การดัดแปลงเสื้อผ้า ประโยชน์

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

1.ประโยชน์และความสำคัญของการซ่อมแซม ดัดแปลงเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย

1.1ประหยัดรายจ่ายและทรัพยากรของตนเองและครอบครัว

1.2ยืดอายุการใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

1.3ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

1.4ส่งเสริมความมีน้ำใจและช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในครอบครัวให้เกิดความภาคภูมิใจร่วมกัน

1.5สร้างเสริมความอดทนความมีระเบียบวินัยในการทำงานให้กับสมาชิกในครอบครัว

2.หลักการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

2.1เลือกวิธีให้เหมาะสมกับรอยชำรุดและรูปแบบที่ต้องการดัดแปลง

2.2ออกแบบดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัยของผู้ใช้

2.3เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับรอยชำรุดและแบบที่ต้องการดัดแปลง

2.4เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้พร้อมก่อนปฏิบัติ

2.5คำนึงถึงความคุ้มค่าของเวลาแรงงานและทรัพยากรที่เสียไปกับการซ่อมแซมและดัดแปลง

3.เครื่องมือในการดัดแปลงซ่อมแซมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

3.1กรรไกร

กรรไกรเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากในการตัดเย็บเสื้อผ้าอย่างน้อยควรมีไว้ประมาณ 2 เล่มไว้สำหรับตัดกระดาษและตัดผ้า

3.2เข็มจักรเข็มมือและเข็มหมุด

เข็มที่ใช้เย็บมือมีหลายขนาดควรเลือกใช้ดังนี้คือเบอร์ 7ใช้เย็บผ้าหนาและใช้ติด

กระดุมเบอร์ 8ใช้งานทั่วไปเบอร์ 9ใช้งานการฝีมือเช่นถักไหมและสอยบาง ๆ

3.3สายวัด

สายวัดตัวที่ดีต้องไม่หด ไม่ยืด มีมาตราส่วนเป็นนิ้วและเซนติเมตรชัดเจนปลายสาย

วัดหุ้มด้วยโลหะเมื่อเลิกใช้แล้วควรม้วนเก็บให้เรียบร้อย

3.4วัสดุสำหรับทำเครื่องหมายบนผ้า

เช่นดินสอดำชอล์กเขียนผ้าใช้สำหรับสร้างแบบลากเส้นหรือทำเครื่องหมายต่าง ๆ

บนเนื้อผ้า

3.5ที่เลาะผ้า

ใช้เลาะเส้นด้ายที่เป็นรอยเย็บ เพื่อแก้ไขการเย็บใหม่

3.6ลูกกลิ้งชนิดฟันเลื่อย

ใช้กลิ้งกระดาษกดรอยให้สีกระดาษติดผ้าชนิดปลายแหลมและคมใช้กลิ้งให้ทะลุผ้า

3.7กระดาษกดรอย

เป็นกระดาษสีที่อาบด้วยเทียนไข ใช้กดแบบลงบนผ้า ควรใช้สีใกล้เคียงกับสีของผ้า

กระดาษกดรอยสีขาวซักทำความสะอาดได้ง่ายกว่าสีอื่น ๆ

3.8ด้าย

มีให้เลือกหลากหลายเช่นขาวดำน้ำเงินและแดงฯลฯ

3.9จักร

เป็นเครื่องมือที่ใช้ตัดเย็บเสื้อผ้าดัดแปลงและซ่อมแซมเครื่องแต่งกายสามารถทำได้

รวดเร็วสะดวกประณีตช่วยทุ่นแรงและเวลา
การเนา
การเนาเป็นวิธีการเบื้องต้นของการเย็บผ้าก่อนที่จะสอย
หรือเย็บตะเข็บอื่น ๆ เพื่อยึดผ้าให้ติดกันชั่วคราว และเป็นเครื่องหมาย
สำหรับการเย็บในขั้นตอนต่อไป ทำให้เย็บได้ง่าย เมื่อเย็บผ้าเสร็จแล้ว
ก็จะเลาะด้ายที่เนาออก
วิธีการเนาให้แทงเข็มขั้นลงธรรมดาตามแนวผ้าที่ต้องการเย็บ
ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
1.1 ตะเข็บเนาเท่า ลักษณะฝีเข็มจะเท่ากันตลอดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยแต่ละฝีเข็มจะถี่และห่างสลับกันประมาณ ¼ นิ้ว
หรือ ½ นิ้ว
1.2ตะเข็บเนาไม่เท่า ลักษณะฝีเข็มจะถี่และห่างสลับกัน
โดยฝีเข็มห่างอยู่ด้านหน้าและมีความยาวประมาณ ¼ นิ้ว
ฝีเข็มถี่อยู่ด้านหลัง ซึ่งมีความยาวประมาณ ½ นิ้ว
ฝีเข็มห่างช่วยให้เห็นแนวยาวที่ง่ายต่อการเย็บ
ส่วนฝีเข็มถี่จะช่วยตรึงผ้าให้แน่น

2.การด้น
การด้นเป็นตะเข็บที่คงทนมีระยะฝีเข็มถี่สามารถใช้แทนตะเข็บที่เย็บได้
มี 2 แบบ คือ
ด้นตะลุย เรียก อีกอย่างหนึ่งว่า ด้นปล่อย มีลักษณะฝีเข็มเหมือน
กับตะเข็บเนาเท่าแต่มีระยะถี่กว่าประมาณ 5 ฝีเข็มต่อ 1 นิ้ว
สำหรับ ผ้าบางหรือผ้าที่ค่อนข้างนิ่มสามารถแทงเข็มขึ้นลง 3 – 4 ครั้ง
ติดต่อกันถึงค่อยดึงเข็มขึ้นครั้งหนึ่ง เหมาะสำหรับการเย็บตกแต่ง
หรือทำจีบรูด
การด้นอีกแบบหนึ่งเรียกว่า ด้นถอยหลัง ลักษณะฝีเข็มเหมือน
ตะเข็บที่เย็บด้วยจักร มักจะใช้เย็บตะเข็บข้างเนื่องจากมีความทนทาน
ในการเย็บ เมื่อแทงเข็มลงบนผ้าแล้วให้เข็มแทงขึ้นด้านตรงข้าม
กับมือที่จับเข็ม ดึงด้ายให้ตึงแล้วแทงเข็มย้อนกลับมาที่จุดกึ่งกลาง
ระหว่างฝีเข็มเดิม หรือตรงรอยฝีเข็มเดิม

3.การสอย
การสอยจะทำให้มองไม่เห็นด้ายปรากฏภายนอกเด่นชัดจึงมักใช้
ในการเย็บปกเสื้อ สาบเสื้อ ขอบกระโปรงและกางเกง
หรือสอยริมผ้าเพื่อกันลุ่ย เช่น ชายกระโปรง ชายเสื้อ ขากางเกง เป็นต้น
การสอยมีทั้ง สอยซ่อนด้าย ซึ่งนิยมใช้เย็บผ้าพับริม
เช่น ชายเสื้อ ชายกระโปรง ขากางเกง ก่อนจึงลงมือเย็บ
จะต้องพับริมผ้าให้เรียบแล้วเนาตรึงไว้ อาจนำไปรีดทับ
เพื่อให้ผ้าคงรูปยิ่งขึ้น จากนั้นจึงลงมือเย็บ โดยแทงเข็มสอดเข้าไป
ในรอยพับของผ้าประมาณ ¼ หรือ 1/8 นิ้ว แล้วแทงเข็มออกมา
จากรอยพับ ให้ปลายเข็มเกี่ยวที่ผ้าด้านนอกประมาณ 2 เส้นใยของผ้า
ดึงด้ายให้ตึงพอประมาณ แล้วแทงสอดเข้าไปให้รอยพับของผ้าใหม่
ทำเช่นนี้จนสุดริมผ้า

ข้อควรระวังคือ ในขณะที่เย็บไม่ควรดึงด้ายตึงจนเกินไป
เพราะจะทำให้ขอบผ้าย่น และหมั่นดึงขอบผ้าที่เย็บแล้วให้ตึงอยู่เสมอ

3.1 สอยพันริม ให้สอยเพื่อยึดขอบผ้าที่พับให้ติดกับผืนผ้าด้านหลัง
เป็นการสอยที่ไม่ซ่อน
ด้ายด้านหลัง ในการเย็บเมื่อพับริมผ้าเรียบร้อยแล้ว
ใช้เข็มแทงขึ้นเหนือขอบผ้าเล็กน้อย ดึงด้ายให้ตึงแล้ว
แทงเข็มลงใต้ขอบผ้าประมาณ 2 เส้นด้าย ให้อยู่ในแนวเฉียงเล็กน้อย
ต่อด้วยแทงเข็มเฉียงขึ้นที่เหนือขอบผ้าให้เท่ากับรอยเดิม
เย็บเช่นนี้ต่อไปจนเสร็จ

3.2 สอยสลับฟันปลา นิยมใช้เย็บตะเข็บที่ขอบแขนเสื้อ
เป็นการสอยอย่างหลวม ๆ แต่สามารถยึดผ้าได้ดี
ด้านนอกจะเห็นเป็นจุดด้ายเล็ก ๆ เรียงกันส่วนด้านในจะเป็นเส้นด้าย
เย็บไขว้กัน ด้านล่างของรอยพับจะเย็บไขว้แบบซ้ายทับขวา
ส่วนด้านที่อยู่บนขอบผ้าจะไขว้แบบขวาทับซ้าย

การดัดแปลงเสื้อผ้ามีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของการดัดแปลงตกแต่งเสื้อผ้า ๑. นำเสื้อผ้าที่ใส่ไม่ได้แล้วมาดัดแปลงให้สวมใส่ได้อีกครั้ง ๒. ปรับเปลี่ยนแบบเสื้อผ้าให้ดูสวยงาม แปลกตา ทันสมัยขึ้น ๓. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อเสื้อผ้าใหม่ ๔. ใช้เสื้อผ้าได้อย่างคุ้มค่า ช่วยลดการผลิตเสื้อผ้า

ประโยชน์ที่ได้รับจากการซ่อมแซมเสื้อผ้าคือสิ่งใด

1. ประหยัดรายจ่ายและทรัพยากรของตนเองและครอบครัว 2. ยืดอายุการใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย 3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 4. ส่งเสริมความมีน้าใจและช่วยเหลือซึ่งกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว 5. เกิดความภาคภูมิใจร่วมกัน 6. สร้างเสริมความอดทนความมีระเบียบวินัยในการทางานให้กับสมาชิกในครอบครัว

เพราะเหตุใดจึงต้องดัดแปลงเสื้อผ้า

๑. ช่วยประหยัดรายจ่าย การซ่อมแซมดัดแปลงเสื้อผ้าไว้ใช้จะช่วยประหยัดรายจ่ายในส่วนของ เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งไม่ต้องหาซื้อเสื้อผ้าเพิ่มเติมทดแทนตัวเดิมที่ชารุด ๒. ช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานของเสื้อผ้า การซ่อมแซมส่วนที่ชารุด หรือดัดแปลงเสื้อผ้าแบบเดิมที่ ล้าสมัยให้เป็นแบบใหม่แล้วนำกลับมาสวมใส่จะทำให้สามารถใช้เสื้อผ้าชุดนั้นๆ ต่อ ...

การดัดแปลงเสื้อผ้าคืออะไร

การกุ๊น เป็นการนำผ้าเฉลียงมาเย็บหุ้มริมผ้า เพื่อให้เกิดลวดลาย การดัดแปลงเสื้อผ้า การดัดแปลงเสื้อผ้า เป็นการนำเสื้อผ้าที่มีอยู่มาแก้ไขให้ได้รูปแบบใหม่ เพื่อให้สามารถสวมใส่ได้ เป็นการประหยัดรายจ่ายของครอบครัว การดัดแปลงเสื้อผ้ามีหลายรูปแบบ ที่สามารถดัดแปลงได้ง่ายมีดังนี้