สภาพแวดล้อมทางธุรกิจภายใน ตัวอย่าง

วันที่นำเข้าข้อมูล 17 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 13 พ.ย. 2565

| 172,222 view

การวิเคราะห์ SWOT หรือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์สำหรับการประกอบธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน มองเห็นโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจทุกประเภท

 

ความหมาย SWOT

จุดแข็ง (Strengths) : จุดเด่นหรือจุดแข็ง (ข้อได้เปรียบ) เป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านการเงิน และข้อได้เปรียบด้านการผลิต และด้านทรัพยากรบุคคล โดยบริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด  

จุดอ่อน (Weaknesses) : จุดด้อยหรือจุดอ่อน ข้อเสียเปรียบเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่าง ๆ ของบริษัท เช่น การขาดเงินทุน นโยบายและทิศทาง การบริการที่ไม่แน่นอน หรือบุคลากรที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไปอันจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท  

โอกาส (Opportunities) : เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์ หรือส่งเสริมการดำเนินงานของบริษัท โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ โดยการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตลอดเวลา เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีและการแข่งขันในตลาด และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น  

อุปสรรค (Threats) : เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลเสียต่อธุรกิจ เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น สภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้อง และพยายามขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้  

การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน

การวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในบริษัททุก ๆ ด้านเพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้างระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย

การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก

ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัท ทำให้สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรค การดำเนินงานของบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษา การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น บทบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึงกรรมวิธีใหม่ ๆ และพัฒนาการทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการ

การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis) การประกอบธุรกิจในฟินแลนด์

จุดแข็ง

1. การจัดตั้งบริษัทง่ายและกฎระเบียบไม่ซับซ้อน

2. รัฐมีระบบการสนับสนุนด้านเงินทุนสำหรับการเริ่มประกอบธุรกิจ

3. การประกอบธุรกิจมีความชัดเจน โปร่งใส และตรวจสอบได้

จุดอ่อน

1. ผู้ประกอบการควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษา และพฤติกรรมการบริโภคของชาวฟินแลนด์

2. ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายแรงงานของฟินแลนด์ 

3. มีกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างที่นายจ้างจำเป็นต้องปฏิบัติตาม เช่น การทำประกันสังคมและ ประกันสุขภาพ รวมถึงประกันอุบัติเหตุจากการจ้างงานซึ่งทำให้มีต้นทุนสูงในการประกอบธุรกิจ

โอกาส

1. การประกอบธุรกิจที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยจะดึงดูดลูกค้าได้มากกว่า เนื่องจากชาวฟินแลนด์ให้ความสนใจประเทศไทยเป็นอย่างมาก

2. ธุรกิจสามารถเติบโต สร้างความมั่นคง และสร้างเงินหมุนเวียนได้

3. ชาวฟินแลนด์มีรายได้ดี และกำลังซื้อสูง

4. การเลือกประกอบธุรกิจในทำเลที่ดีจะสามารถสร้างเงินหมุนเวียนได้สูงและมีลูกค้าประจำ

อุปสรรค

1. ชาวฟินแลนด์มีความรอบคอบในการเลือกที่จะบริโภคสินค้าราคาถูกที่มีปริมาณมาก

2. ชาวฟินแลนด์ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม การสื่อสาร เป็นสิ่งที่ชาวฟินแลนด์ให้ความสนใจมากกว่า

3. พื้นที่เช่าในทำเลย่านธุรกิจมีการแข่งขันสูงทำให้หาพื้นที่ทีมีศักยภาพดียากขึ้น หรืออาจหาได้ในราคาที่สูงเกินไป

4. ผู้ประกอบการควรต้องรู้ภาษาท้องถิ่น แม้ว่าชาวฟินแลนด์มากกว่าร้อยละ 85 สามารถ สื่อสารภาษาอังกฤษได้ แต่ก็คาดหวังที่จะได้รับการบริการและการสื่อสารในภาษาท้องถิ่น

อัปเดตเมื่อ 20 พ.ค. 2564

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจภายใน ตัวอย่าง

ภายหลังจากที่องค์กรได้มีการกำหนดทิศทางขององค์กรไว้อย่างชัดเจนแล้ว ก่อนที่จะทำการว่าองค์กรจะมี OKRs อะไรบ้าง สิ่งสำคัญที่องค์กรควรดำเนินการก่อนคือ การทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ที่องค์กรกำลังอยู่ก่อนว่าเป็นอย่างไรบ้าง

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ หรือ Business context จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งภายในองค์กรเอง และภายนอกองค์กร ซึ่งการเกิดขึ้นนี้อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินการขององค์กร ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งผลกระทบนี้ อาจจะเป็นได้ทั้งในทางบวก หรือทางลบต่อองค์กรก็ได้

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จะแบ่งออกได้เป็น สภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอก องค์กร โดยสภาพแวดล้อมภายใน หรือเรียกว่า Internal environment จะประกอบด้วย ขั้นตอนการปฏิบัติงาน กระบวนการทำงาน ระบบงาน เทคโนโลยีที่ใช้ ความสามารถของพนักงาน จำนวนพนักงาน การสื่อสารภายในองค์กร ความเป็นผู้นำ วัฒนธรรม ขีดความสามารถขององค์กร

ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก ก็ยังแบ่งได้อีก 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกจะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อองค์กร การดำเนินงานของกลุ่มนี้มีผลโดยตรงต่อองค์กร และองค์กรยังมีความสามารถในการบริหารจัดการกลุ่มนี้ได้ เรียกว่า Transactional environment ได้แก่ ลูกค้า คู่แข่ง ผู้ส่งมอบ เจ้าของ หุ้นส่วน พันธมิตร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญอื่นๆ

ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง จะเป็นสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กร แต่องค์กรไม่สามารถเข้าไปควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงได้มากนัก เรียกว่า Contextual environment ได้แก่ สังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง

การทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกองค์กรเหล่านี้ จะช่วยทำให้เข้าใจได้มากขึ้นว่าตอนนี้องค์กรของเราเกิดอะไรขึ้นบ้าง มีอะไรที่เกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้น ที่อาจจะส่งผลกระทบในทางบวก หรือในทางลบต่อเป้าหมายขององค์กร ความเข้าใจเหล่านี้ จะช่วยให้องค์กรสามารถเตรียมความพร้อมรับมือได้อย่างถูกต้อง และเป็นประโยชน์กับองค์กรต่อไป

หนึ่งในเครื่องมือที่นิยมเอามาวิเคราะห์ เพื่อให้สามารถเข้าใจผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีต่อองค์กรได้มากขึ้น นั่นคือ SWOT ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์ถึง จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค (Threat) ทั้งนี้การวิเคราะห์ SWOT ขององค์กร จะต้องเข้าใจถึงทิศทางที่องค์กรต้องการจะไป และสภาพแวดล้อมที่องค์กรอยู่ควบคู่กันไปด้วย

เพราะหากไม่ชัดเจนว่าจะไปทางไหน การเกิดขึ้นหรือที่กำลังจะเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ก็ไม่สามารถระบุได้ว่าจะเป็นโอกาส หรือจะเป็นอุปสรรคต่อองค์กร หรืออาจจะเป็นแค่เหตุการณ์ๆ หนึ่งเท่านั้น (Event) ที่ไม่ได้ส่งผลกระทบแต่อย่างใดต่อองค์กร หรืออาจจะส่งผลกระทบน้อยมากจนไม่ต้องไปสนใจ

ตัวอย่างเช่น การสูญเสียบุคลากรจากการเกษียณอายุ หากบุคลากรที่กำลังจะเกษียณเป็นคนที่สำคัญและมีบทบาทต่อทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไป ก็จะถือว่าเหตุการณ์นี้เป็น “อุปสรรค” หรือเป็น “จุดอ่อน” ขององค์กร ที่จะส่งผลต่อการสร้างความสำเร็จให้กับองค์กรได้

แต่ถ้าคนคนนั้นไม่ได้มีบทบาทหรือมีความสำคัญต่อทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไปแต่อย่างใด ก็ไม่ถือว่าเป็นปัญหาแต่อย่างใดกับองค์กร เป็นแค่เหตุการณ์หนึ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น หรืออาจจะส่งผล แต่ก็น้อยมาก

เมื่อองค์กรได้มีการพิจารณาแล้วว่าอะไรเป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส หรืออุปสรรค จากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น หรือที่จะเกิดขึ้นแล้ว ก็จะนำมาสู่การพิจารณาถึงปัจจัยทางกลยุทธ์ที่สำคัญ ที่ประกอบด้วย

· ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ (Strategic Advantage)

· ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Challenge) และ

· โอกาสเชิงกลยุทธ์ (Strategic Opportunity)

ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ (Strategic Advantage)

จะเป็นสิ่งที่องค์กรมี และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จที่ผ่านมา รวมถึงยังเป็นปัจจัยที่สร้างความได้เปรียบเมื่อเทียบกับคู่แข่งด้วย

ทั้งนี้ ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์นี้จะพิจารณาจาก จุดแข็ง (Strength) ขององค์กร เช่น ด้านบุคลากร ด้านเทคโนโลยี ด้านต้นทุน ด้านห่วงโซ่อุปทาน ด้านช่องทางและสาขา เป็นต้น โดยองค์กรจะต้องมีกลยุทธ์ หรือวัตถุประสงค์ ในการปรับปรุงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์และความสำเร็จขององค์กรเอาไว้ต่อไป

ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Challenge)

จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น หรืออาจจะเกิดขึ้น และส่งผลกระทบทำให้ความสามารถในการบรรลุวิสัยทัศน์ หรือเป้าหมายขององค์กรลดลงได้ รวมถึงเป็นปัจจัยที่ทำให้องค์กรมีปัญหาในการทำงานที่ผ่านมา และปัจจัยนั้นยังคงมีอยู่ หรือมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นด้วย

ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ จะพิจารณาจาก จุดอ่อน (Weakness) และอุปสรรค (Threat) ที่เกิดขึ้นและมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นขององค์กร ความท้าทายที่ยังมีอยู่นี้ จะเรียกว่า ปัญหา (Problem) ซึ่งองค์กรจะต้องมีกลยุทธ์หรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา (Problem solving) เหล่านี้ให้หายไปหรือลดลง

ส่วนความท้าทายที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น จะเรียกว่า ความเสี่ยง (Risk) ซึ่งองค์กรจะต้องมีการบริหารความเสี่ยง (Risk management) อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผล เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบในทางลบต่อองค์กรนี้ สามารถเกิดขึ้นได้ หรือหากจะมีโอกาสเกิดขึ้น ก็ให้ส่งผลกระทบต่อองค์กรน้อยที่สุด

โอกาสเชิงกลยุทธ์ (Strategic Opportunity)

จะเป็นสิ่งที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น และจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับองค์กร ซึ่งจะพิจารณาจาก โอกาส (Opportunity) ที่จะเกิดขึ้น และเมื่อนำโอกาสนั้นมาพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น โอกาสของความสำเร็จ ความคุ้มค่าที่จะนำมาทำให้เกิดขึ้น จนมั่นใจว่าเป็นผลดีหรือเป็นประโยชน์กับองค์กรจริง องค์กรก็จะนำสิ่งนั้นมาสร้างให้เกิดเป็น นวัตกรรม (Innovation) กับองค์กรต่อไป

บางส่วนจากหนังสือ OKRs @ Work บริหารผลงานสู่ความเป็นเลิศด้วย OKRs

สภาพแวดล้อมภายในทางธุรกิจ มีอะไรบ้าง

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จะแบ่งออกได้เป็น สภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอก องค์กร โดยสภาพแวดล้อมภายใน หรือเรียกว่า Internal environment จะประกอบด้วย ขั้นตอนการปฏิบัติงาน กระบวนการทำงาน ระบบงาน เทคโนโลยีที่ใช้ ความสามารถของพนักงาน จำนวนพนักงาน การสื่อสารภายในองค์กร ความเป็นผู้นำ วัฒนธรรม ขีดความสามารถขององค์กร

สภาพแวดล้อมในองค์การแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

ประเภทของสภาพแวดล้อมองค์การ ได้แก่ สิ่งที่อยู่ภายนอกองค์การและมีผลกระทบต่อการด าเนินงานขององค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การสามารถแยกย่อยได้อีก 2 ประเภท 1.สภาพแวดล้อมทั่วไป (General environment) 2. สภาพแวดล้อมเฉพาะหรือสภาพแวดล้อมของงาน (Specific or task environment)

สภาพแวดล้อมภายในหมายถึงอะไร

1. สิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment) คือ สภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกําหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนําไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน

สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน มีกี่ประการ

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ล้อมรอบตัวผู้ปฏิบัติงานมีองค์ประกอบ 4....
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ... .
สิ่งแวดล้อมทางเคมี (Chemical Environment) ... .
สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment) ... .
สิ่งแวดล้อมทางเออร์กอนอมิคส์ (Ergonomics).