การแนะนําตัวเองภาษาอังกฤษมีอะไรบ้าง

การแนะนำตัวเป็นความประทับใจแรกที่คนอื่นๆ จะจำเราได้ ในภาษาอังกฤษมีวิธีแนะนำตัวหลายแบบ ในแต่ละสถานการณ์ก็วิธีแนะนำตัวที่เหมาะสมต่างกันไป การเรียนรู้วิธีแนะนำตัวภาษาอังกฤษและเลือกใช้วิธีแนะนำตัวที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ บทความนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่า นอกว่าการพูด “Let me introduce myself!” ซึ่งแปลว่า “ขอให้ฉันแนะนำตัวหน่อยค่า” มีวิธีแนะนำตัวเท่ๆ สั้นๆ ยาวๆ หรือการแนะนำตัวแบบอื่นๆ ในภาษาอังกฤษแบบไหนอีกบ้างที่น่าจะเหมาะกับคุณมากกว่ากัน

วิธีแนะนำตัวภาษาอังกฤษสั้นๆ

วิธีแนะนำตัวภาษาอังกฤษ สั้นๆ มักใช้ในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการ เช่น เพื่อนใหม่ที่เพิ่งพบกันครั้งแรก หรือคนที่เพิ่งรู้จัก ซึ่งมีความเป็นกันเองมากกว่าการแนะนำตัวในที่ทำงานหรือคู่สนทนาทางธุรกิจ เช่น

Hi! I’m James. I just moved here. I’m from Chiang Mai. Are you from around here?

สวัสดีครับ ผมชื่อเจมส์ ผมเพิ่งย้ายมาที่นี่ ผมมาจากเชียงใหม่ครับ คุณเป็นคนแถวนี้หรือเปล่าครับ

วิธีแนะนำตัวภาษาอังกฤษยาวๆ

เราจะพบการแนะนำยาวๆ ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ หรือการติดต่อธุรกิจ เช่น การแนะนำตัวในที่ทำงาน ผู้ร่วมงานที่เพิ่งเจอกัน บริษัทที่สัมภาษณ์งานเราครั้งแรก การแนะนำตัวในเรียงความ หรือจดหมายสมัครงาน เป็นต้น สิ่งที่เราจะต้องแนะนำเพิ่มเติมจากชื่อของเรา ส่วนมากก็จะบอก ตำแหน่งงานที่เราทำ มาจากประเทศไหนหรือเมืองไหน และมีความสนใจในเรื่องอะไรหรือมีความสามารถอะไรเป็นพิเศษ และสำหรับการแนะนำตัวเองแบบทางการนี้จะไม่นิยมใช้ I’m, I’ve หรือ My name’s ขึ้นต้นประโยคหรือนำหน้าชื่อตัวเอง แต่จะใช้คำขึ้นต้นที่สุภาพและเป็นทางการอย่างคำว่า My name is ดูตัวอย่างการแนะนำตัวอย่างเป็นทางการต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 1

Good morning. My name is Emily Harting. I’m a head of an Analytics team at iTech company. My team gather all the big data of companies and design future business models and strategies for them. I have read your company’s profile and it looks fantastic! May I invite you to a cup of tea this afternoon?

สวัสดีค่ะ ฉันชื่อเอมิลี่ ฮาร์ทิง ฉันเป็นหัวหน้าทีม Analytics ของบริษัท iTech ทีมของฉันรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ทั้งหมดของบริษัท และออกแบบโมเดลธุรกิจและกลยุทธ์ในอนาคตสำหรับพวกเขา ฉันได้อ่านโปรไฟล์บริษัทของคุณแล้ว มันดูดีมาก! บ่ายนี้คุณสนใจมาดื่มชาด้วยกันสักหน่อยไหมคะ?

ตัวอย่างที่ 2

Hello, my name is David Kingston. I am graphic designer. I come from United States and I currently live in Bangkok, Thailand. In my free time, I enjoy cycling and practicing photography. I am excited to be part of the team.

สวัสดี ผมชื่อเดวิด คิงส์ตัน ผมเป็นนักออกแบบกราฟิก ผมมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา และปัจจุบันผมอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ในเวลาว่าง ผมชอบปั่นจักรยานและฝึกถ่ายภาพ ผมตื่นเต้นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของทีมครับ

การแนะนำตัวแบบเป็นทางการมักจะเน้นไปที่การทำความรู้จักคู่สนทนาในด้านธุรกิจหรือการงานมากกว่าการทำความรู้จักกับตัวบุคคล หากมีการถามคำถาม หัวข้อที่ถามก็จะยังเป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับหน้าที่การงานของคู่สนทนา

วิธีแนะนำตัวภาษาอังกฤษ

ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำตัวเมื่อต้องการทำความรู้จักเพื่อนใหม่ คนแปลกหน้าที่เราไม่เคยคุยด้วยมาก่อน หรือการแนะนำตัวในที่ทำงาน ให้เริ่มบทสนทนาด้วยการกล่าวทักทาย เช่น

  • Hi
    ไฮ
    สวัสดี
  • Hello, everybody
    เฮลโลว เอฟวรี่บอดี้
    สวัสดีทุกคน
  • Good morning
    กู้ด มอร์นิ่ง
    สวัสดีตอนเช้า
  • Good afternoon
    กู้ด อาฟเตอร์นูน
    สวัสดีตอนบ่าย
  • Good evening
    กู้ด อีฟนิ่ง
    สวัสดีตอนเย็น

แนะนำชื่อตัวเอง

การแนะนําตัวเองภาษาอังกฤษมีอะไรบ้าง

มีวิธีแนะนำชื่อตัวเองเป็นภาษาอังกฤษสั้นๆ หลายวิธี ดังต่อไปนี้

  • My name is…
    มาย เนม อิส
    ชื่อของฉันคือ…
  • I’m…
    ไอ แอม…
    ฉันคือ…
  • You can call me…
    ยู แคน คอล มี…
    คุณสามารถเรียก(ชื่อ)ฉันว่า…
  • Please call me…
    พลีส คอล มี…
    โปรดเรียกฉันว่า…
  • My nickname is…
    มาย นิคเนม อีส…
    ชื่อเล่นของฉันคือ…

จากนั้นตามด้วยชื่อของคุณที่คุณต้องการให้เพื่อนใหม่ของคุณเรียก แนะนำให้ใช้ชื่อเล่น หากชื่อไทยของคุณยาวหรือออกเสียงยาก หากคุณต้องการให้เพื่อนใหม่ของคุณรู้ว่านี่เป็นชื่อเล่นของคุณเท่านั้น ไม่ใช่ชื่อจริง ให้ใช้ประโยคบอกชื่อเล่นแทน

ตัวอย่าง

My name is Amornrut.
มาย เนม อิส อมรรัตน์
ชื่อของฉันคือ อมรรัตน์

My nickname is Jane.
มาย นิคเนม อิส เจน
ชื่อเล่นของฉันคือ เจน

สิ่งที่จะบอกต่อจากชื่อตัวเอง ก็สามารถที่จะบอกข้อมูลว่า เรามาจากที่ไหน อายุเท่าไหร่ มีอาชีพหรือทำงานอะไร และมีความสนใจในเรื่องใดหรือมีงานอดิเรกอะไรเป็นพิเศษ

บอกอายุของตนเอง

การแนะนําตัวเองภาษาอังกฤษมีอะไรบ้าง

เติมตัวเลขอายุของคุณในช่องว่าง

  • I’m…years old.
    ไอ แอม…เยียร์ส โอล์ด
    ฉันอายุ…ปี
  • I’m…
    ไอ แอม…
    ฉันอายุ…

เราสามารถเลือกใช้ years old หรือไม่ใช้ก็ได้ แต่จะเลือกใช้แค่ years เป็น I’m….years ไม่ได้ นอกจากนี้เราสามารถบอกอายุคร่าวๆของตนเอง โดยใช้คำว่า early แปลว่า ต้นๆ หรือ late แปลว่า ปลาย

  • I’m in my early…
    ไอ แอม อิน มาย เออร์ลี่…
    ฉันอายุ…ต้นๆ
  • I’m in my late…
    ไอ แอม อิน มาย เลท…
    ฉันอายุ…ปลายๆ

ตัวอย่าง

I’m in my early 30’s.
ไอ แอม อิน มาย เออรี่ เธอร์ตี้ส์
ฉันอายุ 30 ต้นๆ

I’m in my late 20’s. 
ไอ แอม อิน มาย เลท ทเวนทีส์
ฉันอายุ 20 ปลายๆ

เมื่อบอกอายุเป็นตัวเลขในกรณีนี้ ต้องเติม s ที่ตัวเลข หากเขียนเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษก็ต้องเติม s เช่นกัน เช่น twenties, thirties, forties, fifties, sixties, seventies, eighties, nineties เป็นต้น

อายุภาษาอังกฤษคำอ่านภาษาไทย
20s twenties ทเวนทีส์
30s thirties เธอร์ทีส์
40s forties ฟอร์ทีส์
50s fifties ฟิฟทีส์
60s sixties ซิกส์ทีส์
70s seventies เซเหวิ่นทีส์
80s eighties เอธทีส์
90s nineties ไนน์ทีส์

บอกว่าคุณมาจากไหน

การแนะนําตัวเองภาษาอังกฤษมีอะไรบ้าง

บอกว่าคุณมาจากไหนหรืออาศัยอยู่แถวไหน ใช้ประโยคด้านล่างนี้ โดยเติมชื่อประเทศ/จังหวัด/อำเภอ/ตำบล เป็นต้น

  • I live in…
    ไอ ลีฟ อิน…
    ฉันอาศัยอยู่ที่…
  • I came from…
    ไอ เคม ฟรอม…
    ฉันอาศัยอยู่ที่…
  • I grew up in…
    ไอ กรูว อัพ อิน…
    ฉันเติบโตที่…

คุณอาจจะบอกข้อมูลเพิ่มเติมด้วยการบอกว่าคุณอาศัยอยู่ที่นั่นนานแค่ไหนแล้ว เช่น

  • I have lived in…for…years/months. 
    ไอ แฮฟ ลิฟด์ อิน…ฟอร์…เยียร์ส/มันธส์
    ฉันอาศัยอยู่ที่…เป็นเวลา…ปี/เดือน

ช่องแรกใส่สถานที่ประเทศ/จังหวัด/เมือง เป็นต้น ส่วนช่องที่สองใส่จำนวนปีหรือเดือนที่เราอาศัยอยู่ที่นั่น เช่น 2 years, 8 months เป็นต้น

ตัวอย่าง

I live in Bangkok.
ไอ ลีฟ อิน แบงค็อค
ฉันอาศัยอยู่ที่กรุงเทพ

I grew up in Rachaburi.
ไอ กรูว อัพ อิน ราชบุรี
ฉันเติบโตที่ราชบุรี

I have lived in Bangkok for 3 years.
ไอ แฮฟ ลีฟด์ อิน แบงค็อค ฟอร์ ทรี เยียส์
ฉันอาศัยอยู่ในกรุงเทพมา 3 ปีแล้ว

บอกงานอดิเรก

หากคุณรู้สึกคุ้นเคยกับคนที่คุณทำความรู้จักแล้ว คุณอาจจะเริ่มพูดคุยเรื่องทั่วๆ ไปคร่าวๆ เกี่ยวกับสิ่งที่คุณสนใจ หรืองานอดิเรกของคุณ โครงสร้างประโยคมักมีลักษณะดังต่อไปนี้

ฉันชอบ…

เราสามารถบอกว่าเราชอบทำอะไรได้ด้วยการใช้คำว่า “like” ข้อควรสังเกตุคือ หากเราใช้ to ตามหลัง like คำกริยาที่ตามหลัง to ต้องเป็นคำกริยารูปปกติ หากไม่ใช้ to ในประโยค เราจะทำคำกริยาให้เป็นคำนามด้วยการเติม -ing เรียกว่า gerund

I like + กริยารูปปกติ เติม -ing
I like to + กริยารูปปกติ

ตัวอย่าง

I like reading good novels in my free time.
ไอ ไลค์ รีดดิ้ง กู้ด โนเวลส์ อิน มาย ฟรี ไทม์
ฉันชอบอ่านหนังสือนิยายในเวลาว่าง

I like to riding bicycle on weekends.
ไอ ไลค์ ไรดิ้ง ไบสิเคิ้ล ออน วีคเค้นส์
ฉันชอบขี่จักรยานในวันหยุด​สุดสัปดาห์

ฉันสนใจ…

การแสดงความสนใจเป็นการสื่อถึงสิ่งที่ชอบทำเป็นงานอดิเรกอีกวิธีหนึ่งในภาษาอังกฤษ

I am interested in + คำกริยาเติม -ing

ตัวอย่าง

I am interested in painting.
ไอ แอม อินเทอเร็สเต็ด อิน เพ็นติ้ง
ฉันสนใจการระบายสี

…เป็นงานอดิเรก

I + คำกริยา + as a hobby.

ประโยคด้านบนนี้เราจะบอกคู่สนทนาก่อนว่าสิ่งที่เราทำคืออะไรและลงท้ายว่าเราทำเป็นงานดิเรก

ตัวอย่าง

I play guitar as a hobby.
ไอ เพลย์ กีต้าร์ แอส อะ ฮอบบี้
ฉันเล่นกีต้าร์เป็นงานอดิเรก

งานอดิเรกของฉันคือ…

My hobby is + กริยารูปปกติ เติม -ing

ประโยคนี้เราจะขึ้นต้นก่อนเลยว่าเรากำลังจะพูดถึงงานอดิเรก และงานอดิเรกของเราคืออะไร

ตัวอย่าง

My hobby is playing guitar.
มาย ฮอบบี้ อิส เพลย์อิ้ง กีต้าร์
งานอดิเรกของฉันคือการเล่นกีต้าร์

บอกว่าคุณทำอาชีพอะไร

การสอบถามหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องอาชีพเป็นเรื่องปกติในการสนทนา อาจเกิดขึ้นเมื่อเริ่มการสนทนาหรือหลังจากการสนทนาดำเนินไปสักพักแล้วก็ได้ มีวิธีการบอกอาชีพง่ายๆ ในภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้

I’m a…

หรือ

I work as a…

ทั้ง 2 ประโยคด้านบนนี้ต้องตามด้วยชื่ออาชีพภาษาอังกฤษ เช่น teacher, doctor, painter เป็นต้น

ตัวอย่าง

I am a student.
ไอ แอม อะ สะติวเด้นท์
ฉันเป็นนักเรียน

I work as a teacher at the international school.
ไอ เวิร์ค แอส เออะ ทีเชอร์ แอท ดิ อินเตอร์เนชันแนล สคูล
ฉันเป็นคุณครู ทำงานอยู่ที่โรงเรียนนานาชาติ

I am a doctor. I work at Bumrungrad hospital.
ไอ แอม อะ ด็อกเตอร์ ไอ เวิร์ค แอท บํารุงราษฎร์ ฮอสปิต้อล
ฉันเป็นหมอ ฉันทำงานที่โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์

บอกเกี่ยวกับครอบครัว

การบอกข้อมูลเกี่ยวกับคนในครอบครัวมักเกิดขึ้นในการสนทนาแบบไม่เป็นทางการมากกว่า และเกิดเมื่อการสนทนาดำเนินไปได้สักพักแล้ว และดำเนินไปได้อย่างดี ทำให้ผู้สนทนาเริ่มทำความรู้จักกันมากขึ้น เช่น เกิดที่ไหน ชอบทำอะไร มีญาติพี่น้องหรือไม่ มีสัตว์เลี้ยงหรือเปล่า เป็นต้น ตัวอย่างการพูดหัวข้อเหล่านี้ในภาษาอังกฤษมีดังต่อไปนี้

  • My favourite food is pizza.
    มาย เฟวอริท ฟู้ด อิส พิซซ่า
    อาหารจานโปรดของฉันคือพิซซ่า
  • I’m studying psychology at ABC college.
    ไอ แอม สทัดดี้อิ้ง ไซค้อโลจี่ แอท เอบีซี คอลลิจ
    ฉันกำลังศึกษาอยู่คณะจิตวิทยาที่วิทยาลัยเอบีซี
  • I come from a big family. I have two brothers and two sisters. I’m the youngest.
    ไอ คัม ฟรอม เออะ บิ๊ก แฟมมิลี่. ไอ แฮฟ ทู บราเธอร์ส แอนด์ ทู ซิสเตอร์. ไอ แอม เดอะ ยังเกสท์.
    ฉันมาจากครอบครัวใหญ่ ฉันมีพี่ชายสองคนและพี่สาวสองคน ฉันเป็นคนสุดท้อง
  • I was born and raised in the States.
    ไอ วอส บอร์น แอนด์ เรสด์ อิน เดอะ สเตทส์.
    ฉันเกิดและเติบโตที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • My sister loves watching Korean drama and the chitchat show on youtube channel.
    มาย ซิสเตอร์ เลิฟส์ วอชชิ่ง โคเรียน ซีรีย์ส แอนด์ เดอะ ชิทแชท โชว์ ออน ยูทูป ชาแนล.
    พี่สาวของฉันชอบดูละครเกาหลีมากและชอบดูรายการทอล์คโชว์ในช่องยูทูปด้วย
  • I have a cat and her name is Lucy.
    ไอ แฮฟ เออะ แคท แอนด์ เฮอร์ เนม อีส ลูซี่
    ฉันมีแมวอยู่หนึ่งตัวและชื่อของมันคือลูซี่
  • My daughter intends to apply for a doctorate degree in Education at ABC University.
    มาย ดอเทอร์ อินเทนด์ส ทู แอพพลาย ฟอร์ เออะ ด็อกเทอเรท ดีกรี อิน เอ็ดดูเคชั่น แอท เอบีซี ยูนิเวอร์ซิตี้
    ลูกสาวของของฉันตั้งใจจะสมัครเรียนปริญญาเอกในคณะครุศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเอบีซี

แสดงความยินดีที่ได้รู้จัก

เมื่อแนะนำตัวเรียบร้อยแล้ว ปกติคนที่คุณแนะนำตัวให้ฟังจะบอกชื่อของเขากลับมา หากบุคคลนั้นยังคงไม่ได้บอกชื่อของเขา คุณสามารถถามชื่อของเขาได้ว่า “What’s your name?” หลังจากบุคคลนั้นตอบชื่อกลับมา การกล่าวประโยค “ยินดีที่ได้รู้จักคุณ” ตามด้วยชื่อของคนๆนั้น เป็นมารยาทที่ควรกล่าว เช่น

  • Nice to meet you,…
    ไนซ์ ทู มีท ยู,…
    ยินดีที่ได้รู้จักคุณ…
  • It’s a pleasure to meet you,…
    อิทส์ เออะ เพลชเชอร์ ทู มีท ยู,…
    ยินดีที่ได้รู้จักคุณ…

แนะนำตัวในที่ทำงาน

การแนะนำตัวในที่ทำงานจะแตกต่างจากการแนะนำตัวอื่นๆ ที่เรามักจบการแนะนำตัวด้วยการกล่าวถึงเพื่อนร่วมงาน หรือแสดงความยินดีในที่ทำงานใหม่ เช่น

  • I’m excited to be working here.
    แอม เอ็กไซเต็ด ทู บี เวิร์คกิ้ง เฮีย
    ฉันรู้สึกตื่นเต้นที่จะทำงานที่นี่
  • I am excited to be part of the team.
    ไอ แอม เอ็กไซเต็ด ทู บี พาร์ท ออฟ เดอะ ทีม
    ฉันรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของทีม
  • I can’t wait to start working with you.
    ไอ ค่านท์/แค่นท์ เวท ทู สตาร์ท เวิร์คกิ้ง วิท ยู
    ฉันรอที่จะได้ทำงานร่วมกับคุณไม่ไหวแล้ว (อยากทำงานร่วมกับคุณมากๆ)
  • I am eagerly looking forward to our collaboration.
    ไอ แอม อีกเกอร์ลี่ ลุ๊คกิ้ง ฟอร์เวิร์ด ทู เอาว์ คอลลาบอเรชั่น
    ฉันตั้งตารอที่จะได้ร่วมงานกันอย่างใจจดใจจ่อ
  • I’m glad to be welcomed by you.
    แอม เกลด ทู บี เวลคัมด์ บาย ยู
    ฉันดีใจที่ได้รับการต้อนรับจากคุณ

ถามคำถามอื่นๆ

เมื่อทำความรู้จักกันแล้ว คุณสามารถเริ่มบทสนทนาด้วยการถามคำถามต่างๆ โดยหากเป็นการเริ่มบทสนทนากับคนที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน ควรถามคำถามทั่วไปที่ไม่ลงลึกถึงข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป และถามตามแต่สถานการณ์ เช่น

ในสถานที่ที่ใดที่หนึ่ง

  • Are you from around here?
    อาร์ ยู ฟรอม เออะราวด์ เฮียร์?
    คุณอาศัยอยู่แถวนี้หรือเปล่า?
  • Where are you from?
    แวร์ อาร์ ยู ฟรอม?
    คุณมาจากไหน?
  • Do you come here a lot?
    ดู ยู คัม เฮียร์ เออะ ลอท?
    คุณมาที่นี่บ่อยไหม?

ในร้านอาหาร

  • What is your favourite dish here?
    วอท อีส ยัวร์ เฟเวอริท ดิช เฮียร์?
    อาหารจานโปรดในร้านนี้ของคุณคืออาหารจานใด?
  • Do you know if…(ชื่อเมนู)…is any good? 
    ดู ยู โนว อีฟ…(ชื่อเมนู)…อีส เอนนี่ กู้ด?
    คุณรู้ไหมว่า…(ชื่อเมนู)…อร่อยไหม?
  • What is the best drink here? 
    วอท อีส เดอะ เบสท์ ดริ้งค์ เฮียร์?
    เครื่องดื่มที่ดีที่สุดของร้านนี้คืออะไร?

ที่โรงเรียน/มหาวิทยาลัย

  • What are you studying? 
    วอท อาร์ ยู สทัดดี้อิ้ง?
    คุณเรียนเกี่ยวกับอะไร?
  • How long have you been studying here? 
    ฮาว ลอง แฮฟ ยู บีน สทัดดี้อิ้ง เฮียร์?
    คุณเรียนที่นี่มานานแค่ไหนแล้ว?
  • What grade are you in?
    วอท เกรด อาร์ ยู อิน?
    คุณเรียนอยู่ชั้นไหน?

เมื่อถามคำถามแล้ว ให้เตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่คุณจะถูกถามไว้ด้วย เพราะส่วนใหญ่แล้วคุณจะถูกถามกลับด้วยคำถามที่คุณถามเช่นกัน

นอกจากคำถามตามสถานการณ์ตัวอย่างที่เรานำเสนอมาแล้วนี้ คุณยังสามารถถามคำถามได้อีกหลายคำถาม หากคุณไม่แน่ใจว่าคำถามใดควรถาม หรือจะถามคำถามเหล่านั้นอย่างไร การขอคำปรึกษาจากครูสอนภาษาอังกฤษหรือเพื่อนชาวต่างชาติของคุณก็เป็นความคิดที่ดีค่ะ

มีอะไรให้ช่วยไหม ภาษาอังกฤษ เขียนยังไง

มีอะไรให้ช่วยบ้างหรือเปล่า Is there anything I can do for you? มีอะไรที่ฉันสามารถช่วยคุณได้บ้างไหม If you want me to help, please let me know. ถ้าคุณอยากให้ช่วย บอกได้เลยนะ

แนะนำตัวเองยังไงให้น่าสนใจ

8 เคล็ดลับในการแนะนำตัว เพื่อสร้างความประทับใจตั้งแต่แรกพบ ต่อผู้....
1. แนะนำตัวให้เข้ากับบทบาทงานและบริษัท ... .
2.แสดงความเป็นมืออาชีพ ... .
3.อย่ามุ่งไปแค่เรื่อง Passion มากเกินไป ... .
4.พูดให้กระชับและเข้าใจ ... .
5.ฝึกฝนอย่าท่องจำ ... .
6.พยายามทำความรู้จักผู้สัมภาษณ์ ... .
7.ทำให้บทสนทนาเป็นบวก ... .
8.ความประทับใจแรกสำคัญเสมอ.

โตขึ้นอยากทำอาชีพอะไร ภาษาอังกฤษ

โตขึ้นอยากเป็นอะไร?” เราสามารถถามเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า What do you want to be when you grow up? แปลตรง ๆ ว่า คุณอยากเป็นอะไรเมื่อโตขึ้น

Saying Goodbye มีอะไรบ้าง

20 ประโยคบอกลาภาษาอังกฤษที่ใช้แทน 'Goodbye'.
1. See you soon. (ซี ยู ซูน) ... .
2. See you then. (ซี ยู เดน) ... .
3. See you around. (ซี ยู อะราวด์) ... .
4. Until the next time. (อันทิล เดอะ เน็กไทม์) ... .
5. Have a nice day. (แฮ็ฟ อะ ไนซ์ เดย์) ... .
6. Have a good one. (แฮ็ฟ อะ กู้ด วัน) ... .
7. Have a nice weekend. (แฮ็ฟ อะ ไนซ์ วีคเค็นด์).