แบบฝึกทักษะการพูดในโอกาสต่างๆ

ความรู้

ทำแบบทดสอบออนไลน์ได้เกียรติบัตรฟรี เรื่อง การพัฒนาทักษะการพูดในโอกาสต่างๆ จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี

แบบฝึกทักษะการพูดในโอกาสต่างๆ

ทำแบบทดสอบออนไลน์ได้เกียรติบัตรฟรีเรื่อง การพัฒนาทักษะการพูดในโอกาสต่างๆ จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี

  • คำชี้แจง การทำแบบทดสอบออนไลน์เรื่องนี้ในระบบออนไลน์ มีจำนวนทั้งหมด 10 ข้อ ท่านที่ทำแบบทดสอบ ผ่าน 70% ขึ้นไป จึงจะได้รับเกียรติบัตรและรอรับเกียรติบัตรได้ทาง E-mail ได้เลยนะคะ

***กรุณากรอกข้อมูลให้ถูกต้อง และตรวจสอบข้อมูลให้เรียบร้อย เพื่อประโยชน์ของท่านด้วยนะคะ หากแบบทดสอบเต็ม หรือระบบปิด ให้กลับมาทำในวันพรุ่งนี้นะคะ ***

แบบฝึกทักษะการพูดในโอกาสต่างๆ

  1. ลิงก์ทำแบบทดสอบ เรื่องการพัฒนาทักษะการพูดในโอกาสต่างๆ
  2. ลิงก์สำรองทำแบบทดสอบ เรื่อง การพัฒนาทักษะการพูดในโอกาสต่างๆ

ซึ่งเมื่อทำแบบทดสอบเสร็จแล้วในระบบจะมีคะแนนบอกว่าท่านทำผ่านหรือได้คะแนนมากน้อยเพียงใดจึงทำให้เราสามารถทราบได้ว่าได้คะแนนไปมากน้อยเท่าไหร่ แต่ถ้ายังทำไม่ผ่านเกณฑ์ก็จะไม่ได้รับเกียรติบัตรนะคะ เมื่อทำรอบแรกแล้วยังไม่ผ่านสามารถทำได้จนกว่าจะผ่านนะคะ

และวันนี้เราก็มีเกียรติบัตรตัวอย่างที่เราได้ทำผ่านมาเมื่อไม่นานนี้มาให้ได้ดูกันเราพึ่งทำไปเมื่อไม่นานนี่เองค่ะน่าเก็บสะสมเอาไว้นะคะ

แบบฝึกทักษะการพูดในโอกาสต่างๆ

ซึ่งจากการทำแบบทดสอบทำให้ได้ทบทวนและเรียนรู้ในเรื่องการพัฒนาทักษะการพูดในโอกาสต่างไม่ว่าจะเป็น คุณลักษณะที่ดีของผู้พูด เช่น คิดเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ หมั่นศึกษาความรู้เรื่องที่พูด มีความรับผิดชอบในสิ่งที่พูด เป็นต้น ความสำคัญของการพูดในงานอาชีพ เช่น ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ลดปัญหาความขัดแย้ง เเสวงหาลูกค้าใหม่ การกำหนดจุดมุ่งหมายในการพูดนำเสนอผลงานควรคำนึงถึงความต้องการของผู้ฟัง การพูดสาธิตมีจุดประสงค์ก็เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติ การเตรียมเรื่องที่จะพูดผู้พูดควรคำนึงถึงเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้ฟัง คุณลักษณะของเนื้อเรื่องที่ดี คือ มีหลักฐานอ้างอิง มีข้อเท็จจริง มีสาระดี เป็นต้น จุดมุ่งหมายของการพูดให้สัมฤทธิผล เช่น พูดเพื่อให้ความรู้ พูดเพื่อให้ความจรรโลงใจ พูดเพื่อโน้มน้าวใจ เป็นต้นค่ะ ซึ่งการพูดก็เป็นอีกทักษะหนึ่งที่เราต้องได้ใช้ในชีวิตประจำวันเราได้ทบทวนและเรียนรู้ไว้จะดีไม่น้อยเลยนะคะ

ความคิดเห็น

แบบฝึกทักษะการพูดในโอกาสต่างๆ

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์

การพูดในโอกาสและสถานการณ์ต่าง ๆ

จุดมุ่งหมาย

โอกาสที่จะต้องกล่าวคำปราศรัย หรือพูดต่อที่ชุมนุมชน มีมากมายเหลือเกิน ทั้งแบบเป็นทางการ และแบบไม่เป็นทางการ ทุกคนจะต้องเผชิญปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องการพูด ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ตราบใดที่ยังอยู่กับสังคม

ผู้ฝึกจะต้องเรียนรู้หลักทั่วไปของการกล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสต่าง ๆ แล้วเลือกเตรียมสุนทรพจน์สักแบบหนึ่งมากล่าวในที่ประชุม โดยสมมุติสถานการณ์ขึ้นว่าจะกล่าวในโอกาสอะไร ผู้ฟังในห้องประชุมเป็นใคร และตนเองกล่าวในฐานะอะไร จะเป็นเรื่องจริงหรือเลียนแบบ โดยสมมุติสถานการณ์แปลก ๆ ขึ้นก็ได้ แต่ต้องสมเหตุสมผล ถ้าเป็นเรื่องทีเล่นทีจริงต้องระวัง อย่าให้ผู้ใดเสียหายโดยไม่จำเป็น

ในการกล่าวรายงานหรือแถลงเป็นทางการ อาจมีต้นร่างมาอ่านเพื่อไม่ให้ผิดพลาดตกหล่น แต่ผู้พูดจะต้องรักษาบุคลิกภาพในการพูดให้เหมาะสม ไม่ก้มหน้าดูบทตลอดเวลา ต้องใช้สายตาดูบทเพียง ๑ ใน ๓ อีก ๒ ใน ๓ มองผู้ฟัง

ข้อควรคำนึงสำหรับการพูดในโอกาสต่าง ๆ

เมื่อได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พูดในโอกาสใดก็ตาม ที่มิใช่เป็นงานประจำหรือมิใช่งานปาฐกถาธรรมดาทั่ว ๆไป ผู้พูดควรสำรวจวิเคราะห์สิ่งต่อไปนี้ก่อน

๑. จุดมุ่งหมายของการประชุม

- การประชุมนั้นจัดขึ้นเพื่ออะไร

- ผู้ฟังเป็นใคร มาประชุมในฐานะอะไร

- สาระสำคัญของการประชุมอยู่ตรงไหน

๒. ลำดับรายการ

- มีรายการเรียงลำดับกันไว้อย่างไร

- ผู้พูดอยู่ในฐานะอะไร กล่าวในนามใคร

- เวลาที่กำหนดไว้นานเท่าใด หรือควรจะนานเท่าใด

- ก่อนหรือหลังรายการพูดมีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจพิเศษอย่างใดหรือไม่

๓. สถานการณ์

- ผู้ฟังกำลังใจจดใจจ่อ อยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษหรือไม่

- ผู้ฟังมาด้วยใจสมัคร หรือถูกขอร้อง ถูกบังคับให้มาฟัง

- ผู้ฟังรู้จักผู้พูดหรือไม่ เลื่อมใสอยู่แล้วหรือไม่ชอบหน้า

เมื่อใดควรอ่านจากร่าง

โดยทั่วไปการพูดที่จืดชืดน่าเบื่อหน่ายที่สุด คือ การอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้ เพราะเป็นการพูดที่ไม่ได้ออกมาจากความรู้สึกอย่างจริงใจของผู้พูด ผู้อ่านไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาได้ดีเท่ากับการพูดปากเปล่า ดั้งนั้น การอ่านจึงเหมาะสำหรับกรณีต่อไปนี้เท่านั้น

๑. ในโอกาสพระราชพิธี

๒. ในการเปิดประชุม หรือเปิดงานต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ

๓. การรายงานทางวิชาการ หรือสรุปการประชุม

๔. การอ่านข่าวหรือบทความทางวิทยุ โทรทัศน์ ที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว

๕. โอกาสสำคัญอื่น ๆ ซึ่งไม่ต้องการให้มีการพูดขาดหรือเกิน

นอกจากการอ่านทุกคำจากต้นฉบับที่สมบูรณ์แล้ว ยังมีการอ่านอีกแบบหนึ่ง ซึ่งอาศัย หลักเดียวกัน แต่ไม่ได้อ่านทั้งหมด อ่านแต่เพียงข้อความบางตอนที่ยกมาประกอบ เช่น ตัวเลข สถิติ วันเดือนปี จดหมายเหตุในประวัติศาสตร์ ข้อความในอัญญประกาศ คำประพันธ์ สุภาษิต คำสอนทางศาสนา เป็นต้น

ข้อควรระวังในการอ่าน

๑. ควรซ้อมอ่านต้นฉบับให้คุ้นกับจังหวะ วรรคตอนเสียก่อน

๒. ต้นฉบับต้องเขียนหรือพิมพ์ให้อ่านง่าย

๓. ไม่ควรเย็บติดกัน ควรวางซ้อนกันไว้ เรียงลำดับเลขหน้าให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เกิดเสียงดังเวลาพลิกหน้าต่อไป

๔. ในเมื่อจะต้องอ่านก็ไม่ควรทำลับ ๆ ล่อ ๆ ควรวางต้นฉบับไว้บนแท่น หรือถือด้วยมือทั้งสองข้าง ถ้าไม่มีแท่นให้วาง

๕. อย่าก้มหน้าก้มตาอ่านตลอดเวลา ถ้าได้ซักซ้อมกันมาแล้ว เพียงแต่เหลือบสายตา ก็อาจอ่านได้ตลอดบรรทัดหรือทั้งประโยค

๖. ใช้สายตามองต้นฉบับเพียง ๑ ใน ๓ ที่เหลือมองที่ประชุม

๗. ระวังอย่าให้ขาดตอนเมื่อจะขึ้นหน้าใหม่

๘. รักษาท่วงทำนองการพูดใหม่ อย่าให้เป็นสำเนียงอ่าน

โอกาสต่าง ๆ ในการพูด

การพูดในโอกาสพิเศษ อาจแบ่งออกได้เป็น ๗ ประเภทใหญ่ ๆ คือ

๑. กล่าวแสดงความยินดี/กล่าวตอบ

๒. กล่าวไว้อาลัย

๓. กล่าวอวยพร/กล่าวตอบ

๔. กล่าวสดุดี

๕. กล่าวมอบรางวัลหรือตำแหน่ง/กล่าวตอบ

๖. กล่าวต้อนรับ

๗. กล่าวแนะนำผู้พูด-องค์ปาฐก

หลักทั่วไป

๑. พยายามคิดค้นหาลักษณะเฉพาะของโอกาสหรือบุคคลที่กล่าวถึง

อย่าพูดเหมือนกันทุกงาน

๒. อย่าลืมการขึ้นต้น และการลงท้ายที่ดี

๓. อย่าพูดนานเกินไป ควรรวบรัดที่สุด

๔. ใช้อารมณ์ขันบ้าง ถ้าเหมาะสม

ตัวอย่างสถานการณ์และหัวข้อการพูด

๑. กล่าวแสดงความยินดี

ก. แสดงความยินดีในโอกาสรับตำแหน่งใหม่

- ผู้กล่าว กล่าวในนามของใคร

- ยกย่องในความวิริยะอุตสาหะและคุณความดี

- อวยพรหรือมอบของที่ระลึก

- อย่าชักชวนผู้ฟัง ปรบมือ ควรปล่อยให้ผู้ฟังตัดสินใจเอง หรือปรบมือนำ

ข. กล่าวตอบ

- ขอบคุณ

- ปวารณาตัวรับใช้ ยืนยันในความเป็นกันเองเหมือนเดิม

- อวรพรตอบ

๒. กล่าวไว้อาลัย

ก. กล่าวให้เกียรติผู้ตาย

- ยกย่องคุณความดีของผู้ตาย

- ให้เกียรติและให้ความอบอุ่นแก่ญาติมิตรผุ้ตาย

- ชักชวนให้ยืนไว้อาลัย (ไม่ควรมีการปรบมือเด็ดขาด)

ข. กล่าวแสดงความอาลัยในการย้ายงาน

- ชมเชยในผลงานที่ปฏิบัติ

- กล่าวถึงความรักความอาลัยของผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานทุกคน

- หวังว่าจะก้าวหน้าและทำประโยชน์ต่อไป

- อวยพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพและประสบความสำเร็จ

๓. กล่าวอวยพร

ก. อวยพรขึ้นบ้านใหม่

- ความสำเร็จในครอบครัวอยู่ที่การมีบ้านช่องเป็นหลักฐาน

- ความซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียรของเจ้าของบ้าน

- อวยพรให้ประสบความสุข

ข. อวยพรวันเกิด

- ความสำคัญของวันนี้

- คุณความดีของเจ้าภาพ

- ความเจริญเติบโต ก้าวหน้า หรือเป็นที่พึ่งของบุตรหลาน

- อวยพรให้อายุยืนนาน

ค. อวยพรคู่สมรส

- ความสัมพันธ์ของตนต่อคู่สมรส หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

- ความยินดีที่ทั้งสองครองชีวิตคู่

- อวยพร

ง. กล่าวตอบรับพระ(ทุกอย่าง)

- ขอบคุณในเกียรติที่ได้รับ

- ยืนยันจะรักษาคุณงามความดี และปฏิบัติตามคำแนะนำ

- อวยพรตอบ

๔. กล่าวสดุดี

ก. กล่าวมอบประกาศนียบัตรสดุดี

- ความหมายและความสำคัญของประกาศนียบัตร

- ความเหมาะสมของผู้ได้รับประกาศนียบัตร

- มอบ สัมผัสมือ และปรบมือให้เกียรติ

ข. กล่าวสดุดีบุคคลสำคัญที่ล่วงลับไปแล้ว

- ความสำคัญที่มีต่อสถาบัน

- ผลงานและมรดกตกทอด

- ยืนยันจะสืบต่อมรดกนี้อย่างเต็มความสามารถ

- แสดงคารวะ/ปฏิญาณร่วมกัน

๕. กล่าวมอบรางวัลหรือตำแหน่ง

ก. มอบตำแหน่ง

- ชมเชยความสามารถและความดีเด่นของผู้ที่ได้รับตำแหน่ง

- ความหมายและเกียรตินิยมของตำแหน่งนี้

- ฝากความหวังไว้กับผู้ดำรงตำแหน่งใหม่

- มอบของที่ระลึกหรือเข็มสัญญลักษณ์

- สัมผัสมือและปรบมือให้เกียรติ

ข. รับมอบตำแหน่ง

- ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจและให้เกียรติ

- ชมเชยกรรมการชุดเก่า(ส่วนดีเด่น)ที่กำลังจะพ้นไป

- แถลงนโยบายโดยย่อ

- ให้คำสัญญาจะรักษาเกียรติและปฏิบัติหน้าที่อย่างดียิ่ง

- ขอความร่วมมือจากกรรมการและสมาชิกทุกคน

๖. กล่าวต้อนรับ

ก. ต้อนรับสมาชิกใหม่

- ความสำคัญและความหมายของสถาบัน

- หน้าที่และสิทธิที่สมาชิกจะพึงได้รับ

- กล่าวยินดีต้อนรับ

- มอบเข็มสัญญลักษณ์(ถ้ามี) สัมผัสมือ

ข. ต้อนรับผู้มาเยือน

- เล่าความเป็นมาของสถาบันโดยย่อ

- ความรู้สึกยินดีที่มีโอกาสต้อนรับ

- มอบหนังสือหรือของที่ระลึก

- แนะนำให้ที่ประชุมรู้จัก และเชิญกล่าวตอบ

๗. กล่าวแนะนำผู้พูด- องค์ปาฐก

- เหตุที่ต้องพูดเรื่องนี้

- ความรู้ ประสบการณ์ และความสำคัญของผู้พูด โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนี้

- สร้างบรรยากาศเป็นกันเองระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ทำให้ผู้พูดอยากพูดและ

   ผู้ฟังอยากฟัง

- อย่าแนะนำยาวเกินไป และอย่ายกยอจนเกินความจริง