สายงานอาชีพด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ อาชีพ

นักพัฒนาซอฟต์แวร์

เขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาและทดสอบระบบซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยคำสั่งคอมพิวเตอร์

ในแต่ละวันทำอะไร?

1. ปรับปรุงซอฟต์แวร์ที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับฮาร์ดแวร์ใหม่ หรือพัฒนาประสิทธิภาพของระบบปฏิบัติการ

2. ปรึกษากับวิศวกรในการเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพ

3. กำกับการเขียนโปรแกรมซอฟต์แวร์และจัดทำเอกสาร

4. ให้คำปรึกษากับลูกค้าหรือฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโปรเจค (เช่น นักออกแบบระบบซอฟต์แวร์ ผู้ดูแลรักษาระบบ)

5. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนติดตั้งระบบใหม่หรือปรับปรุงระบบเดิม

สายงานอาชีพด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ อาชีพ

เรียนต่อ

- คณะวิศวกรรมศาสตร์

- คณะวิทยาศาสตร์

- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

สายงานอาชีพด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ อาชีพ

รายได้

18,000 - 40,000 บาท/เดือน

ไลฟ์สไตล์การทำงาน

การประสานงานหรือนำผู้อื่น

บ่อยครั้ง

การพบปะพูดคุยกับผู้รับบริการ

นาน ๆ ครั้ง

ลักษณะเวลาทำงาน

เวลาทำงานเป็นกิจวัตร (Regular)

ระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน

มากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ต้องใช้ทักษะและความรู้อะไรบ้าง?

• การอ่านจับใจความ

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับใจความสำคัญของประโยค และย่อหน้าในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

• การฟังอย่างลึกซึ้ง

การใส่ใจกับสิ่งที่ผู้อื่นกำลังพูดอย่างเต็มที่ จับประเด็นสำคัญ สอบถามในเวลาที่เหมาะสม และไม่ขัดจังหวะในการพูด

• การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

การใช้เหตุผลหรือตรรกะในการระบุจุดแข็ง และจุดอ่อนของทางเลือกต่าง ๆ ที่มี เพื่อหาข้อสรุปของแนวคิดในการแก้ไขปัญหา

• การพูด

การพูดคุยกับผู้อื่น เพื่อสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

• การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน

การระบุลักษณะปัญหาที่มีความซับซ้อนและทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินทางเลือกต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหา

• การตัดสินใจ

การพิจารณาข้อดีและข้อเสีย เพื่อตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการทำงาน

• คณิตศาสตร์

ความรู้เกี่ยวกับเลขคณิต พีชคณิต เรขาคณิต แคลคูลัส สถิติ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน

• วิศวกรรม และเทคโนโลยี

ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎี หลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อออกแบบและผลิตสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหา

• การออกแบบ

ความรู้เกี่ยวกับการทำความเข้าใจความต้องของการกลุ่มผู้ใช้งานและการออกแบบ รวมถึงการเขียนแบบเชิงเทคนิคที่ต้องอาศัยความแม่นยำ

• โทรคมนาคม

ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดสัญญาณภาพ การออกอากาศ และการควบคุมการดำเนินงานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม

• ภาษาไทย

ความรู้เกี่ยวกับหลักภาษาไทย รวมถึงความหมาย การสะกดคำ หลักเกณฑ์การเขียน และไวยากรณ์ของภาษา

• การบริการลูกค้า

ความรู้เกี่ยวกับการประเมินปัญหาและความต้องการของลูกค้า การบริการ การประเมินความพึงพอใจ และการปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้า