สาขาการจัดการโลจิสติกส์ ภาษาอังกฤษ

  1. หน้าหลัก
  2. คณะบริหารธุรกิจ
  3. ปริญญาตรี
  4. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

การจัดการโลจิสติกส์ ถือเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่มีความสำคัญอย่างมากในโลกธุรกิจปัจจุบัน  เพราะเป็นศาสตร์ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ เป็นกลไกสำคัญในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เราจึงเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์ให้กับนักศึกษาอย่างรอบด้าน  ทั้งการวิเคราะห์และวางแผนด้านการจัดการโลจิสติกส์ แนวทางการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ขององค์กรต่างๆ  รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และก้าวไปพร้อมๆ กับวิทยาการอันทันสมัย พร้อมเสริมประสบการณ์จริงจากองค์กรชั้นนำ 

หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จะทำให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์การบริหารและจัดการองค์การที่เน้นองค์ความรู้ด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นศาสตร์ที่นำหลักการบริหารทางด้านการจัดการผลิตและการบริหารด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านการบริหารและจัดการองค์กร โดยเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาสามารถเข้าไปทำงานในภาครัฐและเอกชน ซึ่งหลักสูตรนี้จะเน้นการจัดการโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการขนส่ง กิจกรรมการส่งมอบสินค้าแบบทันเวลา (Just in time) กิจกรรมการจัดเก็บสินค้าและคลังสินค้า (Inventory and warehouse) กิจกรรมการกระจายสินค้าและบริการไปจนถึงลูกค้าคนสุดท้าย กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าและเพิ่มผลผลิต (การส่งมอบสินค้าให้ทันเวลาและอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสินค้านั้นจะต้องปลอดภัยและไม่เสียหาย ทั้งยังประหยัดต้นทุนและพลังงานในการขนส่ง รวมถึงการบริการให้ลูกค้าพึงพอใจ และรวมไปถึงกิจกรรมการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตถึงผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการด้านบุคลากรและการพัฒนาทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ

  • หลักสูตรทันสมัย เรียนตั้งแต่พื้นฐานการบริหารจัดการและระบบโลจิสติกส์
  • มีการเตรียมความพร้อมในการสอบใบรับรองมาตราฐานคุณวุฒิวิชาชีพ จากสมาคมTACBA เพื่อเป็นใบเบิกทางการเข้าทำงานด้านโลจิสติกส์
  • มีเครือข่ายพันธมิตรทางด้านโลจิสติกส์ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น Flash Express, DHL-Ecommerce, Central Group, Kerry Logistics และอีกมากมาย
  • มีโอกาสได้งานทั้งในและต่างประเทศในอัตราเงินเดือนสูง
  • สามารถต่อยอดสร้างธุรกิจด้านการนำเข้าและส่งออก หรือตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้

เทอมแรก   23,580

ตลอดหลักสูตร 4 ปี   291,280
ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร (ยังไม่รวมส่วนลด ทุน BU Bright)

ค่าเล่าเรียนปีการศึกษา 2566
ทุนการศึกษานี้มีจำนวนจำกัด โดยมีเงื่อนไขเป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)

Bachelor of Business Administration (Logistics and Supply Chain Management)

คณะบริหารธุรกิจ

School of Business Administration

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

Logistics and Supply Chain Management


แผนการศึกษา ปีการศึกษา 2566

ดาวน์โหลด

รายวิชา ปีการศึกษา 2566

ดาวน์โหลด

ทุนการศึกษาที่สามารถขอได้

กยศ. ลักษณะที่ 2

คุณสมบัติ

  • ม.6 หรือเทียบเท่า,
  • ปวช.,
  • ปวส. (เทียบโอนได้)

ชื่อหลักสูตร มคอ2

ภาษาไทย: หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Business Administration Program in Logistics Management


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์)

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Business Administration Program in Logistics Management


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทักษะ ใฝ่รู้ และมีจริยธรรมในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งมีความรู้พื้นฐานเพื่อศึกษาในระดับสูง สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการด้วยประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติงานจริงผ่านระบบสหกิจศึกษา ตลอดจนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และสามารถประยุกต์ความรู้กับสภาพความเป็นจริงของสังคมได้


คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

1. บัณฑิตต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการโลจิสติกส์ 2. บัณฑิตต้องเป็นผู้ที่มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม 3. บัณฑิตต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้กับสภาพความเป็นจริงของสังคมได้ 4. บัณฑิตต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในวิชาชีพผ่านระบบสหกิจศึกษา


แนวทางประกอบอาชีพ

เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์ สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในงานด้านต่างๆ ได้แก่ งานโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน งานวางแผนการผลิต/จัดซื้อ/ขนส่ง เป็นต้น รวมทั้งงานในตำแหน่งอื่นๆที่เกี่ยวข้องและสามารถที่จะประกอบธุรกิจส่วนตัวได้อีกด้วย


แนวทางการศึกษาต่อ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์ เน้นให้บัณฑิตนั้นสามารถค้นคว้าและทำวิจัยได้ด้วยตนเอง เพื่อสร้างพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาโลจิสติกส์ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 14,400 บาท                                                                                                                                                                  ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 172,800 บาท


โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษาใหม่

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า

  157 credits

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

  40 credits
  1.กลุ่มวิชาภาษา 20 credits
  2.กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 8 credits
  3.กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 8 credits
  4.กลุ่มวิชาบูรณาการ 4 credits
  5.กลุ่มวิชาสารสนเทศ* 4 credits

หมายเหตุ * ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร

    credits

2. หมวดวิชาเฉพาะ

  109 credits
  1.กลุ่มวิชาแกนธุรกิจ 44 credits
  2.กลุ่มวิชาเอก 48 credits
  3.กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา 17 credits

3. หมวดวิชาเลือกเสรี

  8 credits