ผู้นำกลุ่มเชื้อพระวงศ์และขุนนาง

Authorสุพรรณี เพ็งแสงทอง
Titleพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง : การเมืองไทยสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2416 / สุพรรณี เพ็งแสงทอง = Kings, Princes and Nobles : Thai politics during 1782-1873 of the Bangkok Period / Supanee Pengsangtong
Imprint 2528
Connect tohttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62934
Descript ก-ฐ, 185 แผ่น

SUMMARY

ความพยายามที่จะสร้างเสถียรภาพทางการเมืองที่สำคัญประการหนึ่งของพระมหากษัตริย์ต้นรัตนโกสินทร์ ก็คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีในกลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง อันได้แก่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางเพื่อลดความขัดแย้งทางการเมืองอันสืบเนื่องมาจากปัญหาการสืบราชสมบัติ ซึ่งไม่มีกฎเกณฑ์การสืบราชสมบัติที่แน่นอน วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึง ความสัมพันธ์ทางสังคมภายในกลุ่มชนชั้นผู้ปกครองที่มีผลโดยตรงต่อการเมืองการปกครองไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยจะพิจารณาถึง ลักษณะการเมืองไทยสมัยก่อนหน้านั้นที่มีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างสูงในกลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง อันเป็นประสบการณ์สำคัญต่อการดำเนินนโยบายทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์ราชวงศ์จักรีในระยะแรก เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะของความสัมพันธ์ทางสังคมภายในกลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง ที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจและการเมือง ตลอดจนปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและผลกระทบของความสัมพันธ์ภายในกลุ่มชนชั้นผู้ปกครองต่อการเมืองไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ผลของการศึกษาพบว่า ภายหลังการแย่งชิงราชสมบัติในกลุ่มชนชั้นผู้ปกครองปลายอยุธยา และการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 นั้น ได้เกิดการรวมตัวของขุนนางส่วนกลางที่มีความพยายามจะสถาปนารัฐแบบอยุธยาขึ้นมาใหม่ โดยมีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นผู้นำพระองค์แรกแต่ก็ต้องประสบปัญหาต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นมาได้สำเร็จภายใต้ความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติและอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกในกลุ่มขุนนางส่วนกลางปลายสมัยอยุธยา ความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติและอุปถัมภ์ในกลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง ได้รับการเน้นเป็นอย่างมากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ให้มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นและกว้างขวางยิ่งขึ้น ด้วยการผ่อนคลายความสัมพันธ์อันเคร่งครัดของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง ในส่วนความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างพระมหากษัตริย์กับ พระบรมวงศานุวงศ์ไม่ได้เน้นฐานะชาติกำเนิดที่แตกต่างกันทางสายพระราชมารดาของพระบรมวงศาสนุวงศ์เป็นสำคัญ อันมีผลต่อลักษณะเปิดกว้างในสิทธิการสืบราชสมบัติของเชื้อพระวงศ์ผู้มีความสามารถทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของพระบรมวงศานุวงศ์ที่จะได้รับการยอมรับให้ขึ้นครองราชสมบัติ แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยการสนับสนุนทางการเมืองจากกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง ทำให้พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติและอุปถัมภ์กันอย่างใกล้ชิดและสนับสนุนซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจและการเมือง ปัจจัยที่สนับสนุนให้ความสัมพันธ์ภายในกลุ่มชนชั้นผู้ปกครองดำเนินไปได้ด้วยดี สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจของชนชั้นผู้ปกครองมีผลต่อลักษณะร่วมกันในเป้าหมายทางเศรษฐกิจ จากการขยายตัวทางการค้าต่างประเทศช่วงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ทำให้มีการประสานผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดสัมพันธภาพอย่างใกล้ชิดในกลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง บังเกิดผลต่อความเสถียรภาพทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี

One of the important attempts of the Kings in Early Bangkok Period in building up the political stability was the creation of good relationship within the ruling group which consists of the Kings, Princes and Nobles in order to minimize the political conflicts caused by the problems of succeeding the throne for which there were no certain rules. This thesis aims at studying the social relationships within the ruling group which directly affected the Thai politics in Early Bangkok Period. The characteristics of the political contradiction among the ruling group during the preceeding eras was investigated as they had strong influence on the forming of the political administration policy in the early Chakri Dynasty. It aims also at studying the characteristics of the social relationships within the ruling group which caused the economic and political mutual benefit bartering among them. It includes as well the study of the factors of such relationships and their effects on the politics of the country during the Early Bangkok Period. This study shows that after the conflicts within the ruling group for the succession to the throne in the late Ayudhaya Period and after the loss of Ayudhaya Capital to the Burmese in the year 1782 A.D., some central nobles who attempted to establish the state as that of Ayudhaya united. It was firstly headed by King Taksin. However, he was faced by problems which led to a new political change. Later, King Rama I Successfully established the Chakri Dynasty under the characters of kinship and patronage which deeply immersed among the central nobles of late Ayudhaya Period. The relationship with the kinship and patronage characters was greatly emphasized to become firmer and wider in The Early Bangkok Period by loosening the former strict rules and formed the goodwill among the Chakri Dynasty Household. In a relative relationship between the Kings and Princes, there was no emphasis on Birth Status of Princes due to the maternal line. This made it open for any royal members who were qualified both in Spirit and Morality to decend to the throne and be accepted by the ruling group. However, he still had to depend on the political supports form other Princes and Nobles. This formed a close and mutual patronage in the economic and political relationship amony the kinship. The factors that made a relationship within the ruling group possible were due to their social and economic changes of the environment, which affected the overall economic goals of the Early Bangkok Period, during which time there was expansion in the foreign trade affairs. It, in turns, yielded both great benefits and close relationship within the ruling group which resulted in strengthening the political stability of the Kings in Chakri Dynasty.

SUBJECT


  1. การสืบสันตติวงศ์
  2. ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์
  3. 2325-2416
  4. ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์
  5. 2325-2416

LOCATIONCALL#STATUS
Arts Library : Thesis วพ. ประวัติศาสตร์ LIB USE ONLY
Arts Library : Thesis วพ. ประวัติศาสตร์ CHECK SHELVES