สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด

สำหรับความหมายอื่นของ "สุโขทัย" ดูที่ สุโขทัย (แก้ความกำกวม)

สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด

บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย

  • บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ
  • บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง

อาณาจักรสุโขทัย


พ.ศ. 1792–พ.ศ. 1981

สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด

ตราแผ่นดิน

สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด

แผนที่อาณาจักรสุโขทัยช่วงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (สีนํ้าเงินเข้ม)

เมืองหลวงสุโขทัย
พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ส่วนหนึ่ง
ภาษาทั่วไปไม่ทราบ (พ.ศ. 1792–รัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง)
ไทย (รัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง–พ.ศ. 1981)
การปกครองพ่อปกครองลูก (สมัยตอนต้นจนถึงสมัยตอนปลาย)
ธรรมราชา (สมัยตอนปลายจนถึง พ.ศ. 1981)
พระมหากษัตริย์ 

• 1792–1813

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

• 1822–1842

พ่อขุนรามคำแหง

• 1842 - 1866

พระยาเลอไทย

• 1866 - 1890

พระยางั่วนำถุม

• 1890 - 1911

พระมหาธรรมราชาที่ 1

• 1911 - 1942

พระมหาธรรมราชาที่ 2

• 1943 - 1962

พระมหาธรรมราชาที่ 3

• 1962 - 1981

พระมหาธรรมราชาที่ 4
ประวัติศาสตร์ 

• สถาปนา

พ.ศ. 1792

• เป็นรัฐร่วมประมุขกับกรุงศรีอยุธยา

พ.ศ. 1981

• ถูกผนวกเข้ากับกรุงศรีอยุธยาแล้วสิ้นสุดลง

พ.ศ. 1981
ก่อนหน้า ถัดไป
สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด
อาณาจักรละโว้
อาณาจักรอยุธยา
สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ
สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด
 
ไทย

สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด
 
พม่า

สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด
 
ลาว

อาณาจักรสุโขทัย[1] (ราว พ.ศ. 1792 – 2006 อายุราว 215 ปี )[2] เป็นรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1782 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพงเป็นผลสำเร็จ และได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด

ที่ตั้งและอาณาเขต

อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะและที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้[3]

  1. ทิศเหนือ มีเมืองแพล (ปัจจุบันคือแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด
  2. ทิศใต้ มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้
  3. ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด (ปัจจุบันคือแม่สอด) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ
  4. ทิศตะวันออก มีเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ

การแทรกแซงจากอยุธยา

หลังจากพ่อขุนรามคำแหงแล้ว เมืองต่างๆเริ่มอ่อนแอลงเมือง ส่งผลให้ในรัชกาลพญาเลอไท และรัชกาลพญาไสลือไท ต้องส่งกองทัพไปปราบหลายครั้งแต่มักไม่เป็นผลสำเร็จ และการปรากฏตัวขึ้นของอาณาจักรอยุธยาทางตอนใต้ซึ่งกระทบกระเทือนเสถียรภาพของสุโขทัยจนในท้ายที่สุดก็ถูกแทรกแทรงจากอยุธยา จนมีฐานะเป็นหัวเมืองของอยุธยาไปในที่สุด โดยมีพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครองสุโขทัยในฐานะรัฐอิสระพระองค์สุดท้าย โดยขณะนั้น ด้วยการแทรกแซงของอยุธยา รัฐสุโขทัยจึงถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

  • เมืองสรวงสองแคว (พิษณุโลก) อันเป็นเมืองเอก มีพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครอง
  • เมืองสุโขทัย เมืองรอง มี พระยาราม เป็นผู้ปกครองเมือง
  • เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) มี พระยาเชลียง เป็นผู้ปกครองเมือง
  • เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) มี พระยาแสนสอยดาว เป็นผู้ปกครองเมือง

หลังสิ้นรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) พระยายุทธิษเฐียรซึ่งเดิมทีอยู่ศรีสัชนาลัย ได้เข้ามาครองเมืองสองแคว (พิษณุโลก) และเมื่อแรกที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นผ่านพิภพ เป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าขณะนั้นพระยายุทธิษเฐียรเกิดน้อยเนื้อต่ำใจที่ได้เพียงตำแหน่งพระยาสองแคว เนื่องด้วยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเคยดำริไว้สมัยทรงพระเยาว์ว่า หากได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ จะชุบเลี้ยงพระยายุทธิษฐิระให้ได้เป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัย พ.ศ. 2011 พระยายุทธิษฐิระจึงเอาใจออกห่างจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปขึ้นกับ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาในขณะนั้น เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเฉลิมพระนามกษัตริย์ล้านนาจากพระยาเป็นพระเจ้า เพื่อให้เสมอศักดิ์ด้วยกรุงศรีอยุธยา พระนามพระยาติโลกราช จึงได้รับการเฉลิมเป็นพระเจ้าติโลกราช

หลังจากที่พระยายุทธิษฐิระ นำสุโขทัยออกจากอยุธยาไปขึ้นกับล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงเสด็จจากกรุงศรีอยุธยา กลับมาพำนัก ณ เมืองสรลวงสองแคว พร้อมทั้งสร้างกำแพงและค่ายคู ประตู หอรบ แล้วจึงสถาปนาขึ้นเป็นเมือง พระพิษณุโลกสองแคว เป็นราชธานีฝ่ายเหนือของอาณาจักรแทนสุโขทัย ในเวลาเจ็ดปีให้หลัง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงตีเอาสุโขทัยคืนได้ แต่เหตุการณ์ทางเมืองเหนือยังไม่เข้าสู่ภาวะที่น่าไว้วางใจ จึงทรงตัดสินพระทัยพำนักยังนครพระพิษณุโลกสองแควต่อจนสิ้นรัชกาล ส่วนทางอยุธยานั้น ทรงได้สถาปนาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระราชโอรส เป็นพระมหาอุปราช ดูแลอยุธยาและหัวเมืองฝ่ายใต้

ด้วยความที่เป็นคนละประเทศมาก่อน และมีสงครามอยู่ด้วยกัน ชาวบ้านระหว่างสุโขทัยและอยุธยา จึงมิได้ปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จึงต้องแยกปกครอง โดยพระมหากษัตริย์อยุธยา จะทรงสถาปนาพระราชโอรส หรือพระอนุชา หรือพระญาติ อันมีเชื้อสายสุโขทัย ปกครองพิษณุโลกในฐานะราชธานีฝ่ายเหนือ และควบคุมหัวเมืองเหนือทั้งหมด

การสิ้นสุด

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ

ประวัติศาสตร์ไทย
สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ช่วงต้น
การเข้ามาอยู่อาศัย
แนวคิดถิ่นกำเนิดชนชาติไท
บ้านเชียง ~2500 ปีก่อน พ.ศ.
บ้านเก่า ~2000 ปีก่อน พ.ศ.
อาณาจักรมอญ-เขมร

    • ฟูนาน
    • (611–1093)

    • ทวารวดี
    • (พุทธศตวรรษที่ 12–16)

    • ละโว้
    • (c. 7–1630)

    • จักรวรรดิเขมร
    • (1345–1974)

    • หริภุญไชย
    • (c. 8–1835)

    • ตามพรลิงค์
    • (c. 8–c. 14)

อาณาจักรของคนไท

    • กรุงสุโขทัย
    • (1792–1981)

    • ลพบุรี
    • (1648–1931)

    • สุพรรณบุรี
    • (พุทธศตวรรษที่ 18–1952)

    • นครพะเยา
    • (1637–1881)

    • อาณาจักรล้านนา
    • (1835–2101)

    • นครน่าน
    • (พุทธศตวรรษที่ 18–1992)

    • นครศรีธรรมราช
    • (c. 13–2325)

หลังกรุงศรีอยุธยา

กรุงศรีอยุธยา (1893–2310) 

  • เสียกรุงครั้งที่ 1
  • การปฏิวัติ พ.ศ. 2231
  • เสียกรุงครั้งที่ 2

  • ประเทศราช
    เชียงใหม่
  • (2101–2317)

  • นครศรีธรรมราช
  • (c. 13–2325)

กรุงธนบุรี (2310–25) 

  • สภาพจลาจล

  • นครเชียงใหม่
  • (2317–2437)

  • กรุงรัตนโกสินทร์
    (สมบูรณาญาสิทธิราช)
    (หลัง 2325) 

    • สงครามเก้าทัพ 2328
      อานัมสยามยุทธ 2374–7, 2384–8
      กบฏเจ้าอนุวงศ์ 2369–71
      สนธิสัญญาเบาว์ริง 2398
      วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 2436
      ผนวกนครเชียงใหม่
      สงครามโลกครั้งที่ 1 2461

  • พ.ศ. 2475–2516 

    • กบฏบวรเดช 2476
      รัฐนิยม 2482–5
      สงครามโลกครั้งที่ 2 2484–8
      รัฐประหาร พ.ศ. 2500 2500
      การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ 2508–26
      เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516

  • พ.ศ. 2516–2544 

    • เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

  • หลัง พ.ศ. 2544 

    • วิกฤตต้มยำกุ้ง 2540
      วิกฤตการณ์การเมือง 2548–53
      วิกฤตการณ์การเมือง 2556–7
      รัฐประหาร 2557

ประวัติศาสตร์รายภูมิภาค

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • พิษณุโลก
  • กรุงเทพมหานคร
  • ปาตานี

แบ่งตามหัวข้อ

  • หน่วยเงิน
  • สงคราม
  • ศาสนาพุทธ
  • ศักดินา
  • ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้
  • พระมหากษัตริย์

สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด
สถานีย่อยประเทศไทย

พ.ศ. 2127 หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวหัวเมืองเหนือทั้งปวง (เมืองพระพิษณุโลกสองแคว เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิจิตร และเมืองพระบาง)[4] ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ

ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บนรอยเลื่อนวังเจ้า ในราวพุทธศักราช 2127 แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่แม่น้ำแควน้อย ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือแม่น้ำน่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน ทั้งหมด

ความเจริญรุ่งเรือง

ด้านเศรษฐกิจ

สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ดังข้อความปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 "…ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้า ทองค้า " และ "...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว..." ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยระบบเกษตรกรรมแบบยังชีพ และส่งออกเครื่องถ้วยชามสังคโลก

ด้านสังคม

การใช้ชีวิตของผู้คนในสมัยสุโขทัยมีความอิสระเสรี มีเสรีภาพอย่างมากเนื่องจากผู้ปกครองรัฐให้อิสระแก่ไพร่ฟ้า และปกครองแบบพ่อกับลูก ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกว่า "…ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…"

ด้านความเชื่อและศาสนา สังคมยุคสุโขทัยประชาชนมีความเชื่อทั้งเรื่องวิญญาณนิยม (Animism) ไสยศาสตร์ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และพุทธศาสนา ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 5 ว่า "…เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎิวิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดพงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง ป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขระพุงผี เทพยาดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ว ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยว เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย…"

ส่วนด้านศาสนา ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราช ในวันพระ จะมีภิกษุเทศนาสั่งสอน ณ ลานธรรมในสวนตาล โดยใช้พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ เป็นอาสนะสงฆ์ ในการบรรยายธรรมให้ประชาชนฟัง ยังผลให้ประชาชนในยุคนี้นิยมปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม มีการถือศีล โอยทานกันเป็นปกติวิสัย ทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบสุขร่มเย็น

ด้านการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ

  1. แบบปิตุราชาธิปไตย ในระยะแรกสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก เรียกพระมหากษัตริย์ว่า "พ่อขุน" ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์ และโปรดให้สร้างพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ได้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วยพระองค์เอง การปกครองแบบนี้ปรากฏในสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น
  2. แบบธรรมราชา กษัตริย์ผู้ทรงธรรม ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น พระองค์ทรงเกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย หากใช้กำลังทหารเพียงอย่างเดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง โดยพระองค์ทรงเป็น แบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย การปกครองแบบนี้ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ 1 - 4

ด้านการปกครองส่วนย่อยสามารถแยกกล่าวเป็น 2 แนว ดังนี้

  • ในแนวราบ จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้
  • ในแนวดิ่ง ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้น คือ
    • พ่อขุน เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น เจ้าเมือง พระมหาธรรมราชา หากมีโอรสก็จะเรียก "ลูกเจ้า"
    • ลูกขุน เป็นข้าราชบริพาร ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครองเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่น้อย และภายในราชสำนัก เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า
    • ไพร่หรือสามัญชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ในราชอาณาจักร (ไพร่ฟ้า)
    • ทาส ได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ (อย่างไรก็ตามประเด็นทาสนี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่)[5]

รายพระนามและรายนามผู้ปกครอง

ลำดับ รายพระนาม ตำแหน่ง ราชวงศ์ ช่วงเวลา
ตำนานกล่าวว่า พ.ศ. 1043 พระยาพาลีราชแห่งอาณาจักรละโว้เป็นผู้ก่อตั้งเมืองสุโขทัย [6]
รัฐอิสระ
- พระยาพาลีราช เจ้าเมืองสุโขทัย - พ.ศ. 1043 [7] - ไม่ทราบปี
- พระยาอภัย [8] เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย - ไม่ทราบปี
- พระอรุณกุมาร [9] เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย - ไม่ทราบปี
- พระยาพสุจราช [10] เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย - ไม่ทราบปี
- พระยาธรรมไตรโลก [11] เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย - ไม่ทราบปี
- สมเด็จพระร่วงเจ้าบรมราชาธิราช [12] พระร่วงเจ้าสุโขทัย - พ.ศ. 1500 - พ.ศ. 1502 [13]
- พระยาศรีจันทราธิบดี [14] พระร่วงเจ้าสุโขทัย (อดีตภิกษุ) พ.ศ. 1502 [15] - ไม่ทราบปี
0 อีแดงเพลิง [16] พระร่วงเจ้าสุโขทัย - ไม่ทราบปี - พ.ศ. 1700
1 พ่อขุนศรีนาวนำถุม พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์นำถุม พ.ศ. 1700 - 1724
2 ขอมสบาดโขลญลำพง พระร่วงเจ้าสุโขทัย - พ.ศ. 1724 - 1780
3 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. 1780 - พ.ศ. 1811
4 พ่อขุนบานเมือง พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. 1811 - 1822
5 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. 1822 - 1842
6 พญาไสสงคราม พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. 1842
7 พญาเลอไท พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. 1842 - 1866
8 พญางั่วนำถุม พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. 1866 - 1890
9 พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. 1890 - 1913
10 พระมหาธรรมราชาที่ 2 (พญาลือไท) พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. 1913 - 1921
รัฐบรรณาการอาณาจักรอยุธยา
10 พระมหาธรรมราชาที่ 2 (พญาลือไท) พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. 1921 - 1931
11 พระมหาธรรมราชาที่ 3 (พญาไสลือไท) พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. 1931 - 1962
12 พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. 1962 - 1981
13 พระราเมศวร (สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) พระร่วงเจ้าสุโขทัย ราชวงศ์สุพรรณภูมิ พ.ศ. 1981 - 1991
พ.ศ. 1991 - 2011 ไม่ได้แต่งตั้งพระร่วงเจ้าสุโขทัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้องการตัดอำนาจราชวงศ์พระร่วง จึงให้พระยายุทธิษฐิระเป็นเพียงพระยาสองแคว
รัฐบรรณาการอาณาจักรล้านนา
14 พระยายุทธิษฐิระ พระร่วงเจ้าสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. 2011 - 2017

เมืองพระพิษณุโลกสองแคว

ลำดับ รายพระนาม ตำแหน่ง ราชวงศ์ ช่วงเวลา
พ.ศ. 2011 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รวมเมืองสรลวงสองแควและเมืองชัยนาท [17] เป็นเมืองพิษณุโลก และยกขึ้นเป็นศูนย์กลางอำนาจหัวเมืองเหนือแทนสุโขทัย
1 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิ พ.ศ. 2011 - 2031
2 พระเอกสัตราช พระมหาอุปราช ราชวงศ์สุพรรณภูมิ พ.ศ. 2031 - 2034
3 พระอาทิตยวงศ์ พระมหาอุปราช ราชวงศ์สุพรรณภูมิ พ.ศ. 2034 - 2072
4 พระไชยราชา พระมหาอุปราช ราชวงศ์สุพรรณภูมิ พ.ศ. 2072 - 2077
พ.ศ. 2077 - 2091 ไม่ได้แต่งตั้งพระมหาอุปราช เนื่องจากพระราชโอรสของสมเด็จพระไชยราชาธิราชยังทรงพระเยาว์
5 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า เจ้าราชธานีฝ่ายเหนือ ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. 2091 - 2111
พ.ศ. 2112 เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชลงมาครองกรุงศรีอุธยา
6 พระนเรศวร [18][19] พระมหาอุปราช ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ.2115 - 2133
7 สมเด็จพระเอกาทศรถ พระมหาอุปราช ราชวงศ์พระร่วง พ.ศ. 2133 - 2148
สมเด็จพระเอกาทศรถทรงยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก แต่ให้มาประทับที่พระราชวังจันทร์เกษม ในเกาะเมืองอยุธยาแทน

รายพระนามผู้ครองเมืองสุโขทัยและเมืองพิษณุโลกสองแคว

ลำดับพระร่วงเจ้า พระมหาธรรมราชาและผู้ครองอาณาจักรสุโขทัย เรียงตามปีพุทธศักราช

พุทธศตวรรษที่ 18

รายพระนาม

1700 17 10 17 20 17 30 17 40 17 50 17 60 17 70 17 80 17 90 1800
ไม่ทราบ นำถุมฯ สบาดโขลญลำพง ? ศรีอินทรบดินทราทิตย์

พุทธศตวรรษที่ 19

รายพระนาม

1800 18 10 18 20 18 30 18 40 18 50 18 60 18 70 18 80 18 90 1900
บานเมือง รามคำแหง a เลอไท งั่วนำถุม ลิไท

พุทธศตวรรษที่ 20

รายพระนาม

1900 19 10 19 20 19 30 19 40 19 50 19 60 19 70 19 80 19 90 2000
ลิฯ เทวี ลิไท ลือไท ไสลือไท บรมปาล b ว่าง

พุทธศตวรรษที่ 21

รายพระนาม

2000 20 10 20 20 20 30 20 40 20 50 20 60 20 70 20 80 20 90 2100
ว่าง ยุทธิษฯ บรมไตรโลกนาถ เชษฐาฯ ไม่ทราบ อาทิตยวงศ์ ไชยฯ มหาธรรมฯ

พุทธศตวรรษที่ 22

รายพระนาม

2100 21 10 21 20 21 30 21 40 21 50 21 60 21 70 21 80 21 90 2200
มหาธรรมราชา ว่าง นเรศวร เอกาทศรถ ยกเลิกตำแหน่ง

คำอธิบายสัญลักษณ์

a = พญาไสสงคราม
b = พระราเมศวร (สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ)

███ = ราชวงศ์ศรีนาวนำถุม
███ = ราชวงศ์พระร่วง
███ = ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
███ = ราชวงศ์สุโขทัย
███ = ไม่มี/ไม่ทราบราชวงศ์

ระเบียงภาพ

  • สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด

    มณฑปพระอัจนะ วัดศรีชุม แสดงถึงความรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัยในยุคแรก ๆ

  • สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด

    วัดเขาพระบาทน้อย และพระเจดีย์ (ไม้เครื่องบนบางส่วนหลงเหลืออยู่)

  • สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด

    วิหารหลวง (จำลอง) ศิลปะสมัยสุโขทัยในเมืองโบราณ

อ้างอิงและหมายเหตุ

  1. "อาณาจักรสุโขทัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2018-09-12.
  2. หนังสือเรียนประวัติศาสตร์
  3. "ที่ตั้งอาณาจักร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-05. สืบค้นเมื่อ 2009-04-25.
  4. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. พระมหาธรรมราชากษัตราธิราช. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2546. 184 หน้า. หน้า 57. ISBN 974-322-818-7
  5. หลวงวิจิตรวาทการชี้ ระบอบไพร่ทาสและศักดินา ต้นเหตุความเสื่อมโทรมของไทย ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2564
  6. ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย -- dwhistorythai.wordpress.com
  7. ศักราชอาจคลาดเคลื่อน เพราะพงศาวดารเหนือ ได้ระบุถึงพระนามผู้ปกครองที่สืบต่อมา จนถึงพ่อขุนศรีนาวนำถม อีกทั้งไม่ปรากฏพระนามพระยาพาลีราชตามหลักฐานอื่น ว่าเป็นผู้ปกครองอาณาจักรละโว้ในปีดังกล่าว
  8. ปรากฎพระนามในพงศาวดารเหนือ
  9. ปรากฏพระนามในพงศาวดารเหนือ
  10. ปรากฏพระนามในพงศาวดารเหนือ
  11. ปรากฏพระนามในพงศาวดารเหนือ
  12. เรียกอีกพระนามหนึ่งว่า "พระร่วงอรุณราช"
  13. โพสต์จาก Facebook ในชื่อบัญชี พลิก"ประวัติศาสตร์สุโขไท" เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2556 (สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2563)
  14. ปรากฏพระนามและปีครองราชย์ ในพงศาวดารเหนือ
  15. ปรากฏปีครองราชย์ในพงศาวดารเหนือ แต่ศักราชอาจจะคลาดเคลื่อน เพราะระบุว่า หลังสิ้นรัชกาลนี้แล้ว พ่อขุนศรีนาวนำถุมได้เป็นผู้ปกครองต่อ
  16. พบพระนามในจารึกวัดศรีชุม
  17. เมืองชัยนาทอยู่ฝั่งตรงข้ามเมืองสรลวงสองแควของแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก ไม่ใช่จังหวัดชัยนาท
  18. หลังเสด็จกลับจากกรุงหงสาวดี
  19. "ราชการสงครามในสมัยสมเด็จพระนเรศวร หอมรดกไทย กองทัพบก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-03. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.

ดูเพิ่ม

  • จังหวัดสุโขทัย
  • จังหวัดพิษณุโลก
  • อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

แหล่งข้อมูลอื่น

  • สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด
    สถานีย่อยประเทศไทย
  • สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด
    สถานีย่อยประวัติศาสตร์

สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ:
อาณาจักรสุโขทัย

สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด
บทความเกี่ยวกับประเทศไทย

ประวัติศาสตร์
แบ่งตามเวลา

  • ประวัติศาสตร์ช่วงต้น
  • อาณาจักรสุโขทัย
  • อาณาจักรอยุธยา
  • อาณาจักรธนบุรี
  • อาณาจักรรัตนโกสินทร์
  • การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
  • พ.ศ. 2475–2516
  • พ.ศ. 2516–2544
  • หลัง พ.ศ. 2544

แบ่งตามหัวข้อ

  • สงคราม
  • ศักดินา
  • หน่วยเงิน
  • หัวเมือง
  • มณฑลเทศาภิบาล
  • แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
  • อุทยานประวัติศาสตร์

สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด

ภูมิศาสตร์

  • ภูมิภาค
    • เหนือ
    • ตะวันออกเฉียงเหนือ
    • กลาง
    • ตะวันออก
    • ตะวันตก
    • ใต้
  • เส้นแบ่งเขตแดน
  • ทรัพยากรธรรมชาติ
  • ปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • ภูมิอากาศ
  • แม่น้ำ
  • น้ำตก
  • เกาะ
  • กลุ่มรอยเลื่อน
  • แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
  • พื้นที่สงวนชีวมณฑลโลก
  • อุทยานธรณีโลก
  • อุทยานแห่งชาติ

การเมือง

  • การเลือกตั้ง
  • เขตการปกครอง
    • จังหวัด
    • เทศบาล
  • ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • พรรคการเมือง
  • พระมหากษัตริย์
    • รายพระนาม

รัฐบาล

  • กฎหมาย
  • รัฐธรรมนูญ
    • ฉบับปัจจุบัน
  • รัฐสภา
    • สภาผู้แทนราษฎร
    • วุฒิสภา
  • นายกรัฐมนตรี
    • รายชื่อ
  • คณะรัฐมนตรี
    • ชุดปัจจุบัน
  • กระทรวง
  • ราชการส่วนกลาง
  • ราชการส่วนภูมิภาค
  • ราชการส่วนท้องถิ่น
  • ข้าราชการ
  • องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
  • ศาล
  • กองทัพ
    • กองทัพบก
    • กองทัพเรือ
    • กองทัพอากาศ
  • ตำรวจ

เศรษฐกิจ

  • เงินบาท
  • ธนาคาร (ธนาคารกลาง)
  • งบประมาณแผ่นดิน
  • เกษตรกรรม
  • การขนส่ง
  • การท่องเที่ยว
  • พลังงาน
  • การว่างงาน
  • ตลาดหลักทรัพย์
  • โทรคมนาคม
  • บริษัทมหาชน
  • ภาษีอากร
  • รัฐวิสาหกิจ
  • ค่าจ้างขั้นต่ำ
  • วิดีโอเกม

สังคม

  • การศึกษา
  • กีฬา
  • เชื้อชาติไทย
  • ภาษา
    • ไทยกลาง
    • ไทยถิ่นอีสาน
    • ไทยถิ่นเหนือ
    • ไทยถิ่นใต้
  • ประชากรศาสตร์
  • ศาสนา
    • พุทธ
    • อิสลาม
    • คริสต์
    • ฮินดู
    • ซิกข์
  • สตรี
    • การทำแท้ง
  • สาธารณสุข
    • บริการสุขภาพ
    • โรงพยาบาล
    • การแพทย์แผนไทย
  • โทรทัศน์
  • ภัยพิบัติ

วัฒนธรรม

  • ศิลปะ
  • จิตรกรรม
  • ประติมากรรม
  • สถาปัตยกรรม
  • ดนตรี
    • เพลง
  • นาฏศิลป์
  • การไหว้
  • สีประจำวัน
  • ภาพยนตร์
  • ละครโทรทัศน์
  • การ์ตูน
  • วรรณกรรม
    • วรรณคดี
  • การละเล่นพื้นเมือง
    • การละเล่นเด็ก
  • ผี
  • อาหาร
    • ขนม
  • ชื่อบุคคล
  • การแต่งงาน
  • เรือ
  • หน่วย
  • วันสำคัญ
  • เวลา
    • ปฏิทิน
  • สัญลักษณ์ประจำชาติ
    • ตราแผ่นดิน
    • ธงชาติ
    • เพลงชาติ
  • ความเป็นไทย

ประเด็น

  • การเกณฑ์ทหาร
  • คตินิยมเชื้อชาติ
  • การแผลงเป็นไทย
  • ลัทธิข้อยกเว้นไทย
  • ความรู้สึกต่อต้านไทย
  • การตรวจพิจารณา
  • โทษประหารชีวิต
  • สิทธิมนุษยชน
    • กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
  • อาชญากรรม
    • กบฏ
    • การก่อการร้าย
    • การสังหารหมู่
    • การค้าประเวณี
    • การค้าหญิงและเด็ก
    • การฉ้อราษฎร์บังหลวง
    • การพนัน
    • การเพิ่มจำนวนอาวุธปืน
    • ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์
  • รัฐประหาร

  • สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด
    หมวดหมู่
  • สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด
    สถานีย่อย
  • สุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระบบบรรณาการกับอาณาจักรใด
    โครงการวิกิ