ช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมประมง

กรมประมงผนึกกำลังหนุนพันธุ์สัตว์น้ำและจุลินทรีย์ ปม.1ร่วมโครงการ “จิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย

ช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมประมง


นายถาวร จิระโสภณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง ลงพื้นที่พร้อมคณะนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดโครงการ “จิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย” ณ สำนักงานชลประทานที่ 7 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยปล่อยรถคาราวานจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบพร้อมสร้างการรับรู้การเตรียมการด้านการเกษตรตามหลักวิชาการ ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถกลับมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างรวดเร็วพร้อมกันในพื้นที่ 21 จังหวัด
​ นายถาวร จิระโสภรณ์รักษ์ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากอิทธิพลพายุ “โพดุล” และพายุ “คาจิกิ” ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2562 เป็นต้นมา ทำให้เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ ซึ่งจากการสำรวจความเสียหายด้านประมงล่าสุดพบว่ามีเกษตรกรได้รับผลกระทบในพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ ลำปาง พิษณุโลกเพชรบูรณ์ สุโขทัย พิจิตร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ขอนแก่น นครพนม มหาสารคาม อุดรธานี อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สกลนค นครนายก ตราด และจังหวัดกระบี่พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับผลกระทบจากอุทกภัยประมาณ 29,180.37 ไร่ เกษตรกรได้รับความเสียหายจำนวน 28,824 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 427.88 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 24 ก.ย. 62) ซึ่งระหว่างการเกิดอุทกภัยทางกรมประมงได้มีการจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและความต้องการรวมถึงให้การช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนอย่างต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่จังหวัดประสบอุทกภัย ทั้งการออกเตรียมความพร้อมให้คำแนะนำเกษตรกรในเรื่องของการเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงการออกประกาศเตือนผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงจระเข้ การขนย้ายสิ่งของ คนชรา ผู้ป่วย สัตว์เลี้ยง ตลอดจนรับส่งประชาชน ฯลฯ
​ กิจกรรมโครงการ “จิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรผู้ประสบภัย” มีวัตถุประสงค์ให้ทุกหน่วยงานร่วมกันบูรณาการให้การช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัยหลังน้ำลด
ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ ในพื้นที่จำนวน 21 จังหวัด ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรและสร้างการรับรู้การเตรียมการด้านการเกษตรตามหลักวิชาการ รวมทั้งการสนับสนุน ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถกลับมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างรวดเร็ว โดยในส่วนของกรมประมงได้ร่วมสนับสนุนลูกพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจ อาทิ ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ปลาสวาย
ปลาเทโพ ปลากระแห ปลานวลจันทร์เทศ ปลาสร้อยขาว ฯลฯ จำนวน 3,256,060 ตัว เพื่อนำไปต่อยอดเป็นแหล่งอาหารตลอดจนสร้างอาชีพเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัย และจุลินทร์ทรีย์ปม.1จำนวน 8,750 ซอง สำหรับนำไปปรับคุณภาพน้ำให้เหมาะกับการเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป
​สำหรับการลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีในพิธีเปิดครั้งนี้ หลังเสร็จสิ้นการปล่อยคาราวานรถยนต์ออกช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทางกรมประมงได้นำพันธุ์สัตว์น้ำจำนวน 100,000 ตัว พร้อมด้วยจุลินทรีย์ปม.1 ไปมอบให้กับตัวแทนชุมชนในพื้นที่ตำบลหนองกินเพล อำภอวารินชำราบ เพื่อให้ผู้นำไปส่งมอบให้กับผู้ได้รับผลกระทบต่อไป
และสำหรับในด้านการสำรวจความเสียหายด้านประมง ทางกรมประมงได้มีนโยบายกำชับให้เจ้าหน้าที่เร่งสำรวจความเสียหายให้ถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อรวบรวมส่งต่อให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้เร็วที่สุด
สุดท้ายนี้ ฝากถึงพี่น้องเกษตรกรและประชาชนหากต้องการความช่วยเหลือหรือขอคำแนะนำด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่สำนักงานประมงอำเภอ/สำนักงานประมงจังหวัด/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงในพื้นที่ หรือกองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษกลุ่มช่วยเหลือเกษตรกรและชาวประมง กรมประมง โทรศัพท์หมายเลข 0 2558 0218 และ 0 2561 4740 ๏

FM103.00MHz.

fm103

See author's posts

Continue Reading

Previous กรมประมงขอความร่วมมืองดเว้นการปล่อยปลาบึกที่ได้มาจากโรงเพาะฟัก ลงสู่แม่น้ำโขง และแม่น้ำสาขาแม่น้ำโขง

Next ขอแสดงความยินดีกับผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่านใหม่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ผมเข้าใจปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วมครั้งนี้ ได้สั่งให้ทุกหน่วยงานในสังกัดเร่งให้ความช่วยเหลือ ให้กลับมาทำการเกษตรได้เร็ว และผมขอส่งกำลังใจให้เกษตรกรผู้ประสบปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ เราจะผ่านวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ไปด้วยกัน

การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินพ.ศ. 2562

ช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมประมง

คุณสมบัติของเกษตรกร

     เกษตรกรที่จะได้รับการช่วยเหลือต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนด้านประมงกับหน่วยงานของกรมประมง ก่อนเกิดภัยพิบัติแล้วเท่านั้น

ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือ

     1. จังหวัดดำเนินการประกาศให้ท้องที่นั้นเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน

     2. เกษตรกรแจ้งขอรับการช่วยเหลือตามแบบยื่นความจำนงขอรับการช่วยเหลือ (แบบ กษ 01) ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน/อบต. หรือนายกเทศมนตรีประจำท้องที่ตรวจสอบรับรอง และยื่นขอรับความช่วยเหลือกับประมงอำเภอหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

     3. ประมงอำเภอ ดำเนินการสำรวจ และตรวจสอบความเสียหายของเกษตรกรเป็นรายบุคคล และตรวจสอบกับทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง

     4. ประมงอำเภอ นำรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายและผ่านการตรวจสอบแล้ว นำมาประมวลรวบรวม และคำนวณมูลค่าความช่วยเหลือพร้อมลงนามรับรองตามแบบประมวลรวบรวมการช่วยเหลือรายหมู่บ้าน (แบบ กษ 02)

     5. ประมงอำเภอ นำรายชื่อเกษตรกรตามแบบประมวลรวบรวมการช่วยเหลือรายหมู่บ้าน (แบบ กษ 02) นำไปติดประกาศในสถานที่ราชการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน เพื่อให้เกษตรกรตรวจสอบข้อมูล หรือดำเนินการประชาคมหมู่บ้าน กรณีมีผู้คัดค้านให้ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องใหม่ทั้งหมด 

     6. นำรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย ที่ผ่านการติดประกาศ หรือประชาคมหมู่บ้านแล้วเสนอคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ โดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจอำเภอ

     7. หากวงเงินในอำนาจของอำเภอมีไม่เพียงพอให้นำเสนอคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือโดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด 20 ล้านบาท

     8. หากวงเงินในอำนาจของจังหวัดมีไม่เพียงพอสามารถขอใช้เงินทดรองราชการในอำนาจของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (50 ล้านบาท)

อัตราการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้

     1. กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล หรือหอยทะเล ไร่ละ 11,780 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่

     2. ปลาหรือสัตว์น้ำอื่นนอกจากข้อ 1. ที่เลี้ยงในบ่อดิน นาข้าวหรือร่องสวน (คิดเฉพาะพื้นที่เลี้ยง) ไร่ละ 4,682  บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่

     3. สัตว์น้ำตามข้อ 1. และข้อ 2. ที่เลี้ยงในกระชัง บ่อซีเมนต์ หรือที่เลี้ยงในลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ตารางเมตรละ 368 บาท รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร

     ทั้งนี้ หากคิดคำนวณพื้นที่เลี้ยงแล้ว ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประสบภัยพิบัติรายใดจะได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินต่ำกว่า 368 บาท ให้ช่วยเหลือในอัตรารายละ 368 บาท

 

ดาวน์โหลดเอกสาร :

 คู่มือ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ด้านการเกษตร

 คู่มือ หลักเกณฑ์ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ด้านการเกษตร

 - ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดลองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562

 - หลักเกณฑ์การใช้จ้ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563

 - หลักเกณฑ์วิธีปฎิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการใช้จ้ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564

 

แบบฟอร์มรายงานความเสียหาย :

 บันทึกข้อความรายงานสถานการณ์อุทกภัย

 ตารางรายงานความเสียหายเบื้องต้นเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย

 แบบรายงานความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ

แบบประมวลรวบรวมความเสียหายด้านประมง และการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย

 แบบ กษ 01 / แบบ กษ 02 / แบบ กษ 03

screen_shareแชร์


แหล่งที่มา

กรมประมง กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_activities/1245/92627

คำสำคัญ

การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและชาวประมงที่ประสบภัยพิบัติกรมประมงเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินพ.ศ. 2562คุณสมบัติเกษตรกรขั้นตอนการให้ความช่วยเหลืออัตราการให้ความช่วยเหลือ