ประโยชน์ของการรับรู้ระยะไกล คือ

มิตรชาวไร่ทราบไหมครับว่า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการสำรวจข้อมูลระยะไกล หรือ Remote Sensing (RS) ที่ช่วยด้านการวัดและตรวจวิเคราะห์ข้อมูล เช่น วิเคราะห์ภาพถ่าย ดัชนีพืชพรรณ จำนวนลำต้น แสดงข้อมูลสภาพการเพาะปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน การตรวจวิเคราะห์ดิน การวัดปริมาณผลผลิต เพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งประโยชน์ที่ได้ส่วนมากเกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรมครับ ไปติดตามกันครับว่า เจ้า RS หรือ รีโมทเซนซิงนี้คืออะไร

การสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เป็นการสำรวจจากระยะไกลโดยที่เครื่องมือวัดไม่มีการสัมผัสกับสิ่งที่ต้องการตรวจวัดโดยตรง สำรวจโดยให้เครื่องวัดอยู่ห่างจากสิ่งที่ต้องการตรวจวัด อาจติดตั้งเครื่องวัด เช่น กล้องถ่ายภาพ ไว้ยังที่สูง บนบอลลูน บนเครื่องบิน ยาวอวกาศ หรือดาวเทียม แล้วอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ หรือสะท้อนมาจากสิ่งที่ต้องการสำรวจเป็นสื่อในการวัด

การสำรวจโดยใช้วิธีนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ในบริเวณที่กว้างกว่าการสำรวจภาคสนาม และไม่จำเป็นที่ต้องสัมผัสกับวัตถุตัวอย่าง เช่น เครื่องบินสำรวจเพื่อถ่ายภาพในระยะไกล การใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรทำการเก็บข้อมูลพื้นผิวโลกในระยะไกล

รีโมทเซนซิง (Remote Sensing) ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศหลายด้านแล้วนะครับ ซึ่งเราสามารถประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ เช่น

การประยุกต์ใช้กับที่ดิน

  • ใช้แปลรูปแบบการใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ และนำผลลัพธ์ที่ได้มาจัดทำแผนที่การใช้ที่ดิน
  • ใช้สนับสนุน ติดตามและประเมินแนวโน้มการใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ เช่น ด้านการเกษตร พื้นที่ป่าไม้ เป็นต้น

การเกษตร

  • ภาพถ่ายจากดาวเทียมใช้สำรวจบริเวณพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น พื้นที่ปลูกข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา สัปปะรด อ้อย ข้าวโพด ฯลฯ
  • ผลลัพธ์จากการแปลภาพใช้ประเมินการเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในแง่ปริมาณ ราคา ช่วงเวลา ฯลฯ
  • ติดตามขอบเขตและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าและเขตอนุรักษ์พันธุ์ไม้
  • ประเมินบริเวณพื้นที่ที่เหมาะสม (มีศักยภาพ) ในการปลูกพืชต่าง ๆ เช่น ข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อย เป็นต้น

ป่าไม้

  • ติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้จากการแปลภาพถ่ายจากดาวเทียม เช่น ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน เป็นต้น
  • ผลลัพธ์จากการแปลสภาพพื้นที่ป่า เพื่อสำรวจพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรม
  • ใช้สำหรับ ติดตามพื้นที่ไฟป่าและความเสียหายจากไฟป่า
  • ประเมินพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกป่าทดแทนบริเวณที่ถูกบุกรุกหรือโดนไฟป่า

ธรณีวิทยา

  • ใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมแปลสภาพพื้นที่เพื่อจัดทำแผนที่ธรณีวิทยาและโครงสร้างทางธรณี
    ซึ่งเป็นข้อมูลที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณในการสำรวจ และนำมาสนับสนุนในการพัฒนาประเทศ เช่น เพื่อการประเมินหาแหล่งแร่ แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ แหล่งน้ำบาดาล การสร้างเขื่อน เป็นต้น
  • สนับสนุนการจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ

การวางผังเมือง

  • ภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดสูง เพื่อใช้ติดตามการขยายตัวของเมือง
  • ภาพถ่ายจากดาวเทียมช่วยให้ติดตาม การเปลี่ยนแปลงลักษณะ/รูปแบบ/ประเภทการใช้ที่ดิน
  • ใช้ภาพถ่ายรายละเอียดสูง ติดตามระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบคมนาคมขนส่งทางบก ทางน้ำเป็นต้น
  • ผลลัพธ์จากการแปลภาพถ่ายจากดาวเทียมนำมาใช้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์วิเคราะห์การพัฒนาสาธารณูปการ เช่น การจัดสร้าง/ปรับปรุง สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ดับเพลิง ไปรษณีย์ ห้องสมุด สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ เป็นต้น

สิ่งแวดล้อม

  • ใช้แปลสภาพทรัพยากรชายฝั่งที่เปลี่ยนแปลง เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิเคราะห์การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง เช่น การพังทลายของดินชายฝั่ง การทำลายป่าชายเลน การทำนากุ้ง การอนุรักษ์ปะการัง เป็นต้น
  • ภาพถ่ายจากดาวเทียมในช่วงคลื่น visible ช่วยในการ ศึกษา/ติดตาม/ตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำ
  • ผลลัพธ์จากการแปลภาพนำมาประกอบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการวิเคราะห์ความรุนแรงของปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางด้านน้ำ อากาศ เสียง ขยะ และสารพิษรีโมทเซนซิงจึงช่วยสนับสนุนการวางแผนพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ รีโมทเซนซิง ยังใช้ในเรื่องวิเคราะห์สภาพน้ำ คาดการณ์การเกิดอุทกภัย และอื่น ๆ อีกมากมาย เห็นแบบนี้แล้ว อย่าเพิ่งท้อกับการเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องนะครับ เชื่อเถอะครับว่า นวัตกรรมเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติแน่นอน ในเมื่อการพัฒนาไม่มีวันหยุดนิ่ง เราก็ไม่ควรหยุดนิ่งเหมือนคนไม่อยากพัฒนานะครับ.

ขอบคุณที่มา : https://knowledgeofrs.weebly.com/ , http://www.gisthai.org/about-gis/remote-sensing.html

การรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing : RS)

1. พื้นฐานการรับรู้จากระยะไกล

  • ความหมายของการรับรู้ระยะไกล
  • กระบวนการและองค์ประกอบการรับรู้จากระยะไกล
  • แหล่งพลังงานและหลัการแผ่รังสี
  • ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพลังงานในชั้นบรรยากาศ
  • ปฏิสัมพันธ์ของพลังงานกับรูปลักษณ์พื้นผิวโลก
  • ความสะท้อนเชิงสเปกตรัมของพืชพรรณ ดิน และน้ำ

2. ดาวเทียม (Satellites)

  • ดาวเทียม (Satellites)
  • ประเภทดาวเทียม (Types of satellites)
  • วงโคจรของดาวเทียม (Satellite orbit)
  • วิวัฒนาการของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร
  • ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก(Earth observation satellites)

3. ระบบเครื่องรับรู้ (Sensor Systems)

  • ระบบเครื่องรับรู้แบบกล้องถ่ายรูป (Photographic camera)
  • ระบบเครื่องรับรู้แบบแพสซิฟอิเล็กทรอนิกส์ (Passive electronicsensors)
  • ระบบเครื่องรับรู้แบบแอ็กทิฟอิเล็กทรอนิกส์ (Active electronic sensors)

4. ข้อมูลการรับรู้ระยะไกล (Remotely sensed data)

  • ภาพและโครงสร้างของภาพ
  • การเก็บบันทึกข้อมูลจากดาวเทียม (Satellite data storage)
  • แผนภูมิภาพ (Image histogram)
  • การแสดงภาพบนจอ (Image display)
  • สี (Color)
  • คุณลักษณะข้อมูลจากดาวเทียม

5. การแปลตีความข้อมูลจากดาวเทียมด้วยสายตา (Visual interpretation)

  • การแปลตีความข้อมูลจากดาวเทียมด้วยสายตา (Visual interpretation)
  • กระบวนการก่อนการประมวลผลภาพ (Pre-processing)
  • การเน้นข้อมูลภาพ (Image enhancement)
  • การจำแนกประเภทข้อมูลภาพ (Image classification)

6. เรดาร์ (RADAR)

  • บทนำเรดาร์ (RADAR)
  • พารามิเตอร์ของระบบเรดาร์
  • พารามิเตอร์ด้านสิ่งแวดล้อม/วัตถุเป้าหมาย

7. การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม

  • การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม