ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

โครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

การศึกษาทดลอง สำรวจตรวจสอบ เพื่อตอบคำถามใดคำถามหนึ่ง ที่เด็กปฐมวัยสนใจ มีการสรุป และสะท้อนผลโดยใช้ระยะเวลาในการสำรวจตรวจสอบหลายวัน หรือหลายสัปดาห์

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้เด็กมีโอกาสได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ

2. เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นต่อยอดจากการทดลองในห้องเรียน

3. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

4. เพื่อส่งเสริมความสามารถพื้นฐาน ด้านการเรียนรู้ ภาษา สังคม และการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย

ลักษณะของโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

โครงงานวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยเป็นการศึกษาค้นคว้า สำรวจตรวจสอบ ทดลอง เพื่อให้ได้คำตอบ ในเรื่องที่เด็กสนใจ หรือเป็นเรื่องที่ต่อยอดจากการทดลองในกิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์ น้อย ประเทศไทย หัวข้อการศึกษาค้นคว้า อาจบูรณาการข้ามสาระการเรียนรู้หลายสาระ ซึ่งควรเน้นที่สาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือเทคโนโลยีเป็นหลัก โดยใช้ระยะเวลาในการสำรวจตรวจสอบในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจเป็นหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน กระบวนการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้จากโครงงานควร เริ่มจากง่ายไปสู่ความซับซ้อน จากการเล่นและทำกิจกรรมง่ายๆ โดยครูอาจแสดงความคิดเห็นร่วมกันกับเด็ก หรือให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน หรืออาจเชื่อมโยงเรื่องที่จะสอนให้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก และนำวามรู้นั้นมาต่อยอดหรือนำมาสู่การทำโครงงานระหว่างทำโครงงาน ครูควรมีบทบาทกระตุ้นให้เด็กคิดไตร่ตรอง ทบทวน เกี่ยวกับความคิดของตัวเอง ที่มีต่อหัวข้อโครงงานนั้น และแลกเปลี่ยนความคิดกับเด็ก ซึ่งเด็ก จะเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี และตอบสนองต่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ได้ดี จากการที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ สำรวจ ทดลอง ค้นคว้า ประดิษฐ์ และคิดวางแผนปัญหาด้วยตนเอง การศึกษาโครงงานที่วางแผนระยะยาว จะเปิดโอกาสให้เด็กเข้าใจหัวข้อนั้นอย่างลึกซึ้ง เข้าใจความสัมพันธ์และได้รับความรู้ที่เด็ก ๆ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในอนาคตได้ประสบความสำเร็จ

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

หัวข้อโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ควรมีลักษณะ ดังนี้

1. เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก ซึ่งเด็กสามารถสังเกตได้เอง

2. เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจและเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ส่วนใหญ่ของเด็กในกลุ่ม

3. เป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อนหรือง่ายจนเกินไป และเด็กสามารถค้นคว้า สำรวจตรวจสอบ เพื่อหาคำตอบได้ด้วยตนเอง

4. มีความเหมาะสมกับวัยของเด็ก และทรัพยากร หรืออุปกรณ์ที่มีอยู่

5. กระบวนการทำโครงงานมีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การทดลอง การสร้างชิ้นงาน การวาดรูป ฯลฯ

6. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมด้วย

7. มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ๆ

แนวคิดโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย มีแนวคิดที่เชื่อมโยงเน้นการเรียนรู้เนื้อหาและทักษะทางวิทยาศาสตร์ (Science ) คณิตศาสตร์ (Mathematics) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และเทคโนโลยี(Technology) ซึ่งใช้คำย่อ STEM วิชาเหล่านี้ซึ่งล้วนเป็นวิชาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในโลกศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความเป็นโลกาภิวัฒน์ตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้ และ เต็มไปด้วยเทคโนโลยี อีกทั้งวิชาทั้งสี่เป็นวิชาที่มีความสำคัญอย่างมากกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคงของประเทศการเรียนการสอนแบบประสานรวมกันของวิชาทั้งสี่ใน STEM รวมทั้งการบูรณาการกับสาขาอื่น เช่น สุขภาพ ศิลปะ ดนตรี กีฬา ฯลฯ จำเป็นต้องให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ได้ทำงานเป็นกลุ่ม อภิปราย และสื่อสารเพื่อนำเสนอผลงาน ให้เด็กได้รับประสบการณ์ จากกิจกรรมที่หลากหลาย

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

1. ชื่อ/หัวข้อโครงงาน

- การตั้งชื่อเรื่อง เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา เมื่ออ่านชื่อเรื่องแล้วสามารถบอกได้ว่า เรื่องนั้นมีวิธีการศึกษาอย่างไร

- ชื่อเรื่องควรเป็นชื่อที่น่าสนใจ

- การตั้งชื่อเรื่องให้กะทัดรัด ได้ใจความสมบูรณ์ สื่อความหมายตรง เข้าใจง่าย

2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน

3. ชื่อครูที่ปรึกษา

4. ระยะเวลา แสดงถึงระยะเวลาในการหาคำตอบที่เด็กสงสัย อาจใช้เวลาหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน ขึ้นอยู่กับเรื่องที่ศึกษา

5. ที่มา

- เกิดจากความสนใจ ข้อสงสัยของเด็กจากการจัดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้ เหตุการณ์ หรือสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน โดยเด็กและครูร่วมกันวางแผน การเลือกโครงงานควรเป็นไปตาม ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ ความสงสัยและความต้องการของเด็ก เพื่อจะตอบปัญหาที่เกิดขึ้นจาก กิจกรรมการเรียนรู้ เด็กอยากรู้อยากเห็นและต้องการคำตอบด้วยตนเอง

- มาจากการต่อยอดกิจกรรมในกล่องบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

6. วัตถุประสงค์

- ตอบข้อสงสัยในเรื่องที่ศึกษา

7. ขั้นตอนการทำโครงงาน

- การจัดทำโครงงาน ประกอบด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 8 ทักษะ (การสังเกตการวัด การคำนวณ การจำแนกประเภท การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติและมิติกับเวลา การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล การลงความคิดเห็นจากข้อมูล และการพยากรณ์หรือการทำนาย)

- การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แสดงถึงการปฏิบัติจริงของเด็ก และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง (มีภาพประกอบขณะเด็กทำแต่ละขั้นตอน)

8. ผลการทำโครงงานของเด็ก หรือร่องรอยจากการศึกษาหาคำตอบข้อสงสัยของเด็ก

- ภาพการทำกิจกรรมของเด็ก

- ภาพความสำเร็จของงาน เช่น บันทึกคำพูด ภาพวาด ชิ้นงาน สิ่งประดิษฐ์ ตารางข้อมูล แผนภาพ แผนภูมิแบบบันทึกกิจกรรม แบบบันทึกการสังเกต ภาพถ่ายกิจกรรม ฯลฯ

9. สรุปผลที่เกิดจากผู้เรียน

- สรุปสิ่งที่เด็กได้จากการเรียนรู้ (ตอบข้อสงสัยในเรื่องที่ศึกษา)

- เด็กมีการพัฒนาความสามารถพื้นฐานด้านใดบ้างเพิ่มขึ้น (ความสามารถพื้นฐานด้านการเรียนรู้ภาษา สังคม การเคลื่อนไหว) และแสดงถึงพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

- เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านใดบ้าง และจิตวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

แนวทางการประเมินโครงงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย

1. ลักษณะโครงงาน: เป็นการศึกษา สำรวจ ทดลอง ตรวจสอบเพื่อตอบคำถามที่เด็กสนใจมีการสรุป สะท้อนผล โดยใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ที่เหมาะสมกับกิจกรรม

2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน: สอดคล้องกับเรื่องที่ศึกษา

3. ที่มาของโครงงาน: ริเริ่มจากความสนใจ ข้อสงสัยของเด็ก

4. การส่งเสริมความสามารถพื้นฐานด้านต่าง ๆ ได้แก่ การเรียนรู้ ภาษา สังคม และการเคลื่อนไหว

5. ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย 8 ทักษะ ได้แก่ การสังเกตการวัด การคำนวณ การจำแนกประเภท การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติและมิติกับเวลา การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล การลงความคิดเห็นจากข้อมูล และการพยากรณ์หรือการทำนาย(ควรมีอย่างน้อย 4 ทักษะ)

6. หลักฐานการทำกิจกรรมของโครงงาน: เป็นผลงานของเด็กที่แสดงถึงความสามารถในการบันทึก สรุป (แบบบันทึก ชิ้นงาน) และรูปถ่ายขณะเด็กทำกิจกรรม

7. การสรุปผล: มีการสรุปผลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงงานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานการเรียนรู้ของเด็ก

8. มีแบบรายงานสรุปกิจกรรมสอดคล้องกับสมุดบันทึกผล (Logbook) จำนวน 20 กิจกรรม

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

วิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific Method)

วิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific Method) ปัจจุบันวิธีการหาความรู้ความจริงที่สังคมในวงกว้างให้การยอมรับว่าเป็นวิธีการหาความรู้ที่มีความน่าเชื่อถือคือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ชาร์ลดาร์วิน(Charles Darwin ) นำวิธีอนุมานของอริสโตเติลและวิธีอุปมานของเบคอนมารวมกันเพราะเห็นว่าทั้งสองวิธีจะมีประโยชน์อย่างมากในการที่จะค้นความความรู้ความจริงและตรวจสอบความถูกต้องความรู้ความจริงนั้นเมื่อรวมทั้งสองวิธีเรียกว่าวิธีการอนุมาน-อุปมาน (Deductive-Inductive Method) เป็น 5 ขั้น

1. ขั้นปัญหา (Problem) เป็นขั้นตอนที่เราจะสังเกตพบปัญหาในความต้องการความรู้ความจริงหนึ่งว่ามีเหตุการณ์หรือสภาพการณ์เป็นอย่างไรมีเหตุหรือปัจจัยอะไรที่ทาให้เกิดเหตุการณ์หรือสภาพการณ์นั้น

2. ขั้นตั้งสมมติฐาน (Hypothesis) ในขั้นตอนนี้เราจะต้องศึกษาและทบทวนความรู้ที่มีอยู่เดิมมาประกอบการพิจารณาว่าคาตอบของปัญหาในขั้นที่ 1 นั้นจะเป็นอย่างไรซึ่งเรียกว่าการตั้งสมมติฐานซึ่งจะเป็นแนวในการตรวจสอบว่าสมมติฐานที่ตั้งขึ้นนี้จะเป็นจริงหรือไม่

3. ขั้นรวบรวมข้อมูล (Gathering Data) ในขั้นนี้เราจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาอย่างเพียงพอและตรงกับสิ่งที่ต้องการศึกษา

4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) ในขั้นนี้จะเป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมมาทำการวิเคราะห์เพื่อมาหาลักษณะร่วมหรือสอดคล้องกันของข้อมูลเหล่านั้นและพิจารณาว่าข้อมูลเหล่านี้มีกี่ลักษณะและแตกต่างอย่างไรเป็นต้น

5. ขั้นสรุป (Conclusion) ในขั้นตอนนี้เป็นการนำผลการวิเคราะห์มาแปลผลและตีความผลที่ได้เพื่อนำสู่การสรุปผล

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

จิตวิทยาศาสตร์(Scientific mind / Scientific attitudes)

จิตวิทยาศาสตร์เป็นคุณลักษณะหรือลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์จิตวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยคุณลักษณะต่างๆได้แก่ความสนใจใฝ่รู้ความมุ่งมั่นอดทนรอบคอบความรับผิดชอบความซื่อสัตย์ประหยัดการร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นความมีเหตุผลการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ได้แก่

        1. การตั้งสมมติฐาน

        2. การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ

        3. การกำหนดและการควบคุมตัวแปร

        4. การออกแบบและดำเนินการทดลอง

        5. การตีความหมายของข้อมูลและการลงข้อสรุป

ทั้งนี้ในระดับปฐมวัย มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 8 ทักษะ ได้แก่  การสังเกต การวัด การจำแนก การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติและมิติกับเวลา การคำนวณ การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล การลงความคิดเห็นจากข้อมูล และการพยากรณ์  //

ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

เอกสารอ้างอิง

ผศ. ดร.จรรยา ดาสา. //20 ก.ค. 2563.//โครงงานตามแนวทางนักวิทย์น้อย.// สืบค้นเมื่อ 

15 มี.ค. 2564//https://anyflip.com/abia/uwyk/basic

ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว.//21 มี.ค. 2560.//การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวทาง

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย.// สืบค้นเมื่อ 15 มี.ค. 2564

//https://sornorssk32.files.wordpress.com

จักรพันธุ์ ปัญจะสุวรรณ.//26 พ.ย. 56.//โครงงานวิทยาศาสตร์.// สืบค้นเมื่อ 15 มี.ค. 2564// 

https://guru.sanook.com/5840/