ถ้ากระต่ายกินหญ้าที่มีพลังงานรวม 200 กิโลแคลอรี สุดท้ายเหยี่ยวจะได้รับพลังงานที่ส่งต่อมาถึงเท่าไร

บทที่ 4 ระบบนิเวศ

1.ในระบบนิเวศแห่งหนึ่งมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดอยู่ร่วมกันดังนี้
หญ้า ตั๊กแตน หนอน นกกางเขน กระต่าย เหยี่ยว กบ

1.1.ให้นักเรียนเขียนสายใยอาหารในระบบนิเวศนี้

แนวคำตอบ หญ้า หนอน นกกางเขน

กระต่าย เหยี่ยว

ตั๊กแตน

กบ

1.2.สิ่งมีชีวิตชนิดใดเป็นผู้ผลิต เพราะเหตุใด

  • แนวคำตอบ

หญ้า เป็นผู้ผลิต เพราะหญ้าสามารถสร้างอาหารเองได้

1.3.สิ่งมีชีวิตใดเป็นทั้งผู้บริโภคอันดับ1 และอันดับ2 เพราะเหตุใด

  • แนวคำตอบ

ผู้บริโภคลำดับที่1 ได้แก่ หนอน ตั๊กแตน กระต่าย เนื่องจากบริโภคหญ้าเป็นอาหาร

ผู้บริโภคลำดับ 2 ได้แก่ นกกางเขน กบ เหยี่ยว

1.4.สิ่งมีชีวิตลำดับแรกในโซ่อาหารต้องเป็นพืชเสมอไปหรือไม่

  • แนวคำตอบ

ไม่จำเป็นต้องเป็นพืชเสมอไป อาจเป็นสิ่งมีชีวิตอื่นที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เช่น สาหร่ายสีเขียว แพลงตอนพืช สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นผู้ผลิตเพราะสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อสร้างอาหาร

1.5.ถ้าหญ้าถูกทำลายไปจนสูญพันธุ์ไปจากระบบนิเวศนี่ นักเรียนคิดว่าจะมีผลต่อสิ่งมีชีวิตในสายใยอาหารนี้หรือไม่ อย่างไร

  • แนวคำตอบ

มีผลต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในสายใยอาหารนี้ ถ้าหญ้าสูญพันธุ์ไป สิ่งมีชีวิตในสายใยอาหารนี้จะตายหมด หรืออพยพไปอยู่ในแหล่งที่อยู่อื่น

2.จากสายใยอาหารข้างล่างนี้ สิ่งมีชีวิตชนิดใดเป็นผู้ผลิต สิ่งมีชีวิตกินพืช สิ่งมีชีวิตกินสัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตกินทั้งพืชและสัตว์
 

แนวคำตอบ สิ่งมีชีวิต ก และ จ เป็นผู้ผลิต

สิ่งมีชีวิต ข และ ฉ เป็นสิ่งมีชีวิตกินซากพืช

สิ่งมีชีวิต ค เป็นสิ่งมีชีวิตกินสัตว์

สิ่งมีชีวิต ง เป็นสิ่งมีชีวิตกินพืชและสัตว์

พืช แมลง

กบ

แนวคำตอบ ในเวลาเริ่มต้น ประชาชนเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ประชากรแมลงลดจำนวนลง เนื่องจากกบกินแมลงเป็นอาหาร เมื่อแมลงลดจำนวนลงจึงทำให้พืชซึ่งเป็นอาหารของแมลงมีจำนวนเพิ่มขึ้น เมื่อประชากรกบเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ อาหารของกบซึ่งได้แก่แมลงมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการบริโภค กบจึงลดจำนวนลง เมื่อกบลดจำนวนลงทำให้แมลงมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวนของพืชไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กับจำนวนของแมลง

3.ให้นักเรียนพิจารณาโซ่อาหาร และกราฟต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม

4.จงพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแต่ละข้อที่ให้ไว้ว่า เป็นความสัมพันธ์แบบใด

  • 4.1.กุ้งดอกไม้ทะเลซ่อนตัวอยู่ใกล้ๆกับดอกไม้ทะเลเพื่อพรางตัวจากศัตรู
  • แนวคำตอบ ภาวะแบบอิงอาศัย
  • 4.2.แบคทีเรียในปมรากถั่วตรึงไนโตรเจนจากอากาศเพื่อเป็นธาตุอาหารแก่พืช แบคทีเรียได้รับคาร์โบไฮเดรตจากรากพืช
  • แนวคำตอบ ภาวะพึ่งพากัน

  • 4.3.พยาธิตัวตืดอาศัยอยู่ที่ผนังลำไส้ของสุนัขคอยดูดสารอาหารภายในลำไส้ของสุนัข
  • แนวคำตอบ ภาวะปรสิต
  • 4.4.ผีเสื้อหนอนใบรักดูดกินน้ำหวานของดอกรัก ขณะที่ผีเสื้อบินไปกินน้ำหวานจากดอกรักดอกอื่นๆ ก็เป็นการช่วยผสมเกสรให้กับดอกรัก
  • แนวคำตอบ ภาวะพึ่งพากัน

  • 4.5.นกเอี้ยงเกาะอยู่บนหลังควายจิกกินเห็บที่เกาะอยู่ตามตัวของควาย
  • แนวคำตอบ นกเอี้ยงกับควาย มีความสัมพันธ์แบบ ภาวะพึ่งพากัน

นกเอี้ยงกับเห็บ มีความสัมพันธ์แบบ การล่าเหยื่อ

ควายกับเห็บ มีความสัมพันธ์แบบ ภาวะปรสิต

  • 4.6.ต้นตำลึงใช้มือเกาะยึดเกาะไปตามลำต้นของต้นไม้เพื่อให้ได้รับแสงมากขึ้น
  • แนวคำตอบ แบบภาวะอิงอาศัย

  • 5.ให้นักเรียนใช้ข้อมูลจากแผนภาพวัฎจักรของคาร์บอนประกอบการตอบคำถาม

  • 5.1.หมายเลข 1 และ2 เป็นกระบวนการใด
  • แนวคำตอบ หมายเลข1 เป็นกระบวนการสังเคราะห์แสง

หมายเลข 2 เป็นกระบวนการการเผาไหม้

  • 5.2.การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ทำให้ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นับเป็นเหตุหนึ่งส่งผลให้มีการรุกพื้นที่ป่า เพื่อใช้ในการเพาะปลูก
  • 5.2.1.การรุกพื้นที่ป่าโดยการเผาป่าจะมีผลอย่างไรต่อวัฏจักรคาร์บอน
  • แนวตำตอบ การเผาไหม้ส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นและยังทำให้ต้นไม้ลดลง การสังเคราะห์ด้วยแสงจึงลดลงตามไปด้วย ดังนั้นในบรรยากาศจึงมีการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น

  • 5.2.2.เหตุใดเราจึงต้องอนุรักษ์ป่าไม้ไว้
  • แนวคำตอบ ป่าไม้ช่วยควบคุมปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ โดยพืชใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

  • 6.ผู้ล่าแตกต่างจากปรสิตอย่างไร
  • แนวคำตอบ ผู้ล่าจะต้องฆ่าสิ่งมีชีวิตที่เป็นเหยื่อก่อนจึงจะเป็นอาหารของผู้ล่าได้ ส่วนปรสิตได้อาหารจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ถูกอาศัยยังมีชีวิตอยู่

  • 7.ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์แตกต่างจากสัตว์กินซากอย่างไร
  • แนวคำตอบ สัตว์กินซาก เป็นสิ่งมีชีวิตที่บริโภคซากพืชและสัตว์ที่ตายแล้วเป็นอาหาร เช่น แร้ง หนอน ไส้เดือน ส่วนผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ นั้นจะปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยซากพืชสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอนินทรีย์ที่มีโลเลกุลเล็กก่อนที่จะดูดซึมไปใช้เป็นสารอาหาร เช่น เห็ดรา แบคทีเรีย

  • 8.ระบบนิเวศ ก ประกอบด้วยสายใยอาหารที่มีสิ่งมีชีวิต 10 ชนิด ส่วนระบบนิเวศ ข ประกอบด้วยสายใยอาหารที่มีสิ่งมีชีวิต 30 ชนิด เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศใดน่าจะรักษาสมดุลไว้ได้ดีกว่ากัน เพราะเหตุใด
  • แนวคำตอบ สายใยอาหารที่มีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดเป็นสายใยอาหารที่มีความซับซ้อนกว่าสายใยอาหารที่มีสิ่งมีชีวิตน้อยชนิด จึงจะรักษาสมดุลได้ดีกว่า เพราะถ้าหากว่าสิ่งมีชีวิตใดสูญไปจากระบบนิเวศก็ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นที่เป็นอาหารทดแทนกันได้

  • 9.1.จากแผนภาพนักเรียนจะสรุปได้ว่าอย่างไร
  • แนวคำตอบ ในระบบนิเวศที่อยู่ในภาวะสมดุล ผู้ผลิตจะมีมวลมากที่สุด ส่วนผู้บริโภคลำดับสูงขึ้น จะมีมวลลดลงตามลำดับ

  • 9.2.ถ้าผู้บริโภคอันดับที่ 1 มีมวลเท่ากับผู้ผลิต นักเรียนคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับระบบนิเวศนี้
  • แนวคำตอบ ถ้าผู้บริโภคลำดับที่1 มีมวลเท่ากับผู้ผลิต จะทำให้ผู้บริโภคลำดับที่1 แย่งกันกินอาหาร ในที่สุดทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคอันดับ1 จะลดจำนวนลงมาก ผู้บริโภคลำดับที่2 มีอาหารไม่เพียงพอก็จะแย่งอาหารกันกิน และลดจำนวนลงในที่สุด ผู้บริโภคลำดับสุดท้ายก็เช่นเดียวกัน จึงอาจทำให้ระบบนิเวศนี้เสียสมดุลได้

  • 9.3.ถ้าผู้บริโภคลำดับสุดท้ายถูกทำลายหมด นักเรียนคิดว่าระบบนิเวศนี้จะเป็นอย่างไร
  • แนวคำตอบ ผู้บริโภคลำดับที่2 จะไม่มีผู้มากินสามารถอยู่รอดได้มากขึ้นจึงมีมวลเพิ่มมากขึ้น

  • 10.ประชากร กลุ่มสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศ เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันอย่างไร
  • แนวคำตอบ โดยประชากรของสิ่งมีชีวิตหลายๆชนิดที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกันรวมกันเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิต ซึ่งสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในกลุ่มสิ่งมีชีวิต จะมีความสัมพันธ์กันในด้านต่างๆ เช่น การกินกันเป็นอาหาร การได้ประโยชน์ร่วมกัน การพึ่งพา เป็นต้น