ตัวอย่างทักษะการคิดขั้นสูง

สมรรถนะหลัก (Core Competencies) ตาม (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. หมายถึง สมรรถนะที่กำหนดให้เป็นพื้นฐานที่นักเรียนทุกคนต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นความสามารถติดตัวเมื่อจบการศึกษา มีลักษณะเป็นสมรรถนะข้ามสาระการเรียนรู้หรือคร่อมวิชา

สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้ในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลาย หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้สาระต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เป็นสมรรถนะที่มีลักษณะ “content – free” คือ ไม่ขึ้นกับเนื้อหาสาระของศาสตร์ใด ๆ

อย่างไรก็ตามสมรรถนะหลักโดยตัวมันเองไม่ได้ปราศจากความรู้ แต่ความรู้ที่เป็นองค์ประกอบของสมรรถนะหลักจะเป็นองค์ความรู้เชิงกระบวนการ (Procedural Knowledge) ซึ่งเป็นชุดของขั้นตอนหรือการปฏิบัติ

เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของสมรรถนะนั้น ๆ เป็นได้ทั้งกระบวนการที่ใช้เฉพาะศาสตร์หรือบูรณาการข้ามศาสตร์ เช่น ความรู้ที่เป็นองค์ประกอบของสมรรถนะการคิดขั้นสูงเป็นเป็นชุดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดประเภทต่าง ๆ เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงวิพากษ์ และการคิดสร้างสรรค์

ตัวอย่างทักษะการคิดขั้นสูง
ตัวอย่างทักษะการคิดขั้นสูง
สมรรถนะหลัก 6 ด้าน
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2565)

สมรรถนะการคิดขั้นสูง

นิยามสมรรถนะการคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking : HOT)

สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตัดสินใจอย่างมีวิจารญาณบนหลักเหตุผลอย่างรอบด้าน โดยใช้คุณธรรมกำกับการตัดสินใจได้อย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลด้วยความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งที่อยู่ร่วมกันอย่างเป็นระบบ ใช้จินตนาการและความรู้สร้างทางเลือกใหม่ เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างมีเป้าหมาย

องค์ประกอบ

1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking: HOT-CTC) หมายถึง การคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างมีเหตุผลที่มีจุดประสงค์เพื่อตัดสินว่าสิ่งใดควรเชื่อหรือควรกระทำ โดยอาศัยการใช้ทักษะ หรือกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ของผลลัพธ์จากการตัดสินใจที่ดี เช่น ทักษะการตีความ ประเมิน วิเคราะห์ สรุปความ และอธิบาย ตามหลักฐาน แนวคิด วิธีการ กฎเกณฑ์ หรือบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่รวบรวมหรือข้อมูลจากการสังเกต ประสบการณ์ การใช้เหตุผล การสะท้อนคิด การสื่อสาร และการโต้แย้ง

2. การคิดเชิงระบบ (System Thinking: HOT-STM) หมายถึง การคิดที่แสดงให้เห็นโครงสร้างทั้งหมดที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้บริบท/ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่เกิดปัญหานั้น ๆ โดยมองปัญหาให้ลึกลงไปกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้เห็นถึงแบบแผนหรือรูปแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นให้เห็นรากเหง้าของสถานการณ์และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้น ๆ จนเกิดความเข้าใจในสถานการณ์ของระบบนั้นอย่างลึกซึ้ง นำไปสู่การแก้ปัญหาที่รากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง

3. การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking: HOT-CRT) หมายถึง การคิดที่หลากหลายริเริ่ม ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาต่อยอดความคิด เพื่อการแก้ปัญหาหรือสร้างทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ การสร้างความก้าวหน้าในความรู้ หรือการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ โดยอาศัยจินตนาการและทักษะพื้นฐานด้านการคิดริเริ่ม คิดคล่อง คิดยืดหยุ่น คิดละเอียดลออ คิดหลากหลาย คิดวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ที่ดีกว่า แตกต่างไปจากเดิม มีประโยชน์ และมีคุณค่าต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมมากกว่าเดิม

4. การคิดแก้ปัญหา (Problem Solving Thinking: HOT-PRB) หมายถึง การคิดของบุคคลในการระบุปัญหา นิยามปัญหา รวบรวมข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาและดำเนินการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเกณฑ์ที่ชัดเจนและครอบคุลมทุกมิติ

ตัวอย่างทักษะการคิดขั้นสูง


ทักษะการคิดขั้นสูง 

ประกอบด้วย



                                  1.  ทักษะการคิดซับซ้อน    มี 18 ทักษะ ได้แก่                                             

                                                1.ทักษะการให้ความกระจ่าง 
                                                2.ทักษะการสรุปลงความเห็น 
                                                3.ทักษะการให้คำจำกัดความ 
                                                4.ทักษะการจัดระเบียบ 
                                                5.ทักษะการวิเคราะห์ 
                                                6.ทักษะการสังเคราะห์ 
                                                7.ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ 
                                                8.ทักษะการสร้างความรู้ 
                                                9.ทักษะการจัดโครงสร้าง 
                                                10.ทักษะการปรับโครงสร้าง 
                                                11.ทักษะการหาแบบแผน 
                                                12.ทักษะการพยากรณ์ 
                                                13.ทักษะการหาความเชื่อพื้นฐาน 
                                                14.ทักษะการตั้งสมมติฐาน 
                                                15.ทักษะการพิสูจน์ความจริง 
                                                16.ทักษะการทดสอบสมมติฐาน 
                                                17.ทักษะการตั้งเกณฑ์   
                                                18.ทักษะการประเมิน 

                  2.  ทักษะพัฒนาลักษณะการคิด    มี 9 ทักษะ ได้แก่ 

                                               1.ทักษะการคิดคล่อง 
                                               2.ทักษะการคิดหลากหลาย 
                                               3.ทักษะการคิดละเอียด 
                                               4.ทักษะการคิดชัดเจน 
                                               5.ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล 
                                               6.ทักษะการคิดถูกทาง 
                                               7.ทักษะการคิดกว้าง 
                                               8.ทักษะการคิดไกล 
                                               9.ทักษะการคิดลึกซึ้ง 

                  3.  ทักษะกระบวนการคิด มี 5 ทักษะ ได้แก่ 

                                               1.ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 
                                               2.ทักษะกระบวนการคิดตัดสินใจ 
                                               3.ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา
                                               4.ทักษะกระบวนการวิจัย 
                                               5.ทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์   



ตัวอย่างทักษะการคิดขั้นสูง


ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน มีอะไรบ้าง

1) ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน (Basic Thinking Skills) หมายถึง ทักษะการคิดที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นต่อการคิดใน ระดับที่สูงขึ้น ซับซ้อนขึ้นซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทักษะการสื่อ ความหมายที่บุคคลทุกคนจ าเป็นต้องใช้ในการสื่อสารความคิด ของตนได้แก่ ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน

ทักษะการคิดมีกี่ระดับ

1.ระดับขั้นพื้นฐาน เรียกว่า ทักษะการคิด 2.ระดับขั้นกลาง เรียกว่า ลักษณะการคิด 3.ระดับขั้นสูง เรียนว่า กระบวนการคิด ทักษณะการคิดหมายถึง พฤติกรรมการคิด ที่มีลักษณะ

ลักษณะการคิดพื้นฐานกับการคิดชั้นสูงแตกต่างกันอย่างไร

Smith (1992) ได้อธิบายความแตกต่างของการคิดขั้นพื้นฐาน และการคิดขั้นสูง สรุปได้ว่า การคิดขั้นพื้นฐานเป็นการคิดแบบธรรมดาทั่วๆ ไป เป็นการกระท าที่เป็นนิสัย ขาดการไตร่ตรอง ท าได้ ง่ายๆ โดยไม่ต้องสอน แต่การคิดขั้นสูง เป็นการผสมผสานของคุณลักษณะหรือองค์ประกอบที่ซับซ้อน มากขึ้น เช่น การวางแผน การท านาย การก ากับ การประเมิน และ ...

มิติการคิดมีอะไรบ้าง

1. มิติด้านข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ในการคิด 2. มิติด้านคุณสมบัติที่เอื้ออ านวยต่อการคิด 3.มิติด้านทักษะการคิด 4. มิติด้านลักษณะการคิด 5. มิติด้านกระบวนการคิด 6. มิติด้านการควบคุมการรู้คิดของตนเอง