การสร้างสรรค์งานดนตรีมีอะไรบ้าง

“ดนตรีจะหายไปจากโลกนี้ ก็ต่อเมื่อไม่มีมนุษย์อยู่ในโลกใบนี้” เสียง “ดนตรี” อยู่คู่กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยอดีตกาล เป็นเสียงที่เกิดมาจากธรรมชาติ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ต้องอาศัยการฝึกฝน สร้างทักษะ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์อย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ เสียง “ดนตรี” ทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกได้หลากหลาย เช่น ความเพลิดเพลิน ความสนุกสนาน หรือแม้แต่ความเศร้า เป็นต้น 1

ในฐานะคนดนตรีคนหนึ่ง มักจะมีคำถามเรื่อยมาเกี่ยวกับการอยู่รอดของ “คนในแวดวงอุตสาหกรรมดนตรี” โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ว่าเกิดผลกระทบมากน้อยเพียงใด อุตสาหกรรมดนตรี ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีความซับซ้อน ประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังที่มีช่องทางของรายได้มาจากการผลิตดนตรี อาทิ ผู้ประพันธ์เพลง การบันทึกเสียง ฝ่ายจัดการศิลปิน ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย การแสดงสด เป็นต้น จะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมดนตรี ไม่ได้เกิดจากแค่ “ศิลปิน” และ “ค่ายเพลง” เพียงอย่างเดียวแต่มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ทำให้ผลงานและศิลปินเป็นที่รู้จัก รวมถึงการบูรณาการทางธุรกิจแบบพึ่งพากันและกัน อาทิ การทำ Soundtrack การทำเพลงประกอบเกม เป็นต้น 2

การสร้างสรรค์งานดนตรีมีอะไรบ้าง

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA สรุปข้อมูลภาพรวมของ “อุตสาหกรรมดนตรี” ที่ประกอบธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล โดยรวบรวมข้อมูลจากธุรกิจที่เกี่ยวข้อง  พบว่า จำนวนนิติบุคคลที่อยู่ในอุตสาหกรรมดนตรี มีจำนวนทั้งสิ้น 720 ราย (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2563) และจากข้อมูลงบการเงินของกิจการที่นำมาวิเคราะห์ถึงความสามารถในการดำเนินธุรกิจ จะเห็นว่า ในอุตสาหกรรมดนตรีนั้น มีกิจการที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจในระดับ Strong มากถึงร้อยละ 35.9 ซึ่งเราพอจะอนุมานได้ว่า กลุ่มอุตสาหกรรมดนตรี มีผลประกอบการภาพรวมอยู่ในระดับดี 3

การคาดการณ์รายได้ภาพรวมในอุตสาหกรรมดนตรีโดย Website Statista ก็แสดงให้เห็นเช่นกันว่า รายได้ในปี 2020 (พ.ศ.2563) 20,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ไม่ได้ลดลงจากปี 2019 (พ.ศ.2562) ที่มีรายได้อยู่ที่ 19,358 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ทั่วโลกจะประสบปัญหาการระบาดของ COVID-19 อีกทั้งยังมองว่าในปี 2521 (พ.ศ.2564) นี้ ตลาดอุตสาหกรรมดนตรีทั่วโลกก็ยังคงเติบโต แม้จะไม่มาก แต่ก็สวนทางกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ 4

การเล่น “ดนตรี” เป็นทักษะติดตัว ที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ แม้ว่าเวลา สถานการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะทำให้คนดนตรีต้องรู้จักประยุกต์ และปรับตัว ดังเช่นในปัจจุบันที่ AI: Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์จะสามารถแต่งเพลงเลียนแบบมนุษย์ได้แล้ว แต่ในความเป็นจริงก็ยังไม่สามารถทดแทนการเล่นดนตรีโดยมนุษย์ หรือการแสดงดนตรีสดได้ เพราะการแสดงสดมีความ Reality และสามารถสร้างอารมณ์ร่วมได้มากกว่า

ดังนั้น การผลิตบุคลากรป้อนอุตสาหกรรมดนตรีก็ยังคงมีความสำคัญ และยังมีพื้นที่ในตลาดแรงงานให้สถาบันการศึกษาด้านดนตรีได้มีโอกาสผลิตคนคุณภาพออกมาสู่ตลาดในธุรกิจสร้างสรรค์นี้ แต่การทำงานในอุตสาหกรรมดนตรีต้องอาศัยการเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการลงมือทำ หรือปฎิบัติจริงเช่นเดียวกับวิชาชีพอีกหลาย ๆ แขนง จะทำอย่างไรให้ต้นกล้าของคนดนตรีในอนาคตได้มีโอกาสลองของ ปล่อยของในตัวที่มีออกมาก่อนเติบโตออกสู่ตลาดแรงงานสร้างสรรค์อย่างแท้จริง

การสร้างสรรค์งานดนตรีมีอะไรบ้าง

โครงการ Mahidol Music Connect โดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งขึ้นมาโดยกลุ่มคนทำงานเบื้องหลังของวิทยาลัยฯ ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้จากการลงมือทำ เพราะเชื่อว่าประสบการณ์จากการทำจริงจะช่วยเตรียมความพร้อมให้เติบโตได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ Mahidol Music Connect ยังทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อ (Connection) หรือ Match Maker ระหว่างนักศึกษาและอุตสาหกรรมดนตรีแขนงต่าง ๆ ให้ได้มาเจอกัน โดยในเบื้องต้นโครงการฯ ยังคงเน้นไปในส่วนของการเชื่อมต่ออุตสาหกรรมดนตรีสมัยนิยม หรือ  Popular Music ทั้งในด้านของการพัฒนาศิลปิน รวมถึงในด้านงานเบื้องหลังของสาขา Music Technology ที่มีทั้ง Music Producer และ Sound Engineer ครอบคลุมกิจกรรมทั้งการแต่งเพลง การเขียนเนื้อร้อง การทำเพลง การเรียบเรียง การทำ Music Video รวมไปจนถึงการทำงานด้านการตลาดดนตรี หรือ Music Business ผ่าน Online Platform (Facebook/ Instagram/ YouTube: Mahidol Music Connect)

ในปีที่ผ่านมาวิทยาลัยฯ ร่วมกับบริษัท มิวซิกมูฟ จำกัด ภายใต้โปรเจค Youth Explosion ที่รวบรวมกลุ่มเยาวชนระดับ นิสิต นักศึกษา มีผลงานที่น่าสนใจ ที่กำกับดูแลและควบคุมการผลิตอย่างใกล้ชิด โดย คุณฟองเบียร์ – ปฏิเวธ อุทัยเฉลิม รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท มิวซิกมูฟ จำกัด ส่งเสริมให้น้อง ๆ นักศึกษาเข้าสู่เส้นทางอุตสาหกรรมด้านดนตรีอย่างแท้จริง จากความร่วมมือนี้ทำให้เกิดศิลปินหน้าใหม่จากนักศึกษาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ X MAS (เอ็กซ์ มาส) AOUJAI (อ๋อใจ) และวง LAMP POET (แลมป์ โพเอ็ท) ซึ่งตอนนี้ มีผลงานออกมาให้ได้เห็นกันแล้ว จากความสำเร็จนี้ แสดงให้เห็นว่า Concept ของการสร้างจุดเชื่อมต่อของ Mahidol Music Connect เป็นสิ่งที่โลกทางธุรกิจต้องการ

สำหรับเป้าหมายในอนาคตวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีแผนจะปรับหลักสูตรการเรียนการสอน ให้นักศึกษามีเรียนรู้จากการเรียนในห้องเรียนน้อยลง แต่เรียนรู้จากการทำงาน หาประสบการณ์ให้มากขึ้น ด้วยการสร้างความร่วมมือกับบริษัทในอุตสาหกรรมด้านดนตรี เกิดการสร้างหลักสูตรร่วมกัน การฝึกงานเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าในใจวัฒนธรรมของการทำงานและระบบการทำงานของแต่ละองค์กร

*************

อ้างอิง

1.ดนตรีผูกพันกับมนุษย์  www.dotsero.org/ดนตรีผูกพันกับมนุษย์

2.https://web.tcdc.or.th/en/Articles/Detail/musicIndustry  

3.https://www.cea.or.th/th/single-statistic/music-industry-overview

หมายเหตุ: การสรุปข้อมูลสถิติครั้งนี้ รวบรวมเฉพาะในส่วนของกิจการที่จดทะเบียนนิติบุคคล ไม่รวมศิลปิน นักแต่งเพลง หรือหลุ่มคนดนตรีที่ทำงานอิสระ

การสร้างสรรค์งานดนตรีมีปัจจัยอะไรบ้าง

จินตนาการของนักแต่งเพลง การแต่ง การประพันธ์บทเพลงแต่ละบทเพลงนั้น ผู้ประพันธ์แต่ละท่านจะมีความคิด เทคนิค จินตนาการ เพื่อให้เกิดความไพเราะของ บทเพลง โดยอาจจะใช้สิ่งแวดล้อมต่างๆที่อยู่รอบตัวของผู้ประพันธ์หรือประสบการณ์ต่างๆของผู้ประพันธ์ เป็นแรงบันดาลใจในการแต่งบท เพลง

การสร้างสรรค์ทางดนตรีหมายถึงสิ่งใด

การสร้างสรรค์ทางดนตรีเป็นการคิดค้น ต่อเติม ประยุกต์ และจัดองค์ประกอบทางดนตรีขึ้นมาใหม่โดยไม่ซ้ำแบบใคร เช่น การแต่งเพลงขึ้นมาใหม่ การคิดค้นท่าออกกำลังกายให้เข้าจังหวะดนตรี เป็นต้น ซึ่งการสร้างสรรค์ทางดนตรีช่วยพัฒนากระบวนการคิดและเสริมสร้างทักษะด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้น

องค์ประกอบในการสร้างสรรค์งานดนตรีมีกี่ประเภท

องค์ประกอบของดนตรีคือ ส่วนสาคัญพื้นฐาน ที่ทาให้เกิดเป็นดนตรีขึ้น ทั้งนี้ โดยจะกล่าวถึงองค์ประกอบ ของดนตรีโดยรวม มิได้ยึดเอาหลักเกณฑ์ของดนตรีใด เป็นมาตราฐาน 1. เสียง 2. จังหวะ 3. ทานอง 4. เสียงประสาน

ความสามารถด้านดนตรี มีอะไรบ้าง

ทักษะทางดนตรี หมายถึง ความสามารถในทางปฏิบัติดนตรี ซึ่งโดยทั่วไปเกี่ยว โยงทั้งทักษะการเล่นเครื่องดนตรี ทักษะการฟังดนตรี ทักษะการอ่านและ บันทึกโน้ต ทักษะการประพันธ์ดนตรี และทักษะการด้น (Improvisation) ทั้งนี้จากการเก็บข้อมูลวิจัยพบว่า กิจกรรมดนตรีชุมชนเน้นความสามารถใน Page 16 280 การเล่นเครื่องดนตรีเป็นหลักและสำาหรับผู้ ...