แบบฝึกหัด ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แบบทดสอบท้ายหน่วยเศรษฐศาสตร์

ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด

  1. ข้อใดเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดและดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย

    1.   ?    ก. กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ
    2.   ?    ข. กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
    3.   ?    ค. สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม
    4.   ?    ง. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการต่างประเทศ
  2. การดำเนินงานของ ขบวนการเสรีไทยŽ สอดคล้องกับข้อความใด

    1.   ?    ก. การสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง
    2.   ?    ข. ความเป็นอิสระทางการเมือง
    3.   ?    ค. การดำเนินงานตามหลักประชาธิปไตย
    4.   ?    ง. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนไทย
  3. ข้อใดกล่าวถึงคณะรัฐมนตรีได้ถูกต้อง

    1.   ?    ก. มาจากการเป็นสมาชิกวุฒิสภา
    2.   ?    ข. เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน
    3.   ?    ค. ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา
    4.   ?    ง. เป็นคณะบุคคลที่มีอำนาจในการบริหารประเทศ
  4. ใครเป็นผู้นำร่างกฎหมายที่ผ่านมติของสภาผู้แทนราษฎรขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรง
    ใครเป็นผู้นำร่างกฎหมายที่ผ่านมติของสภาผู้แทนราษฎรขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรง
    ลงพระปรมาภิไธย

    1.   ?    ก. นายกรัฐมนตรี
    2.   ?    ข. ประธานรัฐสภา
    3.   ?    ค. ประธานองคมนตรี
    4.   ?    ง. ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  5. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนที่มีลักษณะเป็นเผด็จการ ข้อใดถูกต้องที่สุด

    1.   ?    ก. รัฐบาลจะรับฟังข้อเนอแนะจากประชาชนก่อนทำนโยบาย
    2.   ?    ข. ประชาชนมีเสรีภาพทุกเรื่องยกเว้นความมั่นคง
    3.   ?    ค. การกำหนดนโยบายสาธารณะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
    4.   ?    ง. ประชาชนจะต้องยอมรับ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของผู้นำหรือคณะผู้นำ

1. ข้อใดกล่าวถึงความสำคัญของกฎหมายได้ถูกต้องที่สุด


2. บุคคลที่จะรับผู้อื่นเป็นบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุเท่าใด


3. นิติกรรมใดที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว


4. ?นาย ก นำที่ดินมาทำสัญญาขายฝากไว้กับนาย ข กำหนดเวลาในการใช้สิทธิไถ่ไว้ 5 ปี เมื่อถึงกำหนดเวลาไถ่ นาย ก ไม่สามารถมาไถ่คืนได้ จึงขอตกลงกับนาย ข เลื่อนเวลาในการใช้สิทธิไถ่ถอนออกไปอีก 2 ปี? 10. จากข้อความ ข้อใดกล่าวถูกต้อง


5. การกู้ยืมเงินต้องมีมูลค่าตั้งแต่กี่บาทขึ้นไปจึงจะมีการทำหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ เพื่อใช้เป็นหลักฐาน ในการฟ้องร้องบังคับคดีในกรณีที่ ไม่ ปฏิบัติตาม


6. การกระทำความผิดอาญาข้อใดที่ผู้กระทำ ไม่ ต้องรับโทษถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย


7. บุคคลใดเป็นผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียกรรม


8. สินค้าประเภทน้ำหอม หน่วยงานใดเป็นผู้จัดเก็บภาษี


9. บุคคลใดที่ ไม่ได้ รับยกเว้นการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ


10. อนุสัญญาเจนีวาฉบับใดว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก


11. กรอบความร่วมมือสามเหลี่ยมมรกต มีประเทศใดเป็นสมาชิก


12. ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ในด้านใดเป็นหลัก


13. ข้อใด ไม่ใช่ เหตุผลที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกมีความร่วมมือระหว่างประเทศ


14. การทูตมีบทบาทสำคัญอย่างไรในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


15. องค์การใดที่มีเป้าหมายหลักในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


16. โครงการก่อสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ?น้ำงึม 2? ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือประเทศลาวในด้านใด


17. ข้อใด ไม่ใช่ เป้าหมายของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน


18. หน่วยงานใดในองค์การสหประชาชาติที่มีหน้าที่สอบสวนกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่ ความขัดแย้งระหว่างประเทศ


19. ปัญหาในสังคมสมัยใหม่เกิดจากความขัดแย้งในข้อใดมากที่สุด


20. หน่วยงานใดที่มิได้เป็นองค์การระหว่างประเทศ


ชื่อ-นามสกุล :ชั้น :เลขที่ :ได้คะแนน :คิดเป็น :ผลการสอบ :

แบบฝึกหัด ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แบบฝึกหัด ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เรื่อง  การดำเนินนโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International  Relations :IR)

      ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  คือ การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก
      การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ต้องเน้นผลประโยชน์แห่งชาติ  ความมั่นคง และเศรษฐกิจ  เป็นสำคัญ
      รูปแบบความสัมพันธ์
      1)  ด้านการเมือง  แลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางการทูต การทหาร
      2)  ด้านเศรษฐกิจ  ซื้อขายสินค้าและบริการ  การกู้ยืมเงิน  การลงทุน
      3)  ด้านกฎหมาย  ทำข้อตกลงกำหนดระเบียบ  ทำสนธิสัญญา  อนุสัญญา  ความตกลง  กฎบัตร
      4)  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  การศึกษา  ศาสนา  การท่องเที่ยว
      5)  ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  แลกเปลี่ยนพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นโยบายต่างประเทศของไทย
      1)  หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  เกิดภาวะสงครามเย็น  ไทยเป็นพันธมิตรกับค่ายเสรีประชาธิปไตย  มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาอย่างมาก  ส่งผลให้มีความห่างเหินกับประเทศเพื่อนบ้าน  ซึ่งปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์
      2)  กรณีเขาพระวิหาร พ.ศ. 2505  ระหว่างไทยกับกัมพูชา  จนต้องนำคดีเข้าสู่ศาลโลก  หัวหน้าทีมทนายความ
ฝ่ายไทย คือ ม.ร.ว. เสนีย์  ปราโมช  ตรงกับสมัยจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์  เป็นนายกรัฐมนตรี  ในที่สุดศาลโลกตัดสิน
ให้กัมพูชาเป็นฝ่ายชนะคดี
      3)  ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน พ.ศ. 2518  สมัย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์  ปราโมช  เป็นนายกรัฐมนตรี
      4)  นโยบายแปรสนามรบเป็นสนามการค้า  เป็นการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน  คือ กลุ่มประเทศอินโดจีน (เวียดนาม  กัมพูชาและลาว)  สมัย พล.อ.ชาติชาย  ชุณหะวัณ  เป็นนายกรัฐมนตรี
      5)  นโยบายเสี้ยววงเดือนแห่งโอกาส  ระหว่างไทยกับกัมพูชา  เพื่อพัฒนาเขตชายแดน
      6)  นโยบายการทูตแบบเกี่ยวพันเชิงสร้างสรรค์  (Constructive  Engagement)  เป็นความพยายามของไทยใน        7)  นโยบายการทูตเชิงรุก  (Forward  Engagement)  และนโยบายมองตะวันตก (Look  West  Policy)  เกิดขึ้นในสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ  ชินวัตร
      8)  ไทยเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศ  เช่น UN, APEC, ASEAN, AFTA, GMS, BIMSTEC

การเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ
      1)  องค์การสหประชาชาติ (The  United  Nations: UN)
          จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 24  ตุลาคม  พ.ศ. 2488(ค.ศ. 1945 ) หลังสงครามโลกยุติ  มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่
กรุงนิวยอร์ก  สหรัฐอเมริกา
          มีวัตถุประสงค์ คือ  ธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกันของโลก  ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน  และเป็นศูนย์กลางการประสานงานของชาติต่าง ๆ

      2)  สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of  Southeast  Asian Nation) 

           ก่อตั้งเมื่อวันที่  8  สิงหาคม  พ.ศ.  2510  (ค.ศ. 1967) โดยมีสมาชิแรกเริ่ม  5 ประเทศ  คือ  ไทย มาเลเซีย
อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์  และสิงคโปร์
           ปัจจุบันมีสมาชิก 10 ประเทศ  โดยมีสมาชิกเพิ่มเติม  ได้แก่  บรูไน  เวียดนาม  ลาว  เมียนมาร์  และกัมพูชา
มีสำนักงานใหญ่อยู่กรุงจาการ์ตา  ประเทศอินโดนีเซีย
           มีวัตถุประสงค์เพื่อ  เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

      3)  เขตการค้าเสรีอาเซียน  (Asean  Free  Trade  Area : AFTA)
           ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2535  โดยเป็นความคิดริเริ่มของนายอานันท์  ปันยารชุน  นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น
           มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การค้าภายในอาเซียนขยายตัวเร็วขึ้น  มีอัตราภาษีต่ำ  เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ 

      4)  ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (Asia – Pacific  Economic  Cooperation : APEC)
           ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)  ตามข้อเสนอของนายบ๊อบ  ฮอร์ก (Bob  Hawke)  อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศออสเตรเลีย
           มีจุดมุ่งหมาย  เพื่อเป็นเวทีสำหรับให้สมาชิกปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันทางด้านเศรษฐกิจ
เพื่อส่งเสริมให้การค้าการลงทุนเป็นไปอย่างเสรีและขจัดอุปสรรคทางการค้าต่าง ๆ
          ข้อดีของการเข้าเป็นสมาชิกเอเปกของไทย  ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสขยายการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศสมาชิกซึ่งเป็นตลาดใหญ่มากยิ่งขึ้น

      5)  องค์การการค้าโลก  (World  Trade  Organization : WTO)
           ก่อตั้งเมื่อวันที่  1  มกราคม  พ.ศ. 2538  ตามข้อตกลงว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (GATT)
           วัตถุประสงค์  เพื่อเป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้า และจัดทำกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้การค้าโลกมีความเสรียิ่งขึ้น บนพื้นฐานของการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน
           ข้อดีของการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก  คือ  ทำให้สินค้าสำคัญของไทย  โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร  อาหารแปรรูป  สิ่งทอและเสื้อผ้า  ถูกกีดกันทางการค้าน้อยลง  การคิดอัตราภาษีนำเข้าในแต่ละประเทศ
เป็นระบบเดียวกัน  และในขณะเดียวกันประเทศไทยก็ต้องเปิดเสรีให้กับประเทศอื่น ๆ ได้ส่งสินค้าเข้ามาในประเทศเช่นกัน  รวมทั้งไทยต้องปรับปรุงมาตรฐานการผลิตสินค้าและบริการให้เป็นไปตามหลักสากลมากขึ้น  เช่น  สินค้าต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน  ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ