5 ส มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างไร

ความปลอดภัยในการทำงาน

ความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ
ในที่นี้
จริงๆแล้วมาจากคำภาษาอังกฤษที่ว่า "Occupational Safety and Health" ผู้ประกอบอาชีพในโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหาร
ครู นักเรียน 
เจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ลูกจ้าง คนงาน ยาม เป็นต้น แต่จริงๆ แล้ว ผู้ที่ต้องมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบ
โดยตรง
ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับนักเรียนความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่พนักงาน
ต้องตระหนักและพึงระลึกถึงตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
เพราะหากเกิดอุบัติเหตุจะนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน

5 ส มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างไร

ความปลอดภัย หมายถึง การที่ร่างกายปราศจากอุบัติภัยหรือทรัพย์สินปราศจากความเสียหายใดๆ เป็นสิ่งที่มนุษย์หรือสัตว์
ต้องการความปลอดภัยทั้งสิ้น 
ความปลอดภัยจะเป็นประโยชน์มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการปฏิบัติหรือการกระทําของตนเอง

 ความปลอดภัยในโรงงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติภัยต่าง ๆ อันจะเกิดแก่ร่างกายชีวิต หรือ ทรัพย์สินในขณะปฏิบัติงานในโรงงาน
ซึ่งก็คือสภาพการทํางานที่ถูกต้องโดยปราศจาก อุบัติเหตุในขณะทํางานนั่นเอง อุบัติเหตุ อาจนิยามได้ว่า คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่พึงประสงค์
ในระหว่างการทํางานและมีผลไปขัดขวางหรือก่อผลเสียหายแก่การทํางานนั้นในโรงงานต่าง ๆ นั้นย่อมจะเกิดอุบัติเหตุกับระบบต่าง ๆ ได้มาก
อาทิ เครื่องจักรเครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบขนส่งหรือขนถ่ายวัสดุ เครื่องมือกล วัตถุดิบ สารเคมี สารไวไฟ ฯลฯ อุบัติเหตุที่เกิดแก่ชีวิตร่างกาย 
จากสถิติที่ประเมินมาพบว่าอุบัติเหตุที่เกิดแก่ร่างกายของคนงานคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ความถี่บ่อย ๆ ครั้งในการเกิดดังนี้

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากการกระทําที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

•สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากการกระทําที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่
•การกระทําไม่ถูกวิธีหรือไม่ถูกขั้นตอน
•ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
•การมีนิสัยชอบเสี่ยง
•การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทํางาน
•การทํางานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
•การแต่งกายไม่เหมาะสม
•การทํางานโดยสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ เช่น เมาค้าง ป่วย

5 ส มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างไร

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

•ส่วนที่เป็นอันตรายหรือส่วนที่เคลื่อนไหวไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
•การวางผังไม่ถูกต้อง วางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ
•พื้นโรงงานขรุขระเป็นหลุมบ่อ
•พื้นโรงงานมีเศษวัสดุ น้ำมัน น้ำบนพื้น
•สภาพการทํางานไม่ปลอดภัย เช่น เสียงดัง อากาศร้อน ฝุ่นละออง
•เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ชํารุด
•ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าชํารุด

การป้องกันก่อนการเกิดอุบัติเหตุ คือ การป้องกันหรือมีการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ โดยมีหลักการต่างๆ เช่น 

หลักการ 5 ส. สู่การป้องกันอุบัติเหตุ เช่น
•สะสาง หมายถึงการแยกแยะงานดี-งานเสีย ใช้-ไม่ใช้
•สะดวก หมายถึงการจัดการ จัดเก็บให้เป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่
•สะอาด หมายถึงการทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ สถานที่ก่อนและหลังการใช้งาน
•สุขลักษณะ หมายถึงผู้ปฎิบัติงานต้องรักษาสุขอนามัยของตัวเอง เครื่องมือ และสถานที่
•สร้างนิสัย หมายถึงการสร้างนิสัยที่ดี

กฎ 5 รู้
•รู้ งานที่ปฏิบัติว่ามีอันตรายอย่างไร มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร

•รู้ การเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ วิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ ข้อจำกัดการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

5 ส มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างไร

Visitors: 106,651

ผู้เขียน : สุนิสา

อัพเดท: 18 ส.ค. 2012 13.50 น. บทความนี้มีผู้ชม: 35915 ครั้ง

หลักการเกี่ยวกับความปลอดภัย
เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ควรยึดหลักการที่เรียกว่า 5 ส ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษรธ และสร้างนิสัย ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นระบบ มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เหมาะสมกับสภาพทำให้การปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยดีมีความปลอดภัย และมีผลเป็นที่พึงพอใจ โดยเขียนเป็นตาราง
1. สะสาง
หลักการ
การขจัดสิ่งของที่ไม่ต้องการออก
ผลจากการที่ไม่ดำเนินการ
1. เสียเวลาค้นหาสิ่งของ
2. ตรวจสอบยากกว่ามีของที่ต้องการอยู่หรือไม่
3. สถานที่ปฏิบัติงานมีน้อย
4. สิ้้้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการดูแล
ผลจากการดำเนินงาน
1. หาสิ่งของที่ต้องการได้ง่าย
2. มีพื้นที่ว่างปฏิบัติงาน
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา
4. ขจัดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
2. สะดวก
หลักการ
จัดของที่ีใช้ให้เป็นระเบียบโดยคำนึงถึงความปลอดภัย
ผลจากการที่ไม่ดำเนินการ
1. ดูแลรักษายาก
2. เป็นบ่อเกิดของอุบัติเหตุ
3. เสียเวลาค้นหา
ผลจากการดำเนินงาน
1. รักษาคุณภาพต่างๆของสิ่งของต่างๆได้ง่าย
2. ลดการเกิดอุบัติเหตุ
3. ไม่เสียเวลาในการหยิบใช้
4. ตรวจสอบสิ่งของได้ง่ายขึ้น
3. สะอาด
หลักการ
ทำความสะอาดสถานที่ปฏิบัติงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆให้เรียบร้อย
ผลจากการที่ไม่ดำเนินการ
1. สถานที่ปฏิบัติงานรกรุงรัง
2. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆชำรุดเสียหาย วางไม่เป็นระเบียบ
ผลจากการดำเนินงาน
1. สถานที่ปฏิบัติงานสะอาด เหมาะกับการฝึกปฏิบัติงาน
2. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆอยู่ในสภาพที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที
4. สุขลักษณะ
หลักการ
จัดสถานที่ฝึกปฏิบัติงานให้ถูกสุขลัษณะเพื่อสุขภาพอนามัยของตนเองและผู้ร่วมงาน
ผลจากการที่ไม่ดำเนินการ
1. เกิดมลภาวะต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง อับชื้น กลิ่น เสียงดัง
2. เสียสุขภาพจิต
3. ไม่กระตือรือร้น
ผลจากการดำเนินงาน
1. สถานที่ปฏิบัติงานมีความร่มรื่นปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี
2. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี
5. สร้างนิสัย
หลักการ
ปฏิบัติ 4 ส แรก จนเกิดทักษะและติดเป็นนิสัยของตนเอง
หมายเหตุ
1. ฝึกทักษะจนติดเป็นนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงาน เช่น รักษาความสะอาด มีระเบียบวินัย และมีวินัยการปฏิบัติงาน
2. คำนึงถึงความปลอดภัย และกฏของโรงเรียน