ข้อสอบไฟฟ้าเบื้องต้น พร้อมเฉลย

แนวข้อสอบไฟฟ้า แขนงไฟฟ้ากำลัง

 

ข้อสอบไฟฟ้าเบื้องต้น พร้อมเฉลย

ข้อที่ 1 : แรงดันไฟฟ้าขนาด 10 kV ถ้าเขียนให้อยู่ในรูปของ MV จะตรงกับข้อใด

1 : 0.01 MV

2 : 0.1 MV

3 : 100 MV

4 : 1,000 MV

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 2 : กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ มีอุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบและสอบเทียบมาตรฐานของอะไร

1 : ความดัน (Pressure)

2 : อุณหภูมิ (Temperature)

3 : แรงดันไฟฟ้า (Voltage)

4 : เวลา (Time)

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 3 : อุปกรณ์ใดเป็นตัวสร้างแรงดันมาตรฐาน ในห้องปฏิบัติการ

1 : FET

2 : Transistor

3 : UJT

4 : Zener diode

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 4 : ในระบบ SI มวลมีหน่วยเป็น

1 : milligram (mg)

2 : gram (g)

3 : kilogram (kg)

4 : newton (N)

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 5 : หน่วยหลักมูล ( Fundamental unit ) ทางกลใช้วัดอะไร

1 : ความยาว (Length)

2 : มวล (Mass)

3 : เวลา (Time)

4 : ถูกหมดทุกข้อ

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 6 : หน่วยต่างๆในข้อใดที่ใช้วัดในระบบอังกฤษ

1 : เมตร กิโลกรัม วินาที

2 : เมตร ปอนด์ วินาที

3 : ฟุต ปอนด์ วินาที

4 : ฟุต กิโลกรัม วินาที

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 7 : สัญญาณแรงดันมาตรฐานที่ใช้ในเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมคือข้อใด

1 : 0 V ถึง 5 V

2 : 0 V ถึง 10 V

3 : 1 V ถึง 5 V

4 : 1 V ถึง 10 V

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 8 : กระแสมาตรฐานที่ใช้ในเครื่องมือวัดและการวัดอุตสาหกรรมคือข้อใด

1 : 0 mA ถึง 10 mA

2 : 0 mA ถึง 20 mA

3 : 4 mA ถึง 10 mA

4 : 4 mA ถึง 20 mA

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 9 : การสอบกลับได้ (Traceability) ตามระบบ SI คือ

1 : มาตรฐานนานาชาติ มาตรฐานทุติยภูมิ มาตรฐานปฐมภูมิ มาตรฐานใช้งาน อุปกรณ์การวัด

2 : มาตรฐานใช้งาน มาตรฐานทุติยภูมิ มาตรฐานปฐมภูมิ มาตรฐานนานาชาติ อุปกรณ์การวัด

3 : มาตรฐานนานาชาติ มาตรฐานปฐมภูมิ มาตรฐานทุติยภูมิ มาตรฐานใช้งาน อุปกรณ์การวัด

4 : มาตรฐานใช้งาน มาตรฐานปฐมภูมิ มาตรฐานทุติยภูมิ มาตรฐานนานาชาติ อุปกรณ์การวัด

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 10 : มาตรฐานการวัดทางไฟฟ้า สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 มาตรฐานอะไรบ้าง

1 : มาตรฐานนานาชาติ มาตรฐานปฐมภูมิ มาตรฐานทุติยภูมิ มาตรฐานการใช้งาน

2 : มาตรฐานนานาชาติ มาตรฐานปฐมภูมิ มาตรฐานการสร้าง มาตรฐานการใช้งาน

3 : มาตรฐานนานาชาติ มาตรฐานการสร้าง มาตรฐานการใช้งาน มาตรฐานการตรวจสอบ

4 : มาตรฐานการสร้าง มาตรฐานการใช้งาน มาตรฐานการตรวจสอบ มาตรฐานการปรับแต่ง

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 11 : มาตรฐานการวัดทางไฟฟ้าประเภทใดที่เกิดขึ้นตามข้อตกลงร่วมกันของหลาย ๆ ประเทศ

1 : มาตรฐานการใช้งาน

2 : มาตรฐานการปรับแต่ง

3 : มาตรฐานการสร้าง

4 : มาตรฐานนานาชาติ

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 12 : ปริมาณใดดังต่อไปนี้ที่มีหน่วยเป็น candela (cd)

1 : Quantity of Charge

2 : Electromotive Force

3 : Luminous Flux

4 : Luminous Intensity

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 13 : ข้อใดที่ไม่ใช่หน่วยรากฐาน (Base units) ในระบบ SI

1 : หน่วย kg ของมวล 

2 : หน่วย second ของเวลา 

3 : หน่วย celsius ของอุณหภูมิ

4 : หน่วย mole ของจำนวนของสาร

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 14 : แรงดันไฟฟ้ามาตรฐาน (voltage standard) ระดับปฐมภูมิในปัจจุบันคือ

1 : รอยต่อโจเซปสัน (Josephson junction)

2 : ซีเนอร์ไดโอด (Zener diode)

3 : สแตนดาร์ดเซลล์ (standard cell) 

4 : แรงดันฮอลล์ (Hall voltage)

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 15 : วิธีการสร้างกระแสไฟฟ้ามาตรฐาน (Electrical current standard) ระดับปฐมภูมิในปัจจุบันคือ

1 : เคอร์เรนต์บาลานซ์ (current balance)

2 : ปรากฏการณ์ฮอลล์ (Hall effect)

3 : ใช้รอยต่อโจเซปสัน (Josephson junction)

4 : ใช้ธาตุซีเซียม 133 (caesium – 133)

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 16 : หน่วยของกระแสไฟฟ้าในระบบ SI เป็นวิธีการกำหนดมาตรฐานในกลุ่มใด

1 : กำหนดมาตรฐานของปริมาณจับต้องได้

2 : กำหนดมาตรฐานโดยนิยามกระบวนการวัด

3 : กำหนดมาตรฐานโดยอาศัยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ 

4 : กำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อที่ 17 : เครื่องมือวัดที่ใช้งานในห้องทดลองของมหาวิทยาลัย ควรได้รับการตรวจสอบความแม่นยำและความน่าเชื่อถือด้วยมาตรฐานระดับใด

1 : มาตรฐานระหว่างประเทศ

2 : มาตรฐานปฐมภูมิ

3 : มาตรฐานใช้งาน

4 : มาตรฐานห้องปฏิบัติการ

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 18 : มวล 27,500 กิโลกรัม เขียนในระบบ SI อย่างไรจึงจะถูกต้อง

1 : 27.500 Mg

2 : 27,500 Kg

3 : 0.275 Gg

4 : 27,500 kilograms

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 19 : แรงที่กระทำต่อพื้นที่หนึ่งหน่วย มีหน่วยมาตรฐานตามระบบ SI ตรงกับข้อใด

1 : newton

2 : joule 

3 : watt

4 : pascal

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 20 : ค่าความต้านทาน R คูณกับค่าความจุของตัวเก็บประจุ C จะได้ผลลัพธ์ที่มีหน่วยเป็นอะไร

1 : volt 

2 : henry

3 : ampere

4 : second

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 21 :  หนึ่งกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ประมาณเท่ากับ

1 : 3600 kcal

2 : 4200 kcal

3 : 860 kcal

4 : 9800 kcal

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 22 :  นิวตัน – เมตร เป็นหน่วยของ

1 : แรงบิด 

2 : พลังงาน

3 : กำลัง

4 : งาน

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 23 :  แรงบิด 50 N ·m ขับโรเตอร์ที่ 600 รอบต่อนาที ทำให้เกิดกำลังเท่ากับ

1 : 500 W

2 : 3140 W

3 : 1570 W

4 : 30000 W

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อที่ 24 :  วงจรขนานประกอบด้วย conductance ที่มีค่า 0.6 S และ susceptance ที่มีค่า 0.8 S ค่า admittance ของมันจะมีค่า

1 :  0.14 S

2 : 0.75 S

3 : 1.00 S

4 : 1.33 S

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 25 :  ตัวเก็บประจุ ค่า 1 µF เมื่อป้อนด้วยแรงดัน 10 V จะมีประจุบนตัวเท่ากับ

1 : 0.1 µC

2 : 10 mC

3 : 10 µC

4 : 0.1 mC

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 26 :  เมื่อป้อนแรงดันกระแสสลับที่มีค่าสูงสุด 100 V แก่หลอดไฟฟ้า ถ้าหากต้องการป้อนด้วยแรงดันกระแสตรงที่ทำให้เกิดความสว่างเท่ากับการป้อนด้วยแรงดันกระแสสลับนั้น จะต้องป้อนแรงดันกระแสตรงขนาด

1 : 100 V

2 : 70.7 V

3 : 141.4 V

4 : 35.4 V

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อที่ 27 :  ค่ากระแสและแรงดันกระแสสลับ ที่กล่าวถึงปกติจะหมายถึง

1 :  ค่าเฉลี่ย

2 : ค่ายอด

3 : ค่าประสิทธิผล

4 : ค่าที่ขณะใดๆ

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 28 :  ค่ากระแสและแรงดันกระแสสลับ ที่กล่าวถึงปกติจะหมายถึง

1 :  Peak factor เป็น 1.414

2 :  ค่า rms เท่ากับ 0.707× ค่ายอด

3 :  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.637 ×ค่า rms

4 :  Form factor = 1.11

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 29 :  แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับเป็น 220 V 50 Hz ข้อความต่อไปนี้ข้อความใดที่ไม่ถูกต้อง

1 :  คาบเป็น 20 ms

2 :  ค่ายอดของแรงดันเป็น 220 V

3 :  ค่าประสิทธิผลของแรงดันเป็น 220 V

4 :  ค่ายอดของแรงดันเป็น 311 V

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 30 :  กำหนดแรงดันกระแสสลับเป็น v1=100sin(100¶t-0.8) V  ข้อความต่อไปนี้ข้อความใดถูกต้อง

1 :  ค่าแรงดันประสิทธิผล คือ 100 V 

2 :  คาบเป็น 20 ms

3 :  ความถี่เป็น 100 Hz

4 :  แรงดันนำ  v1=100sin100¶t อยู่ 0.8 เรเดียน

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อที่ 31 :  ขดลวดที่ประกอบด้วย ความต้านทาน X Ω ความเหนี่ยวนำ Y H นำมาต่อคร่อมแหล่งจ่ายแรงดันที่มีความถี่ K Hz ค่าอิมพีแดนซ์ของขดลวดนี้หาได้จาก

1 : X+Y

2 : (X2+Y2)1/2

3 :  (X2+(2¶KY)2)1/2

4 : 2¶KY

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 32 :  เมื่อต่อตัวเก็บประจุเข้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ ค่ากระแสจะ

1 :  นำแรงดันอยู่ 180 o

2 :  มีเฟสเดียวกับแรงดัน

3 :  นำแรงดันอยู่  ¶/2 เรเดียน

4 :  ตามแรงดันอยู่ 90 o

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 33 :  ตัวเก็บประจุที่มีค่าความจุ 1 µF ต่ออยู่กับแหล่งจ่ายที่มีความถี่ 50 Hz ค่ารีแอคแตนซ์เชิงความจุคือ

1 :  0.1¶ mΩ

2 : 10/¶  kΩ

3 :  10/¶ Ω

4 :   0.1¶ Ω

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อที่ 34 :  ค่าคงตัวเวลาสำหรับวงจรที่ประกอบด้วยความเหนี่ยวนำ 100 mH อนุกรมกับความต้านทาน 4 Ω คือ

1 : 25 ms

2 : 40 s

3 : 157 ms

4 : 251 s

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 35 : เวลายอด (Peak time) ของผลตอบสนองมีค่าประมาณเท่าใด จากกราฟแสดงผลตอบสนองทางพลศาสตร์ต่อสัญญาณขั้นบันไดหนึ่งหน่วยของเครื่องมือวัด 

1 : 1.5 s

2 : 3.3 s

3 : 7.5 s

4 : 12 s

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อที่ 36 : เวลาพุ่ง (Rise time) ของผลตอบสนองมีค่าประมาณเท่าใด จากกราฟแสดงผลตอบสนองทางพลศาสตร์ต่อสัญญาณขั้นบันไดหนึ่งหน่วยของเครื่องมือวัด 

1 : 1.5 s

2 : 3.3 s

3 : 7.5 s

4 : 12 s

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 37 : เวลาคงตัว (Settling time) ของผลตอบสนองมีค่าประมาณเท่าใด จากกราฟแสดงผลตอบสนองทางพลศาสตร์ต่อสัญญาณขั้นบันไดหนึ่งหน่วยของเครื่องมือวัด 

1 : 1.5 s

2 : 3.3 s

3 : 7.5 s

4 : 12 s

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 38 : เครื่องมือใดที่ใช้หลักของวิธีวัดแบบเทียบศูนย์ (Null method)

1 : อุปกรณ์วัดแสงในกล้องถ่ายรูป

2 : เทอร์โมมิเตอร์แบบปรอท

3 : เครื่องชั่งน้ำหนักแบบ 2 แขน

4 : เกจวัดความดันแบบบูร์ดอง (Bourdon)

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 39 : การเปลี่ยนแปลงที่น้อยที่สุดของตัวแปรอินพุตที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็นได้ที่เอาต์พุตของเครื่องมือวัด เรียกว่า

1 : ฮิสเทอรีซิส (Hysteresis) 

2 : การเลื่อน (Drift)

3 : การแยกชัด (Resolution)

4 : ค่าขีดเริ่ม (Threshold)

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 40 : ค่าขีดเริ่ม (threshold) ของเครื่องมือวัดมีนิยามว่าอะไร

1 : อัตราส่วนระหว่างค่าเอาต์พุตของเครื่องมือวัดต่อค่าอินพุต

2 : การเลื่อนของค่าเอาต์พุตของเครื่องมือวัดเนื่องจากอายุการใช้งาน

3 : ค่าที่มากที่สุดที่เครื่องมือวัดยังไม่สามารถวัดได้

4 : การเปลี่ยนแปลงที่น้อยที่สุดของตัวแปรอินพุตที่สามารถวัดได้

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 41 : ความใกล้เคียงกันระหว่างค่าที่วัดได้กับค่าจริงของตัวแปรที่ถูกวัดคือความหมายของข้อใด

1 : ความเที่ยงตรง (Precision)

2 : ความแม่นยำ (Accuracy)

3 : ความไว (Sensitivity)

4 : ความจำแนกชัด (Resolution)

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อที่ 42 : เครื่องมือวัดกระแส 2 ตัว มีความยาวสเกลเท่ากัน โดยตัวหนึ่งมีพิกัด 0 ถึง 1 A และอีกตัวหนึ่งมีพิกัด 0 ถึง 10 A อยากทราบว่าเครื่องมือวัดตัวไหนมีความไวมากกว่ากัน

1 : เครื่องมือวัดที่มีพิกัด 0 ถึง 1 A มีความไวมากกว่า

2 : เครื่องมือวัดที่มีพิกัด 0 ถึง 10 A มีความไวมากกว่า

3 : เครื่องมือวัดทั้งสองมีความไวเท่ากัน

4 : ไม่มีข้อใดถูกต้อง

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 43 : การกระทำในข้อใดจัดเป็นกระบวนการวัดแบบทำซ้ำ (Reproduction measurement)

1 : ทอยลูกเต๋าลูกหนึ่ง 100 ครั้งและจดสถิติดูว่าออกเลข 1 กี่ครั้ง

2 : นำไข่ 100 ฟองมาชั่งน้ำหนักทีละฟองโดยเครื่องชั่งเครื่องหนึ่ง เพื่อหาค่าเฉลี่ยของน้ำหนักไข่ 1 ฟอง

3 : ใช้แอมมิเตอร์ (Ammeter) เครื่องหนึ่งไปวัดกระแสที่ใช้ในหลอดไฟดวงหนึ่งเป็นจำนวน 3 ครั้งติดต่อกัน เพื่อหาค่ากระแสที่แน่นอน

4 : ใช้โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) 3 เครื่องไปวัดแรงดันของแบตเตอรี่ลูกหนึ่งเพื่อหาค่าแรงดันที่เชื่อถือได้

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 44 : เครื่องมือวัดชนิดใดที่ใช้หลักการวัดเทียบศูนย์

1 : เครื่องชั่งน้ำหนักอิเล็กทรอนิกส์ 

2 : มิเตอร์วัดกำลังแบบอิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์

3 : โพเทนชิโอมิเตอร์วัดแรงดัน

4 : กัลวาโนมิเตอร์

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 45 : การทำให้เครื่องมือวัดมีค่าขีดเริ่ม (Threshold) ลดลงทำได้โดย

1 : เปลี่ยนไปใช้พิสัยการวัดที่สูงขึ้น 

2 : เปลี่ยนไปใช้พิสัยการวัดที่ต่ำลง

3 : เพิ่มแบนด์วิดท์ของเครื่องมือวัด 

4 : ลดแบนด์วิดท์ของเครื่องมือวัด

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 46 : ความไว (sensitivity) ของเครื่องมือวัดหรือระบบการวัดคือ

1 : ค่าอัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงของผลการวัดต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณวัด

2 : คุณสมบัติในการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม ถ้าการทำงานของเครื่องมือมีผลกระทบมากก็หมายถึงมีความไวสูง

3 : ความรวดเร็วในการแสดงผลการวัด 

4 : การตอบสนองต่อความถี่ของสัญญาณวัด

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 47 : ระบบการวัดในข้อใดที่เป็นระบบอันดับศูนย์ (zero order system)

1 : มิเตอร์พีเอ็มเอ็มซี (PMMC meter) 

2 : โพเทนชิโอมิเตอร์ (potentiometer) วัดระยะขจัด

3 : กัลวาโนมิเตอร์ (galvanometer) 

4 : อิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์ (electrodynamometer)

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อที่ 48 : ความไว (sensitivity) ของระบบการวัดมีคุณสมบัติตรงกับในข้อใด

1 : ฟังก์ชันถ่ายโอน (transfer function)

2 : ความเข้าใกล้กันระหว่างค่าวัดแต่ละครั้ง

3 : การตอบสนองพลวัต (dynamic response)

4 : ขนาดปริมาณวัดที่เล็กที่สุดที่ระบบการวัดตรวจวัดได้

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 49 : ความเที่ยงตรง (precision) คือ

1 : ความแตกต่างระหว่างค่าวัด (measured value) กับค่าปริมาณวัด (value of quantity)

2 : ความเข้าใกล้ค่าปริมาณวัดของค่าวัด

3 : ความเข้าใกล้กันระหว่างค่าวัดแต่ละครั้งที่ได้จากการวัดทวนซ้ำ (repetition measurement)

4 : อัตราส่วนของการเปลี่ยนแปลงของผลการวัดต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณวัด

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 50 : การหาผลตอบสนองต่อความถี่ของระบบทำได้ด้วยการเปรียบเทียบสัญญาณออกกับสัญญาณเข้า สัญญาณเข้าที่จะป้อนให้ระบบต้องเป็นสัญญาณอะไร

1 : คลื่นไซน์ (sine wave) ความถี่คงที่ 

2 : สัญญาณแรมป์ (ramp signal)

3 : คลื่นสี่เหลี่ยม (rectangular wave) 

4 : คลื่นไซน์ที่กวาด (sweep) ความถี่ 

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 51 : เมื่อพิจารณาในเรื่องคุณสมบัติพลวัต (Dynamic characteristics) ของระบบ ระบบการวัดแบบใดที่มีแบนด์วิดท์ (Bandwidth) เป็นอนันต์ แสดงค่าวัดได้ทันทีที่ทำการวัด และไม่เกิดความเพี้ยน (Distortion) ขึ้นในผลการวัด

1 : ระบบอันดับศูนย์

2 : ระบบอันดับหนึ่ง

3 : ระบบอันดับสอง

4 : ระบบไม่เชิงเส้น

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 52 : ตัวบอกคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงค่าปริมาณออก (Output quantity) ต่อปริมาณเข้า (Input quantity) ที่เหมาะกับระบบการวัดแบบไม่เชิงเส้น (Nonlinear) คือ

1 : ค่าขีดเริ่ม (discrimination threshold)

2 : ตัวประกอบสเกล (scale factor)

3 : ความไวเชิงอนุพันธ์ (differential sensitivity)

4 : ตัวประกอบความไว ( sensitivity factor)

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 53 : ค่าขีดเริ่ม (Discrimination threshold) หมายถึง

1 : ฟังก์ชันถ่ายโอน (Transfer function) ของระบบ

2 : อัตราขยายสัญญาณของระบบ

3 : ความแตกต่างที่เล็กที่สุดของปริมาณวัดที่ระบบสามารถวัดได้

4 : ขนาดปริมาณวัดที่ใหญ่ที่สุดที่ระบบการวัดยังไม่สามารถวัดได้

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 54 : ข้อใดเป็นความหมายของระบบไม่เชิงเส้น (nonlinear system)

1 : ใช้หลักการซูเปอร์โพสิชัน (principle of superposition) หาค่าปริมาณออกได้

2 : สัญญาณออกมีรูปร่างไม่เหมือนสัญญาณเข้า

3 : กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเข้ากับปริมาณออกจะเป็นเส้นตรงผ่านจุดเริ่มต้น (origin)

4 : ไม่เกิดความเพี้ยน (distortion)

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อที่ 55 : ถ้าทำการวัดทวนซ้ำ (Repetition measurement) เป็นจำนวนครั้งที่มากพอ แล้วได้ผลการวัดที่มีการกระจายแบบปรกติ (normal distribution) ตัวเลือกข้อใดต่อไปนี้ที่ให้ความหมายไม่ถูกต้อง

1 : ค่าผิดพลาดสุ่ม (Random error) จะมีการกระจายอยู่รอบค่าเฉลี่ย

2 : ค่าเฉลี่ยของผลการวัดทั้งหมดก็คือ ค่าจริง (True value) ของปริมาณวัด

3 : เส้นกราฟ PDF (Probability density function) ของผลการวัดจะเป็นรูประฆังคว่ำ

4 : ค่าเฉลี่ยของผลการวัดทั้งหมดจะอยู่ที่จุดสูงสุดของเส้นกราฟ PDF พอดี

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อที่ 56 : จำนวน 415000.00 มีเลขนัยสำคัญ (Significant digit) กี่หลัก

1 : 3 หลัก

2 : 4 หลัก

3 : 6 หลัก

4 : 8 หลัก

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 57 : ความผิดพลาด (Error) ในข้อใดต้องใช้วิธีทางสถิติในการปรับปรุงแก้ไข

1 : Nonlinear error

2 : Systematic error

3 : Random error

4 : ถูกทุกข้อ

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 58 : สวิตช์แบบ Make before Break มีความสำคัญอย่างไรกับแอมมิเตอร์แอนะลอกแบบหลายย่านการวัด (Multi-range)

1 : ทำให้แอมมิเตอร์มีความไวเพิ่มขึ้น

2 : ทำให้สามารถเปลี่ยนย่านการวัดได้โดยไม่ต้องปลดสายวัดออกจากจุดวัดค่า

3 : ทำให้อายุการใช้งานของแอมมิเตอร์ยาวนานยิ่งขึ้น

4 : ทำให้แอมมิเตอร์มีขนาดเล็กลง

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อที่ 59 : การเลือกใช้มาตรวัดผิดประเภทในการวัดถือเป็นความผิดพลาดแบบใด

1 : Instrumental error

2 : Calibration error

3 : Human error

4 : Random error

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 60 : กำหนดให้ทำการวัดค่าความต้านทานของตัวต้านทานตัวหนึ่งโดยใช้โอห์มมิเตอร์เป็นจำนวน 10 ครั้ง โดยมีค่าที่วัดได้ในแต่ละครั้งดังต่อไปนี้ 98, 102, 101, 97, 100, 103, 98,106, 107, 99 ohm ตามลำดับ จงคำนวณหาค่าความเที่ยงตรง (Precision) ในการวัดครั้งที่สี่

1 : 0.88

2 : 0.89

3 : 0.96

4 : 1.01

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 61 : ในการวัดแรงดันของแบตเตอรี่โดยนักเรียนหกคน ได้ค่าแรงดันเป็น 20.20, 19.90, 20.05, 20.10, 19.85, 20.00 V ตามลำดับ นักเรียนลำดับที่เท่าใดวัดค่าแรงดัน ที่มีค่าเที่ยงตรงที่สุด

1 : 6

2 : 4

3 : 2

4 : 1

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 62 : ข้อมูลการวัดค่าความต้านทานจำนวนหนึ่งมีดังนี้ 10.16, 10.15, 10.14, 10.05, 10.00, 9.99 ohm จงหาค่าเฉลี่ย (Average value)ของการวัดค่าความต้านทานนี้

1 : 10.00 ohm

2 : 10.05 ohm

3 : 10.08 ohm

4 : 10.10 ohm

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 63 : ข้อมูลการวัดค่าความต้านทานจำนวนหนึ่งมีดังนี้ 10.16, 10.15, 10.14, 10.05, 10.00, 9.99 ohm จงหาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ของการวัดค่าความต้านทานนี้

1 : 0.00 ohm

2 : 0.05 ohm

3 : 0.08 ohm

4 : 0.10 ohm

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 64 : ในการวัดความผิดพลาดแบบสุ่ม (Random error) สามารถอ่านค่าที่วัดขนาดของแรงดันได้เป็น 3, 5, 7, 4, 8, 6, 5, 7, 6, และ 6 V ตามลำดับ จงคำนวณหาค่าเฉลี่ย (Average value)

1 : 5.7 V

2 : 5.8 V

3 : 5.9 V

4 : 5.10 V

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 65 : ในการวัดความผิดพลาดแบบสุ่ม (Random error) สามารถอ่านค่าที่วัดขนาดของแรงดันได้เป็น 3, 5, 7, 4, 8, 6, 5, 7, 6, และ 6 V ตามลำดับ จงคำนวณหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)

1 : 1.5 V 

2 : 1.7 V 

3 : 1.8 V

4 : 1.9 V

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 66 : ในการวัดแรงดันมาตรฐานขนาด 5 V ของโวลต์มิเตอร์แต่ละตัว ทำการวัดตัวละ 3 ครั้ง มิเตอร์ในคำตอบข้อใดที่มีค่าความเที่ยงตรง (Precision) ดีที่สุด

1 : 5.5 V, 5.3 V, 4.5 V

2 : 6.2 V, 6.0 V, 5.8 V

3 : 4.1 V, 4.0 V, 3.9 V

4 : 5.9 V, 5.0 V, 4.8 V

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 67 : หากต้องการวัดสัญญาณไซน์ความถี่ 600 Hz จะต้องทำการชักตัวอย่าง (Sampling) ด้วยความถี่เท่าใด จึงจะได้สัญญาณที่มีความถี่ 600 Hz แสดงบนหน้าจอ

1 : 100 Hz

2 : 300 Hz

3 : 700 Hz

4 : 1500 Hz

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 68 : ก่อนใช้โอห์มมิเตอร์วัดค่าความต้านทานจะต้องทำการปรับศูนย์ (Adjust zero) เพราะอะไร

1 : เพราะเข็มโอห์มมิเตอร์ไม่ชี้ที่ตำแหน่งศูนย์เนื่องจากสปริงเกิดความล้า

2 : เพื่อชดเชยแรงดันแบตเตอรี่ในเครื่องมือวัด

3 : เพื่อลดความฝืดของเดือยที่เป็นจุดหมุนของเข็มมิเตอร์

4 : เพื่อให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยาวนานขึ้น

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อที่ 69 : ในการทดลองวัดกระแสไฟฟ้า 5 ครั้งมีค่าดังนี้ 12.8 mA, 12.2 mA, 12.5 mA, 13.1 mA และ 12.4 mA จะมีค่าเฉลี่ย (Average value) จากการวัดเท่าไร

1 : 12.50 mA

2 : 11.65 mA

3 : 12.55 mA 

4 : 12.60 mA 

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 70 : ในการทดลองวัดกระแสไฟฟ้า 3 ครั้งมีค่าดังนี้ 12.8 mA, 12.2 mA, 12.5 mA จงคำนวณหาผลรวมของค่าเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ย

1 : 0.33 mA

2 : -0.3 mA

3 : 0.3 mA

4 : 0 mA

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 71 : เกี่ยวกับการวัดค่าตัวแปรใดๆ ข้อใดกล่าวถูกต้อง

1 : ถ้ามีความถูกต้องจากการวัด (accuracy) จะมีค่าความเที่ยงตรงด้วย (precision)

2 : ถ้ามีค่าความเที่ยงตรง (precision) จะมีค่าความถูกต้อง(accuracy) จากการวัดด้วย

3 : ค่าความถูกต้อง (accuracy) จะไม่สัมพันธ์กับค่าความเที่ยงตรง (precision)

4 : สรุปไม่ได้

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 72 : ในการวัดแรงดันตกคร่อมตัวความต้านทานนั้น โวลต์มิเตอร์ที่ใช้วัดจะทำให้เกิดการโหลดวงจรที่ทำการวัด ทำให้เกิดค่าผิดพลาดอันเนื่องมาจากการโหลด (Loading error) ขึ้นซึ่งจัดอยู่ในประเภทใด

1 : ค่าผิดพลาดสุ่ม (Random error)

2 : ค่าผิดพลาดเชิงระบบ (Systematic error)

3 : กระทำการวัดผิด (Mistake)

4 : ค่าผิดพลาดพาราแลกซ์ (Parallax error)

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อที่ 73 : การขจัดค่าผิดพลาดเชิงระบบ (Systematic error) ออกจากผลการวัดทำได้ด้วยวิธีการใด

1 : การวัดแบบเทียบศูนย์ (Null method) 

2 : การวัดแบบเบี่ยงเบน (Deflection method)

3 : กระบวนการวัดแบบทำซ้ำ (Reproduction measurement)

4 : กระบวนการวัดแบบทวนซ้ำ (Repetition measurement)

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 74 : ข้อใดคือผลที่ทำให้เกิดค่าผิดพลาดสุ่ม (Random error)

1 : กดเครื่องคิดเลขผิดในการคำนวณผลการวัด

2 : ลูกปืนที่ใช้ในกีฬายิงปืนแต่ละลูกมีปริมาณดินปืนที่ไม่เท่ากัน

3 : เอาแอมมิเตอร์ (Ammeter) ไปวัดแรงดันไฟฟ้า

4 : ใช้โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) ที่มีความต้านทานด้านเข้าต่ำไปวัดแรงดัน

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อที่ 75 : การกระทำในข้อใดจัดเป็นกระบวนวัดแบบทำซ้ำ (Reproduction measurement)

1 : ทอยลูกเต๋า 100 ครั้งและจดสถิติดูว่าออกเลข 1 กี่ครั้ง

2 : นำไข่ 100 ฟองมาชั่งน้ำหนักทีละฟองโดยเครื่องชั่งเครื่องหนึ่ง เพื่อหาค่าเฉลี่ยของน้ำหนักไข่ 1 ฟอง

3 : ใช้แอมมิเตอร์ (Ammeter) เครื่องหนึ่งไปวัดกระแสที่ใช้ในหลอดไฟดวงหนึ่งเป็นจำนวน 3 ครั้งติดต่อกัน เพื่อหาค่ากระแสที่แน่นอน

4 : ใช้โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) 3 เครื่องไปวัดแรงดันของแบตเตอรีลูกหนึ่งเพื่อหาค่าแรงดันที่เชื่อถือได้

คำตอบที่ถูกต้อง : 4

ข้อที่ 76 : ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

1 : บอกให้ทราบว่าค่าวัดมีการกระจายตัวจากค่าตัวกลางเลขคณิตมากหรือน้อยเพียงไร

2 : บอกให้ทราบว่าค่าวัดมีการเบี่ยงเบนจากค่าจริงมากน้อยเพียงไร

3 : ถ้าความเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าน้อยๆก็หมายถึงมีค่าผิดพลาดเชิงระบบน้อย

4 : ถ้าความเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าน้อยๆก็หมายถึงค่าวัดทวนซ้ำส่วนใหญ่มีความเที่ยงตรงน้อย

คำตอบที่ถูกต้อง : 1

ข้อที่ 77 : ถ้าผลการวัดแรงดันที่อ่านได้จากมิเตอร์มีค่าเป็น 10.450552 V แต่ต้องการความละเอียดอยู่ที่ระดับ 1 mV ค่าวัดที่ได้นี้ควรปัดเศษให้เหลือเป็นเลขในข้อใด

1 : 10.45 V

2 : 10.450 V

3 : 10.451 V

4 : 10.4506 V

คำตอบที่ถูกต้อง : 3

ข้อที่ 78 : แบตเตอรี (battery) ก้อนหนึ่งระบุว่ามีแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 6.00 V แต่เมื่อทำการวัดด้วยโวลต์มิเตอร์ (voltmeter) แล้วได้เท่ากับ 5.94 V ค่าผิดพลาดจากการวัดครั้งนี้มีกี่เปอร์เซ็นต์

1 : 1 % 

2 : – 1 %

3 : – 99 %

4 : 0.06 %

คำตอบที่ถูกต้อง : 2

ข้อสอบไฟฟ้าเบื้องต้น พร้อมเฉลย