ภาษี รถยนต์ 4 ประตู เครื่อง 1900 ปี2564

เจ้าของรถยนต์มีหน้าที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ ภาษีรถยนต์ (ค่าต่อทะเบียนรถยนต์) ซึ่งเป็นภาษีที่ต้องชำระเป็นรายปีให้กรมขนส่งทางบก คุณสามารถคำนวณค่าต่อ “ภาษีรถยนต์ 2566” ล่วงหน้าและเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปต่อภาษีรถยนต์ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ดังนี้

  • วิเคราะห์ ค่าภาษีตามฐานเงินเดือน
  • วิเคราะห์ค่าภาษีตามยอดขาย ขายของได้เท่านี้ ต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่?

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับต่อ ภาษีรถยนต์ 2566

  1. ใบคู่มือจดทะเบียน ออกโดยกรมขนส่งทางบก (สมุดเล่มทะเบียนรถ-สีฟ้า)
  2. หลักฐานการทำ “ประกันภัย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” ที่ยังไม่หมดอายุ

หมายเหตุ: กรณีรถยนต์ที่อายุใช้ครบ 7 ปีขึ้นไป ต้องมี 3. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ด้วย

วิธีคำนวณ ภาษีรถยนต์ 2566

อ้างอิงจากอัตราค่าธรรมเนียมและบัญชีอัตราภาษี กรมขนส่งทางบก สรุปได้ดังนี้

1. รถยนต์ทั่วไป (ป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ)

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง 4 ประตู รถสปอร์ต 2 ประตู รถกระบะ 4 ประตู จะคำนวณค่าภาษีรถยนต์ (ค่าต่อทะเบียนรถ) ตามขนาดความจุกระบอกสูบจริง (cc) ตามที่ปรากฏในเล่มทะเบียนรถ โดยคำนวณภาษีเป็นอัตราก้าวหน้าแบบขั้นบันได ดังนี้

กำลังเครื่องยนต์ อัตราภาษีต่อ cc จำนวน cc แต่ช่วงชั้น ภาษีแต่ละช่วงชั้น ภาษีสะสมสูงสุด
600 cc แรก 0.50 600 ฿300 ฿300
ส่วนเกิน 600 cc ถึง 1,800 cc 1.50 1,200 ฿1,800 ฿2,100
ส่วนเกิน 1,800 cc 4.00
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์
ตัวอย่าง 1 รถยนต์ 1,600 cc อายุ 1 ปี
  • 600 cc แรก = ฿300 (จำนวน 600 cc x อัตราภาษี ฿0.50)
  • ส่วนเกิน 600 cc ถึง 1,600 cc = ฿1,500 (จำนวน 1,000 cc x อัตราภาษี ฿1.50)
  • คำนวณค่าภาษีรถยนต์ 1,600 cc อายุ 1 ปี ได้ ฿1,800 (฿300 + ฿1,500)
ตัวอย่าง 2 รถยนต์ 2,354 cc อายุ 2 ปี
  • 1,800 cc แรก = ฿2,100
  • ส่วนเกิน 1,800 cc ถึง 2,354 cc = ฿2,216 (จำนวน 554 cc x อัตราภาษี ฿4.00)
  • คำนวณค่าภาษีรถยนต์ 2,354 cc อายุ 2 ปี ได้ ฿4,316 (฿2,100 + ฿2,216)
ตัวอย่าง 3 รถยนต์ 5,000 cc อายุ 5 ปี
  • 1,800 cc แรก = ฿2,100
  • ส่วนเกิน 1,800 cc ถึง 5,000 cc = ฿12,800 (จำนวน 3,200 cc x อัตราภาษี ฿4.00)
  • คำนวณค่าภาษีรถยนต์ 5,000 cc อายุ 5 ปี ได้ ฿14,900 (฿2,100 + ฿12,800)

ภาษี รถยนต์ 4 ประตู เครื่อง 1900 ปี2564

สิทธิประโยชน์: ส่วนลดภาษี สำหรับรถยนต์เก่าที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป

รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จะได้รับส่วนลดค่าภาษีตั้งแต่ 10-50% ของค่าภาษีรถยนต์ที่คำนวณได้ ในอัตราส่วนลดดังนี้

อายุการใช้งาน ส่วนลด
ปีที่ 6 10%
ปีที่ 7 20%
ปีที่ 8 30%
ปีที่ 9 40%
ปีที่ 10 เป็นต้นไป 50%
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์ แบบได้ส่วนลดสำหรับที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง 1 รถยนต์ 1,600 cc อายุ 6 ปี
  • 600 cc แรก = ฿300 (จำนวน 600 cc x อัตราภาษี ฿0.50)
  • ส่วนเกิน 600 cc ถึง 1,600 cc = ฿1,500 (จำนวน 1,000 cc x อัตราภาษี ฿1.50)
  • คำนวณค่าภาษีรถยนต์ 1,600 cc ได้ ฿1,800 (฿300 + ฿1,500)
  • ส่วนลดสำหรับปีที่ 6 = ฿180 (10% ของค่าภาษีรถยนต์ ฿1,800)
  • สรุป ค่าภาษีหลังได้รับส่วนลดสำหรับรถยนต์อายุ 6 ปี = ฿1,620 (ค่าภาษีรถยนต์ ฿1,800 – ส่วนลด ฿180)
ตัวอย่าง 2 รถยนต์ 2,354 cc อายุ 10 ปี
  • 1,800 cc แรก = ฿2,100
  • ส่วนเกิน 1,800 cc ถึง 2,354 cc = ฿2,216 (จำนวน 554 cc x อัตราภาษี ฿4.00)
  • คำนวณค่าภาษีรถยนต์ 2,354 cc อายุ 2 ปี ได้ ฿4,316 (฿2,100 + ฿2,216)
  • ส่วนลดสำหรับปีที่ 10 เป็นต้นไป = ฿2,158 (50% ของค่าภาษีรถยนต์ ฿4,316)
  • สรุป ค่าภาษีหลังได้รับส่วนลดสำหรับรถยนต์อายุ 10 ปีขึ้นไป = ฿2,1558 (ค่าภาษีรถยนต์ ฿4,316 – ส่วนลด ฿2,158)
ตัวอย่าง 3 รถยนต์ 5,000 cc อายุ 20 ปี
  • 1,800 cc แรก = ฿2,100
  • ส่วนเกิน 1,800 cc ถึง 5,000 cc = ฿12,800 (จำนวน 3,200 cc x อัตราภาษี ฿4.00)
  • คำนวณค่าภาษีรถยนต์ 5,000 cc อายุ 5 ปี ได้ ฿14,900 (฿2,100 + ฿12,800)
  • ส่วนลดสำหรับปีที่ 10 เป็นต้นไป = ฿7,450 (50% ของค่าภาษีรถยนต์ ฿14,900)
  • สรุป ค่าภาษีหลังได้รับส่วนลดสำหรับรถยนต์อายุ 10 ปีขึ้นไป = ฿7,450 (ค่าภาษีรถยนต์ ฿14,900 – ส่วนลด ฿7,450)

2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน)

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง (ซึ่งปกติจะหมายถึง รถตู้โดยสารแบบมีที่นั่ง) จะคำนวณค่าภาษีรถยนต์ (ค่าต่อทะเบียนรถ) ตามน้ำหนักรถ (กิโลกรัม) ตามที่ปรากฏในเล่มทะเบียนรถ โดยคำนวณภาษีแบบเหมาตามน้ำหนักรถ ดังนี้

น้ำหนักรถ (กิโลกรัม) ค่าภาษี
0-500 ฿150
501 – 750 ฿300
751 – 1,000 ฿450
1,001 – 1,250 ฿800
1,251 – 1,500 ฿1,000
1,501 – 1,750 ฿1,300
1,751 – 2,000 ฿1,600
2,001 – 2,500 ฿1,900
2,501 – 3,000 ฿2,200
3,001 – 3,500 ฿2,400
3,501 – 4,000 ฿2,600
4,001 – 4,500 ฿2,800
4,501 – 5,000 ฿3,000
5,001 – 6,000 ฿3,200
6,001 – 7,000 ฿3,400
ตั้งแต่ 7,000 ขึ้นไป ฿3,600
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคล
ตัวอย่างที่ 1 รถตู้โดยสาร หนัก 1,800 กิโลกรัม
  • น้ำหนักรถ 1,800 กิโลกรัม = ค่าภาษี ฿1,300
ตัวอย่างที่ 2 รถตู้โดยสาร หนัก 2,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักรถ 2,000 กิโลกรัม = ค่าภาษี ฿1,600

3. รถบรรทุกส่วนบุคคล (ป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว)

รถบรรทุกนั่งส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ 2 ประตู หรือรถตู้ขนส่งสินค้า จะคำนวณค่าภาษีรถยนต์ (ค่าต่อทะเบียนรถ) ตามน้ำหนักรถ (กิโลกรัม) ตามที่ปรากฏในเล่มทะเบียนรถ โดยคำนวณภาษีแบบเหมาตามน้ำหนักรถ ดังนี้

น้ำหนักรถ (กิโลกรัม) ค่าภาษี
0-500 ฿300
501 – 750 ฿450
751 – 1,000 ฿600
1,001 – 1,250 ฿750
1,251 – 1,500 ฿900
1,501 – 1,750 ฿1,050
1,751 – 2,000 ฿1,350
2,001 – 2,500 ฿1,650
2,501 – 3,000 ฿1,950
3,001 – 3,500 ฿2,250
3,501 – 4,000 ฿2,550
4,001 – 4,500 ฿2,850
4,501 – 5,000 ฿3,150
5,001 – 6,000 ฿3,450
6,001 – 7,000 ฿3,750
ตั้งแต่ 7,000 ขึ้นไป ฿4,050
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถบรรทุกส่วนบุคคล
ตัวอย่างที่ 1 รถกระบะ 2 ประตู หนัก 1,800 กิโลกรัม
  • น้ำหนักรถ 1,800 กิโลกรัม = ค่าภาษี ฿1,350
ตัวอย่างที่ 2 รถกระบะ 2 ประตู หนัก 2,300 กิโลกรัม
  • น้ำหนักรถ 2,300 กิโลกรัม = ค่าภาษี ฿1,650

เสียภาษีรถยนต์4ประตูกี่บาท

รถยนต์ 4 ประตู เครื่องยนต์ 1,900 ซี.ซี. อัตราภาษี 5 ปีแรก 2,500 บาท รถยนต์ 4 ประตู เครื่องยนต์ 1,500 ซี.ซี. อัตราภาษี 5 ปีแรก 1,650 บาท รถยนต์ 4 ประตู เครื่องยนต์ 1,200 ซี.ซี. อัตราภาษี 5 ปีแรก 1,200 บาท รถยนต์ 4 ประตู เครื่องยนต์ 1,000 ซี.ซี. อัตราภาษีที่ 5 ปีแรก 900 บาท

พรบรถกระบะ 4 ประตูราคากี่บาท

ราคา พรบ รถกระบะ 2 ประตู 2565 ค่า พ.ร.. รถเก๋ง ราคา 21 บาท ค่า พ.ร.. รถกระบะ ราคา 28 บาท ค่า พ.ร.. รถยนต์ 4 ประตู ราคา 21 บาท ค่า พ.ร.. รถตู้ (ไม่เกิน 15 ที่นั่ง) ราคา 1,182.35 บาท

เสียภาษีรถเก๋งกี่บาท

1. ค่าใช้จ่ายต่อภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน เช่น รถเก๋งทั่วไป หรือ กระบะ 4 ประตู 600 ซีซี (CC) แรก = ซีซี (CC) ละ 0.50 บาท 601 – 1800 ซีซี (CC) ต่อมา = ซีซี (CC) ละ 1.50 บาท ส่วนเกิน 1800 ซีซี (CC) = ซีซี (CC) ละ 4 บาท

รถ1.9เสียภาษีกี่บาท

Isuzu 1.9 Ddi Blue Power เครื่องยนต์ 1.9 ลิตร (ตัวอย่าง) หากรถยนต์เข้าสู่ปีที่ 2 แล้ว จะต้องเสียภาษี CC ละ 4 บาท = 1,900cc X 4 = 7,600 บาท ถ้าใช้ รถกระบะคันนี้ มาถึงปีที่ 6 จะเสียภาษี แบบมีส่วนลด 10% คือ 7,600 – (10% X 7,600) = 6,840 บาท ถ้าใช้มาถึงปีที่ 10 ไปเรื่อยๆ จะได้ส่วนลดภาษี 50% = 7,600 / 2 = 3,800 บาท