การแสดงพื้นเมืองของภาคใต้มีอะไรบ้าง

       ภาคใต้ โดยทั่วไปภาคใต้มีอาณาเขตติดกับทะเล และประเทศมาเลเซีย ประชากรจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน ประชากรมีอุปนิสัยรักพวกพ้อง รักถิ่นที่อยู่อาศัย และศิลปวัฒนธรรมของตนเอง จึงมีความพยายามที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้จนสืบมาจนถึงทุกวันนี้ การแสดงของภาคใต้มีลีลาท่ารำคล้ายกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมากกว่าการฟ้อนรำ ซึ่งจะออกมาในลักษณะกระตุ้นอารมณ์ให้มีชีวิตชีวาและสนุกสนาน เช่น โนรา หนังตะลุง รองเง็ง ตารีกีปัส เป็นต้น

การแสดงพื้นเมืองของภาคใต้มีอะไรบ้าง

ที่มา : https://yala-patani-naratiwat.blogspot.com/2017/04/blog-post_24.html

รองเง็ง การเต้นรองเง็งสมัยโบราณ เป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนาง หรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดน เดิมการเต้นรองเง็งจะมีลีลาตามบทเพลงไม่น้อยกว่า ๑๐ เพลง แต่ปัจจุบันนี้ที่นิยมเต้นมีเพียง ๗ เพลงเท่านั้น
วิธีการแสดง การเต้นรองเง็ง ส่วนใหญ่มีชายหญิงฝ่ายละ ๕ คน โดยเข้าแถวแยกเป็นชายแถวหนึ่งหญิงแถวหนึ่งยืนห่างกันพอสมควร ความสวยงามของการเต้นรองเง็งอยู่ที่ลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ ลำตัว และลีลาการร่ายรำ ตลอดจนการแต่งกายของคู่ชายหญิง และความไพเราะของดนตรีประกอบกัน
   การแต่งกาย ผู้ชายแต่งกายแบบพื้นเมือง สวมหมวกไม่มีปีก หรือใช้หมวกแขกสีดำ นุ่งกางเกงขายาวกว้างคล้ายกางเกงจีน สวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่าครึ่งอกสีเดียวกับกางเกง ใช้โสร่งยาวเหนือเข่าสวมทับกางเกงเรียกว่า ซอแกะ

   เครื่องดนตรี และเพลงประกอบ ดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรองเง็ง มีเพียง ๓ อย่าง คือ
๑. รำมะนา
๒. ฆ้อง
๓. ไวโอลิน
   โอกาสที่แสดง เดิมรองเง็งแสดงในงานต้อนรับแขกเมืองหรืองานพิธีต่างๆ ต่อมานิยมแสดงในงานรื่นเริง เช่น งานประจำปี งานอารีรายอ ตลอดจนการแสดงโชว์ในโอกาสต่างๆ เช่น งานแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน

การแสดงพื้นเมืองของภาคใต้มีอะไรบ้าง

ที่มา : https://yala-patani-naratiwat.blogspot.com/2017/02/blog-post_23.html

ตารีกีปัส เป็นระบำที่ต้องอาศัยพัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ เป็นการแสดงที่แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี และได้ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดปัตตานี เมื่อคัดเลือกการแสดงชุดนี้ใช้แสดงในงานเปิดกีฬาเขต ครั้งที่ ๑๔ ซึ่งจังหวัดปัตตานีเป็นเจ้าภาพ  ลีลาของการแสดง อาจจะมีพลิกแพลงแตกต่างกันไป สำหรับการแสดงชุดนี้ ได้ปรับปรุงท่ารำ เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงที่เป็นหญิงล้วน
   เครื่องดนตรีประกอบการแสดง ได้แก่ ไวโอลิน แมนตาลิน ขลุ่ย รำมะนา ฆ้อง มาลากัส บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง เพลงตารีกีปัส เป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง บรรเลงดนตรีล้วนๆ มีท่วงทำนองไพเราะอ่อนหวาน สนุกสนานเร้าใจ ความไพเราะของเพลงตารีกีปัส อยู่ที่การ Solo เสียงดนตรีทีละชิ้น

ลิเกฮูลู หรือ ดีเกฮูลู เป็นการละเล่นขึ้นบทเป็นเพลงประกอบดนตรี และจังหวะตบมือ มีรากฐานเดิมมาจากคำว่า ลิเก คือการอ่านทำนองเสนาะ และคำว่า ฮูลู ซึ่งหมายถึง ทิศใต้ ซึ่งเมื่อรวมความแล้ว คือ การขับกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทิศใต้ บทกลอนที่ใช้ขับเรียกว่า ปันตน หรือ ปาตง ในภาษามลายูถิ่นปัตตานี
ผู้รู้บางท่านได้กล่าวไว้ว่า ลิเกฮูลู เกิดขึ้นเริ่มแรกที่อำเภอรามัน ซึ่งไม่ทราบแน่นอนว่าผู้ริเริ่มนี้คือใคร ชาวปัตตานีเรียกคนในอำเภอรามันว่า คนฮูลู แต่ชาวมาเลเซียเรียกศิลปะชนิดนี้ว่า ดีเกปารัต ซึ่ง ปารัต แปลว่า เหนือ จึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า ลิเกฮูลู หรือ ดีเกปารัต นี้มาจากทางทิศเหนือของประเทศมาเลเซียและอยู่ทางตอนใต้ของปัตตานี
   ลักษณะการแสดง ลิเกฮูลูคณะหนึ่งๆ จะมีประมาณ ๑๐ คน เป็นชายล้วน มีต้นเสียง ๑ -๓ คน ที่เหลือจะเป็นลูกคู่ เวทีลิเกฮูลู จะยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร เปิดโล่งไม่มีม่าน ไม่มีฉาก ลูกคู่ขึ้นไปนั่งล้อมวงร้องรับและตบมือโยกตัวให้เข้ากับจังหวะดนตรี ส่วนผู้ร้องหรือผู้โต้กลอนจะลุกขึ้นยื่นข้างๆ วงลูกคู่ ถ้ากรณีมีการประชันกัน แต่ละคณะจะขึ้นนั่งบนเวทีด้วยกัน แต่ล้อมวงแยกกันพอสมควร การแสดงที่ผลัดกันร้องทีละรอบทั้งรุกและรับเป็นที่ครึกครื้นสบอารมณ์ของผู้ชม


การแสดงพื้นเมืองของภาคใต้มีอะไรบ้าง

ที่มา : https://sites.google.com/site/it10ml5820210399/di-kerhulu

ลิเกฮูลู เริ่มต้นด้วยการแสดงด้วยดนตรีที่ใช้โหมโรงเป็นการเรียกผู้ชม ต่อจากนั้นนักร้องออกมาร้องเพลงในจังหวะต่างๆ ทีละคน เนื้อร้องกล่าวถึงความประสงค์ในการเล่น แล้วจึงเริ่มแสดง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์บ้านเมือง ปัญหาท้องถิ่นหรือเรื่องตลกโปกฮา ผู้แสดงจะต้องใช้คารมและปฏิภาณ ให้ทั้งความรู้และความบันเทิงแก่ผู้ชม
   การแต่งกาย ผู้เล่นลิเกฮูลูนิยมนุ่งกางเกงขายาว นุ่งผ้าซอแกะทับข้างนอกสั้นเหนือเข่า สวมเสื้อคอกลมมีผ้าโพกศีรษะ
   เครื่องดนตรีประกอบ เล่นลิเกฮูลู ประกอบด้วยรำมะนา อย่างน้อย ๒ ใบ ใช้ตีดำเนินจังหวะในการแสดง ฆ้อง เป็นเครื่องกำกับจังหวะ ตีสม่ำเสมอประกอบการร้อง นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบและเป็นที่นิยมกันว่า ทำให้ครึกครื้น สนุกสนานไพเราะมากยิ่งขึ้น เช่น ขลุ่ย ลูกแซก แต่จังหวะที่ใช้เป็นประเพณีในการละเล่นคือ การตบมือ
โอกาสที่ใช้แสดง ลิเกฮูลูนิยมแสดงในงานมาแกปูโละ พิธีเข้าสุนัต และงานฮารีรายอ

          https://thaidance.wordpress.com

การแสดงพื้นเมืองของภาคใต้แสดงเพื่ออะไร

การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ ได้แก่ - หนังตะลุง เรียกว่า “หนัง” หรือ “หนังควน” ในสมัยโบราณนิยมแสดงในงานนักขัตฤกษ์ และงานฉลองต่างๆ - ลิเกป่า เป็นการแสดงพื้นเมืองภาคใต้อีกอย่างหนึ่ง นิยมแสดงในงานทั่วไปหรือใช้ในงานแก้บน - โนรา เป็นการแสดงแบบโบราณที่มีมาช้านาน นิยมแสดงเพื่อความเป็นสิริมงคล

การแสดงพื้นเมืองภาคใต้มีจุดเด่นอย่างไร

การแสดงของภาคใต้มีลีลาท่ารำคล้ายกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมากกว่าการฟ้อนรำซึ่งจะออกมาในลักษณะกระตุ้นอารมณ์ให้มีชีวิตชีวาและสนุกสนาน เช่น โนรา หนังตะลุงรองเง็ง ตารีกีปัส เป็นต้น

การแสดงพื้นเมืองของภาคใต้คืออะไร

การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ ศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ - วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา - วัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ

ข้อใดคือเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ประกอบการแสดงพื้นเมืองภาคใต้

ดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ ได้แก่ กลองโนรา กลองชาตรีหรือกลองตุ๊ก กลองโพน กลองปืด โทน กลองทับ รำมะนา โหม่ง ฆ้องคู่ ปี่กาหลอ ปี่ไหน กรับพวงภาคใต้ แกระ และนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาผสม ได้แก่ ไวโอลิน กีต้าร์ เบนโจ อัคคอร์เดียน ลูกแซ็ก ส่วนการประสมวงนั้น เป็นการประสมวงตามประเภทของการแสดงแต่ละชนิด