สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนจัดอยู่ในสินทรัพย์ใด

            1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึง เงินสด หรือสินทรัพย์อื่น ๆ ที่มีเหตุผลจะคาดหมายได้ว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือขาย หรือใช้หมดไประหว่างรอบระเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการ ถ้ารอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการสั้นกว่า 1 ปี ให้ถือระยะเวลา 1 ปีเป็นเกณฑ์ในการจัดประเภทสินค้าหมุนเวียน ได้แก่ เงินสด เงินฝากธนาคาร เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ ฯลฯ

         การจำหน่ายค่าความนิยมออกจากบัญชี เมื่อซื้อกิจการผู้อื่นมาดำเนินงานต่อโดยมีค่าความนิยมและได้บันทึกค่าความนิยมในบัญชีเรียบร้อยแล้ว กิจการจะคงค่าความนิยมไว้ในบัญชีต่อไป โดยถือว่าค่าความนิยมเป็นสินทรัพย์ที่มีอายุไม่จำกัด ตราบใดค่าความนิยมยังคงอยู่และดีขึ้นเรื่อยๆ ให้คงจำนวนค่าความนิยมไว้ในบัญชีตลอดไป แต่เมื่อไหร่เจ้าของกิจการคิดค่าความนิยมเริ่มลดลงอาจเป็นเพราะการบริหารงานเริ่มไม่ดี มีคู่แข่งที่ดีกว่า ฯลฯ เจ้าของกิจการอาจจะประมาณว่าค่าความนิยมจะคงอยู่ได้เพียง 5 ปี ก็ให้จำหน่ายค่าความนิยมออกจากบัญชีภายในระยะเวลา 5 ปี

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน คือ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าต่อกิจการซึ่งไม่สามารถจับต้องได้ ไม่มีรูปร่างทางกายภาพ และไม่สามารถมองเห็นตัวสินทรัพย์ได้ แต่กิจการสามารถสร้างมูลค่าและประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือ Intangible Assets ออกมาเป็นตัวเงินได้

ถ้าหากอ้างอิงตามมาตรฐานการบัญชี สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) คือ สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มีกายภาพ และสินทรัพย์บางอย่างจะเข้าเกณฑ์และสามารถระบุได้ว่าเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนในทางบัญชีตามคำนิยามได้ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไข ดังนี้

สามารถแยกเป็นเอกเทศได้ คือการที่สามารถแยกหรือแบ่งจากกิจการและสามารถขาย ให้สิทธิ ให้เช่า โอน หรือแลกเปลี่ยนได้อย่างเอกเทศ หรือรวมกับสัญญาที่เกี่ยวข้อง ถือว่าเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินที่สามารถระบุได้โดยไม่คำนึงว่ากิจการตั้งใจจะแยกเป็นเอกเทศหรือไม่

หรือ

สินทรัพย์นั้นเกิดจากสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่น โดยไม่คำนึงถึงว่าสิทธิเหล่านั้นจะสามารถโอนหรือสามารถแยกออกจากกิจการหรือจากสิทธิและภาระผูกพันอื่นๆ

โดยทั่วไปสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือ Intangible Assets คือ สินทรัพย์ที่เกี่ยวกับสิทธิตามใบอนุญาต, ทรัพย์สินทางปัญญา, ความรู้ทางเทคนิค (Know How), สูตร (Formula), เครื่องหมายการค้า, นวัตกรรม (Innovation), และความรู้ทางการตลาด

ตัวอย่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์, งานเขียนบนทุกเว็บไซต์ที่เขียนขึ้นมาใหม่ (ทุกบทความในเว็บนี้ก็เช่นกัน), เครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อของสินค้า, รายชื่อลูกค้า, วรรณกรรม, นิยาย, ภาพยนต์, และการจำกัดจำนวนสินค้านำเข้า เป็นต้น

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน มีอะไรบ้าง?

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) คือ สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้แต่สามารถวัดมูลค่าและสร้างมูลค่าได้ตามที่ได้อธิบายตามเงื่อนไขตามที่ได้อธิบายในตอนต้น ซึ่งในบทความนี้เราจะอธิบายแต่ละประเภทของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแต่ละรายการแบบเช้าใจง่าย ๆ เท่านั้น

ถ้าหากต้องการรายละเอียดสำหรับการตีความแต่ละรายการของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) แบบละเอียด แนะนำให้อ่านจาก มาตรฐานการบัญชี เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

โดยรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) ในเบื้องต้นสามารถแบ่งหมวดหมู่ได้ ดังนี้:

  • สิทธิบัตร (Patent)
  • ลิขสิทธิ์ (Copyrights)
  • เครื่องหมายการค้า (Trademark)
  • ค่าความนิยม (Goodwill)
  • สิทธิการเช่า (Leasehold)

สิทธิบัตร (Patent) คือ ความคุ้มครองสำหรับไอเดียการประดิษฐ์คิดค้น การสร้างนวัตกรรมบางอย่างขึ้นมาและการออกแบบผลิตภัณฑ์บางอย่างที่ไม่เหมือนคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการการประดิษฐ์ขึ้นใหม่และการต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่แล้วให้ดีกว่าเดิม

ลิขสิทธิ์ (Copyrights) คือ สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายคุ้มครองผู้สร้างสรรค์งาน ได้แก่ สิทธิในการทำซ้ำ การดัดแปลง หรือการนำออกโฆษณา ตัวอย่างเช่น สิทธิในงานเขียน (ทุกบทความในเว็บก็นับว่าเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียน) ภาพถ่าย ภาพวาด และวรรณกรรม เป็นต้น

เครื่องหมายการค้า (Trademark) คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของสินค้าหรือบริการในแต่ละแบรนด์ เพื่อแยกแบรนด์ออกจากสินค้าประเภทเดียวกันของแบรนด์อื่นๆ อย่างเช่น Toyota, Coca cola, McDonald, และ Starbucks

ค่าความนิยม (Goodwill) คือ สิ่งทำให้กิจการมีความโดดเด่นจากกิจการอื่นๆ จนสามารถทำให้กลายเป็นจุดขายที่กิจการประเภทเดียวกันกิจการอื่นๆ ไม่มี โดยส่วนมากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนในส่วนของ ค่าความนิยม หรือ Goodwill จะเกิดจากความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ความน่าเชื่อถือ ชื่อเสียง และการที่กิจการมีอยู่มานาน ตัวอย่างเช่น ชื่อเสียงของบริษัท Coca Cola และ Pepsi ที่ไม่มีน้ำอัดลมแบรนด์อื่นเทียบได้

สิทธิการเช่า (Leasehold) คือ สิทธิในการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนกับค่าตอบแทน (หรือค่าเช่า) ไว้กับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์

สัมปทานและการอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Franchises and Licensing) คือ สิทธิในการประกอบกิจการที่ได้จากรัฐบาลหรือแบรนด์บางแบรนด์ เพื่อการประกอบธุรกิจบางอย่างหรือเป็นตัวแทนขายผลิตภัณฑ์บางอย่าง ตัวอย่างเช่น สัมปทานรถไฟฟ้า สัมปทานทางด่วน 7-11 บีบีซีไทย และการได้ลิขสิทธิ์ของ Hello Kitty เป็นต้น

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม