องค์การ สันนิบาต ชาติ League of Nations

องค์การ สันนิบาต ชาติ League of Nations

          แนวความคิดของประชาคมนานาชาติที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติมีมานานแล้ว ในปี ค.ศ. 1795 อิมมานูเอล คานต์ เสนอให้มีการก่อตั้งองค์การที่จะไกล่เกลี่ยของพิพาทและรักษาสันติภาพระหว่างประเทศในงานเขียนของเขา Perpetual Peace: A Philosophical Sketch

          โดยเขาย้ำว่าแนวทางนี้ไม่ใช่การให้มีรัฐบาลปกครองโลก แต่ให้รัฐบาลของแต่ละประเทศเคารพพลเมืองของตน และต้อนรับชาวต่างประเทศในลักษณะที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน สันติภาพระหว่างประเทศก็จะเกิดขึ้น

          ต่อมาเมื่อเกิดสงครามนโปเลียนในศตวรรษที่ 19 ก็มีความพยายามร่วมมือกันเพื่อให้ยุโรปมีความมั่นคงยิ่งขึ้น รวมทั้งได้เกิดอนุสัญญาเจนีวาขึ้นเพื่อมนุษยธรรมระหว่างสงคราม และอนุสัญญาเฮกซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์ของสงครามและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ และในปี ค.ศ. 1889 นักรณรงค์สันติภาพได้ก่อตั้งสมัชชาสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union: IPU) ขึ้นเพื่อสนับสนุนการเจรจาและการทูตในการแก้ไขข้อพิพาท

          ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีกลุ่มอำนาจใหญ่สองกลุ่มในยุโรปที่ขัดแย้งกัน และเป็นสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งมีทหารเสียชีวิต 8.5 ล้านนาย ผู้บาดเจ็บ 21 ล้านคน และพลเรือนเสียชีวิต 10 ล้านคน สงครามนี้ได้ส่งผลกระทบในทุกด้านของชีวิต และทำให้เกิดกระแสต่อต้านสงครามทั่วโลก จนเกิดวลีเรียกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งว่า "สงครามเพื่อที่จะหยุดสงครามทั้งหมด" และมีการสืบสวนถึงสาเหตุอย่างถี่ถ้วน ซึ่งพบว่าเกิดจาก การแข่งขันทางอาวุธ พันธมิตร การทูตลับ และเสรีภาพในการเข้าร่วมสงครามของรัฐต่าง ๆ

          เพื่อประโยชน์ส่วนตน จึงมีการเสนอให้มีองค์การระหว่างประเทศที่จะทำหน้าที่หยุดสงครามในอนาคตด้วยการลดอาวุธ การทูตอย่างเปิดเผย การตัดสินข้อพิพาท ความร่วมมือระหว่างชาติ การควบคุมสิทธิในการเข้าร่วมสงคราม และการลงโทษประเทศที่ทำผิดกฎ

องค์การ สันนิบาต ชาติ League of Nations

          บุคคลสำคัญที่มีส่วนทำให้สันนิบาตชาติเป็นความจริงขึ้นมาคือประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันแห่งสหรัฐอเมริกา การตั้งสันนิบาตชาติเป็นหนึ่งในหลักการสิบสี่ข้อของวิลสัน ซึ่งข้อ 14 ระบุว่า การรวมตัวกันของประชาชาติควรจะถูกก่อตั้งขึ้นภายใต้พันธะที่แน่นอนเพื่อจุดประสงค์ที่สามารถให้ความช่วยเหลือกันได้กับทุกฝ่าย และให้การรับรองแก่รัฐที่มีขนาดเล็กกว่าเทียบเท่ากับตนเอง โดยการจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้นมา

องค์การ สันนิบาต ชาติ League of Nations

           ภาพการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์

          โดยในระหว่างการประชุมสันติภาพที่ปารีส ซึ่งมีสามประเทศใหญ่ผู้ชนะสงครามเข้าร่วมคือ อเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร แนวความคิดการก่อตั้งสันนิบาตชาติของวิลสันได้รับการยอมรับ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาแวร์ซายส์

          กติกาสันนิบาตชาติถูกร่างขึ้นโดยคณะกรรมการพิเศษ โดยมี 44 ประเทศที่เซ็นยอมรับกติกานี้ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย อย่างไรก็ดีแม้วิลสันจะประสบผลสำเร็จในการผลักดันให้สันนิบาตชาติเป็นจริงขึ้นมา ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปีเดียวกัน แต่รัฐสภาอเมริกากลับมีมติไม่ยอมให้ประเทศอเมริกาเข้าร่วมสันนิบาต เนื่องจากเกรงว่าจะมีข้อผูกมัดตามมา ซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้สันนิบาตล่มในเวลาต่อมา

          สันนิบาตชาติเปิดประชุมคณะมนตรีหกวันหลังจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์มีผลบังคับใช้ ต่อมาสำนักงานใหญ่ถูกย้ายไปกรุงเจนีวา และมีการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1920

องค์กรที่สำคัญมี 3 องค์กรคือ
          - สมัชชา (Assembly) เป็นที่ประชุมใหญ่ขององค์การ ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทั้งหมด มีหน้าที่พิจารณาปัญหาต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลก
          - คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่ควบคุมสมัชชา ประกอบด้วยสมาชิกถาวร 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และญี่ปุ่น และสมาชิกประเภทไม่ถาวรที่มาจากการเลือกตั้งอีก 4 ประเทศ ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ทั้งนี้มติของคณะมนตรีซึ่งเป็นมติสูงสุด จะต้องเป็นฉันทามติเท่านั้นจึงสามารถบังคับใช้ได้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้สันนิบาตล่มเมื่อญี่ปุ่นและอิตาลีกลับกลายเป็นผู้คุกคามสันติภาพเสียเองในเวลาต่อมา

          - สำนักงานเลขาธิการ (Secretary-General) เลขาธิการที่ได้รับเลือกมีหน้าที่จัดทำรายงาน รักษาเอกสาร อำนวยการวิจัย และประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ

          และมีหลายหน่วยงานและคณะกรรมการ (commission) อื่น ๆ อีก ซึ่งบางองค์การเมื่อยุบสันนิบาตชาติก็ได้ถ่ายโอนไปในสังกัดของสหประชาชาติ อย่าง
          - ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศ (ต่อมากลายเป็นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ) ทำหน้าที่พิจารณาคดีและตัดสินข้อพิพาทระหว่างประเทศ
           - องค์การแรงงานระหว่างประเทศ มีผลงานโดดเด่นได้แก่ การรณรงค์ให้ทำงานแปดชั่วโมงต่อวัน การรณรงค์คัดค้านแรงงานเด็ก และสนับสนุนสิทธิของผู้หญิงในสถานที่ทำงาน
          - องค์การอนามัย (ต่อมากลายเป็นองค์การอนามัยโลก) มีผลงานโดดเด่นทางด้านการต่อสู้โรคเรื้อน มาลาเรีย ไข้เหลือง และไข้รากสาดใหญ่
          - คณะกรรมการทาส ทำหน้าที่ขจัดระบอบทาสและการบังคับขายประเวณี โดยเฉพาะในประเทศอาณานิคม
          - คณะกรรมการเพื่อผู้ลี้ภัย มีผลงานโดดเด่นคือการนำเชลยศึกสงคราม 427,000 คน จากประเทศรัสเซียส่งกลับประเทศดั้งเดิม 26 ประเทศ
          - คณะกรรมการเศรษฐกิจและการเงิน
          - คณะกรรมการดูแลดินแดนใต้อาณัติสันนิบาต (ดูที่ดินแดนใต้อาณัติ)
          - คณะกรรมการศึกษาสถานะทางกฎหมายของสตรี ต่อมากลายเป็นคณะกรรมการเพื่อสถานะของสตรี ในสหประชาชาติ
          - คณะกรรมการการสื่อสารและคมนาคม มีผลงานจัดตั้งอนุสัญญาเพื่อควบคุมท่าเรือ น่านน้ำ และทางรถไฟ ระหว่างประเทศ
          - คณะกรรมการเพื่อความร่วมมือทางปัญญา (ต่อมากลายเป็นองค์การยูเนสโก) ทำหน้าที่ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา สนับสนุนความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย การแลกเปลี่ยนวารสารและสิ่งตีพิมพ์ระหว่างประเทศ

          หลังจากการก่อตั้งได้ไม่นานนัก องค์การสันนิบาตชาติก็ไม่ประสบผลสำเร็จในเรื่องของการรักษาสันติภาพของโลกตามที่ได้ตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่ต้น เนื่องจากการขาดกลไกในการควบคุมและบริหารจัดการรัฐสมาชิก เพราะเมื่อรัฐสมาชิกมีความไม่พอใจต่อการทำงานของสันนิบาตชาติ ก็วามารถลาออกได้ง่าย ๆ โดยไม่มีมาตรการในการจัดการที่ดี อีกทั้งสันนิบาตชาติเองก็ไม่สามารถสร้างเงื่อนไขในการป้องกันการเกิดสงครามได้ เพราะไม่มีเครื่องมือในการจัดการความเรียบร้อย เช่น กองทหาร หรือมาตราการการคว่ำบาตระหว่างรัฐ ดังนั้นการทำงานขององค์การสันนิบาตชาติจึงต้องยุติบทบาทลงในเวลาต่อมา พร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยเหตุนี้สันนิบาตชาติจึงถูกขนานนามว่า "องค์การเสือกระดาษ" และระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังดำเนินไป สมาชิกของประเทศต่าง ๆ ก็ได้มีความพยายามสร้างเสือตัวใหม่อย่างองค์การสหประชาชาติขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่แทนเสือตัวเก่าที่ตายไปอย่าง องค์การสันนิบาตชาติ เรื่องราวขององค์การสหประชาชาติจะเป็นอย่างไร รอติดตามได้ในตอนต่อไปนะทุกคน

ที่มาข้อมูล : 

http://socialsw110.weebly.com/3629359135883660358536343619362636333609360936363610363436053594363436053636.html

http://www.sb.ac.th/www_war/league.htm

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4?wprov=sfii1

องค์การสันนิบาตชาติ มีกี่ประเทศ

เมื่อเริ่มต้นมีรัฐสมาชิกร่วมก่อตั้งสันนิบาต 42 ประเทศ แต่มีเพียง 23 ประเทศเท่านั้นที่เป็นสมาชิกจนกระทั่งยุบสันนิบาตในปี ค.ศ. 1946 ซึ่งประเทศไทยรวมอยู่ในประเทศเหล่านี้ด้วย สันนิบาตมีจำนวนรัฐสมาชิกมากที่สุดคือ 58 ประเทศในช่วงปี ค.ศ. 1934-1935.

องค์การสันนิบาตชาติตั้งอยู่ประเทศใด

The League of Nations. สันนิบาตชาติ เป็นองค์การที่ตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาแวร์ซาย และสนธิสัญญาอื่น ๆ ที่ทำขึ้นตอนเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสถาปนาเป็นองค์การระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1920 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา สันนิบาตชาติมีหน้าที่สำคัญสองประการ คือ1. ดูแลให้มีการปฏิบัติเป็นไปตามสนธิสัญญา2.

League of Nations หมายถึงองค์กรใด *

28 มิถุนายน 2462 (ค.ศ. 1919) : สันนิบาตชาติ (The League of Nations : LN) สมาชิกก่อตั้ง : 42 ประเทศ สำนักงานใหญ่ : นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จุดมุ่งหมาย : ป้องกันสงครามและความขัดแย้งในอนาคต

ประเทศที่เสนอทำให้เกิดเป็นสันนิบาตชาติ คือปประเทศใด

อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี ซึ่งเป็นแนวความคิดที่จะป้องกันมิให้เกิดสงครามร้ายแรง ที่จะทำลายล้างประชาชาติขึ้นอีก โดยให้สถาปนาองค์การสันนิบาตชาติขึ้นเพื่อเป็น องค์กรกลางที่จะใช้แก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างประเทศ โดยสันติวิธีเพื่อดำรงรักษา สันติภาพอันถาวรไว้