องค์การสหประชาชาติ มีบทบาท ต่อ ประเทศไทย อย่างไร

องค์การสหประชาชาติ มีบทบาท ต่อ ประเทศไทย อย่างไร
องค์การสหประชาชาติ มีบทบาท ต่อ ประเทศไทย อย่างไร

องค์การสหประชาชาติ

        องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลกที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1945
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่2ยุติลงโดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกามีสมาชิกประกอบ
ด้วยประเทศเอกราชต่างๆ จากทุกภูมิภาคของโลก จากจำนวนสมาชิกก่อตั้ง 51 ประเทศในปี ค.ศ. 1945
ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตูวาลู ( Tuvalu ) เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2000
เป็นอันดับที่ 189 สวิตเซอร์แลนด์ เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2002 เป็นอันดับที่ 190 ติมอร์ตะวันออก
เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2002 เป็นอันดับที่ 191

วัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ

องค์การสหประชาชาติได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่24ตุลาคมค.ศ.1945เมื่อกฎบัตรสหประชาชาติ
มีผลบังคับใช้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติไว้ ดังนี้

        1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติ และ ความมั่นคงระหว่างประเทศ
        2. เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งปวง โดยยึดการเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน
        3. เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ
สังคมวัฒนธรรมหรือมนุษยธรรมและการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและ เสรีภาพขั้นมูลพื้นฐานสำหรับทุกคนโดยไม่เลือกปฎิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือ ศาสนา
        4.เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับการประสานงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกัน
ในอันที่จะบรรลุจุดหมายปลายทางร่วมกันกล่าวได้ว่าองค์การสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์
ที่จะขจัดภัยพิบัติอันเกิดจากสงคราม ประกันสิทธิมนุษยชน ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
และสังคมของมวลมนุษยชาติ

หลักการขององค์การสหประชาชาติ

เพื่อให้องค์การสหประชาชาติสามารถดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ กฎบัตรสหประชาชาติได้วางหลักการที่องค์การสหประชาชาติและประเทศสมาชิกจะพึงยึดถือ
เป็นแนวทางในการดำเนินการระหว่างประเทศ ดังนี้
        1. หลักความเสมอภาคในอธิปไตย รัฐย่อมมีอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์
        2.หลักความมั่นคงร่วมกันเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน ดำเนินมาตรการร่วมกัน
เพื่อป้องกัน และขจัดการคุกคามต่อสันติภาพ
        3. หลักเอกภาพระหว่างมหาอำนาจ ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ รัสเซีย และ จีน
        4. หลังการไม่ใช้กำลัง และ การระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี
        5. หลักความเป็นสากลขององค์การ เปิดกว้างแก่รัฐที่รักสันติทั้งปวง
        6.หลักการเคารพเขตอำนาจศาลภายใน ปัญหาใดที่ประเทศสมาชิกอ้างว่าเป็นกิจการภายใน
สหประชาชาติจะไม่มีสิทธิหรืออำนาจเข้าแทรกแซง

องค์กรหลังขององค์การสหประชาชาติ

องค์การสหประชาชาติ มีบทบาท ต่อ ประเทศไทย อย่างไร
ที่มา : http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=2328

สหประชาชาติมีการดำเนินงานเกือบทั่งทั้งโลกโดยผ่านหน่วยงานหลัก 6 องค์กร ซึ่งมี
     1.สมัชชาสมัชชาเป็นที่รวมของประเทศสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติซึ่งทุกประเทศมีสิทธิออกเสียงได้1เสียง มีหน้าที่พิจารณาและให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆภายในกรอบของกฎบัตรสหประชาชาติ แม้ว่าสมัชชากำหนดเป้าหมายและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาต่างๆเรียกร้องให้มีการประชุมระดับโลกในหัวข้อสำคัญๆ และกำหนดปีสากลเพื่อเน้นความสนใจในประเด็นที่สำคัญๆ ของโลก สมัชชามีการประชุมสมัยสามัญปีละครั้ง
การลงคะแนนเสียงในเรื่องทั่วๆ ใช้เสียงข้างมากแต่ถ้าเป็นปัญหาสำคัญจะต้องได้คะแนน 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
      2. คณะรัฐมนตรีความมั่นคงมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการธำรงรักษาสันติภาพ
และความมั่นคงระหว่างประเทศ ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมาชิกถาวร
มี5ประเทศคือจีน,ฝรั่งเศษ,รัสเซีย,อังกฤษ,สหรัฐอเมริกาและสมาชิกชั่วคราวมี10ประเทศอยู่ในตำแหน่งครั้งละ2ปี ในกรณีประเทศสมาชิกถาวรประเทศใดประเทศหนึ่งออกเสียงคัดค้านถือว่าเป็นการใช้สิทธิยับยั้ง(Veto)อันจะมีผลทำให้เรื่องนั้นๆ ตกไปในยุคของสงครามเย็นการดำเนินงานของคณะมนตรีความมั่นคงประสบกับสภาวะชะงักงัน เนื่องจากการใช้สิทธิยับยั้งของประเทศมหาอำนาจสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงไม่ว่าจะเป็นสมาชิกประจำหรือไม่ก็ตาม
จะต้องงดเว้นออกเสียง เมื่อมีการพิจารณาปัญหาข้อพิพาทที่ตนเป็นคู่กรณีด้วย
      3.คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมมีหน้าที่สำคัญคือการส่งเสริมและจัดทำข้อเสนอแนะกิจกรรม ที่มุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงเรื่องการค้า การขนส่ง การพัฒนาอุตสาหกรรม
การพัฒนาเศรษฐกิจ ประชากรและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของมนุษย์ คณะมนตรีเศรษฐกิจ
และสังคมประกอบด้วยสมาชิก54ประเทศอยู่ในตำแหน่งคราวละ3ปีการลงคะแนนเสียงใช้คะแนนเสียงข้างมาก ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วยคณะกรรมาธิการประจำภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเซียและแปซิฟิก
( The Economic and Social Commission for Asia and The Pacific : ESCAP ) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
      4.คณะมนตรีภาวะทรัสตีประกอบด้วยจีนฝรั่งเศษรัสเซียอังกฤษและสหรัฐอเมริกามีหน้าที่ดูแลดินแดน
ในภาวะทรัสตีที่รัฐบาลของประเทศต่างๆรับผิดชอบอยู่เพื่อให้มีการดำเนินงานเป็นขั้นตอนอันจะนำไปสู่การปกครองตนเอง
หรือการได้รับเอกราช เดิมดินแดนในภาวะทรัสตีมี 11 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา และมหาสมุทรแปซิฟิก
ซึ่งได้รับเอกราชไปหมดแล้วปาเลา(Palau)เป็นดินแดนในภาวะทรัสตีแห่งสุดท้ายเดิมอยู่ในความดูแล
ของสหรัฐอเมริกาได้รับเอกราชเมื่อเดือนตุลาคมค.ศ.1994ส่งผลให้คณะมนตรีภาวะทรัสตี
หยุดการปฎิบัติงานอย่างเป็นทางการและจะประชุมเฉพาะเรื่องพิเศษตามความจำเป็น
      5.ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือ"ศาลโลก" ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
เป็นองค์การตุลาการที่สำคัญของสหประชาชาติประกิบด้วยผู้พิพากษาจำนวน15นาย
อยู่ในตำแหน่งคราวละ9ปีคู่ความที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้จะต้องเป็นรัฐคู่กรณีซึ่งเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชา
ติ ถ้ามิใช่สมาชิกจะต้ องได้รับความเห็นชอบจากสมัชชา เอกชน จะนำคดีมาสู่ศาลนี้ไม่ได้
      6.สำนักเลขาธิการทำหน้าที่บริหารงานของสหประชาชาติภายใต้การนำของเลขาธิการสหประชาชาติเลือกตั้ง
โดยสมัชชาด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสามทั้งนี้โดยคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคงเลขาธิการ
มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ5ปีโดยหลักการเลขาธิการจะมาจากประเทศที่เป็นกลาง
หรือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดหร้าที่สำคัญของเลขาธิการคือการรายงานสถานการณ์ระหว่างประเทศที่กระทบต่อความมั่นคง
ระหว่างประเทศให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบ และ ทำหน้าที่ทางการทูตของสหประชาชาติ
         ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งองค์การสหประชาชาติมาจนถึงปัจจุบันมีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ดังนี้
      1.) นาย ทริกเว ลี ( Trygve Lie ) จาก ประเทศนอร์เวย์ ( ค.ศ. 1946 – 1953 )
      2.) นาย ดั๊ก ฮัมมาร์โชลด์ ( Dag Hammarskjold ) จาก ประเทศสวีเดน ( ค.ศ. 1953 – 1961 )
      3.) นาย อู ถั่น ( U Thant ) จาก ประเทศพม่า ( ค.ศ. 1961 – 1971 )
      4.) นาย คูร์ต วอลด์ไฮม์ ( Kurt Waldheim ) จาก ประเทศออสเตรีย ( ค.ศ. 1972 – 1981 )
      5.) นาย ฮาเวียร์ เปเรส เดอ เควยาร์ ( Javier Perez de Cuellar ) จาก ประเทศเปรู ( ค.ศ. 1982 – 1991 )
      6.) นาย บรูโทรส บรูโทรส กาลี ( Boutros Boutros Ghali ) จาก ประเทศอียิปต์ ( ค.ศ. 1992 – 1996 )
      7. นาย โคฟี อันนัน ( Kofi Annan ) จาก ประเทศกานา เข้ารับตำแหน่ง วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1997
ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2001 ต่อมาได้รับเลือกเป็นเลขาธิการสหประชาชาติสมัยที่ 2
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2002
      นอกจากนั้นยังมีองค์กรพิเศษที่ทำงานในฐานะองค์การสหประชาชาติอีกหลายองค์การเช่น ทบวงการชำนาญพิเศษแห่งสหประชาชาติ(SpecializedAgencies)ซึ่งเป็นองค์การอิสระและปฎิบัติงานเฉพาะด้าน
ทำหน้าที่ในการส่งเสริมเศรษฐกิจ และ สังคมของประเทศสมาชิกซึ่งจัดตั้งขึ้นตามความตกลงของรัฐบาล
ในปัจจุบันมี16องค์การได้แก่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO)
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO)
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO)
องค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ(ICAO)
ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนาหรือธนาคารโลก ( IBRD/World Bank )
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF)
องค์การอนามัยโลก(WHO)สหภาพไปรษณีย์สากล(UPU)
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประทศ(ITU)
สมาคมพัฒนาประเทศระหว่างประเทศ(IDA)บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ(IFC)
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ( WMO ) องค์การกิจการทางทะเลระหว่างประเทศ(IMO)
องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก(WIPO)
กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรม(IFAD)
องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ ( UNIDO )
และมีองค์กรอิสระซึ่งมิใช่ทบวงชำนัญพิเศษ ได้แก่ ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการพิกัดอัตราภาษีศุลกากร
และการค้า ( GATT ) และ สำนักงานพลังปรมาณูระหว่างประเทศ ( IAEA ) เป็นต้น
        ในปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ ได้จัดตั้งทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติเพื่อปฎิบัติงาน
อันใดอันหนึ่งหรือเฉพาะด้านซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการส่งเสริมทางเศรษฐกิจสังคม
และการศึกษาในสหประชาชาติ(UNHCR) ซึ่งได้ดำเนินการในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติมากมาย
ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และ การเมือง องค์การสหประชาชาติ จึงเป็นองค์การหลักที่มีความสำคัญ

องค์การสหประชาชาติ มีบทบาท ต่อ ประเทศไทย อย่างไร