หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับครู

เราสามารถนำองค์ประกอบของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ไปปรับใช้ในกระบวนการสอนในวิชาชีพครูได้ กระบวนการคิดและการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับการสอนในวิชาชีพครูเป็นหลักหรือเป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งได้แก่

"3 ห่วง"

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับครู

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีตามอัตภาพ และความเหมาะสมกับบริบท สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง

                            ความพอดีของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน เนื่องจากคนแต่ละคนมีความแตกต่างกันหลายด้าน รวมทั้งบริบทและสถานการณ์แต่ละครั้งไม่เหมือนกัน ความพอประมาณจึงต้องอยู่บนความมีเหตุผล การถ่ายทอดความรู้ของครู อาจารย์สู่ตัวผู้เรียน จึงควรคำนึงถึงขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน ให้ได้รับความรู้อย่างเพียงพอ การกระทำที่มีความเหมาะสม หรือมีความพอดี พอประมาณ จะทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปด้วยดี หากขาดความเหมาะสม มักจะเกิดปัญหา

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับครู

ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจที่เป็นไปอย่างมีเหตุผล คือ มีการพิจารณาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลที่คาดว่าจะเกิดตามมาจากเหตุ หรือการกระทำนั้นๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และส่วนรวม รวมทั้งบริบทแวดล้อม

                            ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การเรียนการสอนของครูจำเป็นต้องอยู่บนพื้นของความถูกต้อง หรือความเป็นจริง ตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามของสังคม การพิจารณาเหตุและผล ควรพิจารณาให้เห็นความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันของเหตุปัจจัยและผลที่แท้จริง

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับครู

การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล โดยหาวิธีการทำงานและการดำเนินงานให้สามารถป้องกันและจำกัดผลกระทบทางลบ

คิดให้รอบคอบก่อนลงมือทำงานใดๆ โดยยึดหลักพอประมาณและหลักเหตุผล

ปฏิบัติงานอย่างมีสติ มีการยั้งคิด ไม่ทำในสิ่งที่ไม่สมควร

ปฏิบัติงานอย่างรอบคอบ ใช้ความรู้อย่างมีวิจารณญาณ

ปฏิบัติงานอย่างระมัดระวัง ไม่ให้เกิดความผิดพลาด

"2 เงื่อนไข"

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีเงื่อนไขว่า การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น 
ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับครู

เงื่อนไขความรู้มีความหมายครอบคลุมความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง

                            ๑)  ความรอบรู้ หมายถึง การมีความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆอย่างรอบด้าน เพื่อนำมาใช้ประกอบการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนให้เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมความรู้เป็นพื้นฐานสำคัญในการคิด การกระทำ ซึ่งเราจำเป็นต้องฝึกฝนตนเองให้รู้จักแสวงหา ศึกษา เพิ่มพูน และต่อยอดอยู่เสมอ เพื่อให้รู้เท่ากันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

                            ๒)  ความรอบคอบ คือ ความสามารถในการนำความรู้และหลักวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาให้เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมและเหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์

                            ๓)  ความระมัดระวัง คือ การลงมือปฏิบัติตามแผนงานอย่างมีสติ ปฏิบัติให้ถูกต้อง ไม่พลั้งพลาด และเป็นไปอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับครู

เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง สภาวะในจิตใจของมนุษย์ที่เป็นไปในทางถูกต้องดีงาม ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมหรือการกระทำที่เป็นไปในทางที่ถูกต้องดีงาม

คุณธรรมเป็นเงื่อนไขของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน ในความหมายที่ว่า ในการคิด การตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงหลักคุณธรรมควบคู่ไปด้วย เพื่อช่วยให้การคิดการกระทำมีความเหมาะสม เกิดผลดีต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คุณธรรมที่เป็นเครื่องอาศัยการดำเนินงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจ มีหลายประการ คือ

                          - ความซื่อสัตย์สุจริต

                          - ความขยัน ความอดทน พากเพียร ไม่ท้อถอย

                          - ความมีสติ มีความรอบคอบ ระมัดระวัง

                          - การรู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น