดงตนว่าขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง

การไหว้ครูมีใช้ในหลายกิจกรรม เช่น การไหว้ครูในโรงเรียน พิธีกรรมของโรงเรียนในวันครู การไหว้ครูมวย เป็นการไหว้ครูด้วยลีลาของศิลปะมวยไทย เช่นเดียวกับกระบี่กระบอง การไหว้ครู ก่อนการแสดงศิลปะดนตรี เช่น หนังตะลุง และการไหว้ครูในงานประพันธ์ เรียกว่า บทไหว้ครู หรือ อาเศียรวาท (อาเศียรพาท ก็ว่า) เป็นการกล่าวระลึกถึงบุญคุณครู และขอความเป็นมงคล

คำกล่าวไหว้ครู

               (นำ) ปาเจราจริยาโหนติ  คุณุตตรานุสาสกา

     สวดทำนองสรภัญญะ

                  ข้าขอประณตน้อมสักการ(รับพร้อมกัน)    บูรพคณาจารย์     ผู้กอรปประโยชน์ศึกษา

                  ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา                          อบรมจริยา

          แก่ข้าในกาลปัจจุบัน

                  ข้าขอเคารพอภิวันท์                           ระลึกคุณอนันต์

          ด้วยใจนิยมบูชา

                  ขอเดชกตเวทิตา                                อีกวิริยะพา

          ปัญญาให้เกิดแตกฉาน

                  ศึกษาสำเร็จทุกประการ                        อายุยืนนาน

          อยู่ในศีลธรรมอันดี

                  ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี                        ประโยชน์ทวี

          แก่ชาติและประเทศไทยเทอญ ฯ

               (นำ) ปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง

ความหมาย

       ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา

       ครูอาจารย์เป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง   เป็นผู้พร่ำสอนศิลปวิทยา

       ปัญญาวุฒิ กเร เตเต ทินโนวาเท นมามิหัง

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมเหล่านั้น ผู้ให้โอวาท ผู้ทำให้ปัญญาเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ

พิธีไหว้ครูในโรงเรียน โดยปรกติสถานศึกษามักจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีวันใดวันหนึ่งในราวเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน ดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครูในพิธีไหว้ครูนับตั้งแต่สมัยก่อน จะใช้ดอกไม้หลัก 3 อย่างในการทำพาน ซึ่งดอกไม้ ความหมายในการระลึกคุณครู ได้แก่

1. หญ้าแพรก สื่อถึง ขอให้เรียนได้เร็วเหมือนหญ้าแพรก ที่โตได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำดุด่าของครูบาอาจารย์

2. ดอกเข็ม สื่อถึง ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม

3. ดอกมะเขือ สื่อถึง การเปรียบเทียบว่า มะเขือนั้น จะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึง นักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง

4. ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อนๆ ให้ร้อนเสมอกันจนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนมต่างๆได้ ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก

วิธีจัดงานการพิธีไหว้ครู ตามแบบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ จะต้องเตรียมสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

สถานที่

1. โต๊ะหมู่บูชา โดยตั้งไว้ที่สูงบนเวทีชิดด้านหลัง ข้างหน้ามีกระถางดอกไม้และธูปเทียน และ โต๊ะ เพื่อวางพานดอกไม้และธูปเทียนที่นำมาบูชา

2. หนังสือ เพื่อให้ประธานเจิม โดยเอาหนังสือวางไว้บนพาน บนโต๊ะเล็กหน้าที่บูชา

3. ที่นั่งประธาน และ คณาจารย์ จัดไว้ข้าง ๆ ที่บูชา

4. ที่นั่งสำหรับนั่งเรียน

สิ่งที่ต้องเตรียมในการไหว้ครู

1. พานดอกไม้ ประกอบด้วยพืชชนิดต่าง ๆ เช่น หญ้าแพรก (หมายถึง การเจริญงอกงามของสติปัญญา) ดอกมะเขือ (หมายถึง การอ่อนน้อมถ่อมตน) ดอกเข็ม (หมายถึง เฉลียวฉลาด) จะใส่เท่าไรก็ตามให้สวยงาม พอควร

การจัดพิธีไหว้ครูแบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ อะไรบ้าง

พิธีไหว้ครู หรือ การไหว้ครู นี้มีหลายอย่าง เช่น การไหว้ครูนาฏศิลป์ ไหว้ครูดนตรี ไหว้ครูโหราศาสตร์ ไหว้ครูแพทย์แผนไทย เป็นต้น ซึ่งแต่ละอย่างก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไป เมื่อเอ่ยถึง พิธีไหว้ครู เรามักจะหมายถึง การไหว้ครูในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำในช่วงเปิดภาคการศึกษา

ข้อใดเป็นวันและเวลาในการกำหนดการจัดพิธีไหว้ครู

การจัดพิธีไหว้ครูนั้น มักนิยมจัดกันในวันพฤหัสบดีซึ่งถือว่าเป็นวันครูอันเกี่ยวข้องกับตำนานเทพเจ้าพระพฤหัสบดี ในปัจจุบันบางครั้งก็นิยมจัดกันในวันอาทิตย์ได้อีก 1 วัน แต่ไม่ว่าจะจัดวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์จะต้องไม่ตรง กับวันพระเพราะถือว่าครูจะไม่ลงมา และหาซื้อเครื่องสังเวยลำบาก เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครูตามแบบโบราณ นั้น ...

ข้อใดคือรูปแบบการจัดพิธีไหว้ครู

เมื่อประธานมาถึง ให้กราบทำความเคารพ จนกว่าคุณครูทุกท่านจะผ่านไปหมดทุกคน.
ให้ประธานจุดธูปเทียน นมัสการพระพุทธรูปที่แท่นหมู่บูชา.
เริ่มพิธีโดยการสวดมนต์ ตามด้วยเจิมหนังสือเพื่อความเป็นสิริมงคล.
หลังจากนั้นกล่าวคาถาไหว้ครู และวรรคแรกของคำไหว้ครู.
เมื่อกล่าวคำไหว้ครูเสร็จแล้ว ให้ว่าคาถาไหว้ครูตอนท้าย.

พิธีไหว้ครูนาฏศิลป์มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

พิธีไหว้ครูโขน ละคร ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๔ ส่วน คือ ครูผู้กระทำพิธีไหว้ครู (ตัวแทนพระภรตฤษี) ศีรษะโขน (ตัวแทนครูโขน ละคร ) เครื่องสังเวย เครื่องเซ่น เครื่องกระยาบวช เครื่องบูชา และปี่พาทย์เครื่องใหญ่ หรือ ปี่พาทย์เครื่องคู่ การไหว้ครูนาฏศิลป์ โขน ละครนั้น มีพิธีถึง ๓ ขั้นตอน คือ พิธีไหว้ครู พิธีครอบครู และพิธีรับมอบ ...