เฉลย ใบ งาน เรื่อง มหา เวสสันดร ชาดก กัณฑ์ มั ท รี

  • Home
  • Documents
  • (M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง...

Match case Limit results 1 per page


Click here to load reader

Download PDFReport

  • View
    13.792

  • Download
    29

Facebook

Twitter

E-Mail

LinkedIn

Pinterest

Embed Size (px)

Text of (M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง...

  • 1. _________________ ./____ ____ _______ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . :

2. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

เฉลย ใบ งาน เรื่อง มหา เวสสันดร ชาดก กัณฑ์ มั ท รี

“กินเยอะ ๆ เดี๋ยวก็ท้องแตกแบบชูชกหรอก” 

เพื่อน ๆ คนไหนเคยได้ยินประโยคนี้มาบ้างหรือเปล่า ? เพราะชูชกที่ว่านี้คือตัวละครหนึ่งในมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งพระเวสสันดรเป็นชาติสุดท้ายในทศชาติชาดก (เรื่องราวสิบชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า) แต่เรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้งหมดนี่ยาวมาก ๆ เลย เพราะฉะนั้นในบทเรียนวิชาภาษาไทย ม.5 เราเลยหยิบยกมาให้เรียนเฉพาะกัณฑ์มัทรีก่อน ซึ่งเรื่องราวของมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีจะเป็นยังไงนั้น ไปติดตามกันเลยดีกว่า

หรือหากเพื่อน ๆ อยากเรียนในรูปแบบวิดีโอ ก็สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee ได้เลยนะ

ประวัติผู้แต่ง

เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เกิดในช่วงปลายสมัยอยุธยา รับราชการในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน กรุงธนบุรี โดยมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสรวิชิต ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาพิพิฒนโกษา ก่อนจะเลื่อนมาเป็นเจ้าพระยาพระคลัง เสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า ซึ่งนอกจากผลงานด้านราชการแล้ว เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ยังมีผลงานด้านการประพันธ์จำนวนมาก เช่น สามก๊ก (ฉบับแปล) ราชาธิราช บทมโหรีเรื่องกากี อิเหนาคำฉันท์ ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร และกัณฑ์มัทรี ฯลฯ

ลักษณะคำประพันธ์ 

  • มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี มีลักษณะคำประพันธ์เป็นแบบร่ายยาว โดยหนึ่งบทจะมีกี่วรรคก็ได้ ส่วนใหญ่จะนิยมแต่ง ๕ วรรคขึ้นไป แต่ละวรรคมีจำนวนคำ ๖-๑๐ คำ และใช้คำสร้อย เช่น นั้นแล แล้วแล ดังนี้ ฯลฯ ซึ่งคำสร้อยนี้จะมีก็ได้หรือไม่มีก็ได้
  • ฉันทลักษณ์ของร่ายยาว จะมีการบังคับเฉพาะคำสุดท้ายของวรรคก่อนหน้าจะสัมผัสกับคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๕ ของวรรคถัดไป เช่น 

“...จึ่งตรัสว่าโอ้โอ๋เวลาปานฉะนี้เอ่ยจะมิดึกดื่น จวนจะสิ้นคืนค่อนรุ่งไปเสียแล้วหรือกระไรไม่รู้เลย พระพายรำเพยพัดมารี่เรื่อยอยู่เฉื่อยฉิว...

  • จุดเด่นของร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก คือ การมีคาถาบาลีขึ้นต้น เช่น

“...อิมาตา โปกฺขรณี รมฺมา เจ้าเคยมาประพาสสรงสนานในสระศรี โบกขรณีตำแหน่งนอกพระอาวาส นางเสด็จลีลาสไปเที่ยวเวียนรอบ จึ่งตรัสว่าน้ำเอ๋ยเคยเปี่ยมขอบเป็นไร…”

เฉลย ใบ งาน เรื่อง มหา เวสสันดร ชาดก กัณฑ์ มั ท รี

การอ่านคำบาลีและร่ายยาว

การอ่านคำบาลี

  • อ่านเรียงพยางค์ไปทีละตัว 
  • คำไหนที่ ‘ไม่มีสระ’ ให้อ่านเป็น ‘สระอะ’
  • นิคหิต( ํ)  อ่านเป็นตัวสะกด ง แต่ถ้าไม่มีสระจะอ่านออกเสียง อัง เช่น ยํ โกลาหลํ อ่านว่า ยัง-โก-ลา-หะ-ลัง

พินทุ (.) ซึ่งอยู่ใต้พยัญชนะ หากพยัญชนะตัวหน้ามีสระ จะนับเป็นตัวสะกด เช่น ราชปุตฺตี อ่านว่า รา-ชะ-ปุด-ตี แต่หากพยัญชนะตัวหน้าไม่มีสระจะใช้เป็นไม้หันอากาศ เช่น นีเจ โวลมฺพเก อ่านว่า นี-เจ-โว-ลัม-พะ-เก

การอ่านร่าย

  • จะมีการขึ้นเสียงสูงต่ำ และใส่ลีลาตามจังหวะเนื้อความ เช่น อ่านเร็วขึ้น เมื่อเนื้อหาสื่อถึงอารมณ์โกรธ เป็นต้น (ถ้าเพื่อน ๆ อยากจะฟังวิธีการอ่านร่ายยาวเพิ่มเติม ก็สามารถโหลดแอปพลิเคชัน StartDee มาเรียนเรื่องนี้กันต่อได้เลย)

ความเป็นมาของมหาเวสสันดรชาดก

  • ความหมายของคำว่า ‘ชาดก’ ชาดกเกิดจากการสร้างคำแบบบาลีสันสกฤต โดยคำว่า ชาดก มาจาก ชาตะ แปลว่า เกิด  และ ก (อ่านว่า กะ)แปลว่าผู้, หมวด ดังนั้น ชาดก จึงหมายถึง ผู้ที่เกิดมาแล้ว อย่างคำว่า ทศชาติชาดก ที่แปลว่า ผู้ที่เกิดมาแล้วสิบชาติ หรือพระพุทธเจ้านั่นเอง
  • ที่มาของ ‘มหาเวสสันดรชาดก’  มีความเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติมาหลายชาติ ทั้งคนทั้งสัตว์เดรัจฉาน โดยแต่ละชาติพระองค์ได้บำเพ็ญบารมีแตกต่างกันออกไป ซึ่งมหาเวสสันดรชาดกเป็นชาติสุดท้ายก่อนจะประสูติมาเป็นพระพุทธเจ้าในชมพูทวีป(ชาติสุดท้ายก่อนพระองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน) และมีการบำเพ็ญบารมีด้วยการให้ทาน โดยบริจาคลูกและบริจาคเมียเป็นทาน (บุตรทารทาน) สำหรับที่มาที่ไปของมหาเวสสันดรชาดก เริ่มต้นขึ้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่เมืองกบิลพัสดุ์ พร้อมกับพระอรหันต์สองรูป เพื่อจะไปเทศนาโปรดพระบิดาและพระญาติ แต่พระญาติเกิดอัตตา ไม่ยอมไหว้พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงแสดงปาฏิหารย์ โดยการเหาะเหินเดินอากาศ ทำให้ฝุ่นใต้พระบาทาปลิวมาติดหัวพระญาติ และมีฝนโบกขรพรรษตกลงมาสู่เบื้องล่าง ฝนโบกขรพรรษเป็นฝนที่มีสีแดงใสบริสุทธิ์ราวกกับทับทิม ถ้าต้องการเปียกฝนนั้น ฝนก็จะเปียกเนื้อตัวตามปกติ แต่ถ้าไม่ต้องการเปียกฝน เม็ดฝนนั้นก็จะระเหยหายไปทันที  (ถ้ามีฝนแบบนี้ที่บ้านเรา คงหายห่วงเรื่องภัยแล้ง น้ำท่วมแน่เลย แต่น่าเสียดายที่ฝนโบกขรพรรษเป็นฝนที่เกิดขึ้นกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าเท่านั้น)
    เมื่อเกิดฝนโบกขรพรรษขึ้น พระอรหันต์ที่ตามพระพุทธเจ้าไปจึงถามว่าฝนนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร พระองค์จึงบอกว่า ฝนนี้เคยเกิดมาแล้วในครั้งที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร พระพุทธเจ้าเลยถือโอกาสนี้เล่าว่าพระองค์สามารถระลึกชาติได้ โดย 10 ชาติสุดท้ายหรือทศชาติ  ได้แก่ เตมีย์ชาดก มหาชนกชาดกสุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดกมโหสถชาดก ภูริทัตชาดก จันทชาดก นารทชาดก วิทูรชาดก และเวสสันดรชาดก ซึ่งแต่ละชาติพระองค์ได้บำเพ็ญบารมีในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
    สำหรับชาติสุดท้าย คือ เวสสันดรชาดก ประกอบด้วย 13 กัณฑ์ แต่ละกัณฑ์จะมีผู้ประพันธ์แตกต่างกันออกไป โดยจุดประสงค์หลักในการแต่งคือใช้สำหรับเทศนาให้กับพุทธศาสนิกชนหรือบุคคลที่สนใจ ส่วนกัณฑ์ที่เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ประพันธ์ มี 2 กัณฑ์ ได้แก่ กัณฑ์กุมาร และกัณฑ์มัทรีซึ่งอยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทย ม.5 ของเพื่อน ๆ นั่นเอง 

ตัวละครในมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี

  • พระเวสสันดร  พระเวสสันดรเป็นตัวละครหลักของร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นพระโอรสของ พระเจ้ากรุงสัญชัยและพระนางผุสดีแห่งเมืองสีพี พระเวสสันดรมักจะบริจาคทานด้วยวิธีต่าง ๆ มาตั้งแต่เด็ก เช่น ยกเครื่องประดับเงินทองแก้วเพชรของตนให้ผู้อื่น ต่อมาเมื่ออภิเษกกับพระนางมัทรี และมีลูกชื่อพระกัณหา และพระชาลี พระองค์ได้ตั้งโรงทานจำนวนมาก และบริจาคช้างปัจจัยนาเคนทร์ซึ่งเป็นช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองให้กับทูตของเมืองอื่นที่มาขอช้างเชือกนี้ ทำให้ชาวเมืองไม่พอใจจึงเรียกร้องให้พระเจ้ากรุงสัญชัยเนรเทศพระเวสสันดรออกจากเมือง พระเวสสันดร พระนางมัทรีและลูก ๆ จึงต้องออกจากเมืองไปอยู่ในป่า ซึ่งพระเวสสันดรได้บำเพ็ญเพียรภาวนาประพฤติพรหมจรรย์อยู่ในอาศรม ส่วนพระนางมัทรีได้ดูแลปรนนิบัติลูกและสามีที่อาศัยอยู่ในอาศรมแห่งนี้
  • พระนางมัทรี พระนางมัทรีเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์มัทราช อภิเษกสมรสกับพระเวสสันดร มีพระโอรสชื่อพระชาลี และมีพระธิดาชื่อพระกัณฑ์หา ด้วยความภักดีต่อพระสวามีนางจึงพาลูก ๆ ตามเสด็จพระเวสสันดรออกมาอยู่ในป่าด้วย ทั้งยังทำหน้าที่ดูและปรนนิบัติรับใช้สามีและดูแลลูกทั้งสองตามหน้าที่ของตน
  • พระชาลี พระชาลีเป็นพระราชโอรสของพระเวสสันดรกับพระนางมัทรี ซึ่งคำว่า ชาลี หมายถึง ตาข่าย มาจากตอนที่พระชาลีประสูติ เหล่าพระประยูรญาติได้นำตาข่ายทองมารองรับพระชาลี
  • พระกัณหา พระกัณหาเป็นพระราชธิดาของพระเวสสันดรกับพระนางมัทรี และเป็นพระกนิษฐา (น้องสาว) ของพระชาลี
  • ชูชก ชูชกเกิดในตระกูลพราหมณ์แต่กลับเที่ยวขอทานผู้อื่นเพื่อเลี้ยงชีพ และมีนิสัยที่เรียกว่า บุรุษโทษ ๑๘ ประการ เช่น ความตระหนี่ ความโลภ ความฉลาดในกลอุบายและเล่ห์เหลี่ยมต่าง ๆ เป็นต้น

ถอดคำประพันธ์ มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี

คืนก่อนที่พระนางมัทรีจะออกจากอาศรมไปเก็บผลไม้ในป่า พระกุมารทั้งสองฝันร้าย ทำให้พระนางหวั่นวิตกนึกถึงลูกตลอดเวลาจนน้ำตาอาบแก้มทั้งสองข้าง พลางสังเกตเห็นว่าต้นที่มีผลไม้กลับกลายเป็นดอกไม้ ส่วนต้นที่มีดอกไม้กลับกลายเป็นผลไม้ขึ้นแทน ส่วนดอกไม้ที่เคยเก็บไปร้อยให้ลูกก็ถูกลมพัดปลิวร่วงลงมา เมื่อมองไปรอบทิศก็มืดมัวทุกหนแห่ง ท้องฟ้ากลับกลายเป็นสีแดงคล้ายกับลางบอกเหตุร้าย สายตาของพระนางก็เริ่มพร่ามัว ตัวสั่นใจสั่น ของที่ถือก็หลุดจากมือ คานที่หาบไว้ก็ร่วงลงจากบ่าซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ยิ่งพระนางคิดเท่าไร ก็ยิ่งทุกข์ใจมากขึ้นเท่านั้น 

ด้วยความหวั่นใจเรื่องลูก พระนางจึงรีบเก็บผลไม้เพื่อจะได้รีบกลับไปหาลูกที่อาศรม แต่ระหว่างทางกลับเจอ สิงโต เสือเหลือง และเสือโคร่ง ขวางทางไว้ นางกลัวจนใจสั่นร่ำไห้ คิดไปว่าเป็นกรรมของตนเอง นางจะหนีไปทางไหนก็ไม่ได้เพราะถูกสัตว์ทั้งสามกั้นไว้ทุกทิศทางจนฟ้ามืด พระนางมัทรีไม่รู้จะทำอย่างไร จึงยกมือไหว้อ้อนวอนขอให้สัตว์หิมพานต์ทั้งสามเปิดทางให้ตน โดยกล่าวว่า พระนางคือพระนางมัทรีเป็นภรรยาของพระเวสสันดร ตามมาอยู่ที่อาศรมในป่าด้วยความบริสุทธิ์ใจและกตัญญูต่อสามี นี่ก็เวลาย่ำค่ำแล้วลูกคงหิวนม โปรดเปิดทางให้พระนางกลับไปที่อาศรมแล้วตนจะแบ่งผลไม้ให้ จากนั้นไม่นานสัตว์หิมพานต์ทั้งสามจึงยอมเปิดทางให้ พระนางมัทรีก็รีบวิ่งกลับไปที่อาศรมด้วยแก้มที่อาบน้ำตา

เมื่อถึงที่พักพระนางมัทรีก็ตกใจไม่เห็นลูกอยู่ในอาศรม ร้องเรียกหาเท่าไรก็ไม่มีใครตอบ ทั้งที่ก่อนหน้านี้จะออกมาหาแม่กันพร้อมหน้า ทั้งกัณหาขอกินนม ส่วนชาลีจะขอกินผลไม้ พระนางมัทรีเสียใจมาก พร่ำบอกว่าที่ผ่านมาก็ดูแลลูกอย่างดีแบบยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม หวังจะกลับมาพบลูกให้ชื่นใจ ก่อนหน้านี้ยังได้ยินเสียงลูกเล่นกันอยู่แถวนี้ นั่นก็รอยเท้าชาลี นี่ก็ของเล่นกัณหา แต่เมื่อลูกหายไปอาศรมกลับดูเงียบเหงาเศร้าหม่น นางจึงไปถามพระเวสสันดรว่าลูกหายไปไหน เหตุใดจึงปล่อยให้คลาดสายตา หากมีสัตว์ป่าจับไปจะทำอย่างไร แต่พระเวสสันดรกลับไม่ตอบอะไร ทำให้นางกลุ้มใจยิ่งไปว่าเก่า

ด้วยความกลุ้มใจ ตัวก็ร้อน น้ำตาก็ไหล กระวนกระวายพลางบอกว่า ไม่เคยมีครั้งใดที่นางรู้สึกแค้นเคืองใจขนาดนี้ เพราะนางออกจากเมืองมาก็หวังว่าอย่างน้อยจะได้สุขใจเพราะอยู่พร้อมหน้ากับลูกและสามี แต่เมื่อลูกหายตัวไป ความหวังนั้นก็คล้ายจะดับสิ้น

เฉลย ใบ งาน เรื่อง มหา เวสสันดร ชาดก กัณฑ์ มั ท รี

พระนางมัทรีอ้อนวอนขอให้พระเวสสันดรตรัสกับนางบ้าง เพราะการนั่งนิ่งเหมือนโกรธเคืองพระนางมัทรีนั้นยิ่งทำให้ปวดใจราวกับมีคนเอาเหล็กรนไฟมาแทงที่หัวใจ หรือเป็นคนไข้ที่หมอนำยาพิษมาให้ดื่ม อีกไม่กี่วันคงสิ้นชีวิตอย่างแน่นอน เมื่อพระเวสสันดรได้ยินพระนางมัทรีดังนั้น ก็คิดว่าหากใช้ความหึงหวงคงเป็นวิธีคลายความโศกให้พระนางได้ จึงตรัสว่า ในป่าหิมพานต์แห่งนี้มีทั้งพระดาบสและนายพรานจำนวนมาก เจ้าออกไปเก็บผลไม้ตั้งแต่เช้าจนย่ำค่ำ หากไปทำอะไรในป่าแห่งนี้ก็คงจะไม่มีใครรู้เห็น เหตุใดจึงทิ้งลูกหนีเข้าไปในป่านานถึงเพียงนี้ พอกลับมายังห่วงแต่ลูก ไม่ห่วงสามีแต่อย่างใด หรือหากไม่นึกถึงสามีก็ไม่ควรหายเข้าไปในป่านานถึงเพียงนี้ จะให้เราเข้าใจได้อย่างไร 

เมื่อพระนางมัทรีได้ยินดังนั้น จึงกราบทูลว่า เหตุใดพระองค์จึงไม่ได้ยินเสียงของราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง เพราะสัตว์ทั้งสามนี้ทำให้ทำให้พระนางไม่สามารถกลับอาศรมได้ ทั้งยังเกิดเหตุร้ายหลายประการขณะที่นางเข้าไปในป่า ทั้งของที่ถือก็หลุดจากมือ คานที่หาบไว้ก็ร่วงลงจากบ่า ต้นไม้ที่เคยผลิดอกก็ออกผล ต้นไม้ที่เคยออกผลก็ผลิดอกออกมา ชวนให้หวาดกลัวจนตัวสั่น อธิษฐานภาวนาให้ลูกและสามีปลอดภัย แล้วรีบกลับมายังอาศรมแต่ถูกสัตว์ร้ายทั้งสามตัวนอนขวางทางเอาไว้ จึงต้องกราบอ้อนวอนสัตว์ทั้งสามให้เปิดทางให้จนพระอาทิตย์ตกดินสัตว์ทั้งสามจึงหลีกทาง แล้วพระนางมัทรีก็รีบวิ่งกลับมายังอาศรมนี้ มิได้ไปทำสิ่งใดที่ไม่เหมาะไม่ควรแต่อย่างใด ฝ่ายพระเวสสันดรเมื่อฟังคำตอบของพระนามัทรีก็เอาแต่นิ่งเงียบทั้งคืน จนกระทั่งรุ่งเช้า  

ระหว่างนั้นพระนางมัทรีโศกเศร้าร่ำไห้ คร่ำครวญว่าตนปฏิบัติต่อสามีดั่งศิษย์ปฏิบัติต่อครู ดูแลลูกทั้งสองแบบยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม ทั้งบดขมิ้นไว้ให้อาบน้ำ จัดหาอาหารมาให้มิได้ขาด แล้วอ้อนวอนให้สามีเรียกลูกมากินอาหารที่ตนหามา ถามว่าลูกอยู่แห่งหนใดเหตุใดจึงยังไม่ยอมออกมา แต่ไม่ว่าจะร้องขออ้อนวอนอย่างไรสามีก็นิ่งเฉยไม่เอ่ยสิ่งใดออกมา พระนางจึงถวายบังคมลาออกไปตามหาลูกทั้งสองในป่าหิมพานต์ เมื่อออกตามหาจนทั่วแล้วไม่พบจึงกลับมาที่อาศรมพบว่าพระเวสสันดรยังคงนั่งนิ่งอยู่เหมือนก่อนหน้านี้ไม่มีผิด พระนางจึงตัดพ้อว่า เหตุใดพระเวสสันดรจึงยังนั่งนิ่งอยู่ไม่ลุกมาผ่าฝืน ตัดน้ำใส่บ่อ หรือก่อไฟไว้อย่างที่เคยทำเป็นประจำทุกวัน พร้อมกับบอกว่าพระเวสสันดรนั้นเป็นที่รักของพระนางมัทรีอย่างยิ่ง เมื่อกลับมาจากป่าเห็นพระพักตร์ของพระองค์และได้เห็นลูกทั้งสองวิ่งเล่น ก็คลายความเหนื่อยล้าเป็นปลิดทิ้ง แต่วันนี้กลับกลายเป็นความทุกข์ร้อน เศร้าโศก เพราะพระองค์ไม่ยอมตรัสสิ่งใดกับพระนาง แม้พระนางมัทรีจะได้ออกตามหาพระกัณหาและพระชาลีไปทั่วป่า ทั้งราตรี แล้วกลับมาหาพระเวสสันดรอย่างไรพระองค์ก็ไม่ยอมตรัสสิ่งใดอยู่เช่นเดิม นางมัทรีสะอื้นไห้จนหมดสติล้มลงกับพื้น

พระเวสสันดรบรรพชาเป็นดาบสมากว่า 7 เดือน ไม่เคยได้แตะต้องตัวพระนางมัทรี แต่วันนี้ด้วยความเศร้าโศกและตระหนกตกใจเกรงว่าพระนางจะเป็นอะไรไป พระเวสสันดรจึงเข้าไปตรวจชีพจรดูแลนางจนได้สติตื่นฟื้นขึ้นมา ฝ่ายพระนางมัทรีเมื่อฟื้นขึ้นมาก็ทูลถามอีกครั้งว่าลูกทั้งสองอยู่แห่งหนใด กลับมาแล้วหรือไม่ พระเวสสันดรจึงตอบว่าตนได้ยกพระกัณหากับพระชาลีให้กับชูชกไปแล้ว แต่พระองค์มิได้บอกกับพระนางมัทรีตั้งแต่ต้นเกรงว่าพระนางจะเศร้าโศกเสียใจ เมื่อได้รู้ความจริงแล้ว พระนางมัทรีจึงคลายความทุกข์เศร้าลงแล้วอนุโมทนาบุญกับบุตรทานที่พระเวสสันดรได้ปฏิบัติในครั้งนี้

ชมคลิปมหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กันฑ์ได้ที่คลิปด้านล่างเลย

มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี สะท้อนอะไรบ้าง ?

เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้ประพันธ์ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ร่ายยาวเรื่องมหาเวสสันดรชาดก จึงสะท้อนสังคมและค่านิยมในยุคสมัยนั้น ซึ่งบางเรื่องอาจเป็นเรื่องคลาสสิกที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น

  • ความรักของแม่ที่มีต่อลูก เห็นได้จากความกังวลที่เกิดขึ้นเมื่อมีลางร้าย หรือความเศร้าโศกเสียใจเมื่อพระนางมัทรีไม่เจอลูกอยู่ในอาศรม สะท้อนให้เห็นว่าลูกเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ที่ไม่ว่ายุคสมัยไหน ความรักแบบไม่มีเงื่อนไขของพ่อแม่ยังเป็นเรื่องคลาสสิกที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
  • ความเชื่อเรื่องการทำนายฝัน หรือโชคลาง แม้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะพัฒนาอย่างก้าวกระโดด แต่ความเชื่อเรื่องดวงชะตา การทำนายฝัน หรือโชคลางยังคงอยู่ในสังคมไทยมาจนถึงปัจจุบัน แม้จะลดน้อยลงเมื่อเทียบกับอดีต ซึ่งอาจมาจากความเชื่อหรือสิ่งที่มองไม่เห็นยังสามารถยึดเหนี่ยวจิตใจและสร้างความสบายใจให้กับผู้คนได้ โดยเฉพาะเรื่องอนาคตหรือเรื่องที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้า

ขณะที่บางเรื่องอาจเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วในสังคมปัจจุบัน เช่น

  • มุมมองเรื่องลูกและภรรยานับเป็นสมบัติของสามี หรือสามีมีอำนาจเหนือกว่าภรรยา ทำให้สามีสามารถยกลูกและภรรยาให้กับผู้อื่นในฐานะทรัพย์สินอย่างหนึ่งของตนได้ เพราะในอดีตยังมีเรื่องการขายทาส หรือค่านิยมชายเป็นใหญ่ ขณะที่สภาพสังคมปัจจุบันเริ่มมองว่ามนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น และไม่มีทาสแบบในสมัยก่อน พ่อแม่จึงไม่สามารยกลูกของตนเองให้ผู้อื่นได้ และสามีไม่ได้มีอำนาจเหนือภรรยาหรือมีบทบาทเป็นช้างเท้าหน้าแบบในอดีต 
  • หน้าที่ของภรรยาที่ต้องคอยปรนนิบัติสามี  จากเดิมที่เชื่อว่า ‘ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า’ หรือเป็น ‘หัวหน้าครอบครัว’ และเชื่อว่าภรรยาที่ดี ต้องเป็นคนที่ทำงานบ้านไม่ขาดตกบกพร่อง ดูแลรับใช้สามีอย่างดี และเชื่อฟังสามีในทุก ๆ เรื่อง ปัจจุบันความเชื่อเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไปเพราะสังคมปัจจุบันให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมมากขึ้นอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ทำให้บางครั้งผู้ชายก็สามารถอ่อนแอ ทำอาหาร ดูแลลูก ๆ ช่วยภรรยาได้ ขณะที่ภรรยาก็สามารถทำงานเลี้ยงครอบครัว ไม่จำเป็นต้องทำงานบ้านได้เสมอไป ขึ้นอยู่กับความสมัครใจและการตกลงกันระหว่างสามีภรรยามา อย่างไรก็ตามค่านิยมเรื่องหน้าที่ของสามีและภรรยาแบบในอดีตอาจยังปรากฏให้เห็นบ้างในบางครอบครัว หรือสังคมไทยในปัจจุบัน เพราะเป็นเป็นความเชื่อเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต

สิ่งที่เราได้พูดถึงไปข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราได้เรียนรู้จากร่ายยาวมหาเวสสันกรชาดก กัณฑ์มัทรี ซึ่งถ้าเพื่อน ๆ อยากจะเรียนรู้เรื่องคุณค่าด้านวรรณศิลป์ หรือเกร็ดความรู้อื่น ๆ เพิ่มเติม ครูหนึ่งของเราพร้อมเล่าให้ฟังแล้วในแอปพลิเคชัน StartDee ! (ใครสนใจก็โหลดแอปฯ มาเรียนกันได้เลย) และสามารถอ่านบทความวิชาภาษาไทยสำหรับชั้น ม.5 เพิ่มเติมได้ในบทเรียนออนไลน์เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย และโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

หรือถ้าอยากจะพักไปอ่านตำนานกระต่ายบนดวงจันทร์ กับเกร็ดความรู้เพลิน ๆ สำหรับทาสแมว ใน Blog ของเราก็สนุกไม่เบาแถมได้ความรู้กันด้วยน้า 

ขอบคุณข้อมูลจากครูธีรศักดิ์ จิระตราชู 

Did you know ? 

  • กัณฑ์ หมายถึง คำเทศน์ หรือ ตอนหนึ่ง ๆ ของเทศน์เรื่องยาว นับเป็นลักษณนามของเทศน์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า กัณฑ์ ใช้แทน ตอนหรือบทย่อย ๆ ของคำเทศน์นั้น ๆ ก็ว่าได้ ซึ่งในร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ประกอบด้วย 13 กัณฑ์ (13 ตอน) ได้แก่ กัณฑ์ทศพร, กัณฑ์หิมพานต์, กัณฑ์ทาน, กัณฑ์วนประเวศน์, กัณฑ์ชูชก, กัณฑ์จุลพน, กัณฑ์มหาพน, กัณฑ์กุมาร, กัณฑ์มัทรี, กัณฑ์สักกบรรพ, กัณฑ์มหาราช, กัณฑ์ฉกษัตริย์, กัณฑ์นครกัณฑ์ 
  • นอกจากมหาเวสสันดรชาดกจะเป็นร่ายยาวแล้ว ยังมีบุญพิธีทางพุทธศาสนาที่เรียกว่า การเทศน์มหาชาติ อีกด้วย ซึ่งในพิธีเทศน์มหาชาตินี้ จะมีการเทศนาเกี่ยวกับมหาเวสสันดรชาดก โดยนิยมจัดหลังฤดูทอดกฐิน และใช้เวลาประมาณ 2 วัน

Reference : 

ธรรมะไทย. (n.d.). เทศน์มหาชาติ. Retrieved July 29, 2020, from http://www.dhammathai.org/newspr/thesanachadok.php