สงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง

สงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482-2488) ชื่อก็บอกว่าเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก แล้วประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เกี่ยวกับสงครามโดยตรง ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้อย่างไรบ้าง มนัส โอภากุล นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรี อธิบายเรื่องนี้ไว้พอสรุปได้ดังนี้

Show

ในเช้าวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 จังหวัดต่างๆ กำลังเตรียมจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญที่จะมีในตอนค่ำเช่นทุกปี วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ก็ประกาศว่า ทหารญี่ปุ่นบุกขึ้นบกตามจังหวัดชายทะเลทางภาคใต้ ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา มาจนถึงจังหวัดสมุทรปราการ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ออกคำสั่งพร้อมสู้ หากตกค่ำท่าทีของรัฐบาลก็เปลี่ยนไป และแจ้งข่าวผ่านวิทยุประเทศไทย ว่าญี่ปุ่นไม่ได้ประสงค์จะยึดประเทศไทย เพียงแค่ขอเป็นทางผ่านไปตีมลายูและสิงคโปร์กับพม่าและอินเดียเท่านั้น

ก่อนเกิดสงครามนั้นชีวิตมีความเป็นอยู่ดี โดยมนัส โอกากุลเล่าว่า “ราคาข้าวเปลือกเกวียนละ 20 บาท ทองคำหนัก 1 บาท 20 บาท ข้าวสวยใส่ชามตราไก่ 1 สตางค์ มี 3 สตางค์รับประทานข้าวต้มได้หนึ่งอิ่ม ข้าวแกงราดหน้าจานละ 5 สตางค์ ก๋วยเตี๋ยวน้ำชามละ 3 สตางค์ บะหมี่ต้มยำใส่หมูบะช่อโปะหน้า พร้อมตั้งฉ่ายและหนวดปลาหมึกชามละ 5 สตางค์ น้ำแข็งกดราดน้ำหวานสีแดง-เขียว 1 สตางค์ ยาขัดกีวีตลับละ 5 สตางค์ สูทเสื้อนอกกางเกงผ้าปาล์มบีชอย่างดีในสมัยโน้นชุดละ 4.50 สตางค์ เสื้อเชิ้ตตัวละ 35 สตางค์ น้ำมันใส่ผมยี่ห้อยาร์ดเล่ย์และน้ำหอมของฝรั่งเศส คนไทยสมัยโน้นใช้ของนอกทั้งนั้น เพราะพระคุณของชาวนาที่ส่งข้าวออกไปขายต่างประเทศ”

เมื่อเกิดสงครามเกิดขึ้น ไทยก็ขาดแคลนสิ่งของเหล่านั้น เพราะเป็นฝ่ายอักษะ ส่วนญี่ปุ่นมีปัญหาทางการเงิน ก่อนจะตัดสินใจพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองเรียกว่าแบงก์ “กงเต็ก” ซึ่งทำให้ค่าเงินของไทยตกอย่างหนักทันที ราคาสินค้าต่างๆ ถีบตัวสูงขึ้น เช่น ยาแอสไพรินเม็ดละ 1 สตางค์ เพิ่มเป็นเม็ดละ 1 บาท, ข้าวเปลือกเกวียนละ 20 บาท ราคาเพิ่มเป็นเกวียนละ 400-500 บาท, ทองคำบาทละ 20 บาท ราคาเพิ่มเป็นบาทละ 400 บาท ฯลฯ

ต่อมาเมื่อการตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นติดต่อกับอังกฤษและอเมริกาเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น ก็มีการระดมครูประชาบาลจังหวัดสุพรรณบุรีนับร้อยคนเข้าป่าเมืองกาญจน์ ฝึกอาวุธยิงปืน และหมอบคลาน เพื่อกำหนดจะเข้าโจมตีกองทหารญี่ปุ่นที่เมืองกาญจน์ (หากญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม จากการอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา และเมืองนางาซากิ เสียก่อน)

เมื่อทหารญี่ปุ่นจำนวนมากอยู่ในเมืองไทย เวลากลางคืนราว 3-4 ทุ่ม เครื่องบิน บี. 52 บินทแยง มาจากตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านจังหวัดสุพรรณฯ เข้ากรุงเทพฯ คล้ายตึก 10 ชั้น ลอยอยู่กลางอากาศ มุ่งไปทางตะวันออกเฉียงใต้ก็คือกรุงเทพฯ นั่นเอง ที่สุพรรณบุรีสมัยนั้นมีหอคอยระวังภัยสูงราว 10-15 เมตร มีหวอคอยให้สัญญาณ เมื่อเครื่องบินผ่าน คืนวันหนึ่ง บี. 52 บินผ่านตลาดจังหวัดสุพรรณฯ คนในตลาดเห็นเครื่องบิน แต่กลับไม่ได้ยินเสียงหวอ จนเครื่องบินเลยไปสักครู่จึงได้ยินเสียงหวอดังขึ้น ชาวตลาดที่เห็นเหตุการณ์หัวเราะ ด้วยรู้ว่ายามที่อยู่บนหอคงหลับยาม

ช่วงเวลานั้นไม่ค่อยมีรถโดยสารวิ่งเท่าใด เพราะไม่มีน้ำมันเบนซิน ต้องใช้ควันของเตาถ่าน โดยต่อถังด้วยสังกะสีเป็นรูปกลม เส้นผ่าศูนย์กลางราว 1 ฟุตเศษ สูง 1.5 เมตร ติดอยู่ท้ายรถ เอาเตาเผาถ่านวางอยู่ที่ก้นถัง มีพัดลมหมุนด้วยมือ เพื่อให้ควันเดินไปตามท่อเข้าเครื่องยนต์ซึ่งอยู่ด้านหน้า พอเต็มที่สตาร์ทเครื่องยนต์ติด เดินทางระยะ 10 กิโลเมตรได้อย่างสบายๆ

ส่วนเรือแท็กซี่ หรือเรือเครื่องฉุดระหัด ที่เอามาดัดแปลงเป็นเรือรับส่งคนโดยสาร ใช้น้ำมันดีเซล ไม่มีน้ำมันเช่นกัน จึงต้องน้ำมันจากต้นเหียงมาใช้แทน

เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2488 หลวงวุฒิราชรักษา ข้าหลวงประจำจังหวัดสุพรรณบุรี จัดงานบวงสรวงเจดีย์กลางป่า คืออนุสรณ์ดอนเจดีย์ปัจจุบัน ข้าราชการทั้ง 3 อำเภอเดินทางโดยขี่ม้าไปตั้งแคมป์ล้อมรอบองค์พระเจดีย์

มนัส โอภากุล เล่าถึงการเดินทางงไปร่วมงานว่า “เดินทางโดยเรือยนต์จากจังหวัด 08.00 น. ไปนั่งเกวียนต่อที่บ้านกล้วย อำเภอศรีประจันต์…กว่าจะถึงดอนเจดีย์เป็นเวลาบ่าย 4 โมง…[เมื่อทำพิธีเสร็จ] คณะของเรากำหนดเดินทางกลับไม่มีพาหนะอะไร…จึงต้องเดินเท้ากลับ…เดินตัดเข้าอำเภอเมืองสุพรรณบุรี…พวกเรา 4-5 คนเดินไปตามทางคนเดินแคบๆ เรื่อยไปด้วยแสงจันทร์ส่องสลัวๆ ออกเดินทางดอนเจดีย์ประมาณตี 5 ไปถึงหลังโรงสีบ้านคอยราว 6 โมงเช้า…

พอสว่างจึงเรียกปรากฏว่าเป็นโรงสีของคนรู้จักกัน จึงได้รับการต้อนรับด้วยข้าวต้มมื้อเช้าหนึ่งมื้อ ขอบคุณเจ้าของโรงสีแล้วข้ามฟากเดิน ทางต่อไปเริ่มค่อยๆ มีบ้าน ถามเขาเรื่อยไปว่าทางไปประตูน้ำโพธิ์พระยาไปทางไหน…ราว 4 โมงเย็น วันนั้นถึงตลาดโพธิ์พระยา นั่งเรือแท็กซี่มาตลาดจังหวัดสุพรรณฯ กว่าจะถึงบ้านราว 5 โมงเย็นเศษ”

แต่ไม่ว่าสงครามจะนำความทกุข์ยากมาอย่างไร ระหว่างสงครามการพนันที่เมืองสุพรรณฯ เกลื่อนเมือง ออกหวย ก.ข. กันกลางเมืองเวลาตอนเที่ยง และตั้งวงพนัน ถั่ว โป ไฮโล จับยี่กี

 


ข้อมูลจาก :

มนัส โอภากุล. “‘ข้าพเจ้ามีชีวิตตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มาอย่างเต็มที่’ ผลกระทบของสงคราม” ใน, ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนธันวาคม 2545

            สงครามโลกครั้งที่ 2 (Second World War : ค.ศ.1939- 1945) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียง 20 ปี สงครามครั้งนี้ขยายไปทั่วโลกทั้งยุโรป แอฟริกา และเอเชีย มีระยะเวลายาวนานถึง 6 ปี ได้ทำลายล้างชีวิตผู้คนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาล

                 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในยุโรปใน พ.ศ. 2457 นั้น ประเทศไทยยังคงยึดมั่นอยู่ในความ เป็นกลางแต่พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสังเกตความเคลื่อนไหวของคู่สงคราม อย่างใกล้ชิดการสงครามได้รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกรานจึงทรงตัดสินพระ ทัยประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย -ฮังการี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 แล้วประกาศเรียกพลทหารอาสาสำหรับกองบินและกองยานยนต์ทหารบก เพื่อส่งไปช่วย สงครามยุโรป การส่งทหารไปรบครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์ เพราะเท่ากับได้เรียนรู้วิชาการทางเทคนิคการรบและการช่างในสมรภูมิจริงๆ เมื่อเสร็จสงครามสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ ประเทศไทย ได้ส่งผู้แทนเข้าประชุม ณ พระราชวังแวร์ซาย ด้วยผลพลอยได้จากการเข้าสงครามนี้ ก็คือสัญญาต่างๆ ที่ไทยทำกับเยอรมนีและออสเตรีย -ฮังการี ย่อมสิ้นสุดลงตั้งแต่ไทยประกาศสงครามกับประเทศนั้น และไทยก็ได้พยายามขอเจรจาข้อแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่า ซึ่งทำไว้กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และ ชาติอื่นๆ แต่ก็ประสบความยากลำบากอย่างมาก อาศัยที่ไทยได้ความช่วยเหลือจาก ดร. ฟราน ซิส บี แซยร์ (Dr. Francis B. Sayre) ชาวอเมริกาซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาต่างประเทศจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี ในที่สุดประเทศต่างๆ 13 ประเทศ รวมทั้งอังกฤษ ตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2468 และ ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2467 ตกลงยอมแก้ ไขสัญญาโดยมีเงื่อนไขบางประการ เช่น จะยอมยกเลิกอำนาจศาลกงสุล เมื่อไทยมีประมวลกฎหมายครบถ้วน และยอมให้อิสรภาพในการเก็บภาษีอาการ ยก เว้นบางอย่างที่อังกฤษขอลดหย่อนต่อไปอีก 10 ปีเช่น ภาษีสินค้าฝ้ายเป็น เหล็ก ไทยพยายามเร่งชำระประมวลกฎหมายต่างๆ ต่อมาจนแล้วเสร็จ และเปิดการเจรจาอีกครั้งหนึ่งในที่สุด ประเทศต่างๆ ก็ยอมทำสัญญาใหม่กับไทย เมื่อ พ.ศ. 2480 ไทย ได้อิสรภาพทางอำนาจศาล และภาษีอากรคืนมาโดยสมบูรณ์

สงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง

กองทหารไทยในดินแดนเยอรมนี

    สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2457 สยามตั้งตัวเป็นกลาง จนกระทั่งวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 สยามจึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี และได้ส่งทหารอาสาสมัครไปช่วยรบ 1,284 คน ทั้งนี้รวมทั้งนายและพลทหาร สมทบกับนักเรียนไทยในนานาประเทศอีกประมาณ 400 คน รวมทหารอาสาสมัครทั้งหมดประมาณ 1,600 คน

ทหารอาสาออกเดินทางเมื่อ พ.ศ. 2461 ถึงประเทศฝรั่งเศสอยู่ใต้บัญชาการของนายพล เปแตง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ไปปฏิบัติการในสมรภูมิประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม

ภายหลังสงคราม สยามได้ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ทำไว้เดิมกับประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อเมริกา เยอรมัน ฯลฯ โดยแก้ไขจากสนธิสัญญาเดิมที่สยามเป็นฝ่ายเสียเปรียบให้ได้ประโยชน์ดีขึ้น นอกจากนี้ สยามยังได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติอีกด้วย

ไทยได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างไร

ผลที่ประเทศไทยได้รับจากสงคราม นอกจากจะเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียง และเกียรติคุณของประเทศแล้ว ยังมีการแก้ไขสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย รวมทั้งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกริเริ่มในองค์การสันนิบาตชาติ ตลอดจนได้นำประสบการณ์จากสงครามในครั้งนี้มาปรับปรุงวิชาการทหารให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่1อย่างไร

สยามเริ่มมีบทบาทในสงครามหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สยามประกาศสงครามกับจักรวรรดิเยอรมันและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี สยามส่งกองกำลังทหารไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรที่แนวหน้าตะวันตกโดยทั้งหมดประจำการอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส กองทัพสยามที่ถูกส่งไปมีจำนวนทหารประจำการอยู่ทั้งหมด 1,248 นาย สยาม ...

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 มีอะไรบ้าง

ผลสำคัญอย่างหนึ่งคือ มีการวาดรูปแผนที่ยุโรปใหม่ ทำให้ประเทศมหาอำนาจสูญเสียดินแดนของตัวเองเป็นจำนวนมาก - จักรวรรดิออสเตรีย- ฮังการี แตกออกเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ ออสเตรีย ฮังการี เชโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย - จักรวรรดิออตโตมานล่มสลายไป แผ่นดินเดิมของจักรวรรดิบางส่วน ถูกแบ่งให้กลายเป็นอาณานิคมของผู้ชนะสงครามทั้งหลาย

ข้อใดคือผลที่ตามมาจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 6

ผลที่ประเทศสยามได้รับจากการตัดสินพระราชหฤทัยเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในการพระราชสงคราม ณ ทวีปยุโรปครั้งนี้ นอกจากจะได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ส่ง นายนาวาโท พระประดิยัตินาวายุทธ [7] (ศรี กมลนาวิน) ไปฝึกหัดปฏิบัติการในเรือพิฆาตของกองทัพเรือเดนมาร์ก และ นายนาวาตรี หลวงหาญสมุท [8] (บุญมี พันธุมนาวิน) ...