ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย

Show

ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2563

ชะลอตัวต่ำกว่าที่คาดและต่ำกว่าศักยภาพ

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย

          ปี 2563 เศรษฐกิจไทยเปิดศักราชใหม่ปีชวดด้วยความหวังว่าจะกลับมาขยายตัวดีกว่าปีกุน แต่ภาวะ "VUCAWorld" ทำให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะชะลอตัวและต่ำกว่าระดับศักยภาพต่ออีกปี ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน ก็น่าจะเหมือนคนที่เดิมคาดกันว่าจะออกวิ่งเหยาะ ๆ กลับกลายเป็นได้แค่เพียงเดินประคองตัวเท่านั้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรคไวรัสโคโรน่าหรือโควิด-19 (COVID-19) ปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงกว่าที่คาด และพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2563 ที่ล่าช้า

สรุปภาพเศรษฐกิจปีกุน

          ในช่วงต้นปี 2562 นักวิเคราะห์หลายสำนักต่างคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ประมาณร้อยละ4 หรืออยู่ในช่วงระดับศักยภาพ แต่ผลกระทบจากภาวะกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนส่งผลกระทบต่อปริมาณการค้าโลกมากกว่าที่หลายฝ่ายประเมินกันไว้ ทำให้ภาคการส่งออกของไทยหดตัวจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวส่งผลกระทบต่อรายได้และการจ้างงานในประเทศชัดเจนขึ้น จนทำให้เศรษฐกิจไทยปิดท้ายปีกุนกลับกลายเป็นขยายตัวต่ำกว่าระดับศักยภาพ

          ปี 2563 เศรษฐกิจไทยเปิดศักราชใหม่ปีชวดด้วยความหวังว่าจะกลับมาขยายตัวดีกว่าปีกุนแต่ภาวะ"VUCAWorld" ทำให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะชะลอตัวและต่ำกว่าระดับศักยภาพต่ออีกปี เนื่องจากยังไม่ทันข้ามเดือนแรกของปีก็เกิดภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศโดยเฉพาะจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและการจ้างงานของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวจำนวนมาก ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนก็เหมือนคนที่เดิมคาดว่าจะออกวิ่งเหยาะ ๆ กลับกลายเป็นได้แค่เพียงเดินประคองตัวเท่านั้น

          โดยหากเราตรวจสอบความพร้อมของเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยในปี2563พบว่าแต่ละเครื่องยนต์ต่างมีทั้งปัจจัยเสริมและปัจจัยฉุดรั้งดังนี้

การส่งออกสินค้า : เครื่องยนต์หลักที่ขัดข้องเริ่มกลับมาเดินเครื่องใหม่อีกครั้ง

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย

          ในปี 2563 การส่งออกสินค้าของไทยคาดว่าจะขยายตัวได้เล็กน้อยดีขึ้น จากที่หดตัวในปีก่อนโดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญได้แก่ (1) พัฒนาการของความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น หลังมีการบรรลุข้อตกลงทางการค้าระยะแรกอย่างเป็นทางการจึงคาดว่าภาพรวมของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในระยะต่อไปน่าจะปรับตัวดีขึ้นบ้าง (2) วัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่คาดว่าจะทยอยฟื้นตัวในปีนี้ส่วนหนึ่งมาจากการเริ่มใช้ระบบ 5G ในหลายประเทศโดยคาดว่าจะเริ่มเห็นคำสั่งซื้อและการผลิตปรับตัวดีขึ้นชัดเจนประมาณช่วงกลางปีนี้อย่างไรก็ตามการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงต้นปีอาจส่งผลกระทบต่อระยะเวลาและความเร็วในการฟื้นตัวได้ หากผลกระทบของโรคระบาดลามไปสู่ภาคการผลิตจนกระทบห่วงโซ่การผลิตของโลกนอกจากนี้การส่งออกของไทยยังคงมีปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ฉุดรั้งให้การขยายตัวอาจไม่กลับไปสูงเท่ากับในอดีต คือ การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ทั้งที่มาจากคู่แข่งที่สามารถพัฒนาศักยภาพได้เร็วกว่าไทย และการเสียส่วนแบ่งการตลาดในอาเซียนให้แก่ประเทศจีน ที่นำสินค้าเข้ามาแข่งขันเพื่อกระจายความเสี่ยงจากตลาดสหรัฐฯ

การท่องเที่ยว:เครื่องยนต์เล็กแต่เจอปัญหาใหญ่

          สำหรับการส่งออกบริการโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว แม้ว่าจะมีขนาดเล็กในระบบเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับภาคการส่งออกสินค้า แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาภาคการท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญในการช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยไว้ได้ ในยามที่เครื่องยนต์หลักของประเทศขัดข้อง และแม้ว่าภาคการท่องเที่ยวจะเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็สามารถกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วทุกครั้ง

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย

          ทว่าในปี 2563 ภาคการท่องเที่ยวกลับต้องเผชิญกับปัญหาที่หนักหน่วงกว่าทุกครั้งจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เหนือความคาดหมายทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงมากส่งผลกระทบรุนแรงต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวซึ่งมีสัดส่วนการจ้างงานถึงประมาณร้อยละ 23.5 ของการจ้างงานในปี 2562ความท้าทายของการฟื้นตัวในครั้งนี้จึงขึ้นอยู่กับว่าโรคระบาดดังกล่าวจะรุนแรงและยืดเยื้อเพียงใดเนื่องจากส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศภาคการท่องเที่ยวในปีนี้จึงเป็นการประคองตัวเพื่อความอยู่รอดโดยจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องจากทั้งภาครัฐและสถาบันการเงิน

การลงทุนทั้งจากภาคเอกชนและภาครัฐ : เจออุปสรรคจาก พ.ร.บ. งบประมาณฯ ล่าช้า

          ในปี 2563 การลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐที่นับว่าเป็นความหวังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยกลับเผชิญกับอุปสรรคสำคัญจากการประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณฯ ที่ล่าช้าและยังมีความไม่แน่นอนสูงส่งผลให้การลงทุนของภาครัฐที่เป็นการลงทุนใหม่ต้องเลื่อนออกไปและบั่นทอนความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจจนทำให้ภาคเอกชนบางส่วนชะลอการลงทุนออกไปก่อนหากปัญหา พ.ร.บ. งบประมาณฯ สามารถคลี่คลายได้เร็วคาดว่าจะทำให้การลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนกลับมาเดินหน้าได้อีกครั้งโดยเฉพาะโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ซึ่งเป็นความหวังสำคัญของประเทศ

การบริโภคภาคเอกชน : เครื่องยนต์สำคัญแต่เปราะบาง

          ในปีที่ผ่านมาแม้ว่าการจ้างงานและรายได้ครัวเรือนได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ลดลงแต่การบริโภคโดยรวมกลับยังคงขยายตัวได้ดีเนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐอย่างต่อเนื่อง อาทิมาตรการชิม ช้อป ใช้และมาตรการช่วยเหลือรายได้เกษตรกร ซึ่งมาตรการเหล่านี้เน้นความรวดเร็วและการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น

          ในปี 2563 นี้หลังจากผลของมาตรการต่างๆหมดลงแล้วคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะมีแนวโน้มชะลอลงตามปัจจัยพื้นฐานด้านรายได้โดยรายได้เกษตรกรคาดว่าจะลดลงจากปีก่อนจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตหดตัวสำหรับรายได้นอกภาคเกษตรคาดว่าจะชะลอตัวโดยเฉพาะรายได้จากภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากโรคไวรัสโควิด-19 และแม้ว่าการส่งออกจะเริ่มมีทิศทางปรับดีขึ้นแต่คาดว่าจะใช้เวลากว่าจะนำมาสู่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากภาคธุรกิจจำเป็นต้องมั่นใจเสียก่อนว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องนอกจากนี้ภาคแรงงานยังเผชิญความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างจากการที่ภาคธุรกิจมีแนวโน้มนำระบบอัตโนมัติ (automation) เข้ามาทดแทนแรงงานมากขึ้นส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานเติบโตน้อยแรงงานบางส่วนจึงอาจหันไปอาศัยการก่อหนี้เพื่อการบริโภคมากขึ้นจนกลายมาเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงดังเช่นในปัจจุบันซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันการบริโภคภาคเอกชนในระยะถัดไป

อัตราเงินเฟ้อ : ต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมาย

          สำหรับปี 2563 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายตามแรงดันด้านอุปสงค์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำรวมถึงอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานที่มีแนวโน้มปรับลดลงตามความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 แม้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะปรับเพิ่มเล็กน้อยจากค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มขึ้นและอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบของปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามซึ่งอาจทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าคาด

          ได้แก่ (1) การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่อาจลุกลามและส่งผลกระทบมากกว่าที่ประเมินไว้(2) พัฒนาการของภาวะการค้าและการลงทุนโลกซึ่งได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่ยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน (3) ความคืบหน้าของการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่สำคัญซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและ (4) พัฒนาการของตลาดแรงงานและรายได้ครัวเรือนที่อาจใช้เวลาการฟื้นตัวนานกว่าอดีตแม้การส่งออกจะฟื้นตัวเนื่องจากการนำระบบautomation เข้ามาทดแทนแรงงานมากขึ้นรวมถึงปัญหาภัยแล้งที่อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ครัวเรือนภาคเกษตร

 

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย

นโยบายการเงิน : ผ่อนคลาย แต่ไม่ผ่อนแรง

          ในปี 2562 ที่ผ่านมาคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เห็นว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัวจากภาคการส่งออกเป็นสำคัญ ซึ่งส่งผลให้การจ้างงานลดลงและอุปสงค์ในประเทศอ่อนแอลงอย่างชัดเจน จึงได้ผ่อนคลายนโยบายการเงินโดยการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปีเพื่อช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับสู่กรอบเป้าหมาย

          ในการประชุมในช่วงต้นปี 2563 กนง. เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเพิ่มขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้นจึงเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายนับว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำที่สุดในประวัติการณ์ที่ร้อยละ 1.00 สำหรับการดำเนินนโยบายในระยะต่อไปยังคงเป็นลักษณะที่ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของข้อมูล (datadependent) อาทิอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอัตราเงินเฟ้อเสถียรภาพระบบการเงินรวมถึงพัฒนาการของความเสี่ยงต่าง ๆ

แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเต็มศักยภาพ

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย

          โดยสรุปคงต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยปี 2563 ยังคงเป็นอีกปีที่เติบโตต่ำกว่าระดับศักยภาพโดยมีปัจจัยฉุดรั้งสำคัญ คือปัจจัยชั่วคราวแต่รุนแรงได้แก่การระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัญหาภัยแล้งและ พ.ร.บ. งบประมาณฯ ที่ล่าช้า นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานอาทิความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกปัญหาความเหลื่อมล้ำและการกระจายรายได้ของภาคครัวเรือน รวมถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนซึ่งล้วนเกี่ยวพันและผูกโยงกัน ดังนั้นการจะแก้ให้เศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวที่ระดับศักยภาพได้อีกครั้งคงไม่สามารถพึ่งพาการกระตุ้นผ่านมาตรการการคลังระยะสั้นหรือการใช้นโยบายการเงินที่มีประสิทธิผลจำกัดในการรักษาโรคที่มาจากปัญหาเชิงโครงสร้างได้ปัญหาเชิงโครงสร้างจำเป็นต้องได้รับยาที่ถูกโรคหรือการผ่าตัดเศรษฐกิจไทยโดยต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้พร้อมออกวิ่งในสนามอย่างแข็งแรงยามเมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งและปัจจัยลบชั่วคราวหมดไปมิเช่นนั้นแล้วเศรษฐกิจไทยคงจะต้องเติบโตต่ำกว่าระดับศักยภาพไปอีกหลายปี

>> ดาวน์โหลด PDF Version
>> อ่าน e-Magazine

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยเกิดจากอะไร

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เกิดจากความต้องการบริโภคสินค้าและบริการของมนุษย์ มีอยู่มากมาย ไม่จำกัด แต่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดจึงเกิดปัญหาว่าจะจัดสรรทรัพยากรไปใช้ใน การผลิตสินค้าและบริการอย่างไร จึงจะสนองความต้องการในการบริโภคของมนุษย์ให้มากที่สุด แลเกิดประโยชน์สูงสุด

ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยมีอะไรบ้าง

ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ชุมชนในประเทศไทยสั่งสมมาอย่างยาวนาน และต่อเนื่อง ประกอบด้วย ปัญหาความยากจนและหนี้สิน ปัญหาการว่างงานและขาดแคลนงานทำในชุมชน ปัญหาการพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอกชุมชน ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรที่จะนำมาใช้ในการผลิต เมื่อแต่ละชุมชนประสบปัญหาทางเศรษฐกิจแล้ว จึงมีความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ...

อะไรคือปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Basic Economics Problems) ✓ จะผลิตอะไร (What to produce) ✓ จะผลิตอย่างไร (How to produce) ✓ จะผลิตเพื่อใคร (Produce for whom) จัดสรรทรัพยากรเพื่อผลิต สินค้าและบริการให้ได้รับความพอใจสูงสุด ความต้องการมีไม่จ่ากัด ทรัพยากรมีจ่ากัด

ปัญหาพื้นฐานใดในทางเศรษฐกิจที่ทุกระบบเศรษฐกิจจะต้องเผชิญ

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าระบบเศรษฐกิจจะมีความกิจกรรมยุ่งยากซับซ้อนในการผลิต จ าหน่ายหรือบริโภค เพียงใดก็ตาม ปัญหาพื้นฐานที่ทุกระบบเศรษฐกิจจะต้องเผชิญก็คือ การมีทรัพยากรการผลิตหรือ ปัจจัยการผลิตที่จ ากัดที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของทุกๆคนในสังคมได้ ดังนั้นทุกๆ สังคมจึงต้องประสบปัญหา ดังต่อไปนี้