แหล่งฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด

รูปแบบการบำบัด

Show

การบำบัดรักษาเป็น 4 ขั้นตอน

1. การเตรียมการ

แหล่งฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
แหล่งฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด

เพื่อเตรียมความพร้อม และ ทำความเข้าใจกับญาติ และ ผู้ป่วยถึงรูปแบบการรักษา การปฏิบัติตนของผู้ป่วย และบทบาทของญาติ ที่จะเข้ามา มีส่วนร่วมในการรักษา

  1. ซักประวัติ
  2. พูดคุยให้คำปรึกษา
  3. ให้ข้อมูลการรักษารูปแบบต่าง ๆ
  4. ประเมินและคัดกรองผู้ช่วย

2. ถอนพิษยา

แหล่งฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
แหล่งฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด

ดูแลบำบัดรักษาผู้ป่วย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจที่เกิดขึ้นเมื่อขาดยา

  • ให้ยาตามแต่ชนิดของยาเสพติด และตามอาการที่เกิดขึ้น
  • บริการให้คำปรึกษา สุขศึกษา
  • ประเมินผู้ป่วย เข้าสู่ขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามความสมัครใจ

3. ฟื้นฟูสมรรถภาพ

แหล่งฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
แหล่งฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด

เป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ โดยใช้กระบวนการกลุ่มชุมชนบำบัด เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด และพฤติกรรม ให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิต ในสังคมอย่างมีคุณค่า ระยะเวลา ประมาณ 4 เดือน

4. ติดตามผล

แหล่งฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด

เป็นการติดตามดูแลตนเองและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เพื่อร่วมเป็นกำลังใจและเป็นที่ปรึกษา หากผู้ป่วยมีปัญหาของตนเองขณะอยู่ในสังคมใช้ระยะเวลา 1 ปี โดยติดตาม 7 ครั้ง นับจากวันจำหน่าย

ผู้ป่วยนอก

แหล่งฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
แหล่งฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด

  • จิตสังคมบำบัด (Matrix Program)
  • Methadone Clinic
  • Clinic ยาเสพติดทั่วไป
  • Clinic โรคทั่วไป

ผู้ป่วยใน

Fast Model การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยในแบบเข้มข้นทางสายใหม่

  • F : Family การที่ครอบครัวมีส่วนร่วมในการบำบัดรักษา
  • A : Alternative Treatment Activity การใช้กิจกรรมทางเลือกให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นและ ความต้องการของผู้ป่วย
  • S : Self – Help กระบวนการให้ผู้ป่วยมีการเรียนรู้
  • T : Therapeutic Community แนวทางในการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าทางสังคม โดยใช้กระบวนการกลุ่มชุมชนบำบัด

รวม 'สถานบําบัดยาเสพติด' ของคนที่อยากเลิก สู่การเริ่มต้นชีวิตใหม่

แหล่งฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด

TeaC

23 กันยายน 2564 ( 15:31 )

อีกหนึ่งประเด็นร้อนที่สังคมให้ความสนใจถึงกรณีผู้ปกครองร้องเรียนไปยังเพจเฟซบุ๊ก "หมอปลา" ว่า ลูกชายที่อยู่ในศูนย์บำบัดยาเสพติดของวัดท่าพุราษฎร์ จังหวัดกาญจนบุรี ถูกทรมานร่างกาย จนนำไปสู่การช่วยเหลือผู้บำบัดทั้งหมดออกมาจากที่ดังกล่าวได้สำเร็จ รวมทั้ง กระแสดังกล่าวยังถูกนำมานั่งล้อมวงคุยในรายการโหนกระแส ทางช่อง 3 หลายเทปด้วยกัน ซึ่งคุณหนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย นั่งเป็นพิธี ซึ่งเรื่องนี้ได้รับความสนใจจากสังคมอย่างมาก 

ปัญหายาเสพติดกับสังคมไทย

เมื่อปี 2562 เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้ระบุข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตถึงสถานการณ์ผู้ใช้สารเสพติดของประเทศไทยว่า พบผู้ใช้สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่ง ใน 1 ปี จำนวน 1.4 ล้านคน เป็นผู้ใช้สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่ง จำนวน 1.1 ล้านคน และเป็นผู้ติดสารเสพติด จำนวน 3.2 แสนคน ในจำนวนนี้เข้าสู่ระบบการบำบัดของกรมสุขภาพจิต จำนวน 24,196 คน ซึ่งพบว่า เป็นผู้ป่วยจิตเวชติดสารเสพติดรุนแรง จำนวน 5,757 คน และเป็นผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) จำนวน 577 คน

นอกจากนี้ ยังพบสถิติผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชก่อเหตุรุนแรงในสังคมเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น 3.92 เท่า ในปี 2561 ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชก่อเหตุรุนแรง จำนวน 267 ราย แบ่งเป็นชายจำนวน 259 ราย และเป็นหญิงจำนวน 7 ราย 

ขณะที่ ยังมีรายงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. (The Narcotics Control Board) ระบุว่าจังหวัดกรุงเทพมหานครมีจำนวนผู้เข้ารับการรักษาอาการติดยาเสพติดมากที่สุด รวมถึงการบำบัดอาการติดยาเสพติดประเภทอื่น ๆ ด้วย 

จากตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าในสังคมไทยมีจำนวนผู้ติดยาเสพติด ตกเป็นทาสยามากขึ้น และประเด็นศูนย์บำบัดยาเสพติดของวัดท่าพุราษฎร์ จังหวัดกาญจนบุรี ทรมานทำร้ายร่างกายผู้เข้ารับการบำบัดนั้น ทำให้เห็นว่ายังคงมีหลายครอบครัวที่ต้องการให้บุตรหลานไม่ตกเป็นทาสยาเสพติด 

ทำไมต้องบำบัดยาเสพติด?

เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาเรื้อรังที่อยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งเกิดปัญหาเป็นวงกว้างทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สิ่งที่น่ากังวลคือ วัยรุ่นที่ใช้สารเพสติดมีแนวโน้มที่จะอายุน้อยลงเรื่อย ๆ  โดยกลุ่มอายุ 12 – 19 ปี มีการใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้น โดยเริ่มต้นตั้งแต่การติดยาเสพติดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ก่อนจะนำไปสู่สารเสพติดชนิดอื่น ๆ ที่มีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดนั้น เป็นการดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งออกเป็น 3 ระบบที่ต้องทำความเข้าใจคือ

1. ระบบสมัครใจ

ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน

3. ระบบต้องโทษ 

ผู้ติดยาเสพติดที่กระทำความผิดและถูกคุมขัง จะได้รับการบำบัดรักษา ในสถานพยาบาลที่กำหนดได้ตามกฎหมาย เช่น ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมหรือสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง กระทรวงยุติธรรม

4. ระบบบังคับบำบัด

ผู้ที่ทางราชการตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย จะต้องถูกบังคับบำบัดตาม

โดยต้องได้รับความร่วมมือจากคนในครอบครัวที่ต้องร่วมด้วยช่วยกันในการสื่อสาร โน้มน้ามให้ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาให้เร็วที่สุด เพราะหากปล่อยไว้เนิ่นนานไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ แต่ยังก่อให้เกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ เช่น การเกิดอาชญากรรมมากขึ้น เป็นต้น 

ดังนั้น ครอบครัวขจึงเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยกันผลักดันให้ผู้ที่ตกเป็นทาสยาได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง ถูกวิธี อย่าให้ต้องเป็นบาดแผลซ้ำ ๆ อย่างกรณีวัดท่าพุ ซึ่งสถานบำบัดยาเสพติดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้รวบรวมมาสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาล และเอกชน ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาคให้แล้ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่ต้องการพาบุตรหลาน หรือคนที่รักเข้ารับการบำบัด รักษายาเสพติด

สถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดยาเสพติด หรือผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 

สำหรับสถาบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถใช้บริการได้ที่โรงพยาบาล และคลีนิกยาเสพติด ในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้แก่

1. โรงพยาบาล

  • โรงพยาบาลราชวิถี โทร. 0 - 2246 - 0052 ต่อ 4302 1.2
  • โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า โทร. 0 - 2246 - 1400 ถึง 1428 ต่อ 3187 1.3
  • โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพฯ โทร. 0 - 2411 - 24191 1.4
  • โรงพยาบาลนิติจิตเวช โทร 0 - 2441 - 9026 - 9 1.5
  • โรงพยาบาลตากสิน โทร. 0 - 2863 - 1371 ถึง 2, 0 - 2437 - 0123 ต่อ 1153,1248 

2. คลินิกยาเสพติดในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กทม. 

  • คลินิกยาเสพติด 1 ลุมพินี โทร. 0 - 2250 - 0286 1.7
  • คลินิกยาเสพติด 2 สี่พระยา โทร. 0 - 2236 - 4174 1.8
  • คลินิกยาเสพติด 3 บางอ้อ โทร. 0 - 2424-6933 1.9
  • คลินิกยาเสพติด 4 บางซื่อ โทร. 0 - 2587 - 0873 1.10
  • คลินิกยาเสพติด 5 ดินแดน โทร. 0 - 2245 - 0640 1.11
  • คลินิกยาเสพติด 6 วัดธาตุทอง โทร. 0 - 2391 - 8539 1.12
  • คลินิกยาเสพติด 7 สาธุประดิษฐ์ โทร. 0 - 2284 - 3244 1.13
  • คลินิกยาเสพติด 8 ซอยอ่อนนุช โทร. 0 - 2321 - 2566 1.14
  • คลินิกยาเสพติด 9 บางขุนเทียน โทร. 0 - 2468 - 2570 1.15
  • คลินิกยาเสพติด 10 สโมสรวัฒนธรรม โทร. 0 - 2281 - 9730 1.16
  • คลินิกยาเสพติด 11 ลาดพร้าว โทร. 0 - 2513 - 2509 1.17
  • คลินิกยาเสพติด 12 วงศ์สว่าง โทร. 0 - 2585 - 1672 1.18
  • คลินิกยาเสพติด 13 ภาษีเจริญ โทร. 0 - 2413 - 2435 1.19
  • คลินิกยาเสพติด 14 คลองเตย โทร. 0 - 2249 - 1852 1.20
  • คลินิกยาเสพติด 15 วัดไผ่ตัน โทร. 0 - 2270 - 1985 2. 

 
ในส่วนภูมิภาค มีสถานบำบัด ได้แก่

1. โรงพยาบาล 

  • โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สายด่วนปรึกษาปัญหายาเสพติด โทร. 02 - 1165 และ โทร. 0 - 2531 - 0080 ถึง 8 2.2
  • โรงพยาบาลประจำจังหวัดทุกจังหวัด ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 

2. ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประจำภาคเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 297 - 976 ถึง 7 2.4
  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประจำภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โทร. (074) 467 - 453, (074) 467 - 468 2.5
  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร. (043) 245 - 366 2.6
  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร. (053) 612 - 607 2.7
  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จังหวัดปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โทร. (073) 333 - 291 3. 

3. สถานพยาบาลที่ดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

  • บ้านพิชิตใจ แขวงประเวศ กทม. โทร. 0 - 2329 - 1353, 0 - 2329 - 1566 3.2
  • ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด คอมมูนิต้า อินคอน - อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โทร. 0 - 2563 - 1006 - 7, 01 - 2132505 -
  • อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โทร. 01 - 937 - 1345 -
  • อำเภอท่าแร่ จังหวัดสกลนคร โทร.01 - 2120804 3.3
  • ศูนย์เกิดใหม่ (ชาย) อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โทร. (032) 261038 - 40 3.4
  • ศูนย์เกิดใหม่ (หญิง) อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. (038) 541693 3.5
  • บ้านสันติสุข อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี โทร. 01 - 2181343 3.6
  • บ้านตะวันใหม่ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โทร. 01 - 2101573 3.7
  • บ้านนิมิตใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 277049, (053) 282495 11.

หากใครที่ต้องการบำบัดยาเสพติด ลองโทรสอบถามรายละเอียด ขั้นตอนในการเข้ารับการรักษา เช็กประวัติของโรงพยาบาล สถานพยาบาล ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หรือคลลินิกยาเสพติด ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้เข้าใจอย่างถูกต้อง พร้อมเช็กความน่าเชื่อถือ หรือปรึกษาหน่อยงานที่ดูและ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต ฯลฯ 

พลังจากครอบครัว คนในชุมชน ทุกคนช่วยผู้ติดยาเสพติดได้

คนในครอบครัว ชุมชน และสังคมสามารถมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังดูแลได้ ด้วยหลัก 4 ข้อง่าย ๆ จากกรมสุขภาพจิตที่อยากขอให้ร่วมด้วยช่วยกัน

1. ครอบครัว/ญาติ/อสม./บุคคลที่พบเหตุ สามารถประเมินสถานการณ์ผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่มีอาการกำเริบ เฝ้าระวัง สังเกตสัญญาณเตือนในการก่อความรุนแรง เช่น ขีดข่วนหรือกรีดตัวเองเป็นรอยแผล ตะโกนด่าผู้อื่นด้วยคำหยาบคายรุนแรง ข่มขู่จะทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บ พกพาหรือสะสมอาวุธโดยไม่สมเหตุสมผล รื้อหรือขว้างปาข้าวของกระจัดกระจาย ทำลายสิ่งของจนแตกหัก เป็นต้น ควรควบคุมพฤติกรรม หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ประสานและส่งต่อข้อมูล

2. แกนนำ/ผู้นำชุมชน/เจ้าหน้าที่/ตำรวจ รับแจ้งเหตุ และช่วยประสานงานเจ้าหน้าที่ตำรวจ ช่วยเจรจาต่อรอง หลังจากผู้ป่วยหายป่วยแล้วลงเยี่ยมบ้านให้กำลังใจ

3. เทศบาลและองค์กรบริหารส่วนตำบล/หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนรถและสวัสดิการต่างๆ ในการประสานและนำส่งต่อ

4. ประชาชนทั่วไป ร่วมเฝ้าระวัง สังเกตอาการผิดปกติ และสัญญาณเตือนต่าง ๆ หากพบเห็นผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในสังคม สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ หรือแจ้งเหตุฉุกเฉิน โทร. 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อนำตัวเข้ารักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลจิตเวชต่อไป

มาร่วมเติมพลังให้ผู้ติดยาเสพติดได้กลับมาเริ่มต้นชีวิตใหม่และห่างไกลยาเสพติดกันได้อีกครั้ง

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก