ข้อสอบ มนุษย์กับสังคม พร้อม เฉลย ม. จร

เฉลยข้อสอบ

1.  การกระทำในข้อใดถือว่าเป็นค่านิยมที่น่ายกย่อง

ก.  นายอดิศรเชิญแขกมาร่วมงานวันเกิดที่บ้านของตัวเอง

ข.  หมอดูทำนายว่าป้าจันดวงดี  ป้าจันจึงไปซื้อลอตเตอรี่เพื่อเสี่ยงโชค

ค.  นำชัยลุกจากที่นั่งเพื่อให้คุณยายนั่งแทน

ง.  นทีดูหนังที่ตัวเองชอบจนดึก  จึงทำให้เขาไปทำงานไม่ทัน

2. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย

ก. ความเคารพกตัญญูต่อผู้ใหญ่  และผู้มีพระคุณ

ข. เอกลักษณ์ทางศิลปกรรม

ค. การสร้างความสามัคคีในชุมชน

ง. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

3. ข้อใดเป็นลักษณะของสังคมชนบท

ก.  มีความเป็นตัวของตัวเองสูง

ข.  การตกลงใดๆ ต้องมีสัญญารับประกัน

ค.  ทำกิจกรรมร่วมกันตามหลักเหตุและผล

ง.  มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วยแรงงาน

4. ข้อใดไม่ใช้ลักษณะของสังคมชนบท

ก. มีความเคร่งครัดในประเพณี

ข. มีความสนิทช่วยเหลือกัน

ค. มีการศึกษาต่ำ

ง. มีความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่สูง

5. สถาบันที่มีบทบาทต่อสังคมชนบทมากที่สุด  ได้แก่สถาบันใด

ก. สถาบันศาสนา

ข.สถาบันการศึกษา

ค.สถาบันครอบครัว

ง. สถาบันการเมืองการปกครอง

6. สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยเป็นสังคมชาวพุทธ   คือข้อใด

ก. ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

ข. ชาวไทยนิยมทำบุญตักบาตร

ค. มีวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา

ง. มีพระสงฆ์เป็นผู้สืบทอดพระศาสนา

7.  ประเพณีในข้อใดแสดงถึงความผูกพันกับเกษตรกรรมมากที่สุด

ก. พิธีทอดผ้าป่า

ข. พิธีบวชทำขวัญนาค

ค. พิธีแห่นางแมว

ง. ประเพณีลอยกระทง

8. ประเพณีในข้อใดถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของชีวิตชาวชนบทที่จะแยกครอบครัวออกไป

ก. ประเพณีบวช

ข. ประเพณีเต่งงาน

ค. ประเพณีทำศพ

ง. ประเพณีการผูกขวัญ

9. ข้อใดมิใช่อาชีพของคนไทยในอดีต

ก. การทำนา

ข. การจักสาน

ค. การหาของป่า

ง. การอุตสาหกรรม

10. ในปัจจุบันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเกิดจากข้อใด

ก. มีการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น

ข. มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีมากขึ้น

ค. มีการกระจายของประชากรมากขึ้น

ง. มีลักษณะของสังคมเกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้น

11. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จะส่งผลดีต่อสังคมไทยในด้านใด

ก. ลดความฟุ่มเฟือยในการดำเนินชีวิต

ข. ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายขึ้น

ค. คนไทยมีความขยันในการทำงานมากขึ้น

ง.  ลดปัญหาช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน

12. ชาวชนบทอพยพหลั่งไหลเข้ามาทำงานในเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร   ทั้งนี้เป็นเพราะสาเหตุใด

ก. ฝนแล้ง

ข. ผลผลิตขายไม่ได้ราคา

ค. ขาดที่ดินทำกินเป็นของตนเอง

ง. ความล้มเหลวในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

13. สาเหตุที่เรามาอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนเพราะเหตุใด

ก. ความจำเป็นที่ต้องอาศัยกันในการดำรงชีวิต

ข. เพื่อความสงบเรียบร้อยของชาติบ้านเมือง

ค. เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ

ง. เพื่อความมั่นคงของประเทศ

14. ข้อใดคือชุมชนที่ใหญ่ที่สุด

ก. จังหวัด

ข. อำเภอ

ค. ตำบล

ง. หมู่บ้าน

15. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

ก. เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนด้วยกันทั้งนั้น

ข. บ้านของเราเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด

ค. บ้านของเราเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย แต่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศยุโรป

ง. บ้านของเราเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย แต่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของโลก

16. ข้อใดไม่ก่อให้เกิดชุมชน

ก. กลุ่มชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกัน

ข. กลุ่มคนไทยที่อยู่ในประเทศเดียวไทย

ค. กลุ่มชาวมุสลิมในสี่จังหวัดภาคใต้

ง. กลุ่มคนที่นั่งรถไฟร่วมขบวนเดียวกัน

17. ชุมชนเกิดขึ้นได้อย่างไร

ก. เกิดจากกลุ่มคนที่อาศัยรวมกันในเขตพื้นที่เดียวกัน

ข. เกิดจากคนไทยที่กระจัดกระจายอยู่ในประเทศต่างๆของโลก

ค. เกิดจากการทีพื้นที่และอาณาบริเวณที่แน่นอน

ง. เกิดจากผู้คนมีวิถีชีวิตและแบบแผนการดำเนินอย่างเดียวกัน

18. ข้อใดคือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของชุมชน

ก. กลุ่มคน

ข. อาณาเขต

ค. ระเบียบกฎหมาย

ง. แบบแผนการดำเนินชีวิต

19. ในทะเบียนบ้านทางราชการจะเรียกผู้ปกครองบ้านและมีหน้าที่บางประการตามกฎหมายว่าข้อใด

ก. หัวหน้าบ้าน

ข. หัวหน้าครอบครัว

ค. เจ้าบ้าน

ง. ลูกบ้าน

20. การเป็นสมาชิกในชุมชนก่อให้เกิดข้อใด

ก. สิทธิ และความเป็นอิสระ

ข. สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบ

ค. สิทธิ ความเสมอภาค และความทียมในสังคม

ง. สิทธิ  บทบาท และความเสมอภาค

21. สิทธิหมายถึงข้อใด

ก. อำนาจที่กฎหมายรับรองหรือคุ้มครองให้

ข. สภาพบังคับที่กำหนดให้ทุกคนต้องปฏิบัติตาม

ค. ความผูกพันที่บุคคลต้องกระทำ

ง. ข้อห้ามหรือข้อควรปฏิบัติในการเป็นสมาชิก

22. ข้อใดคือลักษณะครอบครัวไทยปัจจุบัน

ก. เด็กจะเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในบ้าน

ข. ญาติผู้ใหญ่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีในยามแก่

ค. ความสำคัญระหว่างสมาชิกในครอบครัวเริ่มเปลี่ยนแปลงไป

ง. สมาชิกในครอบครัวมีจำนวนมากทำให้มีความอบอุ่น

23. ข้อใดเป็นลักษณะของครอบครัวไทย

ก. นับญาติเฉพาะฝ่ายพ่อ

ข. แม่เป็นใหญ่ในครอบครัว

ค. สืบมรดกทั้งฝ่ายชายและหญิง

ง. แต่งงานกันภายในวงศ์ญาติ

24. ในอดีตสถาบันใด ทำหน้าที่โดยตรงในการให้การศึกษาอบรมสมาชิกเกี่ยวกับความรู้ความเชื่อ   ระเบียบ   กฎเกณฑ์และถ่ายทอดวัฒนธรรม

ก. ครอบครัว

ข. โรงเรียน

ค. ศาสนา

ง. สื่อมวลชน

25. สิ่งสำคัญที่กำกับบทบาทของแต่ละคนคืออะไร

ก. สิทธิและตำแหน่ง

ข. หน้าที่และความรับผิดชอบ

ค. ความเสมอภาคและระเบียบข้อบังคับ

ง. ศาสนาเละกฎหมาย

26. ข้อใดคือสิ่งกำหนดบทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคล

ก. กฎหมาย

ข. ศาสนา

ค. ขนบธรรมเนียมประเพณี

ง. กฎหมาย  ศาสนา  ขนบธรรมเนียมประเพณี  และความรู้สึกนึกคิดของบุคคล

27. ข้อใดคือหน้าที่ของบุตรที่มีต่อบิดามารดา

ก.  ให้การศึกษา

ข. ให้ความเคารพนับถือ และเชื่อฟังคำสั่งสอน

ค. รักใคร่ปรองดอง

ง. ช่วยเหลือกันไม่ทอดทิ้งกัน

28.  ข้อใดมิใช่พฤติกรรมที่แสดงว่า   บิดา   มารดา   มีสิทธิเหนือบุตร

ก.  ทำโทษบุตรพอสมควร

ข. การมีสิทธิตัดสินใจแทนทุกเรื่องแม้ว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้ว

ค. การกำหนดที่อยู่ของบุตร

ง. การให้บุตรทำงานตามความสามารถ

29. หน้าที่ตามกำหนดในรัฐธรรมนูญมีลักษณะตรงกับข้อใดมากที่สุด

ก. เป็นการบังคับให้ต้องปฏิบัติและมีบทลงโทษ

ข. เป็นการกำหนดหน้าที่ตามตำแหน่ง  หากเกิดความเสียหายย่อมมีความผิด

ค. เป็นข้อเรียกร้องหรือกำหนดขึ้นเพื่อจูงใจให้พลเมืองปฏิบัติ

ง. เป็นข้อควรปฏิบัติ ถ้ไม่ปฏิบัติย่อมถูกตำหนิติเตียนและถือเป็นลหุโทษ

30. หน้าที่ในข้อใดมีระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแต่ไม่มีสภาพบังคับ

ก.  การศึกษาภาคบังคับ

ข. การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

ค. การเสียภาษีอากร

ง. การรับข้าราชการทหาร

31. ข้อใดมิใช่หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ก. การเคารพกฎหมาย

ข. การเสียภาษีอากร

ค. การป้องกันรัฐธรรมนูญ

ง. การเคารพเชื่อฟังเจ้าหน้าที่ของทางราชการ

32. ข้อใดมิใช่จุดมุ่งหมายของการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง

ก. เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบ

ข.เพื่อการส่งเสริมช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ค.เพื่อให้โอกาสบุคคลได้มีอิสระในการดำรงชีวิต

ง. เพื่อการอยู่ร่วมกันเป็นระเบียบแบบแผน

33. อะไรเป็นเครื่องมือของรัฐที่ทำให้บุคคลต้องปฏิบัติหน้าที่พลเมืองโดยไม่บิดพลิ้ว

ก. การฝึกฝนอบรมให้บุคคลรู้จักหน้าที่

ข. การมีความผิดถูกลงโทษตามกฎหมาย

ค. การยกย่องชมเชย

ง. การฝึกให้คุ้นเคย

34. ในฐานะที่เป็นนักเรียน   พฤติกรรมใดแสดงให้เห็นว่าได้ช่วยเหลือทางราชการ

ก.  การแจ้งเจ้าหน้าที่เมื่อพบเห็นสิ่งที่เป็นภัยแก่บ้านเมือง

ข. การเสียภาษีอากร

ค. การรับราชการทหาร

ง. การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

35. วิธีการใดแสดงให้เห็นว่าเป็นการให้ความร่วมมือได้เหมาะสมที่สุดแก่ประเทศชาติ

ก. การศึกษาเล่าเรียนตามโอกาส

ข. การบริจาคทรัพย์แก่หน่วยงานราชการ

ค.การทำตัวเป็นพลเมืองที่ดี

ง. การประกอบอาชีพสุจริต

36. หน้าที่ในข้อใดมีส่วนช่วยให้รัฐบาลมีรายได้ไปใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ

ก. การรับราชการทหาร

ข. การเสียภาษีอากร

ค.  การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

ง. การเคารพกฎหมาย

37. ข้อใดมิใช่บทบาทหน้าที่ของสมาชิกต่อชุมชน

ก. รักในชุมชน

ข.  ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม

ค. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว

ง. รักษาสาธารณสมบัติ

38. การที่คนไทยยึดถือปฏิบัติระบบอาวุโสมีผลทำให้คนไทยมีลักษณะนิสัยเป็นอย่างไร

ก. กล้าคิด

ข. มีความสุภาพ

ค. ร่าเริง

ง. เคร่งครัด

39. การเพิ่มประชากรของประเทศไทย   ในปัจจุบันมีลักษณะตรงกับข้อใด

ก. อัตราการเกิดและการตายสูง

ข. อัตราการเกิดสูง  อัตราการตายต่ำ

ค. อัตราการเกิดต่ำ  อัตราการตายสูง

ง. อัตราการตายและการเกิดต่ำ

40. การเปลี่ยนแปลงของประชากรกรไทยในด้านใดที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด

ก. จำนวนประชากร

ข. คุณภาพประชากร

ค. การกระจายประชากร

ง. ความหนาแน่นของประชากร

41. การที่ประชากรจกภูมิภาคต่างๆ อพยพย้ายถิ่นเข้าสู้กรุงเทพก่อให้เกิดปัญหาในด้านใดมากที่สุด

ก. ปัญหาการศึกษา

ข. ปัญหาสุขภาพอนามัย

ค. ปัญหาคุณธรรม

ง. ปัญหาชุมชนแออัด

42.  ประชากรวัยพึ่งพิง   หมายถึงข้อใด

ก.  ผู้พิการ

ข. วัยเด็กและวัยชรา

ค. วัยศึกษาเล่าเรียน

ง. เด็กทารกและผู้พิการ

43. ประชากรในกลุ่มใดมีอัตราการย้ายถิ่นมากที่สุด

ก. คนชรา

ข.เด็กวัยเรียน

ค. สตรีวัยเจริญพันธุ

ง. ผู้อยู่ในวัยหนุ่มสาว

44. การอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีของชาติตามที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์และสั่งสมความเจริญเอาไว้   เป็นหน้าที่ของใคร

ก. คนไทยทุกคน

ข. ชาวพุทธทุกคน

ค. เจ้าหน้าที่ราชการ

ง. หมอรำ

45. พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยทรงมีฐานะอย่างไร

ก. เป็นผู้บริหารประเทศ

ข. เป็นประมุข

ค. เป็นผู้ตรากฎหมาย

ง. เป็นทั้งผู้บิหารและประมุขของประเทศ

46. ข้อใดไม่จัดว่าเป็นกระบวนการประชาธิปไตย

ก. การโต้เถียง

ข. การใช้กำลังแก้ปัญหา

ค. การแสดงความคิดเห็น

ง. การออกเสียงเป็นประชามติ

47. เพื่อให้ความยุติธรรมในสังคม  ข้อใดที่สังคมไทยควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนา

ก. รายได้

ข. อนามัย

ค. การศึกษา

ง. ที่อยู่

48. การที่ประชาชนละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ในข้อใดที่กระทบกระเทือนถึงความมั่นคงของชาติ

ก. ไม่ไปเลือกตั้ง

ข. หลีกเลี่ยงการเสียภาษี  อากร

ค. ไม่เข้ารับการศึกษา

ง. หลี่กเลี่ยงการเป็นทหาร

49. ข้อใดเป็นองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ

ก.  เทศบาล

ข.  เมืองพัทยา

ค.  กรุงเทพมหานคร

ง.  ถูกทั้ง   ข  และ  ค

50. การแจ้งเหตุอันสมควรทีไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งควรแจ้งภายในกี่วัน

ก.  1   วัน

ข.  7   วัน

ค.  15   วัน

ง.  30   วัน

51. ข้อใดกล่าวถึงการเลือกตั้งได้ถูกต้อง

ก. ก่อให้เกิดบูรณาการทางสังคม

ข. เหมาะสำหรับการปกครองทุกรูปแบบ

ค.เหมาะสำหรับการปกครองทุกรูปแบบ

ง.เป็นกลไกเชื่อมการเมืองกับประชาชน

52.  หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะทำให้เสียสิทธิข้อใด

ก .สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

ข. สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง

ค. สิทธิสมัครรับเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน

ง. ถูกทุกข้อ

53.  จุดประสงค์สำคัญที่สุดในการกำหนดให้การออกเสียงเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน

ก. เพื่อเป็นการให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน

ข.  เพื่อให้ประชาชนมีความสนใจในเรื่องการเลือกตั้ง

ค. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น

ง.เป็นหน้าที่ของประชาชนตามหลักการเลือกตั้ง

54. หน่วยงานใดไม่ใช่องค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบอำนาจรัฐ

ก.องค์การอัยการ

ข.  ผู้ตรวจการแผ่นดิน

ค. คณะกรรมการเลือกตั้ง

ง. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

55. บุคคลใดต่อไปนี้ไม่ถูกตรวจทรัพย์สิน

ก. นายกรัฐมนตรี

ข. ข้าราชการประจำ

ค. ข้าราชการการเมือง

ง. สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร

56. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนเท่าใดมีสิทธิ์เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนบุคคลตามมาตรา 270 ออกจากตำแหน่งได้

ก. ไม่น้อยกว่า 20,000 คน

ข. ไม่น้อยกว่า 30,000 คน

ค. ไม่น้อยกว่า 40,000 คน

ง. ไม่น้อยกว่า 50,000 คน

57.  สมาชิกวุฒิสภาจำนวนเท่าใดสามารถถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาได้

ก. 1 ใน 3

ข. 2 ใน 3

ค.3 ใน 5

ง. 4 ใน 5

58. ข้อใดเป็นการจำกัดการผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐ

ก. นายกรัฐมนตรีอยู่ได้ไม่เกิน 8 ปี

ข.การให้มีหมวดการคลังและงบประมาณ

ค. การให้องค์การอัยการเป็นอิสระจากรัฐบาล

ง.ถูกทุกข้อ

59. ข้อใดควรเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการลดความขัดแย้งในสังคม

ก. การไต่สวน

ข.การมีส่วนร่วม

ค.การเจรจาไกล่เกลี่ยกันเอง

ง.การใช้มาตรการหรืออำนาจทางกฎหมาย

60. ข้อใดเป็นความขัดแย้งด้านคุณค่าหรือค่านิยม

ก.ด้านศาสนา

ข. ด้านโครงสร้าง

ค.ด้านผลประโยชน์

ง.ด้านข้อเท็จจริงและข้อมูล