ข่าวการ ป น. เปื้อน จุลินทรีย์ ในอาหาร 2564

                เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella spp.) เป็นแบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร มนุษย์อาจรับเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง อาเจียน และมีไข้ ซึ่งอาการอาจหนักมากจนทำให้ผู้ป่วยบางรายเสียชีวิตได้ จึงเป็นเชื้อโรคสำคัญที่ต้องระวังเพื่อความปลอดภัยในอาหาร
                รายงานล่าสุดจากฮ่องกงพบว่า เหตุการณ์ผู้ป่วยอาหารเป็นพิษเมื่อไม่นานมานี้เกิดจากการบริโภคแซนด์วิชที่ผลิตโดยผู้ผลิตที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยสามารถตรวจพบเชื้อซาลโมเนลลาในอุจจาระของผู้ป่วย และในตัวอย่างแซนด์วิชที่เก็บได้จากร้านค้าที่ผู้ป่วยระบุ ในกรณีดังกล่าวพบผู้ป่วยทั้งสิ้น 229 ราย และ 45 รายต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยพบการกระจายตัวหลายกลุ่มและปรากฏขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน หน่วยงานที่รับผิดชอบระบุว่าการเก็บรักษาอาหารสำเร็จรูปไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลานานคือปัจจัยที่เอื้อให้เชื้อโรคสามารถเจริญเติบโตและสร้างสารพิษได้มากขึ้น ผู้เกี่ยวข้องจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานที่ทิ้งไว้เป็นเวลานานหลายชั่วโมง ทั้งนี้ได้มีการตักเตือนและอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการให้ดูแลสุขอนามัยอาหารให้ดีขึ้น และหยุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนแล้ว โดยตามกฎหมายของฮ่องกง ผู้ประกอบการโรงงานอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 ดอลลาร์ฮ่องกง และจำคุกไม่เกินหกเดือน
                ปัจจุบันกฎหมายควบคุมการประกอบกิจการอาหารของไทยถือว่าไม่เข้มงวดนักเมื่อเทียบกับหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งเอื้อให้ชาวไทยสามารถเริ่มธุรกิจอาหารได้ง่าย แต่ก็นับเป็นความเสี่ยงต่อความปลอดภัย ดังกรณีปรากฏเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่เกิดการป่วยจากการบริโภคขนมจีบ จนมีผู้เสียชีวิต และตรวจพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อซาลโมเนลลาเช่นกัน กรณีเหล่านี้จึงเป็นสิ่งเตือนให้ผู้ประกอบการผลิตและจัดจำหน่ายอาหารสำเร็จรูปตระหนักถึงความสำคัญของสุขาภิบาลอาหาร จะต้องเรียนรู้และยึดถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาความปลอดภัยในอาหารของผู้บริโภค

ที่มา : https://www.foodsafetynews.com/ สรุปโดย : มกอช.

นางสุวรรณี รูปโลก อายุ 55 ปี ซึ่งเป็นคนทำขนมจีบ เข้าให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โดยอธิบายขั้นตอนการทำ การเก็บวัตถุดิบ และระยะเวลาการทำ รวมถึงวัน เวลา ที่แม่ค้าขายขนมจีบอายุ 29 ปี มารับของไปขาย จนเกิดเหตุการณ์ชาวบ้านซื้อขนมจีบไปกิน แล้วท้องเสียรุนแรง และ นางธนู ช้างภู่พะงางาม  อายุ 66 ปี เสียชีวิต

นางสุวรรณี ระบุว่ามีอาชีพทำขนมจีบ ซาลาเปา มาประมาณ 6 ปี  ส่วนแม่ค้าเร่อายุ 29 ปีที่มารับขนมจีบไปขายนั้น เพิ่งมารับซื้อได้ประมาณ 2 ปี  แต่ก็ไม่เคยเกิดปัญหาอะไร

กระทั่งเช้าวันที่ 6 พฤษภาคม  แม่ค้าคนนี้ก็มารับขนมจีบไป 10 กล่อง จากนั้นเวลา 8 นาฬิกา แม่ค้าคนนี้ก็กลับมารับเพิ่มอีก 5 กล่อง รวมเป็น 15 กล่อง  หลังจากนั้น นางสุวรรณี ได้หยุดทำขนมจีบช่วงวันที่ 7 - 8 พฤษภาคม เป็นเวลา 2 วัน

ส่วนผลการตรวจสอบตัวอย่างขนมจีบ ที่ส่งตรวจกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่ามี เชื้อแบคทีเรีย ชนิด salmonella  ซาลโมเนลลา ซึ่งก่อให้เกิดโรค โดยมีอาหารเป็นสื่อกลาง หากบริโภคแล้วจะเกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน  ร่างกายอ่อนเพลีย หากในรายที่เสียน้ำในร่างกายมาก อาจเกิดอาการช็อกจนเสียชีวิตได้ 

เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ติดต่อได้หลายทาง ปนเปื้อนมาในอาหาร หรือ เกิดจากการเก็บอาหารไว้นาน ในส่วนของ ขนมจีบ เป็นอาหารที่เสียง่าย หากทิ้งไว้ข้ามคืน โอกาสเสียก็มีมาก ส่วนจะเป็น เนื้อหมู หรือ ไก่ ยังไม่สามารถระบุได้ ต้องรอผลสรุปโดยรวมทั้งหมดอีกครั้ง เนื่องจาก ยังมีตัวอย่างอีกกว่า 10 คนที่ผลการตรวจยังไม่แล้วเสร็จ

ทางคดี ขณะนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบางเสาธง สอบปากคำผู้ป่วยและพยานไปแล้ว 7 คน และออกหมายเรียกแม่ค้าขายขนมจีบไปแล้ว แต่จนถึงขณะนี้ แม่ค้าคนดังกล่าวก็ยังไม่เข้าพบตำรวจ และไม่สามารถติดต่อได้.  


สำนักงานสาธารณสุขของอังกฤษ หรือพีเอชอีเผย พบผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสียชีวิต 2 ราย เนื่องจากรับประทานแซนด์วิชที่ปนเปื้อนเชื้อลิสเทอเรีย ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อลิสเทอเรียที่มีการระบาดในช่วงนี้เพิ่มขึ้นเป็น 5 รายแล้ว


ก่อนหน้านี้ หน่วยงานเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยในอาหารของอังกฤษ ระบุว่า มีผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสียชีวิต 3 คน และอีก 6 คน มีอาการเจ็บป่วยขั้นรุนแรง หลังจากรับประทานอาหารที่โรงพยาบาล ซึ่งผลิตโดยบริษัท กู๊ด ฟู๊ด เชน จำกัด และหลังจากมีข่าวการเสียชีวิตของผู้ป่วยเนื่องจากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อลิสเทอเรีย บริษัท กู๊ด ฟู๊ด เชน ก็ได้มีการนำแซนด์วิชและสลัดออกจากรายการอาหาร พร้อมแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตและเจ็บป่วย ขณะเดียวกันก็ระบุว่า หน่วยงานด้านสาธารณสุขกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ


ด้านนายแมตต์ ฮันคุก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษ มีคำสั่งให้ตรวจสอบอาหารที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ และมีคำแนะนำให้โรงพยาบาลงดเว้นการนำอาหารจากบริษัท กู๊ด ฟู๊ด เชน ไปให้บริการแก่ผู้ป่วย


สำหรับเชื้อลิสเทอเรียสามารถพบในนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ และผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ รวมทั้งเนื้อสัตว์สไลด์ที่ปรุงสุก และแซลม่อนรมควัน โดยอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบประสาทในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และเด็กทารก


...


**13.36F174**

นักวิชาการจุฬาฯ แนะ “เนื้อไก่”แหล่งโปรตีนสมบูรณ์ ช่วยสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันและสารภูมิคุ้มกันต่างๆ ป้องกันเชื้อโรคจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ร่างกาย ชี้บริโภคโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม ส่งผลดีต่อสุขภาพของคนทุกวัย แนะวิธีเลือกซื้อ