ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นวรรณคดีสมัยใด

รหัสข้อมูล

TLD-001-237

ชื่อเรื่องหลัก

ศิลาจารึกหลักที่ 1

ชื่อเรื่องอื่น

ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง

ยุคสมัย

ผู้แต่ง

คำประพันธ์

ร้อยแก้ว 

ฉันทลักษณ์

ความเรียง 

เนื้อเรื่องย่อ

บรรทัดที่ 1 - 18 เป็นเรื่องราวของพ่อขุนรามคำแหงที่ทรงเล่าพระประวัติของพระองค์เอง โดยใช้สรรพนามแทนพระองค์ว่า กู ทรงเล่าว่าพระราชบิดาทรงพระนามว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระราชมารดาทรงพระนามว่านางเสือง ทรงมีพี่น้อง 5 พระองค์ ทรงเล่าถึงพระกรณียกิจที่ทรงชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดที่มาตีเมืองตาก และพระจริยาวัตรที่ทรงปฏิบัติต่อพระราชบิดาและพระราชมารดาเป็นอย่างดียิ่ง เมื่อพระราชบิดาและพระราชมารดาสิ้นพระชนม์ก็ทรงปรนนิบัติต่อพ่อขุนบานเมืองพระเชษฐาธิราชเช่นเดียวกับที่ทรงปฏิบัติต่อพระราชบิดาและพระราชมารดา เมื่อพ่อขุนบานเมืองสิ้นพระชนม์  พระองค์ก็ทรงปกครองบ้านเมือง    

ตั้งแต่บรรทัดที่ 19 ในด้านที่ 1 จนจบ เป็นการเล่าเรื่องเมืองสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีลักษณะเป็นการยอพระเกียรติโดยบุคคลอื่นเป็นผู้เล่า บรรยายถึงเมืองสุโขทัยว่ามีความอุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร ใครอยากค้าขายสิ่งใดก็ทำได้โดยสะดวก ประชาชนมีแต่ความเกษมสำราญ พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยุติธรรม ทรงเอาพระทัยใส่ต่อประชาราษฎร์ด้วยพระเมตตา ทรงสร้างพระแท่นมนังคศิลาเพื่อให้พระสงฆ์แสดงธรรมเทศนาในวันพระ และเป็นที่ทรงว่าราชการในวันอื่น ทรงสร้างวัดมหาธาตุ ประชาชนมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา รักษาศีลในช่วงเข้าพรรษา เมื่อออกพรรษาก็มีการทอดกฐิน มีการสร้างพระเจดีย์ พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทย ตอนท้ายเป็นการสรรเสริญพระเกียรติคุณของพ่อขุนรามคำแหงว่าทรงเป็นทั้งพระมหากษัตริย์และครูบาอาจารย์ผู้สั่งสอนชาวไทยให้รู้บุญรู้ธรรม เมืองสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมีอาณาเขตกว้างขวาง

วัตถุประสงค์

ผู้เรียบเรียง

เอกสารอ้างอิง

ประชุมจารึกภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2548.

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

คำสำคัญ

ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นวรรณคดีสมัยใด

ศิลาจารึกเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่บรรพชนสมัยโบราณสร้างขึ้นเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตในช่วงเวลาที่มีการจารึกศิลา
นั้นนอกจากนี้ศิลาจารึกยังเป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งในการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี การจัดลำดับความสำคัญของหลักฐานและเอกสารอ้างอิงนั้น
ถือกันว่าศิลาจารึกเป็นเอกสารข้อมูลปฐมภูมิ (primary source) ที่มีคุณค่าใช้อ้างอิงได้ศิลาจารึกเก่าที่สุดที่พบในประเทศไทย เท่าที่มีหลักฐานทางศักราชปรากฏอยู่
ด้วยคือ จารึกเขาน้อย พบที่เขาน้อย อำเภออรัญประเทศไทย จังหวัดปราจีนบุรี สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 1180 จารึกที่พบทั่วไปในประเทศไทยใช้อักษรต่างๆ กัน
เช่น อักษรปัลลวะ อักษรมอญโบราณ อักษรขอมโบราณจารึกที่คนไทยทำขึ้นปรากฏหลักฐานในต้นพุทธศตวรรษที่ 19
เมื่อคนไทยก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นในแถบลุ่มแม่น้ำยม พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้ประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นในปี
พุทธศักราช 1826 ลายสือไทยในศิลาจารึก

ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นวรรณคดีสมัยใด

1. จารึกอักษรไทยสมัยสุโขทัย ได้แก่จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จังหวัดสุโขทัย จารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูนและจารึกวัดเขากบ จังหวัดนครสวรรค์
2. จารึกอักษรไทยอยุธยา เช่น จารึกแผ่นดีบุกวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. จารึกอักษรไทยล้านนา เช่น จารึกวัดปราสาท จังหวัดเชียงราย
4. จารึกอักษรไทยอีสาน เช่น จารึกวัดแตนเมือง จังหวัดหนองคาย

5. จารึกอักษรธรรม เช่น จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา จังหวัดอุดรธานี เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยม มียอดแหลมมน สูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร มีข้อความจารึกทั้ง 4 ด้าน สูง
59 เซนติเมตร กว้าง 35 เซนติเมตร ด้านที่1 และด้านที่ 2 มี 35 บรรทัด ด้านที่ 3 และด้านที่ 4 มี 27 บรรทัด
ในปีพุทธศักราช 2376 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงผนวชอยู่และได้เสด็จประพาสเมืองเหนือ เพื่อนมัสการเจดียสถานต่างๆ ทรงพบศิลา
จารึกหลักนี้ และศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง พร้อมกับพระแท่นมนังศิลาบาตรที่เนินปราสาทเก่าเมืองสุโขทัย จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำลงมาเก็บรักษาไว้ ณ วัดราชาธิวาส
ซึ่งเป็นที่ประทับจำพรรษา ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ก็โปรดให้ส่งศิลาจารึกหลักนี้มาด้วย
ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง บางทีเรียกว่า จารึกหลักที่ 1 เป็นจารึกที่สำคัญและยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทยที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ทั้งนี้เพราะการใช้ภาษาในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนั้นเข้าลักษณะสากลที่ว่า ภาษาของคนโบราณมักใช้ถ้อยคำพื้นๆ ประโยคที่ใช้กินความเป็นภาษาพูด
มากกว่าภาษาเขียน บางตอนมีเสียงของคำสัมผัส ฟังไพเราะเข้าลักษณะของวรรณคดีได้ ปัจจุบันศิลาจารึกจัดแสดงไว้ที่ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทยในพระที่
นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ผู้แต่ง
สันนิษฐานว่าผู้แต่งอาจมีมากกว่า 1 คน เพราะเนื้อเรื่องในหลักศิลาจารึกแบ่งได้เป็น 3 ตอน
ตอนที่ 1 ใช้คำแทนชื่อว่า กู เข้าใจว่าพ่อขุนรามคำแหงคงจะทรงแต่งเอง
ตอนที่ 2 และ 3 เข้าใจว่าจะต้องเป็นผู้อื่นแต่งเพิ่มเติมภายหลัง
ความมุ่งหมาย

ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นวรรณคดีสมัยใด

เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ ในสมัยกรุงสุโขทัย ลักษณะการปกครอง ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ตลอดจนบรรยายถึงความเจริญรุ่งเรือง
และความสมบูรณ์พูนสุขของกรุงสุโขทัย
ลักษณะการแต่ง
ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นวรรณคดีสมัยใด

แต่งเป็นร้อยแก้วที่มีลักษณะเป็นภาษาไทยแท้ เป็นประโยคสั้นๆ กะทัดรัด บางตอนมีเสียงสัมผัสคล้องจองกันบ้างระหว่างวรรค
เนื้อหาสาระ
ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นวรรณคดีสมัยใด

ตอนที่ 1 เป็นเรื่องราวของพ่อขุนรามคำแหงทรงเล่าประวัติของพระองค์ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชย์ ใช้คำแทนชื่อว่า “กู” เป็นพื้น
จึงเป็นทำนองอัตชีวประวัติ
ตอนที่ 2 เนื้อเรื่องเป็นการเล่าเหตุการณ์ต่างๆ และขนบธรรมเนียมของกรุงสุโขทัย การสร้างพระแทนมนังคศิลา การสร้างวัดมหาธาตุ
เมืองศรีสัชนาลัย และการประดิษฐ์อักษรไทย
ตอนที่ 3 เนื้อเรื่องเป็นการกล่าวสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตของกรุงสุโขทัยที่แผ่กว้างออกไป
คุณค่า
ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นวรรณคดีสมัยใด

1. ด้านประวัติศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง จารึกไว้ทำนองเฉลิมพระเกียรติ ตลอดจนความรู้ด้านประวัติศาสตร์
โบราณคดี และสภาพสังคมของกรุงสุโขทัย ทำให้ผู้อ่านรู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงสุโขทัย พระปรีชาสามารถของพ่อขุนรามคำแหง และสภาพชีวิต
ความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัย
2. ด้านสังคม ให้ความรู้ในด้านกฎหมายและการปกครองในสมัยสุโขทัย
3. ด้านวัฒนธรรม ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีของชาวสุโขทัย
4. ด้านภาษา จารึกของพ่อขุนรามคำแหงเป็นหลักฐานสำคัญที่สุด ที่แสดงให้เห็นถึงกำเนิดของวรรณคดีและอักษรไทย
ตัวอย่าง
ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นวรรณคดีสมัยใด

“พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้ญิ่งโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก”
“เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู
กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู
ดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม”
ที่มาของเนื้อหา
1. ประวัติวรรณคดี 1 (ท 031) ของ รศ.บรรเทา กิตติศักดิ์/อ.กรรณิการ์ กิตติศักดิ์ : หน้า17 – 19 : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด
2. ประวัติวรรณคดี 1 (ท 031) ของ อ.เปลื้อง ณ นคร/อ.ปราณี บุญชุ่ม : หน้า 16 , 18 : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์

ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นวรรณคดีประเภทใด

ศิลาจารึก เป็นวรรณกรรมชนิดลายลักษณ์อักษรอย่างหนึ่ง อาศัยการบันทึกบนเนื้อศิลา ทั้งชนิดเป็นแผ่น และเป็นแท่ง โดยใช้โลหะแหลมขูดเนื้อศิลาให้เป็นตัวอักษร เรียกว่า จาร หรือ การจารึก ศิลาจารึกมีคุณค่าในเชิงบันทึกทางประวัติศาสตร์ ผู้จารึกหรือผู้สั่งให้มีศิลาจารึกมักจะเป็นผู้มีอำนาจ มิใช่บุคคลทั่วไป เนื้อหาที่จารึกมีความหลากหลาย ...

ศิลาจารึกหลักที่หนึ่งเป็นวรรณคดีเพราะเหตุใด

ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีคุณค่าทางวรรณกรรมมาก โดยเฉพาะด้านภาษาศาสตร์ เพราะเป็นต้นกำเนิดของภาษาไทยในปัจจุบัน ทั้งในแง่ของตัวอักษร วิธีการเขียน การใช้คำ และหลักภาษา นอกจากนี้ยังมีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา ความเชื่อ กฎหมาย การปกครอง ตลอดจนสภาพการณ์บ้านเมืองในอดีต และที่สำคัญ ศิลาจารึก หลัก ...

ศิลาจารึกหลักที่ 1 สร้างขึ้นในสมัยใด

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทย และตัวอักษรไทย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นในปี พุทธศักราช 1826 นับต่อเนื่องมาถึงในปีปัจจุบัน พุทธศักราช 2546 รวมระยเวลา 720 ปี

ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นคำประพันธ์ประเภทใด

ถ้าสังเกตดูในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย หลักที่ ๑ จะมีลักษณะคำประพันธ์ หรือบทร้อยกรองเพราะจะเห็นลักษณะซึ่งเกิดจากการใช้คำคล้องจองกัน เช่น "ในน้ำมาปลา ในนามีข้าว" "เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย" "ไพร่ฟ้าหน้าใส"