ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศสู่ดิจิทัลไทยแลนด์

 

แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ปัจจุบันรัฐบาลได้ตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วน ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการปฏิรูปประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ณ ขณะนั้น) จัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแทน แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ของประเทศ เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินการ ตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของรัฐบาล ให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย และหลากหลายมาเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ การดำเนินชีวิตของประชาชน และการดำเนินงานของภาครัฐ ซึ่งส่งผลให้เกิดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่แข่งขันได้ในเวทีโลก และความมั่นคงทางสังคมของประเทศต่อไป

 

วิสัยทัศน์

ปฏิรูปประเทศไทยสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

ดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) หมายถึง ประเทศไทยที่สามารถสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูล ทุนมนุษย์ และทรัพยากรอื่นใด เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะมีเป้าหมายในภาพรวม 4 ประการ ดังต่อไปนี้

  • ปฏิรูปกระบวนทัศน์การทำงานและการให้บริการของภาครัฐ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
  • การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย มุ่งเน้นการพัฒนาระยะยาวอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับการจัดทายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีแต่เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังนั้น แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับนี้ จึงกาหนดภูมิทัศน์ดิจิทัล เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและเป้าหมายใน 4 ระยะ ดังนี้  

ภูมิทัศน์ดิจิทัลของไทยในระยะเวลา 20 ปี

ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศสู่ดิจิทัลไทยแลนด์

ยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศสู่ดิจิทัลไทยแลนด์

เพื่อให้วิสัยทัศน์และเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลบรรลุผล แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจึงได้กำหนดกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนา 6 ด้านคือ

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างสังคมคุณภาพที่ทั่วถึงเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล  

ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

ยุทธศาสตร์ที่ 6 สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

ดาวน์โหลดแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
1. แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฉบับเต็ม)
2. แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฉบับย่อภาษาไทย)
3. แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฉบับย่อภาษาอังกฤษ)

ภูมิทัศน์ดิจิทัลระยะใด ที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ดิจิทัล

ภูมิทัศน์ดิจิทัลของประเทศไทยในระยะเวลา ๒๐ ปี ระยะที่ ๒ Digital Thailand I: Inclusion (๕ ปี) เป็นระยะที่ประเทศไทยก้าวย่างเข้าสู่การเป็นดิจิทัล ไทยแลนด์ที่ท าให้ทุกภาคส่วนของประเทศสามารถเข้าถึง มีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์ เพื่อขับเคลื่อน เศรษฐกิจและสังคม มุ่งเน้น Inclusive Growth, Inclusive Development.

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีกี่ระยะ

1. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง 2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

แนวทางการขับเคลื่อนกรอบยุทธศาสตร์ดิจิทัลมีระยะกี่ปี

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้น ายุทธศาสตร์กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปี พ.ศ. 2563 - 2567 มาเป็นกรอบแนวทางในการจัดท าเป็นแผนปฏิบัติราชการ 5 ปี เพื่อใช้เป็นแนวทางการ ปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง และร่วมกันขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์กระทรวงไปสู่การปฏิบัติ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป

การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) ต้องประกอบไปด้วยสมรรถนะใดบ้าง

"การรู้ดิจิทัล" คือ ความหลากหลายของทักษะที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ซึ่งทักษะเหล่านั้นอยู่ภายใต้ การรู้สื่อ (Media literacy) การรู้เทคโนโลยี (Technology literacy) การรู้สารสนเทศ (Information literacy) การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual literacy) การรู้การสื่อสาร (Communication literacy) และการรู้สังคม (Social literacy)

ภูมิทัศน์ดิจิทัลระยะใด ที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ดิจิทัล แนวทางการขับเคลื่อนกรอบยุทธศาสตร์ดิจิทัลมีระยะกี่ปี ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ มีทั้งหมดกี่ ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล อธิบายรายละเอียดของยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย