ชมพูทวีปแบ่งออกเป็นกี่แคว้น

              แคว้นแต่ละแคว้น เรียกว่า  ชนบท  เฉพาะแคว้นที่มีอาณาเขตกว้างขวาง  เรียกว่า  มหาชนบท  ชนบทเหล่านี้แบ่งเป็น  2  ส่วน  คือ  ส่วนกลาง  เรียกว่า  มัชฌิมชนบท  หรือ มัธยมประเทศ  ส่วนที่  เป็นหัวเมืองชั้นนอก  เรียกว่า  ปัจจันตชนบท

ลักษณะสังคมของชมพูทวีปสมัยพุทธกาล

ชมพูทวีปแบ่งออกเป็นกี่แคว้น

ที่มาภาพ: http://www.phuttha.com

              ชมพูทวีปเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธศาสนา ศัพท์คำว่า ชมพูทวีป นี้ แปลว่า  เกาะแห่งต้นหว้า สันนิษฐานว่า  ในอดีตอาจมีต้นหว้ามากมายในดินแดนแห่งนี้ก่อนที่พวกอารยันจะเข้ามานั้น เดิมเป็นถิ่นของพวกดราวิเดียน เมื่อประมาณ 800 ปีก่อนพุทธกาล พวกอารยันซึ่งเป็นชนผิวขาวได้อพยพเข้ามายึดครองดินแดนส่วนที่อุดมสมบูรณ์ของชมพูทวีป ไล่ชนพื้นเมืองคือพวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปทางทิศใต้และทิศตะวันออกแถบลุ่มแม่น้ำคงคา ส่วนพวกอารยันก็ได้เข้าครอบครองดินแดนตอนเหนือ ได้แก่  ภาคเหนือของประเทศอินเดียในปัจจุบัน  ในสมัยพุทธกาลเรียกว่า มัชฌิมชนบท หรือ  มัธยมประเทศ   พวกอารยันเมื่อเข้ามายึดครองดินแดนชมพูทวีปแล้ว ได้เรียกชนพื้นเมืองหรือดราวิเดียนว่า ทัสยุ หรือ  ทาส  หรือ  มิลักขะ  ซึ่งแปลว่า ผู้เศร้าหมอง ผู้มีผิวสีดำ  หรือเรียกว่า  อนาริยกะ  แปลว่า ผู้ไม่เจริญ  ได้เรียกตัวเองว่า อารยัน หรือ  อริยกะ  ซึ่งแปลว่า  ผู้เจริญ  ทั้งพวกอารยันและพวกมิลักขะ

1.ด้านการเมืองการปกครอง   สมัยก่อนพุทธกาล ชาวชมพูทวีปมักจะปกครองกันโดยสามัคคีธรรม  คือ        พระราชวงศ์ ชั้นผู้ใหญ่และประชาชนมีสิทธิในการปกครองด้วย เมื่อกษัตริย์ผู้ปกครองทรงประพฤติผิดราชธรรม ประชาชนก็อาจทูลเชิญให้สละราชสมบัติได้ อาจทูลเชิญให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง กษัตริย์ในสมัยนั้นจึงยังไม่มีอำนาจมาก  ครั้นต่อมาถึงสมัยพุทธกาล จึงมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธราชหรือราชาธิปไตย คือ พระราชาทรงมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง    สมัยก่อนพุทธกาล  ผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้ปกครองนั้นเรียกกันว่า  มหาราชบ้าง ราชาบ้าง  ราชัญญะบ้าง และการปกครองก็ยังมิได้มีการกำหนดเขตการปกครองอย่างเป็นระเบียบและเป็นแคว้นต่างๆ หลายสิบแคว้นตามที่ระบุในติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก  พระไตรปิฎก เล่มที่ 20 มีทั้งหมด21 แคว้น โดยแบ่งเป็นแคว้นใหญ่ 16 แคว้น และแคว้นเล็กๆ 5 แคว้น

แคว้นใหญ่น้อยในมัชฌิมประเทศ 16 แคว้น

 แคว้นแต่ละแคว้น เรียกว่า  ชนบท  เฉพาะแคว้นที่มีอาณาเขตกว้างขวาง  เรียกว่า  มหาชนบท  ชนบทเหล่านี้แบ่งเป็น  2  ส่วน  คือ  ส่วนกลาง  เรียกว่า  มัชฌิมชนบท  หรือ มัธยมประเทศ  ส่วนที่  เป็นหัวเมืองชั้นนอก  เรียกว่า  ปัจจันตชนบท

ชมพูทวีปแบ่งออกเป็นกี่แคว้น

ที่มา:https://www.google.co.th/search/

1. แคว้นคันธาระ เมืองหลวงชื่อ ตักศิลา
2. แคว้นกัมโพชะ เมืองหลวงชื่อ ทวารกะ
3. แคว้นมัจฉะ เมืองหลวงชื่อ วิราฏะ
4. แคว้นกุรุ เมืองหลวงชื่อ อินทปัตถ์
5. แคว้นสุรเสนะ เมืองหลวงชื่อ มถุรา
6. แคว้นอวันตี เมืองหลวงชื่อ อุชเชนี
7. แคว้นปัญจาละ เมืองหลวงชื่อ กัมปิลละ
8. แคว้นวังสะ เมืองหลวงชื่อ โกสัมพี
9. แคว้นเจตี เมืองหลวงชื่อ โสตถิวดี
10. แคว้นโกศล เมืองหลวงชื่อ สาวัตถี
11. แคว้นกาสี เมืองหลวงชื่อ พาราณสี
12. แคว้นมัลละ เมืองหลวงชื่อ ปาวา และกุสินารา
13. แคว้นมคธ เมืองหลวงชื่อ ราชคฤห์
14. แคว้นวัชชี เมืองหลวงชื่อ เวสาลี
15. แคว้นอังคะ เมืองหลวงชื่อ จัมปา
16. แคว้นอัสสกะ เมืองหลวงชื่อ โปตลิ

 

ชมพูทวีปแบ่งออกเป็นกี่แคว้น

                                                   ที่มา:https://www.google.co.th/search/

และยังมีแคว้นเล็กแคว้นน้อย 5 แคว้น คือ
1.แคว้นสักกะ มีเมืองหลวงชื่อ กบิลพัสดุ์
2.แคว้นโกลิยะ มีเมืองหลวงชื่อ เทวทหะ
3.แคว้นภัคคะ มีเมืองหลวงชื่อสุงสุมารคีรี
4.แคว้นวิเทหะ มีเมืองหลวงชื่อ มิถิลา
5.แคว้นอังคุตราปะ มีเมืองหลวงชื่อ อาปณะ

ชมพูทวีปแบ่งออกเป็นกี่แคว้น

                                                 ที่มา:https://www.google.co.th/search/

1. พระพรหม ซึ่งมีพระนามอื่นที่เป็นที่นิยมเรียกกันคือ พระธาดา (ผู้ทรงไว้), พระปรเมศ (ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์) และพระโลเกศ (จอมโลก) ทรงได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ พระอาตมภู (ผู้เกิดเอง) ได้ทรงสร้างสิ่งทั้งปวงขึ้นจากความว่างเปล่า โดยเมื่อทรงหว่านพืชลงในน้ำก็บังเกิดเป็นไข่ทองขึ้นและก้ได้ถือกำเนิดเป็นพระพรหม โดยพระพรหมจะทรงมีพระวรกายสีแดง มีสี่พระพักตร์ แปดพระกรรณ และสี่พระกร (บางแห่งว่ามี 8 พระกร) โดยทรงถือธารพระกร, ช้อนสำหรับหยอดเนยในไฟ, คัมภีร์, หม้อน้ำ, มีประคำล้อง และถือธนู และทรงมีหงส์เป็นพาหนะ

2. พระอิศวร  ซึ่งมีพระนามอื่นที่เป็นที่นิยมเรียกกันคือ พระตรีโลจนะ, พระมหาเทพ, จันทรเศขร, นิลกัณฐ์ โดยตำนานการกำเนิดของพระองค์อันหนึ่งกล่าวว่า ทรงเป็นโอรสของพระกัศยปกับนางสุรภี แต่บางตำนานก็กล่าวไว้ว่าทรงสร้างพระองค์ขึ้นเองจากพระเวทและพรธรรม โดยพระศิวะจะทรงมีพระวรกายสีขาว มีสามพระเนตร โดยทรงจะมีรูปพระจันทร์ครึ่งซีกอยู่เหนือพระเนตรที่สาม พระเกศามุ่นเป็นชฎา ทรงมีประคำกะโหลกหัวคนคล้องพระศอ พระสังวาลเป็นงู พระสอสีนิล ทรงนุ่งหนังเสือ, หนังกวางและหนังช้าง ทรงสถิตอยู่บนเขาไกรลาศในเทือกเขาหิมาลัย ทรงมีตรีศูลเป็นอาวุธ ถือคทายอดหัวกะโหลก ถือสังข์ ฯลฯ และทรงมีวัวเป็นพาหนะ

3. พระนารายณ์ ซึ่งมีพระนามอื่นที่เป็นที่นิยมเรียกกันคือ พระวิษณุ, พระพิษณุหริ, พระอนันตไศยน ตำนานถือกำเนิดของพระนารายณ์มีอยู่ว่าหลังจากที่พระอิศวรทรงบังเกิดขึ้นจากพระเวทและพระธรรมแล้ว ก็ทรงสร้างผู้ช่วยขึ้น โดยทรงเอาพระหัตถ์ซ้ายลูบพระหัตถ์ขวาและก็ได้ปรากฏเป็นองค์พระนารายณ์ขึึ้น และไปประทับอยู่ในเกษียรสมุทร ยามใดที่มีเหตุทุรยุคพระนารายณ์ก็มีหน้าที่ไปปราบและระงับทุกข์ โดยรูปโฉมของพระนารายณ์ที่จิตรกรนิยมเขียนก็จะเป็นบุรุษหนุ่มที่มีพระวรกายสีนิล ทรงแต่งอาภรณ์อย่างกษัตริย์ ทรงเสื้อสีเหลือง มีสี่พระกร ทรงตรีคทา จักร สังข์ บ้างก็ว่าทรงธนู ดอกบัว หรือพระขรรค์

 

3.พื้นฐานทางการศึกษาและสังคม

ในคัมภีร์สอนไว้ว่า  พระพรหมทรงสร้างมนุษย์  4 พวก จากอวัยวะต่างๆ ของพระองค์คือ

1. สร้างพราหมณ์   จาก   พระโอษฐ์ (ปาก)   หน้าที่ฝึกสอนและทำพิธีกรรม  การศึกษาทางศาสนาและวิทยาการ

2. สร้างกษัตริย์    จาก  พะพาหา (แขน) หน้าที่ รักษาบ้านเมือง  ศึกษาวิชายุทธวิธี

3. สร้างแพศย์   จาก  พระโสนี (ตะโพก)  หน้าที่ทำนา  ค้าขาย  ศึกษากสิกรรมและพาณิชยกรรม

4.สร้างศูทร  จาก พระบาท( เท้า)  หน้าที่ รับจ้าง  กรรมกร  ศึกษาในงานที่ทำด้วยตนเอง

ด้วยเหตุนี้สังคมชมพูทวีปสมัยนั้น ได้มีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 4  พวก  หรือ 4  วรรณะ  ดังนี้

 1. วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะสูงสุด ได้แก่พวกผู้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ  วรรณะพราหมณ์ เกิดจากพระโอษฐ์ หรือปากของพระพรหม สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีขาว  มีหน้าที่ กล่าวมนตร์ ให้คำปรึกษาแก่พระเจ้าแผ่นดิน  ส่วนพวกนักบวชทำหน้าที่สอนศาสนา

ชมพูทวีปแบ่งออกเป็นกี่แคว้น

 

 2. วรรณะกษัตริย์    เกิดจากพระอุระ หรืออกของพระพรหม ถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์   สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะ คือสีแดง หมายถึง นักรบ ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันอาณาจักร รวมทั้งพระเจ้าแผ่นดิน  นักปกครอง

ชมพูทวีปแบ่งออกเป็นกี่แคว้น

  3. วรรณะแพศย์  เกิดจากพระเพลา หรือตัก ของพระพรหม สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือ สีเหลือง  มีหน้าที่เป็น พ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร

ชมพูทวีปแบ่งออกเป็นกี่แคว้น

4.วรรณะศูทร เกิดจากพระบาท หรือเท้าของพระพรหม สีเครื่องแต่งกายประจำคือ สีดำ หรือสีอื่นๆ ที่ไม่มีความสดใส  มีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง

ชมพูทวีปแบ่งออกเป็นกี่แคว้น

                                               ที่มา:https://www.google.co.th/search/

4.พื้นฐานความเชื่อทางศาสนา

ศาสนาพรหมณืในสมัยพุทธกาล ได้มีการพัฒนาความเชื่อเกี่ยวกับการเวียนเกิด เวียนตายของวิญญาณ และมีการสอนเผยแพร่หลายมากขึ้น  โดยชาวอารยันจะถูกเรียกว่า  ฮินดู และลัทธิฮินดูนับถือเรียกว่า “ศาสนาฮินดู” ส่วนใหญ่เป็นความเชื่อเรื่องวิญญาณอันเนื่องมาจากพระพรหม หรือ พรหมัน ที่นับถือพระพรหมเป็น ปรมาตมัน เป็นปฐมวิญญาณ ศาสนาพรหมณ์ – ฮินดู จึงถูกเรียกว่า ยุคอุปนิษััท   นอกจากพวกพรหมณ์ยังมีนักบวชจำนวนมากได้ประกาศลัทธิและพิธีกรรม ซึ่งมีผู้ที่นับถืออยู่ 6 ลัทธิ

ทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิตในชมพูทวีป หรือ อินเดียสมัยก่อนพุทธกาลได้มีเจ้าลัทธิต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยตั้งเป็นสำนักหรือคณะปรากฏใน พรหมชาลสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธมรรค แห่งพระสุตตันตปิฎก ว่ามีทิฐิ ถึง ๖๒ ประการ แต่เมื่อกล่าวโดยย่อ มีที่สำคัญอยู่ ๖ ลัทธิ เรียกโดยทั่วไปว่า ลัทธิของครูทั้ง ๖

1. อกิริยทิฐิ เป็นลัทธิที่มีความเห็นว่า ทำก็ไม่เชื่อว่าทำ เช่นบุญบาปไม่มี ความดีความชั่วไม่มี เจ้าลัทธินี้คือ บรูณกัสสปะ2. อเหตุกทิฐิ เป็นลัทธิที่มีความเห็นว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยสัตว์ทั้งหลายจะได้ดี ได้ชั่ว ได้สุขหรือทุกข์ก็ได้เอง ไม่ใช่เพราะทำดีหรือทำชั่ว อนึ่งสัตว์ทั้งหลายหลังจากท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏแล้วก็บริสุทธิ์ได้เอง ลัทธินี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังสารสุทธิกวาท เจ้าลัทธินี้ คือ มักขลิโคศาล

3. นัตถิกทิฐิ  (รวมทั้งอุจเฉททิฐิ ด้วย) ลัทธินี้มีความเห็นว่าไม่มีผล คือการทำบุญทำทานการบูชาไม่มีผล เจ้าลัทธินี้คือ อชิตะเกสกัมพล ท่านผู้นี้สอนเรื่องอุจเฉททิฐิด้วย คือ เห็นว่า สัตว์ทั้งหลายตายแล้วสูญ

4. สัสสตทิฐิ ลัทธินี้มีความเห็นว่า สิ่งทั้งหลายเคยเกิดอย่างไร ก็เป็นไปอย่างนั้น เช่น โลกเที่ยง จิตเที่ยง สัตว์ทั้งหลายเคยเกิดอย่างไร ก็เป็นไปอย่างนั้นต่อไปตลอกกาล ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นของเที่ยง การฆ่ากันนั้นไม่มีใครฆ่าใคร เพียงแต่เอาศาสตราสอดเข้าไปในธาตุ (ร่าง) ซึ่งยั่งยืนไม่มีอะไรทำลายได้ เจ้าลัทธิคือ ปกุธะกัจจายนะ

5. อมราวิกเขปิกทิฐิ ลัทธินี้ความเห็นไม่แน่นอน ซัดส่ายไหลลื่นเหมือนปลาไหล เพราะเหตุหลายประการ เช่น เกรงจะพูดปด เกรงจะเป็นการยึดถือ เกรงจะถูกซักถาม เพราะโง่เขลา จึงปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ ไม่ยอมรับและไม่ยืนยันอะไรทั้งหมด เจ้าลัทธินี้คือ สัญชัย เวลัฏฐบุตร ซึ่งเคยเป็นอาจารย์เดิมของพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร

6. อัตตกิลมถานุโยค และ อเนกานตวาท ลัทธินี้ถือการทรมานกายว่าเป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ มีความเป็นอยู่เข้มงวดกวดขันต่อร่างกาย เช่น อดข้าว อดน้ำ ตากแดด ตากลม ไม่นุ่งห่มผ้า เช่น พวกนิครนถ์ ตัวอย่างเจ้าลัทธินี้ คือ นิครนถ์นาฏบุตร หรือ ท่านศาสดามหาวีระ ศาสดาองค์ที่ 24 ของศาสนาเชน