2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา

Home/การประเมิน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด/ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน/ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา

ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา

13.สารสนเทศนักเรียนรายบุคคลในที่ปรึกษา

31 มีนาคม 2021 ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา 0

Read More »

12.ข้อมูลนักเรียนรายบุคคล

31 มีนาคม 2021 ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา 0

Read More »

11.รายงาน ประชุมผู้ปกครอง

31 มีนาคม 2021 ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา 0

Read More »

10.ประมวลภาพสอนเสริมนอกเวลาให้กับนักเรียน

31 มีนาคม 2021 ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา 0

Read More »

9.แบบประเมินการจัดกิจกรรมโฮมรูม

31 มีนาคม 2021 ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา 0

Read More »

8.รายงาน Homeroom

31 มีนาคม 2021 ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา 0

Read More »

7.เอกสารกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์

31 มีนาคม 2021 ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา 0

Read More »

6.แผนภูมิเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาที่สอน-URL ในเว็บไซต์

31 มีนาคม 2021 ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา 0

Read More »

5.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาที่สอน-URL ในเว็บไซต์

31 มีนาคม 2021 ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา 0

Read More »

4.รายงานการคัดกรองนักเรียน SDQ ถ่ายหน้าปกเอกสาร

31 มีนาคม 2021 ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา 0

Read More »

Page 1 of 212 »

2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา

ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน

หมายถึง การจัดกิจกรรมสิ่งอำนวยความสะดวก จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ที่ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ อย่างมีความสุข และเป็นผู้เสริมแรง ชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนศึกษาแสวงหาความรู้ คิดวิเคราะห์ ปฏิบัติ และค้นพบคำตอบด้วยตนเอง

2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา

หมายถึง การดำเนินการรวบรวมข้อมูลของผู้เรียนในทุกด้านที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นสารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียนประจำชั้นหรือประจำวิชาที่รับผิดชอบ

ระดับคุณภาพ (ระดับ 4)
  1. จัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชาอย่างเป็นระบบ ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
  2. ใช้สารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียน
  3. ให้คำปรึกษาแก่ครูในสถานศึกษาด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ
  4. เป็นแบบอย่างที่ดี
หลักฐาน ร่องรอย
  1. แฟ้มเอกสาร หลักฐาน การจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา

Post Views: 15,096

2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา

ตัวชี้วัดที่ 2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียน หรือประจำวิชา หมายถึง การดำเนินการรวบลรวมข้อมูลของผู้เรียนในทุกด้าน ที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นสารสนเทศ ในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียนประจำชั้น หรือประจำวิชาที่รับผิดชอบ

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งอาจแสดงเป็นตัวเลข ตัวหนังสือ หรือสัญลักษณ์ ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นสิ่งที่เก็บรวบรวมมาโดยยังไม่ผ่านการประมวลผลหรือการวิเคราะห์จัดกระทำ จึงทำให้ส่วนมากไม่มีความหมายสมบูรณ์พอที่จะนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ

ตัวอย่างของข้อมูล เช่น

  • จำนวนห้องเรียน
  • จำนวนนักเรียน
  • น้ำหนัก
  • ส่วนสูง
  • เกรดเฉลี่ย
  • คะแนนสอบ NT
  • คะแนนสอบ O-NET
  • ผลการประเมินตัวชี้วัดตามมาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษา เป็นต้น

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผล หรือการวิเคราะห์ด้วยวิธีการต่าง ๆ จนอยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ หรือนำไปใช้ในเรื่องต่าง ๆ ได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น

  • อัตราส่วนครูต่อนักเรียน
  • การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มดำเนินการ
  • การจัดเรียงลำดับคะแนนของนักเรียน
  • ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการเรียนตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป
  • ร้อยละของนักเรียนที่ผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษาในระดับดีเยี่ยม ดี ผ่าน ไม่ผ่าน เป็นต้น

ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงสุด และการจัดเก็บรักษาอย่างมีระบบเพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้ สารสนเทศที่ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ จะสามารถนำไปใช้สนับสนุนการบริหารในชั้นเรียน และการตัดสินใจทั้งในระดับผู้ปฏิบัติ และระดับผู้บริหารสถานศึกษา

ดังนั้นในตัวชี้วัดที่ 2.3  การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียน หรือประจำวิชา ครูจึต้องมีการนำข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของครู มาจัดกระทำการประมวลผล หรือวิเคราะห์ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น

  • การจัดหมวดหมู่
  • การเรียงลำดับ
  • การแจงนับ
  • การวิเคราะห์ ฯลฯ
  • ตลอดจนการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ (คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวน ฯลฯ)

ผลที่ได้จากการจัดกระทำด้วยวิธีการต่าง ๆ จะเป็นสารสนเทศ ซึ่งสามารถนำเสนอได้ในหลายรูปแบบ เช่น ตาราง แผนภาพ กราฟ หรือการบรรยายเป็นความเรียง เป็นต้น

ขั้นตอนการจัดทำข้อมูลสารสนเทศในชั้นเรียน

2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา

งานสารสนเทศของครูที่ควรจัดทำให้เป็นระบบมีดังนี้

  1. ข้อมูลสารสนทศผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ด้านสุขภาพอนามัย ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
  2. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
  3. จัดทำ/จัดหาสื่อและแหล่งเรียนรู้
  4. จัดการเรียนรู้
  5. วัดและประเมินการจัดการเรียนรูู้
  6. สรุปผล/จัดทำรายงานวิจัยในชั้นเรียน
2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา

ที่มา: การจัดระบบบริหารและสารสนเทศในสถานศึกษา,  สพฐ. หน้า 61

2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
ที่มา: การจัดระบบบริหารและสารสนเทศในสถานศึกษา,  สพฐ. หน้า 62
2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
ที่มา: การจัดระบบบริหารและสารสนเทศในสถานศึกษา,  สพฐ. หน้า 63
2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
ที่มา: การจัดระบบบริหารและสารสนเทศในสถานศึกษา,  สพฐ. หน้า 64
2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
ที่มา: การจัดระบบบริหารและสารสนเทศในสถานศึกษา,  สพฐ. หน้า65
2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
ที่มา: การจัดระบบบริหารและสารสนเทศในสถานศึกษา,  สพฐ. หน้า65
2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
ที่มา: การจัดระบบบริหารและสารสนเทศในสถานศึกษา,  สพฐ. หน้า67
2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
ที่มา: การจัดระบบบริหารและสารสนเทศในสถานศึกษา,  สพฐ. หน้า68
2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
ที่มา: การจัดระบบบริหารและสารสนเทศในสถานศึกษา,  สพฐ. หน้า69
2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
ที่มา: การจัดระบบบริหารและสารสนเทศในสถานศึกษา,  สพฐ. หน้า69
2.1 จัดทําข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
ที่มา: การจัดระบบบริหารและสารสนเทศในสถานศึกษา,  สพฐ. หน้า70

ดังนั้นแนวทาง การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียน หรือประจำวิชา ในตัวชี้วัดที่ 2.3 ครูจะต้องมีร่องรอย ในการดำเนินการรวบรวมข้อมูลของผู้เรียนในทุกด้าน ที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นสารสนเทศ ในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียนประจำชั้น หรือประจำวิชาที่รับผิดชอบ อย่างน้อยที่สุดจะต้องผ่านระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไป ดังตามรางคุณภาพ ต่อไปนี้

ระดับคุณภาพ 1
ข้อกำหนดระดับคุณภาพ ตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
จัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชาอย่างเป็นระบบถูกต้องและเป็นปัจจุบัน 1. ข้อมูลสารสนเหศ
2. เอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา
ระดับคุณภาพ 2
ข้อกำหนดระดับคุณภาพ ตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. จัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียน หรือประจำวิชาอย่างเป็นระบบถูกต้องและเป็นปีจจุบัน

2. ใช้สารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียน

1. ข้อมูลสารสนเทศ
2. เอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา
3. หลักฐาน ร่องรอยการใช้สารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
ระดับคุณภาพ 3
ข้อกำหนดระดับคุณภาพ ตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. จัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชาอย่างเป็นระบบ ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

2. ใช้สารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียน

3. ให้คำปรึกษาแก่ครูในสถานศึกษา ด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเหศ

1. ข้อมูลสารสนเทศ
2. เอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา
3. หลักฐาน ร่องรอยการใช้สารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
4. หลักฐาน ร่องรอยการให้คำปรึกษาแก่ครูในสถานศึกษา ด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ
ระดับคุณภาพ 4
ข้อกำหนดระดับคุณภาพ ตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. จัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชาอย่างเป็นระบบถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

2. ใช้สารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียน

3. ให้คำปรึกษาแก่ครูในสถานศึกษา ด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ

4. เป็นแบบอย่างที่ดี

1. ข้อมูลสารสนเทศ
2. เอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา
3. หลักฐาน ร่องรอยการใช้สารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
4. หลักฐานร่องรอยการให้คำปรึกษาแก่ครูในสถานศึกษา ด้านการจัดทำข้อมูลสารสนทศ
5. มีหลักฐานร่องรอยการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา จนเป็นที่ยอมรับ หรือได้รับการยกย่องในวงวิชาชีพ
ระดับคุณภาพ 5
ข้อกำหนดระดับคุณภาพ ตัวอย่างเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
1. จัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา อย่างเป็นระบบถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

2. ใช้สารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียน

3. ให้คำปรึกษาแก่ครูในสถานศึกษา ด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ

4. เป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นผู้นำ

1. ข้อมูลสารสนเทศ
2. เอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา
3. หลักฐาน ร่องรอยการใช้สารสนเทศในการเสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ
4. หลักฐาน ร่องรอยการให้คำปรึกษาแก่ครูในสถานศึกษา ด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ
5. มีหลักฐาน ร่องรอยการจัดทำข้อมูลสารสนทศ และเอกสารประจำชั้นเรียน หรือประจำวิชา จนเป็นที่ยอมรับ หรือได้รับการยกย่องในวงวิชาชีพ
6. มีหลักฐานการสร้างเครือข่าย ด้านข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียน หรือประจำวิชา

เอกสารเพิ่มเติม

  • เอกสารประจำชั้นเรียน จากครูอับเดท
  • เอกสารประจำชั้นเรียน  Download จาก webkroox
  • เอกสารประจำชั้นเรียน” ตามมาตรฐาน “ปฐมวัย-ม.ปลาย จากเทรนครู

เอกสารอ้างอิง

  • การจัดระบบบริหารและสารสนเทศในสถานศึกษา,  สพฐ.
  • คู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ส่วนที่ 6 หน้า 97

Post Views: 39,709

Comments

comments