โรคที่เกิดจากการทํางาน อาชีวอนามัย

อาชีวอนามัยสำหรับครู

นายแพทย์อดุลย์ บัณฑุกุล

อาชีว = อาชีพ

อนามัย = ความดี อยู่ดี

อาชีวอนามัยคืออะไร?

องค์การอนามัยโลกและองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้ให้คำจำกัดความว่า “อาชีว อนามัย คือ งานที่ทำเพื่อคนงานทุกอาชีพ เพื่อส่งเสริมให้คนงานนั้นคงไว้ซึ่งสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจรวม ทั้งความเป็นอยู่ซึ่งอยู่ในสถานะที่ยอมรับได้ในสังคม โดยยึดถือหลักง่ายๆว่าถ้าคนงานมีสุขภาพดี งานที่ทำก็จะได้ผลออกมาดี แต่ถ้างานที่ทำไม่ดีไม่ว่าจะเป็นเนื้องาน วัตถุดิบ หรือวิธีการ ก็จะทำให้สุขภาพของ คนงานไม่ดีด้วย” ซึ่งสามารถ เขียนเป็นสมการง่ายๆคือ

งานสุขภาพ

หลักการทางอาชีวอนามัย

1. ส่งเสริมให้มีสุขภาพดี โดยยึดหลักว่าทุกคนควรมี สุขภาพดีทั้งกายและจิตสังคมของพวกเขา การทำงานหรือที่ทำงานจะดีตามไป

2. การ ป้องกันโรคโดยการให้ภูมิคุ้มกันทางอาชีวอนามัย โดยเน้นเรื่องการป้องกันตัวเป็นหลักเช่นใช้ที่อุดหู แว่นตานิรภัย หมวกแข็ง หรือหน้ากาก การปฏิบัติตาม Job description

3. การค้นหาโรคตั้งแต่เริ่มเป็นทั้งโรคที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป และโรคที่เกี่ยวกับการทำงานโดยทำการตรวจความพร้อม (fit to work) ก่อนเข้าทำงานหรือระหว่างทำงาน รวมทั้งการจัดระบบห้องรักษาพยาบาลให้มีคุณภาพ

4. การรักษาโรคตั้งแต่เริ่มเป็นโดยการหยุด เปลี่ยน ย้ายงาน ปรับปรุงเครื่องมือ

5. การฟื้นฟูสภาพ

โรคทางอาชีวเวชศาสตร์(โรคจากการทำงาน)

คือโรคที่เกิดจากการสัมผัส (expose) ต่อ ปัจจัยทางกายภาพได้แก่แสงสว่าง มากหรือน้อยเกินไป เสียงดังเกินไป อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ความสั่นสะเทือน มลภาวะในอาคาร เป็นต้น ปัจจัยทางเคมี ปัจจัยทางชีวภาพได้แก่เชื้อโรคต่างๆ ปัจจัยทางท่าทางการทำงานที่ผิดปกติทำให้มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปัจจัยทางจิตสังคม ซึ่งมีอาการแสดงออกทั้งทางร่างกายและจิตประสาท ในสถานที่ทำงานนั้นๆ ดัง นั้นโดยปัจจัยหลักก็คือสิ่งก่อโรค เกิดจากแร่ธาตุหรือสารเคมีและวิธีการทำงานในสถานที่นั้น เช่นตะกั่ว ทำให้เกิดโรคพิษสารตะกั่ว ผงซิลิกาทำให้เกิดซิลิโคสิส ซึ่ง ปัจจัยเหล่านี้จะมีโอกาสทำให้เกิดโรคมากน้อยขนาดไหน ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นอีกหลายๆอย่างเช่น การป้องกันตัวของคนงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน สุขนิสัยของคนงาน เช่น การสูบบุหรี่เป็นต้น

โรคที่เกิดกับคนงานจะแบ่งได้เป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. โรคทั่วไป ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคเหล่านี้เกิดแก่บุคคลทั่วไป ผู้ที่อยู่ในวัย ทำงาน สามารถเป็นโรคทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัย 18 – 55 ปี ใน อดีตนั้นส่วนใหญ่จะเสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อ และไม่สามารถรักษาได้แม้ว่าในปัจจุบัน โรคติดเชื้อจะค่อยๆ หายไป จากการสุขาภิบาลที่ดีขึ้น และจากยาปฏิชีวนะใหม่ ทำให้ชีวิตของคนไทยยืนยาวขึ้น แต่ก็ยังมีโรคติดเชื้อที่เป็นอันตรายหลายๆ ตัว ที่ยังพบอยู่ เช่น โรคท้องร่วง ทั้งจากการติดเชื้อ และอาหารเป็นพิษ โรค ปอดอักเสบทั้งจากเชื้อไวรัส และบักเตรี โรคไข้หวัดใหญ่ ตับอักเสบจากเชื้อไวรัส และที่สำคัญในปัจจุบันได้แก่โรคเอดส์ ซึ่งยังนำพาโรคที่หายไปนานแล้วกลับมาด้วย เช่นโรคติดเชื้อวัณโรค และมัยโคแบคทีเรียมซึ่งเป็นเชื้อฉวยโอกาส ไม่ค่อยพบในคนปกติ รวมทั้งโรคเชื้อราต่างๆ นอกจากโรคติดเชื้อแล้ว โรคที่สำคัญอีกอย่างในปัจจุบันคือโรคที่เกิดจากการไม่ติดเชื้อเช่น โรคจากภาวะทุโภชนาการ ทั้งกินเกิน และขาด โรคจากความเครียด การกินเหล้า สูบบุหรี่ การเสพสารเสพติด เหล่านี้ทำให้เกิดโรคที่ทำให้ภาวะเมตะโบลิ ซึ่มผิดปกติ เช่นเบาหวาน ความ ดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด และโรคจากการวิตกกังวลต่างๆ ได้แก่โรคปวดศีรษะ ตึงเครียด บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง วิธีแก้ไขได้แก่การออกกำลังทำจิตใจให้ผ่องใส อย่าเก็บอะไรในใจไว้คนเดียว พยายามหาทางระบายออก ด้วยวิธีเล่นกีฬา ทำกิจกรรม โรคติดเชื้อบางโรคป้องกันได้โดยการให้วัคซีน เช่นวัคซีนป้องกันตับอักเสบ

2. โรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ซึ่งไม่ได้เกิดจากการทำงานโดยตรงแต่การทำงานทำให้โรคเป็นมากขึ้นเรียกว่า work-related disease ได้แก่ โรคปวดหลัง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเกิดจากความเครียดจากงาน เป็นต้น WHO ได้นิยามคำว่า work-related disorders ไว้ ว่าเป็นโรคที่เกิดจากหลายปัจจัย โดยปัจจัย คุกคาม ในสถานที่ทำงานก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคนี้ แต่ก็ไม่เสมอไปในทุกราย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรค กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกายที่เกิดจากจิตใจ โรคทางระบบกล้ามเนื้อ และ โรคทางระบบทางเดินหายใจบางคนอาจเป็นมากขึ้น แต่บางคนอาจไม่เป็นเลยก็ได้ คำว่า โรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน จะสับสนกับคำว่าโรคที่เกิดจากการทำงาน ตามคำนิยาม โรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานนั้นไม่ใช่โรคที่เกิดจากสารเคมี หรือ สารอันตรายที่ใช้ในที่ทำงาน โดยตรง แต่สารเคมี สารอันตราย หรือ วิธีการทำงานนั้นทำให้เกิดโรคขึ้น หรือทำให้โรคที่เป็นอยู่เดิมนั้นเป็นมากขึ้นโดยทางอ้อมดังที่กล่าวแล้วข้าง ต้น เช่น คนที่ปวดหลัง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะปวดหลังอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดปกติของกระดูก หรือเส้นเอ็นตามกรรมพันธุ์ เมื่อมาทำงานซึ่งมีกระบวนการทำงานที่ไม่ดี จะทำให้อาการนั้นเป็นมากขึ้น เช่นการก้มลงยกของผิดวิธี ที่นั่งทำงานไม่ได้มาตรฐานตามหลักErgonomic หรือในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด เมื่อมาทำงานที่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูง หรืองานที่เกี่ยวข้องกับตัวทำละลายซึ่งมีพิษต่อหัวใจและหลอดเลือด ก็อาจทำให้โรคเป็นมากขึ้น ซึ่งตัวทำละลายจะทำให้เป็นมากขึ้นได้ด้วย ผู้ใช้แรงงานที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อาการอาจเป็นมากขึ้น เมื่อมีสิ่งรำคาญเกิดขึ้นในที่ทำงานเช่น กลิ่น เสียง เป็นต้น นอก จากนี้ความเครียดจากการทำงานก็อาจทำให้เกิดบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง มีการดื่มสุรา เที่ยวเตร่ อาจทำให้เกิดอันตราย และโรคอื่นๆเช่นโรคตับ โรคเอดส์เป็นต้น นอกจากนี้ความเครียดอาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงหรือทำให้โรคความดัน โลหิตสูงเป็นมากขึ้น การทำงานเป็นกะ จะทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มีความลำบากในการกินยา เหล่านี้ถือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน โรค ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานยังทำให้เกิดความสูญเสียในทางอ้อมอีกมากเช่น ทำให้เกิดความเสียหายในชิ้นงาน ทำให้เกิดความยากลำบากในการร่วมงานเป็นต้น

3. โรคจากการทำงาน (occupational disease) ได้แก่ โรคที่เกิดจากสารเคมี วัตถุอันตราย กระบวนการในการทำงาน โดยตรงเช่น โรคปอดจากการประกอบอาชีพ (Pneumoconiosis) เช่นในพวกที่ทำงานในสถานประกอบการทอผ้า หรือสถานประกอบการที่มีฝุ่นฝ้าย หรือมีเส้นใยasbestos โรคประสาทหูเสื่อมจากการประกอบอาชีพ (noise induced hearing loss) ในบริเวณที่มีเสียงดังเกินมาตรฐานเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่มีเครื่องป้องกัน โรคเส้นประสาทเสื่อม (Peripheral neuropathy ) จาก การประกอบอาชีพในพวกที่ทำงานเกี่ยวกับสี กาว โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพในหลายๆอาชีพที่เกี่ยวข้องกับตัวทำละลาย เป็นต้น ส่วนใหญ่โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพที่พวกเรามักจะนึกถึงคือ อุบัติเหตุ เนื่องจากอุบัติเหตุสามารถเห็นได้โดยตรง และเกิดจากการประกอบอาชีพจริงๆ แต่พวกเรายั งมองไม่เห็นถึงอันตรายอื่นๆ ที่แอบแฝงมา ถ้าดูสถิติต่างๆ จากกองทุนทดแทน จะพบว่ามีการเบิกกองทุน เรื่องอุบัติเหตุ มากเป็นอันดับหนึ่ง แต่การเบิกเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพนั้นน้อย มาก เนื่องจาก ปัจจัยหลายๆด้าน เช่นด้านผู้ใช้แรงงานยังไม่มีความรู้เท่าที่ควร ด้าน นายจ้างยังไม่เห็นความสำคัญ จึงยังไม่มีการระวังหรือป้องกัน ด้านสาธารณสุข แพทย์ และพยาบาล ยังไม่มีความตระหนัก และความรู้พอที่จะให้การวินิจฉัย โรคที่เกิดจากการทำงาน ทางด้าน กฎหมาย แม้ว่าจะมีการกำหนดโรคที่เกิดจากการทำงาน แต่ก็ยังไม่มีบทลงโทษที่ชัดเจนสำหรับสถานประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

โรค ที่เกิดจากการทำงานนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซ้ำร้ายบางโรคยังมีการดำเนินของโรคต่อไปเรื่อยๆ แม้จะออกจากการสัมผัสสารที่เป็นอันตรายนั้นๆ เป็นเวลานานหลายปีแล้ว เช่น โรคแอสเบสโตสิส ซึ่งเกิดจากสารแอสเบสตอส ที่ใช้ทำฝ้าเพดาน การดำเนินโรคจะดำเนินไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นมะเร็งของปอดในที่สุด หรือโรคหอบหืดจากการสัมผัส ฝุ่นฝ้าย ในสถานประกอบการทอผ้า แรกๆจะเป็นแค่อาการแน่นหายใจไม่สะดวก และจะหายเมื่อหยุดทำงาน ต่อมาอาการจะเป็นเรื้อรัง แม้จะหยุดทำงาน และในที่สุดก็จะกลายเป็นโรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง ในที่สุด มี โรคบางอย่างซึ่งอาการจะเกิดแบบปัจจุบันทำให้สามารถหลีกเลี่ยงออกจากบริเวณ สัมผัส และไม่เกิดอาการได้ เช่นการหายใจเอาไอของฟอร์มัลดีไฮด์ ไปมากๆ จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองมาก แต่เมื่อออกจากบริเวณที่สัมผัส อาการก็จะหายไป แต่ ก็มีโรคบางอย่างซึ่งเมื่อสัมผัสแม้ในขนาดน้อยๆ เป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้ เช่น อาการทางสมองซึ่งมีอาการคล้ายโรคสมองเสื่อม (Chronic encephalitis) จาก การสูดดมไอของตัวทำละลายหลายๆชนิดเป็นเวลานานๆ เป็นต้น นอกจากนี้สารบางอย่างเช่น โทลูอีน ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสี ยังทำให้เกิดการเสพติดได้ อาการ ของโรคจากตัวทำละลายยังออกมาในรูปของบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้สัมผัสเป็นคนก้าวร้าว ทำให้เกิดความแตกแยกในครอบครัว ในหมู่คนงาน การกินเหล้าทำให้ขาดความสามัคคี นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและต่อสถานประกอบการเช่น เกิดอุบัติเหตุหรือไฟไหม้ได้ง่าย

ปัญหา ต่างๆเหล่านี้ ถือเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนในวัยทำงาน โดยเฉพาะในสถานที่ทำงาน ที่ไม่มีการตรวจหรือเฝ้าระวังการเกิดโรค ผู้ที่จะช่วยเหลือได้ดีที่สุดคือผู้บริหารหรือเจ้าของสถานประกอบการ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจ โรคและกลไกการเกิดโรค รวมทั้งสาเหตุของโรคที่เกิดจากสารเคมี สารพิษ หรือกระบวนการทำงานที่ผิดวิธี นอกจากนี้คนงานเองยังต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่าขณะนี้กำลังทำงานกับอะไร อยู่ มีอันตรายอะไร สารเคมีที่เกี่ยวข้องนั้นมีพิษอย่างไร และมีวิธีแก้ไขอย่างไร สิ่งสำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้น นอกจากความรู้แล้ว เจ้าของและคนงานเองยังต้องมีทัศนคติ และลงลึกถึงการปฏิบัติที่ปลอดภัยด้วย บุคลากรทางแพทย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการนี้ ซึ่งจะทำการเฝ้าระวัง ป้องกัน และค้นหาก่อนที่โรคจะเกิด หรือเกิดแล้ว ทำอย่างไรไม่ให้คนอื่นเป็น และคนที่เป็นนั้นไม่เป็นมากขึ้น โดย ทั้งนี้ เจ้าของสถานประกอบการนั้น ๆ จะต้องเห็นความจำเป็นของการจัดการอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ และ ให้แพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วย

ตารางแสดงกลุ่มของโรคที่สามารถเกิดกับคนงาน

โรคทั่วไป เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคติดเชื้อ คนงานในสถานที่ทำงาน

โรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (work-related disease) เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตีบ โรคปวดหลัง

โรคจากการทำงาน เช่น โรคปอดฝุ่นฝ้าย โรคพิษตะกั่ว

ปัจจัยทางบุคคลที่ทำให้เกิดโรคจากการทำงาน

เพศและอายุ

เพศ ชายจะถูกมอบหมายให้ทำงานหนักซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุ และ โรคของกล้ามเนื้อและกระดูก เพศ หญิงจะถูกมอบหมายให้ทำงานเบาและละเอียดอ่อน เช่นงานในสายพาน โรคที่จะพบบ่อยๆ คือโรคของกล้ามเนื้อตาซึ่งจะทำให้ปวดศีรษะ และ โรคที่เกิดจากการทำซ้ำบ่อยๆ (repetitive strain injury) เช่น carpal tunnel syndrome , golfer’s elbow และ tennis elbow เป็น ต้น นอกจากนี้ในเพศหญิงยังมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องประจำเดือน ซึ่งทำให้เกิดความเครียดในการทำงานเป็นกะได้ง่าย และ การตั้งครรภ์ ซึ่ง สารเคมีบางชนิดจะมีผลต่อเด็กในครรภ์ได้

อายุมีความสำคัญ นอก จากโรคที่พบตามอายุ ซึ่งมีความสำคัญในการวินิจฉัยแยกโรคแล้ว ความสมบูรณ์ของร่างกายซึ่งขึ้นกับอายุและการออกกำลังกายก็มีความสำคัญที่จะ ทำให้เกิดโรคเหตุอาชีพ ร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ และการทำงานหนักในคนงานสูงอายุ ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล ซึ่งทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ นอกจากนี้ยังมีปัจจัย สำคัญซึ่งเกิดจากความสมบูรณ์ของตัวร่างกายของคนงานเองซึ่งเรียกว่า healthy worker effect ซึ่งพบในคนงานที่มีร่างกายแข็งแรงซึ่งเมื่อสัมผัสกับ สารพิษจากการทำงานเป็นจำนวนมากแล้วยังสามารถทำงานได้ โดยไม่มีอาการอะไร

ที่อยู่

สิ่งแวดล้อมมีความสำคัญ เนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนของสารพิษจากสถานประกอบการที่อยู่ข้างเคียง การที่พักอาศัยห่างจากสถานที่ทำงานมากๆ ทำให้เกิดความเครียดในการมาทำงาน และมีโอกาศที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายเป็นต้น

สถานะการสมรส

ถ้า คู่สมรสทำงานในสถานประกอบการบางประเภทเช่น สถานประกอบการที่มีสารซิลิกา การที่ไม่อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าเมื่อกลับบ้าน จะทำให้สารซิลิกาติดตัวกลับมา และคู่สมรสก็อาจเป็นโรคที่เกิดจากสารซิลิกาได้ ถ้ามีการปนเปื้อนมากพอเป็นเวลานานๆ เป็นต้น

ประวัติการสูบบุหรี่และดื่มสุรา

การ สูบบุหรี่ ทำให้เกิดผลต่อปอดหลายอย่าง ที่สำคัญคือทำลายขบวนการป้องกันภัยของถุงลมและหลอดลม ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย ซึ่งรวมถึงโรคเหตุอาชีพ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ยังทำให้การวินิจฉัยโรคปอดเหตุอาชีพยากขึ้น เนื่องจากบุหรี่ก็ทำให้เกิดโรคปอด และโรคมะเร็งปอด การดื่มสุราทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับตับ และเกี่ยวกับcognitive function ซึ่งอาจจะเสริมหรือทำให้การวินิจฉัยแยกโรคจากโรคเหตุอาชีพยากขึ้น

ประวัติการศึกษา และ เศรษฐานะ

การอบรมก่อนทำงาน จะทำให้คนงานทำงานถูกวิธี การศึกษาจะบ่งบอกว่าคนงานคนนั้นสามารถ ทำงานที่ซับซ้อนได้มากขนาดใด เศรษฐานะจะช่วยทำให้เราวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น มีผลต่อการตัดสินใจใช้ยาหรือวิธีการรักษาหรือวินิจฉัย

ประวัติโรคประจำตัว

เช่น โรคความดันสูงหรือโรคหัวใจ ไม่เหมาะที่จะทำงานกะ หรืองานที่มีเสียงรบกวนมาก งานที่ต้องแยกตนเองออกไป โรคเบาหวานจะมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานกลางคืนเนื่องจากต้องกินยาให้ตรงเวลา เป็นต้น

ประวัติงานอื่นๆ

ผู้ ป่วยอาจมีงานอย่างอื่น เป็นการหารายได้พิเศษ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคได้ เช่น มีอาชีพขับแท็กซี่ ในเวลากลางคืน ทำให้ไม่ได้พักผ่อน ทำให้มีความเครียด หรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

ประวัติอาชีพ

ประวัติ เกี่ยวกับลักษณะงานที่ทำ การซักแค่ประวัติทำงานอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องรู้ลักษณะการทำงานด้วย เช่นทำงานสถานประกอบการแบตเตอรี่ แต่ทำหน้าที่ขนกล่องเก็บของ ถ้าซักแค่ว่าทำงานสถานประกอบการแบตเตอรี่ ก็จะไม่ได้ลักษณะงานที่แท้จริง ถ้าคนงานมาด้วยเรื่องปวดหลังอาจทำให้เข้าใจว่าไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เมื่อให้การรักษา ผู้ป่วยจะกลับมาอีกด้วยเรื่องปวดหลัง เป็นวงจรไปเรื่อยๆ การซักประวัติอาชีพควรมีส่วนประกอบ คือ

1. ลักษณะการทำงาน ถามเกี่ยวกับ job description

2. สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางฟิสิคส์ แสง เสียง ความร้อน ฝุ่น ควัน กลิ่น

3. สิ่งคุกคาม (hazard) ทั้งหมด ได้แก่ สิ่งคุกคามทางกายภาพ ทางชีวภาพ ทางเคมี ทาง ergonomic และทางความเครียด

4. ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการทำงาน

5. เครื่องมือป้องกันตนเอง เช่น ที่ครอบหู หน้ากาก เป็นต้น

6. ราย ละเอียดอื่นๆ เช่น ทำงานมานานแล้วหรือไม่ มีการย้ายสถานที่ทำหรือไม่ ทำงานเป็นกะหรือไม่ งานที่ทำก่อนย้ายหน้าที่อาจเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยครั้งนี้ก็ได้

7. สถานที่ทำงานก็มีความสำคัญ ถ้ายืนทำงานใกล้เครื่องมือที่มีเสียงดัง ก็จะเกิดโรคประสาทหูเสื่อมได้ เป็นต้น

อาชีวอนามัยสำหรับครูคือ

การ ทำให้ครูทุกคนมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ โดยทำงานอยู่ในสถานที่ทำงานที่ดีปราศจากโรคและอุบัติเหตุ ทำให้สามารถทำงานได้เต็มที่ รวมทั้งการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมโดยมีสถานะอย่างเหมาะสม

อาชีวอนามัย มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

องค์ประกอบของอาชีวอนามัยคือ

1. การค้นหาสิ่งคุกคาม ได้แก่ การค้นหาสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในโรงเรียนหรือสถานที่ทำงานเช่นบันใด ทางลงที่ไม่มีราว บริเวณที่มืดเกินไป เป็นต้น สิ่งคุกคามยังแบ่งได้อีกห้าชนิดดังจะได้กล่าวต่อไป

2. การประเมินและจัดการความเสี่ยง สิ่งคุกคามที่พบในโรงเรียน อาจไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ กล่าวคือไม่มี

ความเสี่ยงที่จะมีผลเสียต่อสุขภาพ มีเครื่องมือทางอาชีวอนามัยที่สำคัญคือการประเมินความเสี่ยงได้แก่

· การค้นหาสิ่งคุกคาม หรืออันตรายในที่ทำงาน

· การวัดขนาดสิ่งคุกคาม ความถี่หรือระยะเวลาการสัมผัส ว่าเป็นอันตรายหรือไม่

· การประเมินการรับสัมผัส ว่ามีวิธีที่จะสัมผัสชนิดใดบ้าง มีการป้องกันหรือไม่

· การประเมินทั้งหมดว่าทำให้เกิดความเสี่ยงหรือไม่

ดังนั้นสิ่งคุกคามไม่จำเป็นต้องมีความเสี่ยงทุกชนิด นำสิ่งคุกคามที่เป็นความเสี่ยงที่สำคัญมาจัดการก่อน

3. การเฝ้าระวังทางสุขภาพได้แก่การตรวจร่างกาย การเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม การจัดคนให้พร้อมในการเข้าทำงาน ทั้ง fit for work และ return to work

4. การวินิจฉัยและรักษาโรคทั้งโรคที่เกิดจากการทำงานและโรคทั่วไป

5. การจัดการข้อมูลด้านสุขภาพ การเก็บข้อมูลการเจ็บป่วย และนำมาวิเคราะห์เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยหรือป้องกันการเจ็บป่วย

6. การปฐมพยาบาลและเหตุฉุกเฉิน

7. การส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่การส่งเสริมให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกาย จิต วิญญาณ และสังคม

สิ่งคุกคามได้แก่

1. สิ่งคุกคามทางกายภาพ เช่น แสง เสียง ความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน รังสี ฝุ่น อุบัติเหตุ มลภาวะ และการระบายอากาศ

2. สิ่งคุกคามทางชีวภาพ ได้แก่ เชื้อโรคต่างๆ

3. สิ่งคุกคามทางเคมี ได้แก่สารเคมีต่างๆ ยาฆ่าแมลง สารเคมีในห้องทดลอง

4. สิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ ได้แก่ท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกวิธี

5. สิ่งคุกคามทางจิตสังคมได้แก่ความเครียด การอยู่เวร ภาระงานที่มาก ความรุนแรง

ลำดับขั้นของการจัดการทางอาชีวอนามัย

1. การจัดการที่ต้นเหตุ

2. การจัดการทางผ่านระหว่างต้นเหตุมายังตัวบุคคล

3. การจัดการที่ตัวบุคคล

ความเชี่ยวชาญของครู ได้แก่

1. การฟัง (active listening)

2. ให้คำแนะนำ (Instructing)

3. การอ่านเพื่อความเข้าใจ (Reading Comprehension)

4. การเรียนรู้ (Learning Strategies)

5. การสื่อสารโดยการพูด (Speaking)

6. การคิด (Critical Thinking)

7. การรับรู้และการตอบสนอง (Social Perceptiveness)

8. การบริหารเวลา (Time Management)

9. การเรียนรู้ (Active Learning)

10. การควบคุมประเมินตนเอง (Monitoring)

ความสามารถ

1. ถ่ายทอดทางเสียง(Oral Expression)

2. ความชัดเจน (Speech Clarity)

3. การรับรู้ทางการได้ยิน (Speech Recognition)

4. ความเข้าใจทางการได้ยิน (Oral Comprehension)

5. ความไวต่อปัญหา (Problem Sensitivity)

6. แนวคิดแบบ Deductive Reasoning และ Inductive Reasoning

7. ความคล่องตัวของความคิด (Fluency of Ideas)

8. การจัดลำดับข้อมูล (Information Ordering)

9. การมองเห็นในระยะใกล้ (Near Vision)

องค์ประกอบของงาน

1. การคิด ความเข้าใจ การประมวลความคิด

2. การยืน

3. การพูด

4. การฟัง

5. การมอง

6. การเดิน

7. การใช้แขน มือ

8. การนั่ง

9. การเขียน

10. การใช้เครื่องมือพิเศษ

11. การออกกำลัง

โรงเรียนเด็กเล็กและอนุบาล

สิ่งคุกคามทั่วไปที่พบในโรงเรียนเด็กเล็ก อนุบาล ได้แก่ แสงไม่พอ อุณหภูมิห้อง ลื่น พลัดตก หกล้ม อัคคีภัย ความเครียด โรคติดเชื้อ

สิ่งคุกคามเฉพาะ ที่พบในโรงเรียนเด็กเล็ก อนุบาล ได้แก่ ท่าทางการทำงาน การอุ้ม ยก เด็ก สิ่งคุกคามเฉพาะเช่นเครื่องเล่น

ความเครียด (Stress) เกิดจาก ความรับผิดชอบสูง ค่าตอบแทนต่ำ ความรู้สึกว่ายังไม่มีความรู้เพียงพอ สังคมมีความคาดหวังสูง คนไม่พอ เสียงเด็กรบกวน

วิธีป้องกันความเครียด เพิ่ม ค่าจ้าง หรือสวัสดิการสูงขึ้น มีครูมากขึ้น มีการพักระหว่างทำงาน มีการดูแลข้อมูการหยุดงานจากความเจ็บป่วย สนับสนุนให้มีกิจกรรมเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้ปกครองปรับปรุงสภาพ แวดล้อมในการทำงาน เช่นเพิ่มเก้าอี้ผู้ใหญ่ ให้มีเวลาเงียบ แยกบริเวณพักผ่อนของครูออกมา

การติดเชื้อในโรงเรียนเด็กเล็ก หรือนุบาล ได้แก่ ท้องเสีย, ติดเชื้อเสตพโตคอคคัส, ติดเชื้อสมองอักเสบ, หัด, หัดเยอรมัน, ซัย โตเมกาโลไวรัส และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่น ตับอักเสบ เอ (เบลเยียมพบ 30% ) มีผลต่อคนตั้งครรภ์ โดยจะติดเชื้อทางทางเดินหายใจและfecal oral route

การป้องกันการติดเชื้อได้แก่ ล้าง มือ จัดเปลี่ยนผ้าอ้อมในสถานที่จำเพาะ และทำความสะอาดบ่อยๆ ทิ้งผ้าอ้อมในถังขยะที่มีที่ปิดมิดชิด แยกบริเวณเตรียมอาหารออกจากบริเวณโรงเรียน ล้างของเล่น โต๊ะ เก้าอี้ บ่อยๆ ให้มีอากาศถ่ายเทดี มีครูเพียงพอ มีสุขนิสัยที่ดีทั้งครูและนักเรียน แยกเด็กป่วย มีนโยบายหยุดงานจากการเจ็บป่วยเพื่อให้ครูหรือเด็กอยู่บ้านจนหายจากโรคติดเชื้อ

โรงเรียนประถมและมัธยม

คนทำงานมีตั้งแต่ ครู ผู้ช่วยการสอน ผู้บริหาร ภารโรง คนทำและขายอาหาร อื่นๆ

สิ่งคุกคามในอาคารและออฟฟิตได้แก่ มลภาวะในอาคาร แสงไม่เพียงพอ อุณหภูมิไม่เหมาะสม การใช้เครื่องมือในออฟฟิต การพลัดตก หกล้ม ปัญหาจากท่าทางการทำงาน เฟอร์นิเจอร์ อัคคีภัย ยาฆ่าแมลง สีแอสเบสตอส คลื่นแม่เหล็ก

เหตุการณ์จำเพาะ เช่นห้องที่ทาสีใหม่

ครูในโรงเรียนประถมและมัธยมมีหน้าที่ การเตรียมการสอน การสอน การใช้ห้องแล๊บ การสอนการออกกำลังกาย การสอนนอกสถานที่

สิ่งคุกคามจำเพาะของโรงเรียนประถมและมัธยม โรคติดเชื้อ วัณโรค หัด อีสุกอีใส ห้องเรียนแออัด เสียง (เหมาะสมควรเป็น 40-50 dbA) ความเครียด ความรุนแรงครูในชั้นเรียนพิเศษเช่น ศิลปะ ฝึกอาชีพ ห้องทดลอง

วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ที่แปลกออกไปคือการทำวิจัย

สิ่งคุกคามในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยจะ คล้ายกันและอาจมีสิ่งคุกคามอื่นทางสารเคมี ยาฆ่าแมลง สารชีวภาพ รังสี ท่าทางการทำงาน สิ่งคุกคามทางกายภาพ ความรุนแรง เครื่องจักร และอุบัติเหตุอื่นๆ

ภาคผนวก

การทำงานกับจอคอมพิวเตอร์

คุณใช้ชีวิตส่วนใหญ่ของคุณอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์โดยไม่ระวัง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการ CVS หรือ Computer Vision Syndrome ซึ่งก็คืออาการของดวงตาที่ตึงเครียด ซึ่งเกิดจากการใช้ Computer เป็น ระยะเวลานาน จากการศึกษาพบว่าประมาณ 60 ล้านคน ประสบปัญหาเกี่ยวกับดวงตา หรือการมองเห็น สาเหตุสำคัญคือการกระพริบตาลดลง ส่งผลถึงน้ำตาที่หล่อเลี้ยงลูกตา เนื่องจากดวงตาต้องการน้ำหล่อเลี้ยงเพื่อทำหน้าที่ให้ราบรื่น อาการของ CVS ได้แก่ ดวงตาล้า ดวงตาตึงเครียด ดวงตาช้ำ การมองเห็นระยะใกล้ๆ เบลอเป็นระยะๆ การมองเห็นระยะไกลๆ เบลอนานๆ ครั้ง ปวดหัว ดวงตาแห้ง แสบตา ตาแดง ไวต่อแสง น้ำตาไหลมาก ปวดคอ ไหล่ และหลัง

วิธีแก้ไข

1. วางจอมอนิเตอร์ ห่างประมาณ 20-26 นิ้ว จากดวงตา

2. พักสายตา 2-4 นาที ทุก 20-60 นาที

3. ปรับแสงที่จะเข้าตาและสะท้อนจากจอให้น้อยที่สุด

4. กระพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้ดวงตาชุ่มชื่น

5. ให้ใช้แผ่นกรองแสงสำหรับหน้าจอ Computer

Tip สำหรับทำงานกับจอมอนิเตอร์

· สวมแว่นตาที่มีการป้องกันรังสี UV ขณะทำงาน แม้ว่าจะเป็นคนสายตาปกติ

· เตือนตัวเองเสมอว่าให้กระพริบตาบ่อยๆ ขณะทำงานหน้าจอ Computer เพื่อป้องกันไม่ให้ดวงตาแห้ง

· พักสายตา 15-20 วินาที ทุก 15 นาที โดยการมองไปรอบๆ ห้อง

· ปรับตำแหน่งจอ Computer ของคุณ โดยให้อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าระดับสายตา ซึ่งคุณจะมองต่ำลงไป ระยะห่างประมาณ 20-26 นิ้ว ดีที่สุด

· ใช้ ตัวอักษรสีดำบนพื้นสีขาวเสมอดีที่สุด หลีกเลี่ยงพื้นสีเข้ม และขนาด ข้อความควรมีขนาดใหญ่เป็น 3 เท่าของขนาดข้อความที่เล็กที่สุดที่คุณอ่านได้

· ใช้เลนส์สีเทาซึ่งดูดกลืนแสงโดยธรรมชาติ และยังสามารถกรองสีที่ไม่ต้องการได้พอสมควร

· ดูแล Computer ไม่ให้มีฝุ่น

การประเมินความพร้อม

วัตถุประสงค์เพื่อ

· เพื่อสุขภาพ ความปลอดภัย และความก้าวหน้าในการศึกษาของนักเรียน

· ให้แน่ใจว่าครูสามารถให้การเรียนการสอนแก่นักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

· เพื่อ จัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพซึ่งอาจเกิดในขณะทำหน้าที่รวมทั้งให้แน่ใจว่าการ ทำหน้าที่นั้นไม่ทำให้สุขภาพแย่ลงหรือโรคที่เป็นอยู่กำเริบขึ้น

· เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เป็นผลเสียต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเพื่อนครู

· เพื่อ ช่วยให้ครูทุกคน (รวมทั้งครูที่เพิ่งฟื้นจากการบาดเจ็บหรือเป็นไข้หรือมีความผิดปกติอื่น) สามารถทำงานได้ และมีการตัดสินใจตามพื้นฐานของความจำเป็นของงาน

ใช้แนวทางอะไรในการตัดสินความพร้อม

เพื่อให้การสอนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ครูแต่ละคนควร

· มีสุขภาพและความเป็นอยู่ดีเพื่อเตรียมการสอนเฉพาะของแต่ละงานและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอื่น

· สามารถสื่อสารได้อย่างดีกับเด็ก ผู้ปกครองและเพื่อนร่วมงาน

· ตัดสินใจและมีแนวคิดที่เหมาะสม

· ตื่นตัวอยู่เสมอขณะสอนหรือให้คำแนะนำนักเรียน/ทำงานที่อันตราย

· ตอบสนองกับความต้องการของนักเรียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

· สามารถจัดการชั้นเรียนได้

· ไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ความปลอดภัย และความอยู่ดีของเด็ก

ขณะสอนจะประเมินความพร้อมเมื่อไร?

จะประเมินความพร้อมเมื่อ

· เข้ามาเรียนครู

· สมัครเป็นครู

· ระหว่างหรือหลังจากการหยุดงานเมื่อเจ็บป่วยหนัก

· เมื่อปัญหาด้านสุขภาพชัดเจนระหว่างการสอนหรือการจ้างงาน

· เมื่อต้องออกจากงานเพราะเจ็บป่วย

ปัจจัยด้านสุขภาพส่วนใหญ่จะมีผลต่อพฤติกรรมและความสามารถดังนั้นจึงต้องประเมินความพร้อมเมื่อ

· สงสัยเกี่ยวกับความสามารถในการทำงาน

· เมื่อเกี่ยวข้องกับความสามารถที่ต้องมีในกระบวนการทำงานที่สำคัญ

· เมื่อเกี่ยวข้องกับกฏระเบียบ

การ ประเมินความพร้อมเกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและการจัดการ ซึ่งมีความแปรปรวนระหว่างบุคคลเช่น สภาวะสุขภาพและการตั้งครรภ์ เป็นต้น

บทบาทของฝ่ายบริหาร

การ จัดการในแต่ละโรงเรียนจะต่างกัน แต่ที่สำคัญคือครูแต่ละคนจะต้องเข้าใจบทบาทของตนเองเพื่อให้ฝ่ายบริหาร จัดการเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้ง่ายขึ้น ซึ่งหัวข้อสำคัญจะประกอบด้วย

· ผู้ที่ทำการสอน จะต้องมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ (fit to teach)

· ผู้ที่ทำการสอนจะต้องมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจอยู่เสมอ

· จะต้องรักษาไว้ซึ่ง สุขภาพ ความปลอดภัยและความเป็นดีอยู่ดีของครูและนักเรียน

· จะต้องเข้าได้กับพรบ คุ้มครองแรงงาน และพรบ ความปลอดภัย เป็นขั้นต่ำ

· จะต้องเข้ากับคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา และจะต้องมีการถ่ายทอดให้กับทุกคนที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบ

ใน การนี้ฝ่ายบริหารจะต้องมีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญที่จะให้ความรู้ใน เรื่องความ พร้อมในการสอนให้กับครูที่อยู่ในความรับผิดชอบ ซึ่งได้แก่

· ให้คำปรึกษาในกรณีที่ครูได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยมาก ว่าสามารถกลับเข้ามาสอนได้อย่างปลอดภัยหรือไม่

· ครู ทุกคนจะต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบส่วนตนในเรื่องอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัยของตนเองและของนักเรียนและต้องปรึกษาฝ่ายอาชีวอนามัยถ้าสุขภาพของตน เองหรือของนักเรียนเปลี่ยนแปลง

พยาบาลอาชีวอนามัยหรือพยาบาลประจำโรงเรียนควร

1. เป็นพยาบาล RN (Registered nurses)

2. คุ้นเคยกับหน้าที่ และวิชาที่ครูแต่ละคนทำการสอน

3. ควรได้รับการอบรมเรื่องอาชีวอนามัย

4. มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา

5. เข้าใจกฏหมาย มาตรฐาน ต่างๆ ด้านสุขภาพและด้านแรงงานพอสมควร

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

1. Ladou J (ed). Occupational & Environmental Medicine, 2 nd ed. Stamford, Connecticut: Appleton&Lange, 1997.

2. Ladou J (ed). Occupational Health & Safety, 2nd ed. Itasca,IL: National Safety Council, 1994.

3. Jeyaratnam J (ed). Occupational Health in National Development, Singapore: World Scientific Publishing, 1994.

4. Jeyaratnam J, D. Koh (ed). Textbook of Occupational Medicine Practice, Singapore: World Scientific Publishing, 1996.

5. Zenz C(ed). Occupational Medicine: Principles and Practical Applications, 3 rd ed. St.Louis: Mosby-Yearbook, 1993.

6. Howard Hu, Frank E. Speizer. Influence of Environmental and Occupational Hazards on Disease. In Harrison’s Principle of Internal Medicine 14 th ed. New York, McGraw-Hill. 1998.

7. วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ และคณะ . คู่มือการวินิจฉัยและการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพ กองอาชีวอนามัย . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2538.

8. เกณฑ์มาตรฐานการวินิจฉัยโรคจากการทำงานฉบับทดลอง กรมการแพทย์ และ สำนักงานประกันสังคม . กรุงเทพมหานคร.

9. อดุลย์ บัณฑุกุล. คู่มืออาชีวเวชศาสตร์ สำหรับนักศึกษาแพทย์. เอกสารประกอบการเรียนวิชาอาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี.

โรคที่เกิดจากการทํางาน มีอะไรบ้าง

7 โรคฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน.
1) โรคปลอกประสาทอักเสบ ... .
2) โรคเครียดลงกระเพาะ ... .
3) โรคความดันโลหิตสูง ... .
4) ออฟฟิศซินโดรม ... .
5) โรคหัวใจ ... .
6) โรคกรดไหลย้อน ... .
7) โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ.

ปัจจัยใดที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคจากการประกอบอาชีพ

ปัจจัยที่ทาให้เกิดโรคได้มากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ 1. เพศ 2. อายุ 3. สภาวะสุขภาพ 4. ระยะเวลาที่ทางานในแต่ละวัน 5. ระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติงาน 6. ความรู้ความเข้าใจ ถึงอันตรายต่างๆ 7. ความไวรับต่อการแพ้พิษหรือการเกิดโรค 3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพอุตสาหกรรม มีอะไรบ้าง

2) กลุมโรคจากการประกอบอาชีพภาคอุตสาหกรรม ไดแก โรคกระดูกและกลามเนื้อ โรคจากพิษโลหะ หนัก โรคซิลิโคสิส โรคที่เกิดจากแรใยหินแอสเบสตอส โรคจากพิษสารทําละลายอินทรีย โรคประสาทหูเสื่อมจาก เสียงดัง และการบาดเจ็บจากการทํางาน