สถาบัน คุ้มครอง เงิน ฝาก คุ้มครอง เท่า ไหร่

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ปรับวงเงินคุ้มครองเงินฝาก ‘เหลือ 1 ล้านบาท’ เริ่ม 11 สิงหาคมนี้

By

BrandInside admin

-

05/08/2021

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ปรับวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อสถาบันการเงิน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

สถาบัน คุ้มครอง เงิน ฝาก คุ้มครอง เท่า ไหร่

แต่เดิมนั้นผู้ฝากเงินในประเทศไทยจะได้รับความคุ้มครอง ใต้พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท ต่อรายผู้ฝาก ต่อสถาบันการเงิน และจะเริ่มคุ้มครองในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2559

แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ที่ประชุมครม. เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาบังคับใช้วงเงินการคุ้มครองเงินฝาก จำนวน 5 ล้านบาทออกไปจนถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2564 และจะเริ่มคุ้มครองเงินฝากในวงเงิน 1 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 นี้ (อ่านเพิ่มเติม)

สำหรับการคุ้มครองเงินฝากในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อสถาบันการเงินนี้ ทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ได้ให้ข้อมูลว่า “มีผู้ฝากที่ได้รับความคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน 82.07 ล้านราย คิดเป็น 98.03% ของผู้ฝากทั้งระบบ ซึ่งถือเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ”

ผู้ที่จะได้รับการคุ้มครองเงินฝากนี้ เป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติที่ฝากเงินบาทกับสถาบันการเงินของไทย ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งประกอบไปด้วยธนาคารพาณิชย์ไทย 18 แห่ง สาขาธนาคารต่างประเทศ 12 แห่ง บริษัทเงินทุน 2 แห่ง และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 3 แห่ง รวมทั้งสิ้น 18 แห่ง

มาตรการของรัฐที่คุ้มครองประชาชนโดยหลักประกันให้ผู้ฝากว่า หากสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ ผู้ฝากจะได้รับเงินฝากคืนตามวงเงินคุ้มครอง ภายใน 30 วัน ทั้งนี้ หากไม่มีการคุ้มครองเงินฝาก เมื่อสถาบันการเงิน ถูกปิดกิจการ ผู้ฝากจะต้องฟ้องร้องคดีเพื่อให้ได้รับเงินฝากคืนเอง และไม่มีกำหนดที่แน่นอนว่าจะได้คืนเมื่อไหร่

ใครทำหน้าที่คุ้มครอง

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เป็นหน่วยงานรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการคุ้มครองเงินฝาก ของประชาชน หากสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครอง ถูกปิดกิจการ

คุ้มครองเท่าไหร่?

สถาบันคุ้มครองเงินฝากได้ปรับลดวงเงินคุ้มครองลงโดย 3 ปีย้อนหลัง
– วันที่ 11 ส.ค. 2561 – 10 ส.ค. 2562 วงเงินคุ้มครอง 10 ล้านบาท
– วันที่ 11 ส.ค. 2562 – 10 ส.ค. 2563 วงเงินคุ้มครอง 5 ล้านบาท (ปัจจุบัน)
– วันที่ 11 ส.ค. 2563 เป็นต้นไป วงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาท (เดิม)
ปรับใหม่ เริ่มวันที่ 11 ส.ค. 2564 เป็นต้นไป วงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาท

วงเงินคุ้มครองจะนับในลักษณะ 1 รายชื่อผู้ฝากต่อ 1 สถาบันการเงิน โดยนำเงินฝากของผู้ฝากแต่ละรายในทุกสาขาและทุกบัญชีมาคำนวณรวมกัน

ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.2564 เป็นต้นไป วงเงินคุ้มครองเงินฝากที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะให้ความคุ้มครองจะกลับเข้าสู่ระดับ 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการพูดถึงในโซเชียลมีเดียมาเป็นระยะ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า  เกณฑ์ดังกล่าวกำหนดไว้ในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551และที่แก้ไขเพิ่มเติม

สถาบันการเงินไทยยังแข็งแกร่ง หยุดแชร์ข่าวปลอม ลดคุ้มครองเงินฝาก เพราะธนาคารไทยเสี่ยงล้ม

ลดวงเงินคุ้มครองเงินฝาก "ไม่กระทบประชาชน" ผู้ออม 98.03% ยังได้รับความคุ้มครอง

สถาบัน คุ้มครอง เงิน ฝาก คุ้มครอง เท่า ไหร่

การกำหนดวงเงินความคุ้มครองเงินฝากของไทย เป็นไปตามหลักการสำคัญของระบบการคุ้มครองเงินฝากที่มีประสิทธิผล (Core Principle for Effective Deposit Insurance Systems) ซึ่งเป็นหลักการสากล โดยครอบคลุมกลุ่มผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ของประเทศ และส่งเสริมการสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ระบบการเงินทั้งระบบทั้งในส่วนของผู้ฝากเงินจะเกิดความตระหนักในการบริหารจัดการความเสี่ยง และในส่วนสถาบันการเงินที่จะต้องบริหารจัดการการดำเนินกิจการให้มีประสิทธิภาพ

คลอบคลุมบัญชีเงินฝาก  98% ของผู้ฝากเงินทั้งระบบของสถาบันการเงิน

วงเงินความคุ้มครองเงินฝากดังกล่าว สามารถคุ้มครองกลุ่มผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ของประเทศได้ กว่า 98% ของผู้ฝากเงินทั้งหมดของระบบสถาบันการเงิน ซึ่งพบว่าผู้ฝากส่วนใหญ่ได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวนทั้งระบบอยู่แล้ว

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า กลุ่มผู้ที่ฝากเงินส่วนใหญ่ของประเทศไม่เกิน 1 ล้านบาทสัดส่วน 98% หรือ 82 ล้านราย ขณะที่กลุ่มที่มีเกินฝากเกิน 1 ล้านบาท มีสัดส่วน 2%  

โดยมีวิธีนับ คือ จำนวนผู้ฝากเงินแต่ละรายที่มีบัญชีอยู่ในสถาบันการเงินแต่ละแห่ง เช่น

- นาย ก มีบัญชีเงินฝากกับธนาคาร A จำนวน  2 บัญชี นับเป็น 1 ราย 

- นาย ข มีบัญชีเงินฝากกับ 3 ธนาคาร นับเป็น 3 ราย 

ซึ่งวงเงินที่กฎหมายกำหนดของประเทศไทยมีความใกล้เคียงกันกับค่าเฉลี่ยสัดส่วนจำนวนผู้ฝากที่ได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวนตามกฎหมายของประเทศต่างๆ

เกณฑ์นี้คลอบคลุมกี่สถาบันการเงิน? 

ความคุ้มครองเงินฝากระดับ 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน จะคลอบคลุม 35 สถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ไทย 19 แห่ง ธนาคารต่างประเทศ 11 แห่ง บริษัทเงินทุน 2 แห่ง บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 3 แห่ง

โดยเฉพาะธนาคารที่ประชาชนใช้บริการกันอยู่ เช่น ธนาคารกรุงเทพ / ธนาคารกรุงไทย / ธนาคารกสิกรไทย / ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น 

เงินฝากประเภทไหนได้รับความคุ้มครอง?

- เงินฝากกระแสรายวัน 

-เงินฝากออมทรัพย์ 

-เงินฝากประจำ

-บัตรเงินฝาก

-ใบรับฝากเงิน

แล้วส่วนเงินฝากที่เกิน 1 ล้านบาททำอย่างไร?

เงินส่วนเกิน ยังมีสิทธิได้รับคืนแต่ต้องรอการชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นก่อน จากนั้นจะได้รับคืนตามลำดับการชำระคืนเจ้าหนี้ตามกฎหมาย

เลื่อนลงทะเบียน "ซิโนฟาร์ม" เป็น 11 โมงและจองได้ผ่านเว็บไซต์ช่องทางเดียว

 

เกณฑ์ดังกล่าวออกมาเพราะสถาบันการเงินกำลังมีปัญหา? 

ธนาคารแห่งประเทศไทย และ กระทรวงการคลัง ยืนยันว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินในประเทศไทย ยังคงมีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพ ทั้งในส่วนของระดับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) อยู่ที่ระดับ 20% ซึ่งสูงกว่าหลายประเทศในภูมิภาค ประกอบกับการมีสภาพคล่องที่ยังอยู่ในระดับสูง และสามารถรองรับความผันผวนของสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้

จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขยายเวลาวงเงินความคุ้มครองเงินฝากเดิมออกไปอีกนอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและเกิดความเชื่อมั่นในระบบการคุ้มครองเงินฝากที่มีประสิทธิภาพ

โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวสรุปว่า กระทรวงการคลัง สถาบันคุ้มครองเงินฝาก และธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการประเมินร่วมกันแล้วว่า การคุ้มครองเงินฝากดังกล่าวมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่สถาบันการเงินมีความแข็งแกร่ง ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ฝากเงินในระบบสถาบันการเงิน

ในอดีตปรับเกณฑ์ คุ้มครองเงินฝาก มาแล้วกี่ครั้ง? 

การลดวงเงินคุ้มครอง เป็นไปตามแผนที่กำหนดเดิมของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยตั้งแต่ปี 2551 ได้กำหนดวงเงินคุ้มครองลดลงเป็นขั้นบันไดมาเป็นลำดับ 

ตั้งแต่ปี 2551 คุ้มครองเต็มจำนวน

ปี 2555         คุ้มครอง 50 ล้านบาท

ปี 2558         คุ้มครอง 25 ล้านบาท

ปี 2559         คุ้มครอง 15 ล้านบาท

ปี 2561         คุ้มครอง 10 ล้านบาท

ปี 2562         คุ้มครอง  5 ล้านบาท

ปี 2564         คุ้มครอง 1 ล้านบาท

ซึ่งเดิม เคยกำหนดจะปรับลดลงวงเงินเหลือ 1 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2555 แต่ขยายเวลามาเรื่อยๆ จากความผันผวนของตลาดการเงินทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ กฎหมายไม่ได้กำหนดวงเงินคุ้มครองที่ต่ำกว่านี้แล้ว