ประเภทของกฎหมายแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

                �������Ը�ʺѭ�ѵ� �繡���������ǡѺ��ô��Թ��� ����������зӼԴ���Ѻ�� �ҡ�繤���ҭҡ��ͧ������š������ԸվԨ�óҤ����ҭ� ���㹻����š����´ѧ����ǨС�˹��ӹҨ˹�ҷ��ͧ��Ҿ�ѡ�ҹ�ͧ�Ѱ㹡�ô��Թ����ҭ� �����ͧ�ء�� ������� ����ͺ�ǹ�������Ҿ�ѡ�ҹ ��ÿ�ͧ��յ����� ��þԨ�óҤ�� ��С�þԾҡ�Ҥ������ ŧ�������зӤ����Դ  

ประเภทของกฎหมาย
    การแบ่งประเภทของกฎหมาย อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับผู้แบ่งว่าจะใช้อะไรเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปแล้วเราจะแบ่งอย่างคร่าว ๆ ก่อนโดยแบ่งกฎหมายออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ กฎหมายภายใน ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยองค์กรที่มีอำนาจภายในรัฐหรือประเทศ และกฎหมายภายนอก ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นจากสนธิสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ
กฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอก ยังอาจแบ่งย่อยได้อีกหลายลักษณะ ตามหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
กฎหมายภายใน แบ่งได้หลายลักษณะตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1.1 กฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยองค์กรที่มีอำนาจตามกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น
    1.2 กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีต่าง ๆ ที่นำมาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่มาของกฎหมาย ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรค 2 ว่า “เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่จะยกมาปรับแก้คดีได้ ท่านให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น”
2. ใช้สภาพบังคับกฎหมายเป็นหลักในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ได้แก่ กฎหมายต่าง ๆ ที่มีโทษตามบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เช่น ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร ฯลฯ เป็นต้น
    2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง สภาพบังคับทางแพ่งมิได้มีบัญญัติไว้ชัดเจนเหมือนสภาพบังคับทางอาญา แต่ก็อาจสังเกตได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การบังคับชำระหนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย หรืออาจสังเกตได้อย่างง่าย ๆ คือ กฎหมายใดที่ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญา ก็ย่อมเป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
3. ใช้บทบาทของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    3.1 กฎหมายสารบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงการกระทำต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของความผิดโดยทั่วไปแล้วกฎหมายส่วนใหญ่ จะเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
    3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการที่จะนำกฎหมายสารบัญญัติไปใช้ว่าเมื่อมีการทำผิดบทบัญญัติกฎหมาย จะฟ้องร้องอย่างไร จะพิจารณาตัดสินอย่างไร พูดให้เข้าใจง่าย ๆ กฎหมายวิธีสบัญญัติก็คือ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการเอาตัวผู้กระทำผิดไปรับสภาพบังคับนั่นเอง เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลแขวง กฎหมายวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว เป็นต้น
4. ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
    4.1 กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกัน โดยที่รัฐไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เป็นต้น
    4.2 กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ในฐานะที่รัฐเป็นผู้ปกครอง จึงต้องมีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติป้องกัน การค้ากำไรเกินควร หรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความต่าง ๆ เป็นต้น

กฎหมายภายนอก กฎหมายภายนอก หรือกฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
    1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ได้แก่ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐที่จะปฏิบัติต่อกัน เมื่อมีความขัดแย้งหรือเกิดข้อพิพาทขึ้น เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ หรือได้แก่ สนธิสัญญา หรือเกิดจากข้อตกลงทั่วไป ระหว่างรัฐหนึ่งกับรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐที่เป็นคู่ประเทศภาคี ซึ่งให้สัตยาบันร่วมกันแล้วก็ใช้บังคับได้ เช่น สนธิสัญญาไปรษณีย์สากล เป็นต้น
    2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ได้แก่ บทบัญญัติที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลรัฐหนึ่งกับอีกรัฐหนึ่ง เมื่อเกิดความขัดแย้ง ข้อพิพาทขึ้น จะมีหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาตัดสินคดีความอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน เช่น ประเทศไทยเรามี พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกับแห่งกฎหมาย ซึ่งใช้บังคับกับบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในประเทศอื่น ๆ
    3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ได้แก่ สนธิสัญญา หรือข้อตกลงเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาซึ่งประเทศหนึ่งยินยอมหรือรับรองให้ศาลของอีกประเทศหนึ่ง มีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีและลงโทษบุคคลประเทศของตนที่ไปกระทำความผิดในประเทศนั้นได้ เช่น คนไทยไปเที่ยวสหรัฐอเมริกาแล้วกระทำความผิด ศาลสหรัฐอเมริกาก็พิจารณาตัดสินลงโทษได้ หรือบุคคลประเทศหนึ่งกระทำความผิดแล้วหนีไปอีกประเทศหนึ่ง เป็นการยากลำบากที่จะนำตัวมาลงโทษได้ จึงมีการทำสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อให้ประเทศที่ผู้กระทำความผิดหนีเข้าไปจับตัวส่งกลับมาลงโทษ ซึ่งถือว่าเป็นการร่วมมือกันปราบปรามอาชญากรรม ปัจจุบันนี้ประเทศไทยทำสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกลับ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม และอิตาลี ฯลฯ เป็นต้น

กฎหมายมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่ศึกษาจะแบ่งตามลักษณะสิ่งใด  อาจแบ่งตามที่มาของกฎหมาย แบ่งตามลักษณะการใช้ หรือแบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน

ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย

2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย

3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน

ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย 


ที่มาของกฎหมายมี 2 ระบบ คือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร และระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือเรียกอีกอย่างว่า ระบบจารีตประเพณี

1. ระบบลายลักษณ์อักษร ( CivillawSystem )ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบมีการจดบันทึกมีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภามีการจัด หมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษากฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกากฎกระทรวง

2.ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( CommonLawSystem) เป็นกฎหมาย ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมาตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิมประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรได้แก่ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลาย ในเครือจักรภพของอังกฤษ

ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย 


การแบ่งประเภทกฎหมายตามลักษณะการใช้กฎหมายต้องคำนึงถึงบทบาทและหน้าที่การนำเอากฎหมายไปใช้เป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ

1. กฎหมายสารบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคลกำหนดข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญาโดยเฉพาะในทางอาญา คือประมวลกฎหมายอาญาจะ บัญญัติ ลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไรและในทางแพ่ง คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะกำหนดสาระสำคัญของบท บัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น

2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่ากฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้กฎหมายวิธีสารบัญญัติจะกำหนดระเบียบระบบขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา    ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก

 ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน

 คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติด้วยกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันเอง หรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน คือ เจ้าหน้าที่รัฐกับเอกชน    แยกได้เป็น 3 ประเภท คือ กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน และกฎหมายระหว่างประเทศ

1. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศรัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมจึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น

2.  กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเองเป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมจึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครองความเสมอภาคมิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายแพ่งทั้งหลายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น

3.กฎหมายระหว่างประเทศ คือกฎหมายที่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับเกิดจากความตกลงกันระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศแยกตามลักษณะความเกี่ยวพันประเภทใหญ่ๆ ได้  3  ประเภท คือ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกันระหว่างสองประเทศ และประเทศนั้นมีข้อตกลงรับรองให้ศาลแต่ละประเทศพิจารณาคดีหรือร่วมมือกันส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้

กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีกี่ประเภท

ตอบ กฎหมายลายลักษณ์อักษรของไทย จำแนกได้ดังนี้ (1) รัฐธรรมนูญ (2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (3) พระราชบัญญัติ

การแบ่งประเภทของกฎหมายโดยแบ่งตามเนื้อหาของกฎหมายได้กี่ประเภท

ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย 2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย 3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน

ประเภทของกฎหมายมหาชนมีอะไรบ้าง

ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้แบ่งสาขาของกฎหมายมหาชนภายในไว้ดังนี้ 1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ 2. กฎหมายปกครอง 3. กฎหมายอาญา

ข้อใดเป็นประเภทของกฎหมายสารบัญญัติ

กฎหมายสารบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำใดเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญาซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายมหาชน หรือถ้าเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งฯ เป็นต้น ถือว่าเป็นกฎหมายเอกชน